ดรงค์ สิงห์โตทอง
ดรงค์ สิงห์โตทอง | |
---|---|
หัวหน้าพรรคสันติชน | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2524 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี |
เสียชีวิต | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (85 ปี) |
พรรคการเมือง | สันติชน กิจสังคม ก้าวหน้า เอกภาพ |
คู่สมรส | อารีย์ สิงห์โตทอง |
ดรงค์ สิงห์โตทอง หรือ เฮียซุ้ย[1] (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 4 สมัย เป็นอดีตหัวหน้าพรรคสันติชน และอดีตนายกสมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี เจ้าของฉายาว่า "เจ้าพ่อบึงกระโดน"[2]
ประวัติ
[แก้]ดรงค์ มีบุตรชาย คือ จิรวุฒิ สิงห์โตทอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รวม 2 สมัย
งานการเมือง
[แก้]ดรงค์ สิงห์โตทอง ร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ชื่อ "พรรคสันติชน" โดยเขารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[3] ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค[4] เพื่อนำทีมในลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคสันติชน ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก รวมทั้งนำสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเข้าสภาผู้แทนราษฎรได้จำนวน 8 ที่นั่ง ต่อมาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ลงสมัครอีกครั้งในนามพรรคก้าวหน้า นำโดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน
งานเกษตรกรรม
[แก้]ดรงค์ สิงห์โตทอง เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี และเคยนำกลุ่มสมาชิกเกษตรกรเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช[5]
ดรงค์ สิงห์โตทอง ได้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้แก่สหกรณ์โคนมบ้านบึง จำกัด เพื่อจัดตั้งศูนย์รวมน้ำนมดิบของกรมปศุสัตว์ เมื่อปี พ.ศ. 2527[6]
งานสร้างภาพยนตร์
[แก้]ดรงค์ สิงห์โตทอง เคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เช่น เรื่อง สลัดดำ (2498)[7] เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
และ ค่ายนรก (2501)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วัดบารมี"เนื่องจำนงค์"ฟัด"สิงห์โตทอง"ลุ้น"คุณปลื้ม"จะช่วยใคร
- ↑ ศึก 2 ตระกูลเมืองชล ‘เนื่องจำนงค์ - สิงห์โตทอง’
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง
- ↑ ทายาทเฮียซุ้ย ย้อนวันที่บิดา-ชาวชลบุรีรับเสด็จ พร้อมเปิดตัวเครื่องบินทำฝนเทียมที่สมทบทุนจัดซื้อ
- ↑ ผลการปฏิบัติระบบส่งเสริมสหกรณ์
- ↑ สลัดดำ (2498)
- ↑ "ภาพยนตร์ไทย". thaimovie.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. ดรงค์ สิงห์โตทอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2549
- บุคคลจากอำเภอเมืองชลบุรี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
- พรรคสันติชน
- พรรคกิจสังคม
- พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526)
- พรรคเอกภาพ
- พรรคความหวังใหม่
- ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544