ข้ามไปเนื้อหา

คริสเตียน บี. แอนฟินเซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสเตียน บี. แอนฟินเซน
แอนฟินเซนในปี ค.ศ. 1969
เกิดคริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน จูเนียร์
26 มีนาคม ค.ศ. 1916(1916-03-26)
โมเนสเซน รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิตพฤษภาคม 14, 1995(1995-05-14) (79 ปี)
แรนดอลส์ทาวน์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี (ค.ศ. 1972)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี

คริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน จูเนียร์ (อังกฤษ: Christian Boehmer Anfinsen, Jr.; 26 มีนาคม ค.ศ. 191614 พฤษภาคม ค.ศ. 1995) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกัน เกิดในครอบครัวชาวอเมริกันเชื้อสายนอร์เวย์ที่เมืองโมเนสเซน รัฐเพนซิลเวเนีย เป็นบุตรของโซฟี (นามสกุลเดิม รัสมุสเซน) และคริสเตียน โบห์เมอร์ แอนฟินเซน ซีเนียร์ ช่วงทศวรรษที่ 1920 ครอบครัวของแอนฟินเซนย้ายไปอยู่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย แอนฟินเซนเรียนที่วิทยาลัยสวาร์ธมอร์จนจบปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1937 สองปีต่อมาเขาเรียนจบปริญญาโทสาขาเคมีอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปีเดียวกัน ห้องปฏิบัติการคาลส์เบิร์กของมูลนิธิอเมริกัน-สแกนดิเนเวียนที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กมอบตำแหน่งสมาชิกให้แก่แอนฟินเซนในฐานะผู้พัฒนาวิธีการใหม่ในการวิเคราะห์โครงสร้างโปรตีนเชิงซ้อนและการตั้งชื่อเอนไซม์ ในปี ค.ศ. 1941 แอนฟินเซนทำงานที่ภาควิชาชีวเคมีของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาชีวเคมีที่นั่นในอีกสองปีต่อมา[1]

ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันหัวใจ ปอดและเลือดแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพแห่งชาติเลือกแอนฟินเซนให้เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาเซลล์ สี่ปีต่อมา เขากลับไปทำงานที่ห้องปฏิบัติการคาลส์เบิร์กและมีโอกาสเรียนที่สถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์แมนน์ที่เมืองเรโฮวอต ประเทศอิสราเอล[2] แอนฟินเซนได้รับเลือกเป็นภาคีสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกาในปี ค.ศ. 1958[3]

ในปี ค.ศ. 1962 แอนฟินเซนเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดและเป็นหัวหน้าภาควิชาเคมี ก่อนจะดำรงตำแหน่งหัวหน้าห้องปฏิบัติการชีวเคมีที่สถาบันโรคข้ออักเสบและโรคทางเมตาบอลิซึมจนถึงปี ค.ศ. 1981 ต่อมาในปี ค.ศ. 1972 แอนฟินเซนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลำดับกรดอะมิโนกับปฏิกิริยาคอนฟอร์เมชันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ[4] หลังจากนั้นเขาได้ร่วมก่อตั้งสภาวัฒนธรรมโลก[5] ระหว่างปี ค.ศ. 1982–1995 แอนฟินเซนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีเชิงชีวฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์[6]

ด้านชีวิตส่วนตัว แอนฟินเซนแต่งงานครั้งแรกกับฟลอเรนซ์ คีเนนเกอร์ในปี ค.ศ. 1941 มีบุตรด้วยกัน 3 คนแต่หย่าร้างในปี ค.ศ. 1978 ต่อมาเขาแต่งงานใหม่กับลิบบี ชูลแมน เอลีในปี ค.ศ. 1979 และมีบุตรบุญธรรม 4 คน[7] แอนฟินเซนเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มที่เมืองแรนดอลส์ทาวน์ รัฐแมริแลนด์ในปี ค.ศ. 1995[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ''Biography of Christian B. Anfinsen'' (U.S. National Library of Medicine). Profiles.nlm.nih.gov. Retrieved on 2012-03-08.
  2. ''Christian B. Anfinsen – 1957'' (Guggenheim Foundation) เก็บถาวร 2011-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Gf.org. Retrieved on 2012-03-08.
  3. "Book of Members, 1780–2010: Chapter A" (PDF). American Academy of Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ 18 April 2011.
  4. "The Nobel Prize in Chemistry 1972". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 25 November 2016.
  5. "About Us". World Cultural Council. สืบค้นเมื่อ November 8, 2016.
  6. ''Obituary:Christian Anfinsen''. independent.co.uk (1995-05-24). Retrieved on 2012-03-08.
  7. http://www.independent.co.uk/news/people/obituary-christian-anfinsen-1620834.html
  8. "Christian B. Anfinsen - Biography". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 25 November 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]