พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 10 มีนาคม พ.ศ. 2435 |
สิ้นพระชนม์ | 23 มกราคม พ.ศ. 2500 (64 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2500 พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส |
พระสวามี | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ |
พระบุตร | |
ราชสกุล | ภาณุพันธุ์ (ประสูติ) ยุคล (เสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
พระมารดา | หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (10 มีนาคม พ.ศ. 2435 – 23 มกราคม พ.ศ. 2500) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา และเป็นพระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (พระยศเดิม หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค)[1] มีพระโสทรเชษฐา 2 พระองค์ ได้แก่
พระองค์เป็นพระธิดาที่ใกล้ชิดกับพระบิดา ด้วยความที่ทรงกำพร้าพระมารดาตั้งแต่พระชันษาได้เพียง 2 ปี[1] จึงเลี้ยงไว้ไม่ห่างพระองค์ ด้วยความรักในพระธิดา สิ่งใดที่เป็นความสุขและความปรารถนาของพระธิดา ถ้าไม่เหลือความสามารถแล้วพระองค์หญิงเป็นต้องได้[1] ทั้งนี้มีพี่เลี้ยงเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ซึ่งเป็นนายทหารคนสนิทของพระบิดา โดยพระองค์ทรงเรียกพระองค์เจ้าคำรบว่า "แม่"[2]
ในปีที่พระองค์ประสูตินั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี[3] จึงมีเจ้านายทูลขอพระราชทานพระนามสำหรับพระโอรส-ธิดาในเวลาไล่เลี่ยกันสามองค์ คือ[3]
- หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล
- หม่อมเจ้ารัชลาภจีระฐิต (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
- หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา)
ต่อมาในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระองค์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2443 สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พร้อมกับพระโสทรเชษฐาทั้งสองพระองค์[4]
เสกสมรส
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ทรงพบกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ครั้งแรกในงานออกร้านวัดเบญจมบพิตร ดังที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเล่าให้หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุลฟัง ความว่า[5]
“...ในงานออกร้านวัดเบ็ญจมบพิตร เจ้านายหนุ่ม ๆ อยากดูผู้หญิงก็ไม่กล้า เราต้องจัดการให้ ลุงนั่งอยู่กับพวกหนุ่ม ๆ หน้าร้านเรียกสาว ๆ ให้เข้าไปรับแจก บางคนทำดัดจริตกระมิตกระเมี้ยนเพราะมีหนุ่ม ๆ อยู่ด้วย แต่พอถึงยายบี้ [พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล] แกก็ทำหน้าเป๋อไปหมอบกราบเอาเงินแจก แล้วยังซ้ำกราบเจ้านายหนุ่ม ๆ นั้นเสียด้วย สมเด็จชายก็เลยพอพระทัยว่าไม่มีจริต...”
ด้วยความที่พระองค์ไม่มีจริตและน้ำพระทัยอันบริสุทธิ์ ประกอบกับการแสดงออกทางอากัปกิริยาที่เป็นธรรมชาติ คือสิ่งที่ดึงดูดพระทัยสมเด็จชายที่กำลังทรงอยู่ในแวดวงของเหล่าสตรีที่มีจริต และด้วยความสมน้ำสมเนื้อดังกล่าว ความรักของทั้งสองพระองค์ก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น[5]
เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ และได้รับการยกย่องจากรัชกาลที่ 5 ในฐานะสะใภ้หลวง[2] สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเล่าถึงงานอภิเษกสมรสนี้ ความว่า[5]
“...ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคุณจอมมารดาแพ [เจ้าคุณพระประยูรวงศ์] พาพระบุตรีของพระองค์ คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคลไปพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เป็นนางห้ามสะใภ้หลวงตามธรรมเนียมพิธีอย่างใหม่ที่ใช้กันไม่มีการซู่ซ่าอันใด เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐...”
