ข้ามไปเนื้อหา

ปอดบวมน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปอดบวมน้ำ
ชื่ออื่นPulmonary oedema
ปอดบวมน้ำและพลูรอลเอฟฟิวชั่นทั้งสองข้าง
สาขาวิชาวิทยาหัวใจ, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ปอดบวมน้ำ (อังกฤษ: Pulmonary edema หรือ pulmonary congestion) เป็นการคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อและถุงลมของปอด[1] ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซและอาจนำไปสู่การหายใจล้มเหลว อาการนี้อาจเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถนำเลือดออกจากระบบหมุนเวียนเลือดของปอดได้ (ปอดบวมน้ำเหตุหัวใจ; cardiogenic pulmonary edema) หรือเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อปอดหรือหลอดเลือดของปอด (ปอดบวมน้ำไม่ใช่เหตุหัวใจ; non-cardiogenic pulmonary edema)[2] จุดสำคัญในการให้การรักษามีอยู่ 3 จุด ได้แก่ การช่วยหายใจ การรักษาภาวะที่เป็นสาเหตุ และการป้องกันไม่ให้ปอดเสียหายเพิ่มเติม ภาวะนี้สามารถทำให้เกิดการหายใจล้มเหลวและหัวใจหยุดเต้นจากภาวะพร่องออกซิเจนได้ โดยเฉพาะกรณีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dorland's illustrated medical dictionary (32nd ed.). Saunders/Elsevier. p. 593. ISBN 9781416062578.
  2. Ware LB, Matthay MA (December 2005). "Clinical practice. Acute pulmonary edema". N. Engl. J. Med. 353 (26): 2788–96. doi:10.1056/NEJMcp052699. PMID 16382065.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]