ตำบลเจ็ดเสมียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเจ็ดเสมียน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Chet Samian
ประเทศไทย
จังหวัดราชบุรี
อำเภอโพธาราม
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.89 ตร.กม. (5.75 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[1]
 • ทั้งหมด5,743 คน
 • ความหนาแน่น385.69 คน/ตร.กม. (998.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 70120
รหัสภูมิศาสตร์700709
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน
สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
ทต.เจ็ดเสมียนตั้งอยู่ในจังหวัดราชบุรี
ทต.เจ็ดเสมียน
ทต.เจ็ดเสมียน
พิกัด: 13°37′35.1″N 99°49′45.7″E / 13.626417°N 99.829361°E / 13.626417; 99.829361พิกัดภูมิศาสตร์: 13°37′35.1″N 99°49′45.7″E / 13.626417°N 99.829361°E / 13.626417; 99.829361
ประเทศ ไทย
จังหวัดราชบุรี
อำเภอโพธาราม
จัดตั้ง14 ตุลาคม 2506 (สุขาภิบาล)
25 พฤษภาคม 2542 (ทต.)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสุทธิเดช ริมธีระกุล
รหัส อปท.05700704
ที่อยู่
สำนักงาน
88 หมู่ที่ 2 ถนนเพชรเกษมสายเก่า ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
โทรศัพท์0 3239 7032
โทรสาร0 3239 7616
เว็บไซต์www.chetsamian.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เจ็ดเสมียน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีประมาณ 13 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอโพธารามประมาณ 7 กิโลเมตร

ประวัติ[แก้]

หน่วยงานส่วนท้องถิ่นในท้องที่ตำบลเจ็ดเสมียนคือเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน แรกเริ่มก่อตั้งตามประกาศกระทรวงลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2506 โดยจัดตั้งท้องถิ่นหมู่ที่ 1, 2, 3 และ 6 ตำบลเจ็ดเสมียน ขึ้นเป็น สุขาภิบาลเจ็ดเสมียน[2] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ปีเดียวกัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลตำบล ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 สุขาภิบาลเจ็ดเสมียนจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน[3] นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งตามหลักการและเหตุผลการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และเป็นการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล โดยยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดเสมียน (พื้นที่หมู่ 4 บ้านสนามชัย และหมู่ 5 บ้านคลองมะขาม) มารวมกับพื้นที่เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน[4] ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ตำบลเจ็ดเสมียน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่โดยรอบชุมชน พืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าว อ้อย มะขามเทศมัน เลี้ยงสัตว์ และพืชอื่น ๆ นอกจากนั้นการประกอบอาชีพภายในชุมชน ได้แก่ การค้าและอุตสาหกรรม ด้านการค้าขนาดเล็กถึงปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นการทำโรงงานทำหัวผักกาดเค็ม (หัวไชโป๊) เป็นกิจการที่ทำต่อเนื่องกันมาทำชื่อเสียงให้แก่ชุมชนพอสมควร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม และตำบลสามเรือน ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ตำบลเจ็ดเสมียนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน

  • หมู่ที่ 1 บ้านวังลึก
  • หมู่ที่ 2 บ้านเกาะสมบูรณ์
  • หมู่ที่ 3 บ้านเจ็ดเสมียน
  • หมู่ที่ 4 บ้านสนามชัย
  • หมู่ที่ 5 บ้านคลองมะขาม
  • หมู่ที่ 6 บ้านดอนไม้เรียง

ประชากร[แก้]

ตำบลเจ็ดเสมียนมีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,743 คน โดยแยกได้ดังนี้

หมู่บ้าน หมู่ที่ ชาย หญิง ประชากร ครัวเรือน
(คน) (คน) (คน) พ.ศ. 2562[5] (หลัง)
**ทะเบียนบ้านกลาง 0 17 20 37 3
วังลึก 1 501 595 1,096 355
เกาะสมบูรณ์ 2 583 638 1,221 517
เจ็ดเสมียน 3 75 80 155 69
สนามชัย 4 540 530 1,070 399
คลองมะขาม 5 363 371 734 214
ดอนไม้เรียง 6 668 762 1,430 605
รวม 6 2,747 2,996 5,743 2,162

การขนส่ง[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (105 ง): 2448–2449. 29 ตุลาคม 2506.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-29.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). 24 กันยายน 2547: 1–2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. [1]ประชากรรายหมู่บ้าน เขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน (ตำบลเจ็ดเสมียน) พ.ศ. 2562