ทั้งนี้สมเด็จชายและพระองค์หญิงทรงครองชีวิตคู่ ที่เรียกอย่างสามัญว่า "ผัวเดียวเมียเดียว"[5] โดยมีพระโอรสด้วยกัน 3 พระองค์ ได้แก่[2]
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เสกสมรสกับหม่อมหลวงสร้อยระย้า (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์), หม่อมบุญล้อม (สกุลเดิม นาตระกูล), หม่อมปริม (สกุลเดิม บุนนาค) และหม่อมไฉไล (สกุลเดิม ถาวร) มีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 6 องค์
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (29 เมษายน พ.ศ. 2456 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์ (ราชสกุลเดิม สวัสดิกุล), หม่อมสมเชื้อ (สกุลเดิม ชมเสวี), หม่อมทองไพ (สกุลเดิม ประยูรโต), หม่อมทองแถม (สกุลเดิม ประยูรโต) และหม่อมบัวทอง (สกุลเดิม ไตลังคะ) มีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 6 องค์
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (1 เมษายน พ.ศ. 2458 – 2 มกราคม พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมฟองจันทร์ (เดิม: เจ้าฟองจันทร์ อินทขัติย์) และหม่อมอุบล (สกุลเดิม สุฤทธิ์) มีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 7 องค์
พระจริยวัตร
[แก้]พระองค์ทรงออกพระนามพระองค์เองว่า "แม่หนูเฉลิมเขตร"[6] ส่วนเจ้านายชั้นผู้ใหญ่พระองค์อื่น ๆ ออกพระนามว่า "ยายบี้" ด้วยมีพระนาสิกแบน[6] และพระราชนัดดาองค์อื่น ๆ ในรัชกาลที่ 5 ออกพระนามว่า "ยิบหยี" เพราะโปรดทำพระเนตรหยี[4]
พระองค์ไม่สันทัดในงานบ้านงานเรือนนัก แต่ก็ทำหน้าที่ของบุตรที่ดีโดยมิขาดตกบกพร่อง โดยพระองค์เองเคยกล่าวเกี่ยวกับความไม่สันทัดดังกล่าว ความว่า "เกิดมาเป็นลูกเจ้าฟ้า มาแต่งงานก็เป็นเมียเจ้าฟ้า จะให้รู้จักเช็ดกระไดไชรูท่ออย่างไร"[7]
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ได้กล่าวถึงอุปนิสัย และพระจริยวัตรโดยรวมของพระองค์ไว้ ความว่า "พระองค์หญิงเฉลิมเขตรมงคลมีพระรูปโฉมเหมือนสมเด็จพระบิดาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งพระอัธยาศัยก็คล้ายกันเป็นอันมาก กล่าวคือไม่มีใครเกลียดและไม่มีศัตรู เพราะไม่เป็นภัยกับใครเลย ไม่มีการเล่นพวก ไม่ด่าว่าค่อนแคะผู้ใด ไม่ดูถูกเหยียดหยามผู้ใด มีแต่ความซื่อสัตย์สุจริตและตามพระทัยพระองค์เอง เช่นเด็กที่เป็น Spoiled Child มาตั้งแต่เกิดเพราะไม่เคยมีใครขัดใจเท่านั้น ถ้ามีสิ่งใดที่เสียก็เป็นเรื่องที่ท่านทำพระองค์ท่านเอง ไม่มีผู้ใดต้องมาเสียหายด้วย เช่น ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ก็เป็นเงินของท่านเอง ไม่ได้ไปหยิบยืมใครมาให้เขาสูญทรัพย์"[8]
ความสนพระทัย
[แก้]พระองค์หญิงก็ทรงสนพระทัยในงานด้านศิลปะ การแสดง และทรงริเริ่มในการฝึกละครข้าหลวงตั้งเป็นคณะนาฏดุริยศิลปินจัดแสดงภายในวัง เมื่อตามเสด็จพระสวามีไปประทับยังมณฑลปักษ์ใต้ก็ทรงจัดตั้งวงดนตรี มีข้าหลวงเป็นนักดนตรีประจำคณะ ส่วนพระองค์ทรงซอด้วง[9]
ภายหลังพระสวามีสิ้นพระชนม์ เสด็จพระองค์หญิงฯทรงย้ายมาประทับที่วังมังคละสถาน ริมถนนสุขุมวิท ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานทูตสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เสด็จพระองค์หญิงฯ ทรงสนพระทัยในนาฏยศิลป์และดุริยางค์ของไทย และโปรดจัดการแสดงต่าง ๆ ขึ้นตลอดพระชนม์ชีพ ทรงจัดการแสดงครั้งแรก ณ วังมังคละสถานเป็นโขนเฉลิมวันประสูติในปี พ.ศ. 2485 ต่อมาทรงตั้งคณะชูนาฏดุริยางค์ศิลป์ขึ้น เพื่อแสดงเป็นประจำในวังโดยอาศัยสถานที่ต่าง ๆ ในวังเป็นฉาก และจัดการแสดงตามที่ต่าง ๆ ในโอกาสสำคัญ เช่น งานฉลองเปิดหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากการแสดงตามแบบแผนเดิมของไทยแล้วเสด็จพระองค์หญิงฯได้ทรงประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ในเรื่องเครื่องแต่งกายและฉาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงคิดแบบละครขึ้นใหม่ชนิดหนึ่งเรียกว่า ละครพูดสลับรำ ละครของพระองค์มีคนดูจำนวนมาก และมีทุกระดับชั้น
ต่อมาทรงหันมาสนพระทัยด้านศิลปะรำไทย ทรงตั้งคณะชูนาฏดุริยศิลป[9] ทั้งนี้ทรงมีความสามารถในการเขียนบทละคร ทั้งละครรำละละครพันทางซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น บทละครดังกล่าวได้แก่ ปันหยีมิสาหรัง และบทละครจากนวนิยายเรื่อง รุ่งฟ้าดอยสิงห์ เป็นต้น[9]
