ชิคาโก (ภาพยนตร์)
ชิคาโก | |
---|---|
โปสเตอร์ภาพยนตร์ | |
กำกับ | Rob Marshall |
สร้างจาก | ละครเวทีเรื่อง Chicago โดย John Kander และ Fred Ebb |
อำนวยการสร้าง | Martin Richards |
นักแสดงนำ | Renée Zellweger Catherine Zeta-Jones Richard Gere Queen Latifah John C. Reilly Taye Diggs Christine Baranski |
กำกับภาพ | Dion Beebe |
ตัดต่อ | Martin Walsh |
ดนตรีประกอบ | John Kander (music) Fred Ebb (lyrics) Danny Elfman (score) |
ผู้จัดจำหน่าย | Miramax Films |
วันฉาย | 27 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (จำกัดโรง) 24 มกราคม ค.ศ. 2003 (ทั่วโลก) |
ความยาว | 113 นาที |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา เยอรมนี |
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
ทุนสร้าง | $45,000,000 |
ทำเงิน | $306,776,732 |
ชิคาโก (อังกฤษ: Chicago) เป็นภาพยนตร์เพลงดัดแปลงจาก ละครเพลงเสียดสีสังคมชื่อเดียวกัน กำกับและออกแบบท่าเต้นโดย ร็อบ มาร์แชลล์ และบทภาพยนตร์โดย บิลล์ คอนดอน ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2002 แบบจำกัดโรงภาพยนตร์ หลังจากได้รับรางวัลออสการ์จึงนำกลับมาฉายทั่วโลกจนประสบความสำเร็จทางรายได้อย่างมาก เนื้อหากล่าวถึงเรื่องอื้อฉาวในยุครุ่งเรืองของเพลงแจ๊สในชิคาโกและเหล่าคนดังที่ทยอยกันแจ้งเกิดกันอย่างรวดเร็วแต่ในขณะเดียวกันก็เสื่อมความนิยมเร็วด้วยเช่นกัน
เรื่องย่อ
[แก้]ร็อกซี่ ฮาร์ท(เรเน เซลเวเกอร์)ฆ่าชู้รักของเธอตาย และถูกตำรวจจับเข้าคุกในคืนเดียวกัน อีกทั้งเธอยังรับรู้ว่าเธอจะต้องถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอทำให้เธอเศร้าใจ ในคุกเธอได้พบกับเวลม่า เคลลี่(แคเธอรีน ซีตา-โจนส์)นักเต้นคนดังของชิคาโกที่ถูกจับในข้อหาฆาตกรรม ในเวลาต่อมาร็อกซี่ได้ติดต่อกับบิลลี่ ฟรินท์(ริชาร์ด เกียร์)ทนายความมากฝีมือที่ไม่เคยแพ้คดีความ เป็นผู้ทำคดีให้เธอพ้นผิด ในขณะเดียวกันร็อกซี่กลายเป็นคนมีชื่อเสียงทั้งๆที่ยังติดคุกและเริ่มหลงตัวเอง จนกระทั่งชื่อเสียงของร็อกซี่บดบังรุ่นพี่อย่างเวลม่าที่รู้สึกอิจฉาร็อกซี่และต้องการให้ตัวเธอกลับมาโด่งดังอีกครั้ง ในชิคาโกที่ไม่เคยมีอะไรยั่งยืน
รางวัล
[แก้]ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ รวมทั้งรางวัลออสการ์ 6 สาขาในปี 2003 [1] ได้แก่ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม, ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม และ กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
จุดเด่น
[แก้]- ภาพยนตร์เพลงเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมถัดจากเรื่อง Oliver! ในปี 1968
- ใช้เพลงดำเนินเรื่องและเล่าความหลังของตัวละคร โดยเฉพาะเพลงที่มีชื่อเสียงคือ Cell Block Tango ที่เวลม่า ขับร้องในคุกร่วมกับนักโทษอีก 5คน เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้พวกเธอต้องมารวมกันที่แห่งนี้