ชาวไทยในอินโดนีเซีย
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
600 คน (พ.ศ. 2564)[1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
จาการ์ตา · บันดุง · ยกยาการ์ตา · ซูราการ์ตา · เมดัน อินโดนีเซีย | |
ภาษา | |
มลายูปัตตานี · ไทย · อินโดนีเซีย ภาษาพื้นเมืองอินโดนีเซียอื่น ๆ | |
ศาสนา | |
อิสลาม · พุทธ |
ชาวไทยในอินโดนีเซีย คือกลุ่มชนผู้มีเชื้อสายไทยหรือมีสัญชาติไทย มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ทั้งอย่างถาวรหรือชั่วคราว ชาวไทยในอินโดนีเซียนี้อาศัยกระจายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น จาการ์ตา, บันดุง, ยกยาการ์ตา, ซูราการ์ตา และเมดัน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาศาสนาอิสลาม บางส่วนเป็นเป็นนักธุรกิจ, ข้าราชการ และพระสงฆ์
ประวัติ
[แก้]ปรากฏหลักฐานว่ามีชาวสยามเข้าไปค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ ในอินโดนีเซียมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรสุโขทัย[2] เคยมีการติดต่อกับรัฐสุลต่านปาไซตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16[3] ดังการค้นพบเครื่องสังคโลกในอินโดนีเซียจำนวนมาก[2] และมีการค้าขายเรื่อยมาจนถึงอาณาจักรอยุธยา[4] โดยมีการตั้งสถานีการค้าและชุมชนสยามในอินโดนีเซียด้วย[5]
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2555 | 800 | — |
2560 | 2,511 | +213.9% |
2564 | 600 | −76.1% |
อ้างอิง: กระทรวงการต่างประเทศ[6][7][1] |
ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีทรงลี้ภัย และเลือกประทับที่เมืองบันดุง หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทับ ณ พระตำหนักประเสบัน (Preseban) ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีประทับ ณ พระตำหนักดาหาปาตี (Dahapati) พระตำหนักทั้งสองตั้งอยู่ที่ถนนจีปากันตี (Cipaganti) ด้านหน้าพระตำหนักทั้งสองมีวงเวียนขนาดย่อมชื่อวงเวียนสยาม (Bunderan Siam) เจ้านายทั้งสองพระองค์ประทับที่นั่นจนกระทั่งสิ้นพระชนม์[8]
ปัจจุบันมีชาวไทยเข้ามาอาศัยในประเทศอินโดนีเซีย โดยมากเป็นนักศึกษามุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ราว 400-500 คน ส่วนใหญ่เข้าศึกษาด้านอิสลามศึกษาและครุศาสตร์กระจายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ นอกนักเป็นนักธุรกิจ คู่สมรสชาวไทย เจ้าหน้าที่องค์การนานาชาติ ข้าราชการ และพระสงฆ์ที่เข้าไปเผยแผ่ศาสนา[6]
นอกจากนี้ยังมีลูกเรือประมงชาวไทยที่ถูกหลอกไปทำงานเป็นแรงงานทาส ที่ต่อมาได้หลบหนีออกจากเรือไปอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านชาวประมงในแถบเมืองอัมบน (Ambon), ตวล (Tual) และเบนจีนา (Benjina) จังหวัดมาลูกู[9] โดยเฉพาะที่เมืองตวล บางคนอาศัยอยู่อย่างหลบซ่อนนานกว่า 18 ปี[10] มีคนไทยตกค้างอยู่ 8 คน (พ.ศ. 2562) พวกเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยเพราะไม่มีบัตรประชาชน[11] ส่วนเกาะเบนจีนามีคนไทยตกค้างอยู่ 5 คน (พ.ศ. 2558)[12] พ.ศ. 2558 รัฐบาลไทยส่งชุดเฉพาะกิจเข้าสำรวจลูกเรือชาวไทยที่ถูกทอดทิ้งตามเกาะแก่งต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย พบว่ามีคนไทยตกค้างไม่ต่ำกว่า 2,000 คน[13]
วัฒนธรรม
