ข้ามไปเนื้อหา

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พิกัด: 06°04′33.8″N 101°57′49.3″E / 6.076056°N 101.963694°E / 6.076056; 101.963694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ป่าพรุโต๊ะแดง)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ภายในเขตป่าพรุโต๊ะแดง
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย
พิกัด06°04′33.8″N 101°57′49.3″E / 6.076056°N 101.963694°E / 6.076056; 101.963694
พื้นที่4.96 ตารางกิโลเมตร (1.92 ตารางไมล์)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขึ้นเมื่อ5 กรกฎาคม ค.ศ. 2001
เลขอ้างอิง1102[1]

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร เป็นป่าพรุที่มีเนื้อที่และอุดมสมบรูณ์มากที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ จังหวัดนราธิวาส

อาณาเขตและพื้นที่

[แก้]

เนื้อที่ของป่ามีความกว้างประมาณ 8 กิโลเมตร และมีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตของอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ (แต่ส่วนที่สมบูรณ์จริง ๆ มีประมาณ 50,000 ไร่) มีแหล่งน้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำบางนรา, คลองสุไหงปาดี และคลองโต๊ะแดง (อันเป็นที่มาของชื่อเรียก) [2]

ความสำคัญ

[แก้]

ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ซึ่งหลายชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ และพื้นที่รอบๆป่าก็เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ยาง และผลไม้ต่าง ๆ โดยมีศูนย์วิจัยและศึกษาพันธ์ป่าพรุสิรินธร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองสุไหงโกลก ผ่านทางหลวงสายสุไหงโกลก - ตากใบ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนันท์ ด้วยระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรจากตัวเมืองสุไหงโกลก เดินศึกษาธรรมชาติยาวกว่า 1,200 เมตร ภายในศูนย์ฯ มีเส้นทางเดินศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าผ่าใจกลางป่าพรุ มีหอคอย และศูนย์บริการข้อมูล ตลอดจนซุ้มแสดงประวัติและข้อมูลของพืชพันธ์ และสัตว์ต่างๆในพื้นที่ป่าพรุโดยรอบ ใช้เวลาเดินประมาณ 45 - 60 นาที

พันธุ์พืชที่พบ

[แก้]

พบประมาณ 109 วงศ์ จำนวน 450 ชนิด พืชไร้ดอกจำพวกเฟิร์นประมาณ 15 วงศ์ จำนวน 40 ต้น เช่น ปาหนันช้าง (Goniothalamus giganteus), หลุมพี (Eleiodoxa conferta) และกะพ้อแดง (Licuala paludosa) เป็นต้น [3]

พันธุ์สัตว์ป่าที่พบ

[แก้]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

[แก้]

หลายชนิดเป็นสัตว์ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เสือดำ (Panthera pardus), แมวป่าหัวแบน (Prionailurus planiceps), กระรอกบินแก้มแดง (Hylopetes spadiceus), นากจมูกขน (Lutra sumatrana) ,ตะโขง (Tomistoma schlegelii) เป็นต้น[4][5]

นก

[แก้]

ภายในป่าพบนกอย่างน้อย 217 ชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 ชนิดที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นสายพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้แก่ นกตะกรุม (Leptoptilos dubius), นกฟินฟุท (Heliopais personata) และนกเปล้าใหญ่ (Treron capellei)

ปลา

[แก้]

พันธุ์ปลาที่หายากและพบได้เฉพาะถิ่นในป่าพรุโต๊ะแดงนี้ เช่น ปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii), ปลากะแมะ (Chaca bankanensis), ปลาก้างพระร่วงป่าพรุ (Kryptopterus macrocephalus), ปลาเข็มช้าง (Hemiramphodon pogonognathus), ปลากัดน้ำแดง (Betta pi) เป็นต้น[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Princess Sirindhorn Wildlife Sanctuary". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
  2. "ป่าพรุสิรินธร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2012-02-05.
  3. [https://web.archive.org/web/20120220002805/http://www.trekkingthai.com/forest/frguide/frguide07.htm เก็บถาวร 2012-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ป่าพรุ สิรินธร จากอนุสาร อ.ส.ท.]
  4. ป่าพรุโต๊ะแดง จากสนุกดอตคอม
  5. กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
  6. ความหลากหลายของพรรณปลาป่าพรุโต๊ะแดงกับสภาวะการถูกคุกคาม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]