บีบีซี
ตราเครื่องหมายของบีบีซี (ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564) | |
ชื่อท้องถิ่น | British Broadcasting Corporation |
---|---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ โดยได้รับพระบรมราชานุญาต |
อุตสาหกรรม | สื่อสารมวลชน |
ก่อนหน้า | บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (British Broadcasting Company) |
ก่อตั้ง | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2465 (102 ปีที่แล้ว) ในนามบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ 1 มกราคม พ.ศ. 2470 (97 ปีที่แล้ว) ในนามบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ |
ผู้ก่อตั้ง | รัฐบาลในสมเด็จฯ |
สำนักงานใหญ่ | , สหราชอาณาจักร |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ริชาร์ด ชาร์ป (ประธาน) ทิม เดวี (ผู้อำนวยการ) |
ผลิตภัณฑ์ | เว็บท่า
|
บริการ | |
รายได้ | 5,064 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง (พ.ศ. 2564) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 290 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564) |
รายได้สุทธิ | 227 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564) |
สินทรัพย์ | 2.11 พันล้านปอนด์ (พ.ศ. 2564) |
เจ้าของ | บริษัทมหาชน[1] |
พนักงาน | 22,219 คน (พ.ศ. 2564) |
เว็บไซต์ | bbc.co.uk bbc.com |
บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ[2] หรือ บีบีซี[2] (อังกฤษ: British Broadcasting Corporation, BBC) เป็นองค์การกระจายเสียงสาธารณะของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยนายจอห์น รีท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่บรอดคาสติงเฮาส์ในกรุงลอนดอน และมีศูนย์ผลิตรายการอยู่ที่เมืองซอลฟอร์ด เบลฟัสต์ เบอร์มิงแฮม บริสตอล คาร์ดิฟฟ์ และกลาสโกว์ รวมทั้งยังมีศูนย์ผลิตรายการย่อยอีกจำนวนมากอยู่ทั่วอังกฤษ บีบีซียังเป็นองค์กรด้านสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดและยังเป็นสถานีออกอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพนักงานจำนวนกว่า 23,000 คน[3][4][5]
บีบีซีเป็นหน่วยงานด้านสถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่จัดตั้งขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Charter)[6] และดำเนินกิจการตามข้อตกลงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา[7] การดำเนินงานของบริษัทได้รับการอุดหนุนด้านการเงินเป็นหลักจากค่าธรรมเนียมการรับชมโทรทัศน์ซึ่งเรียกเก็บจากครัวเรือน บริษัท และองค์กรทุกแห่งในสหราชอาณาจักรที่ใช้อุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามในการรับชมการแพร่ภาพโทรทัศน์[8] รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นผู้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา[9]
ประวัติ
[แก้]การกำเนิดของการกระจายเสียงของอังกฤษ ค.ศ. 1920 ถึง 1922
[แก้]การถ่ายทอดสดสาธารณะครั้งแรกของสหราชอาณาจักรเกิดขึ้นจากโรงงานของบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โกนี ในเมืองเชล์มสฟอร์ด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1920 โดยได้รับการสนับสนุนจาก ไวเคานต์นอร์ทคลิฟ (Lord Northcliffe) แห่งหนังสือพิมพ์เดลีเมล์ และดำเนินรายการโดย เนลลี เมลบา (Dame Nellie Melba) นักร้องเสียงโซปราโนที่มีชื่อเสียงชาวออสเตรเลีย การออกอากาศของเมลบาดึงดูดจินตนาการของผู้คนและเป็นจุดเปลี่ยนในทัศนคติต่อวิทยุของสาธารณชนชาวอังกฤษ[10] อย่างไรก็ตาม ความกระตือรือร้นของสาธารณชนนี้ไม่ได้ถูกยอมรับในแวดวงทางการที่มองว่าการออกอากาศดังกล่าวขัดขวางการสื่อสารทางการทหารและพลเรือนที่สำคัญ ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1920 ความกดดันจากหน่วยงานเหล่านี้และความไม่สะดวกใจในหมู่เจ้าหน้าที่ของที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไป (General Post Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานออกใบอนุญาต ก็เพียงพอแล้วที่จะนำไปสู่การห้ามการออกอากาศที่เชล์มสฟอร์ดต่อไป[11]
แต่ในปี ค.ศ. 1922 ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไปได้รับคำขอใบอนุญาตออกอากาศเกือบ 100 รายการ[12] และทำการยกเลิกการสั่งห้ามเมื่อมีการเกิดขึ้นของสมาคมไร้สาย 63 แห่งซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 3,000 ราย[13] ด้วยความกังวลและพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการขยายตัวที่วุ่นวายแบบเดียวกับที่เคยมีประสบการณ์ในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไปเสนอว่าจะออกใบอนุญาตกระจายเสียงให้กับบริษัทที่กลุ่มผู้ผลิตเครื่องรับไร้สายชั้นนำเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อบริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (British Broadcasting Company Ltd.) จอห์น รีท (John Reith) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทั่วไปในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1922 ไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่บริษัททำการออกอากาศครั้งแรกอย่างเป็นทางการ[14] ลีโอนาร์ด สแตนตัน เจฟเฟอรีส์ (Leonard Stanton Jefferies) เป็นผู้อำนวยการด้านดนตรีคนแรก[15] บริษัทจะได้รับเงินทุนจากค่าภาคหลวงในการขายชุดรับสัญญาณไร้สายของบีบีซีจากผู้ผลิตในประเทศที่ได้รับอนุมัติ[16] ขณะนั้นบีบีซีตั้งเป้าที่จะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของรีท คือเพื่อ "แจ้งข่าว ให้ความรู้ และให้ความบันเทิง"[17]