[แก้]ศาสนา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2555 มีชาวไทยจำนวน 800 คน ราว 400-500 คน เป็นนักศึกษามุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีพระสงฆ์ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา โดยมีวัดที่อยู่ภายใต้การดูแลของพระธรรมทูตไทยจำนวน 29 แห่ง และมีโรงเรียนธรรมวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับยุวชนพุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียในกำกับอีกหนึ่งแห่ง[6]
สมาคมหรือชมรม
[แก้]มีสมาคมหรือชมรมของชาวไทย 4 แห่ง ดังนี้[6]
- ชมรมนักธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย
- ชมรมสตรีไทยในอินโดนีเซีย
- ชมรมกอล์ฟคนไทยในอินโดนีเซีย
- ชมรมนักศึกษาไทย มี 3 ชมรม ได้แก่
- ชมรมนักศึกษาไทยมุสลิมในอินโดนีเซีย
- ศูนย์ประสานงานนักศึกษาไทยเมืองยอกยาการ์ตา-เมืองโซโล
- ศูนย์ประสานงานนักศึกษาไทยเมืองเมดาน (ยกเลิกแล้ว)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สถิติจำนวนคนไทยใน ตปท. ประจำปี 2564" (PDF). กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ. 28 กุมภาพันธ์ 2565. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 ทองแถม นาถจำนง (5 ตุลาคม 2559). "มุสลิมในอาณาจักรอยุธยา : ถิ่นฐาน". สยามรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-20. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทวีศักดิ์ เผือกสม. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย : รัฐจารีตบนหมู่เกาะ ความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555, หน้า 33-34
- ↑ อาคม รวมสุวรรณ. "จากโล้สำเภา ถึงเรื่องราวลับเรือสำเภาฝรั่งสมัยกรุงศรีอยุธยา". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทองแถม นาถจำนง (16 มีนาคม 2560). "ประวัติสัมพันธไมตรีสยาม-เนเธอร์แลนด์ รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ (2)". สยามรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "คนไทยในอินโดนีเซีย" (PDF). สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา. 15 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้อมูลสถิติจำนวนคนไทยที่พำนักในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560 ประเทศอินโดนีเซีย" (PDF). กรมการกงสุล. 17 มกราคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อรอนงค์ ทิพย์พิมล (8 มกราคม 2555). "บันดุง, ปารีสแห่งชวา กับฝันร้ายของเจ้าสยาม". บล็อกกาซีน. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คนไทยนับร้อย ตกนรกในอินโด". ไทยรัฐออนไลน์. 19 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นนทรัฐ ไผ่เจริญ (4 พฤศจิกายน 2559). "8 ลูกเรือประมงไทยที่ติดค้างบนเกาะในอินโดนีเซียได้กลับบ้านแล้ว". เบนาร์นิวส์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พบเด็กในสถานสงเคราะห์-ลูกเรือไทยถูกหลอก ปล่อยทิ้งบนเกาะตวลแดนอิเหนา อยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ตามป่าเขา บ้างถูกกดขี่จนเสียสติ บ้างเสียชีวิตโยนศพทิ้งบ่อน้ำ บางคนถูกหลอกขึ้นเรือประมงตั้งแต่ยังเด็ก". สำนักข่าวชายขอบ. 1 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คิม ไชยสุขประเสริฐ (26 มีนาคม 2558). "โผล่เพจเฟซบุ๊กกำลังใจสู่"ฐปณีย์" หลังท่านผู้นำเรียกรายงานตัว เหตุเกาะติดประเด็นลูกเรือไทยในอินโดฯ". นักข่าวพลเมือง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-02. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อิสสริยา พรายทองแย้ม (15 พฤศจิกายน 2562). "ประมง : เหยื่อค้ามนุษย์ชาวลาวเผยเส้นทาง "จองจำ" จากเรือประมงไทยสู่เกาะในอินโดนีเซีย". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)