ขานาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขานาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับโนรา
วงศ์: วงศ์สนุ่น
สกุล: Homalium
(Vent.) Benth.
สปีชีส์: Homalium tomentosum
ชื่อทวินาม
Homalium tomentosum
(Vent.) Benth.

ขานาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalium tomentosum (Vent.) Benth.) เป็นชนิดของพืชดอกในวงศ์ Salicaceae พบในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]

ขานางเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูง 15 - 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การดูแลรักษา ขานางชอบดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก น้ำและความชื้นปานกลาง

ขานางมีชื่อพื้นเมืองอื่น ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่), แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา) นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกาญจนบุรี

อ้างอิง[แก้]

  1. "Homalium tomentosum Benth". www.worldfloraonline.org. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.