ค.ศ. 1922–1939
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค.ศ. 1939–2000
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บริการ
[แก้]บีบีซีให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพตลอดจนสื่อประสม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
- ข่าวบีบีซี (BBC News)
- วิทยุบีบีซี (BBC Radio)
- โทรทัศน์บีบีซี (BBC Television)
- เว็บไซต์บีบีซี (www.bbc.co.uk)
ตราสัญลักษณ์ของบีบีซี
[แก้]-
สัญลักษณ์ยุคแรก ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 จนถึง ค.ศ. 1963[18]
-
สัญลักษณ์ยุคที่สอง ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1963 จนถึง ค.ศ. 1971[19]
-
สัญลักษณ์ยุคที่สาม ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1971 จนถึง ค.ศ. 1988[19]
-
สัญลักษณ์ยุคที่สี่ ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1988 จนถึง ค.ศ. 1997[20]
-
สัญลักษณ์ยุคที่ห้า ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 จนถึง 19 ตุลาคม ค.ศ. 2021[20]
-
สัญลักษณ์ยุคที่หก และยุคปัจจุบัน ใช้ตั้งแต่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2021 เป็นต้นมา[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "BBC – BBC Charter and Agreement – About the BBC". www.bbc.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- ↑ 2.0 2.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์เทคโนโลยีทางภาพ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 50. ISBN 9786167073699.
- ↑ "BBC: World's largest broadcaster & Most trusted media brand". Media Newsline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2010. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
- ↑ "Digital licence". Prospect. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
- ↑ "About the BBC – What is the BBC". BBC Online. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
- ↑ Andrews, Leighton (2005). "A UK Case: Lobbying for a new BBC Charter". ใน Harris, Phil; Fleisher, Craig S. (บ.ก.). The handbook of public affairs. SAGE. pp. 247–48. ISBN 978-0-7619-4393-8.
- ↑ "Making well informed, fair and transparent decisions". Annual Report 2013/14. BBC. 2014.
- ↑ "TV Licensing: Legislation and policy". สืบค้นเมื่อ 12 February 2010.
- ↑ "BBC Press Office: TV Licence Fee: facts & figures". สืบค้นเมื่อ 12 February 2010.
- ↑ Asa Briggs (1985). The BBC – the First Fifty Years. Oxford University Press. p. 47. ISBN 0-19-212971-6.
Condensed version of the five-volume history by the same author
- ↑ Asa Briggs, p. 50
- ↑ James Curran; Jean Seaton (June 29, 2018). Power Without Responsibility (8th ed.). Routledge. p. 110. ISBN 9780415710428.
- ↑ Asa Briggs, pp. 50, 97
- ↑ supra Curran and Seaton, p. 110
- ↑ Doctor, Jennifer Ruth (1999). The BBC and Ultra-Modern Music, 1922–1936: Shaping a Nation's Tastes. Cambridge University Press. p. 402. ISBN 9780521661171. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
- ↑ Burns, Tom (1977). The BBC: Public Institution and Private World. Great Britain: The Macmillan Press LTD. p. 1. ISBN 978-0-333-19720-2.
- ↑ "No need to change BBC's mission to 'inform, educate and entertain'". UK Parliament. 31 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2016. สืบค้นเมื่อ 31 October 2016.
- ↑ "BBC logo design evolution - Logo Design Love". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2019. สืบค้นเมื่อ 26 June 2019.
- ↑ 19.0 19.1 Hayden Walker, History of BBC corporate logos เก็บถาวร 4 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. TV ARK. Retrieved 20 November 2010.
- ↑ 20.0 20.1 "The BBC logo story". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2013.
- ↑ "BBC reveals new logos in modern makeover". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (อังกฤษ)
- เว็บไซต์บีบีซีภาคภาษาไทย (ไทย)
- เว็บไซต์บีบีซีภาคภาษาไทย (ไทย) (Archive)