คณะชูนาฏดุริยางค์ศิลป์แสดงอยู่ 15 ปี มีการแสดงอยู่ 4ประเภท คือ โขนละครต่าง ๆ รำเบ็ดเตล็ด และการแสดงเบ็ดเตล็ดมีผู้แสดงทั้งผู้มีบรรดาศักดิ์และสามัญชนนักแสดงหลายคนเริ่มอาชีพที่นี่ และหลายคนได้รับอิทธิพลจากที่นี่และมีชื่อเสียงอยู่จนปัจจุบัน ครั้นเสด็จพระองค์หญิงฯ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2500 พระนามชื่อคณะและสิ่งที่พระองค์สร้างเสริมไว้ให้แก่วงการนาฏยศิลป์ไทยก็จางหายไปและถูกลืมเลือน
สิ้นพระชนม์
[แก้]บั้นปลายพระชนม์ชีพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ประชวรและไม่สามารถเสด็จออกงานพระราชพิธีต่าง ๆ ได้ โดยย้ายไปประทับที่วังมังคละสถาน และ สิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคพระวักกะพิการเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2500 สิริพระชันษา 64 ปี โดย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อช่วงบ่ายวันพุธที่ 26 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2500 ก่อนหน้านั้นในช่วงบ่ายของวันอังคารที่ 25 มิถุนายน ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวังมงคลสถาน เพื่อวางพวงดอกไม้ที่หน้าโกศพระศพและประทับเป็นประธานในพิธีการพระราชกุศลพระราชทานพระศพ[10][11] พระนามของพระองค์ ถูกนำมาใช้เป็นชื่อของ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมเขตร์
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้าหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 10 มีนาคม พ.ศ. 2435 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 : หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 11 เมษายน พ.ศ. 2443[12] : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
- 12 เมษายน พ.ศ. 2443 – 23 มกราคม พ.ศ. 2500 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2450 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[13]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[14]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[2]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[15]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[17]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 308
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 189
- ↑ 3.0 3.1 สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 188
- ↑ 4.0 4.1 สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 187
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 310
- ↑ 6.0 6.1 สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 185
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ:เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค. 2550, หน้า 105
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ:เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค. 2550, หน้า 101
- ↑ 9.0 9.1 9.2 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:มติชน. 2555, หน้า 311
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- ↑ สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 190
- ↑ พระอิสริยยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม 24, ตอน 0 ฉบับพิเศษ, 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450, หน้า 883
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 25, ตอน 39, 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451, หน้า 1153
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3114
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 63, ตอน 17 ง, 26 มีนาคม พ.ศ. 2489, หน้า 426
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 70, ตอน 20 ง, 24 มีนาคม พ.ศ. 2496, หน้า 1255
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2435
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2500
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ
- พระองค์เจ้ายก
- ราชสกุลภาณุพันธุ์
- ราชสกุลยุคล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- เสียชีวิตจากโรคไต
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 9
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์