ข้ามไปเนื้อหา

การเมืองเนเธอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเมืองเนเธอร์แลนด์

Nederlandse politiek
ประเภทรัฐรัฐเดี่ยว, ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ, ระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ชื่อรัฐสภา
ประเภทสองสภา
สถานที่ประชุมพระราชฐานบินเนินฮอฟ
สภาสูง
ชื่อวุฒิสภา
ประธานยาน อันโทนี เบรียน
ประธานวุฒิสภา
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งทางอ้อม ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ
สภาล่าง
ชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ประธานเวรา เบิร์กคัมป์
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งทางอ้อม ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ
ฝ่ายบริหาร
ประมุขแห่งรัฐ
คำเรียกพระมหากษัตริย์
ปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์
ผู้แต่งตั้งการสืบราชสันตติวงศ์
หัวหน้ารัฐบาล
คำเรียกประธานรัฐมนตรี
ปัจจุบันมาร์ก รึตเตอ
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ผ่านการเลือกตั้งทั่วไป
คณะรัฐมนตรี
คำเรียกคณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบันคณะที่ 71 (รึตเตอ 4)
หัวหน้าประธานรัฐมนตรี
รองหัวหน้ารองประธานรัฐมนตรี
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์โดยการเสนอของประธานรัฐมนตรี
สำนักงานใหญ่พระราชฐานบินเนินฮอฟ
กระทรวง12
ฝ่ายตุลาการ
ศาลศาลเนเธอร์แลนด์
ศาลฎีกา
ประธานศาลมาร์เติน เฟเตริส
ที่ตั้งศาลที่ทำการศาลฎีกา นครเฮก

การเมืองเนเธอร์แลนด์ เป็นการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในระบบรัฐสภา เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นระบบรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจ[1] อาจมองได้ว่าเป็นระบบที่มีการแบ่งสรรอำนาจกันเป็นอย่างดี[2] ประเด็นสำคัญในประเทศมักถูกตัดสินกันด้วยการมุ่งหาประชามติโดยเฉพาะเรื่องสำคัญ

รัฐธรรมนูญ

[แก้]

รัฐธรรมนูญของประเทศเนเธอร์แลนด์มีบทบัญญัติทั้งในด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางสังคมของพลเมืองชาวเนเธอร์แลนด์ทุกคน ระบุตำแหน่งและหน้าที่ขององค์กรต่างๆที่มีอำนาจในการบริหาร บัญญัติกฎหมาย และตัดสินคดีในระบบยุติธรรม

รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ในประเทศเนเธอร์แลนด์ อันเป็นรัฐองค์ประกอบหนึ่งของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ร่วมกับอารูบา กือราเซา และซินต์มาร์เติน) ซึ่งจะมีกฎบัตรของราชอาณาจักรแยกต่างหาก กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์มีผลในประเทศเนเธอร์แลนด์ในยุโรป และโบแนเรอ ซาบา และซินต์เอิสตาซียึส ในทะเลแคริบเบียน

เนเธอร์แลนด์ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ และศาลไม่ได้มีอำนาจในการตรวจสอบข้อกฎหมาย การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาสองครั้ง (ทั้งจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร)

สถาบันการเมือง

[แก้]

สถาบันการเมืองหลังของเนเธอร์แลนด์ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล นอกจากนี้ยังมีองค์กรอิสระของรัฐที่สำคัญเช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีอำนาจเกือบเทียบเท่ากับรัฐสภาในการตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ และยังมีองค์กรบริหารระดับภูมิภาคอื่นๆอีกเช่น เทศบาล ฝ่ายบริหารจัดการน้ำ และจังหวัด

รัฐสภาและรัฐบาล (พระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี) มีอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน การออกกฎหมายจะต้องผ่านการปรึกษากับคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนในในเรื่องการเมือง และคณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมและเศรษฐกิจ รัฐบาลมีอำนาจในการบริหาร แต่คณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจมีอำนาจในการแทรกแซงในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ส่วนระบบศาลนั้นแบ่งออกเป็นสองศาลหลัก ได้แก่ ศาลสูงสุดที่จะตัดสินคดีพลเมืองและคดีอาญา และศาลปกครองที่จะตัดสินคดีของข้าราชการ

สถาบันพระมหากษัตริย์

[แก้]

ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปกครองในระบอบราชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1815 โดยราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของประเทศเนเธอร์แลนด์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ มีองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิตรง คือ เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์

รัฐธรรมนูญระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ มีพระราชอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลและตรากฎหมาย กฎหมายทุกฉบับจะต้องได้รับการลงพระปรมาภิไทยจากพระองค์ พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นประธานของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในทางนิติบัญญัติทุกเรื่อง และยังทรงเป็นประธานศาลปกครองสูงสุดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้พระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจเต็ม แต่พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันมักจะหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางการเมืองและทรงวางตัวเป็นกลางทางการเมืองในการจัดตั้งคณะรัฐบาลหลังการเลือกตั้งหรือในกรณีที่เกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีล้มเหลว นายกรัฐมนตรีต้องทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงยุบคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี

[แก้]

รัฐบาลของเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลเท่านั้นและทรงไม่แทรกแซงการตัดสินใจของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีมีสิทธิ์ในการตรากฎหมายและออกนโยบายต่างๆ มีการประชุมกันทุกวันศุกร์ที่อาคารบินเนินโฮฟในนครเดอะเฮก รัฐมนตรีส่วนใหญ่จะประจำอยู่ที่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 มีการยินยอมให้มีรัฐมนตรีที่ไม่สังกัดกระทรวงใดๆ นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรีและมีบทบาทสำคัญในรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

กระทรวงในคณะรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ ได้แก่

รัฐสภา

[แก้]

รัฐสภาเนเธอร์แลนด์ประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร (สภาสองหรือ Tweede Kamer) และวุฒิสภา (สภาหนึ่งหรือ Eerste Kamer) ทั้งสองสภาประชุมกันที่บินเนินโฮฟ ในนครเดอะเฮก เพื่ออภิปรายข้อเสนอกฎหมายและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย ส่วนวุฒิสภามีอำนาจในการอภิปรายเห็นชอบหรือปฏิเสธข้อเสนอ โดยเนเธอร์แลนด์ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทุก 4 ปีในระบบสัดส่วนตัวแทน ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง โดยประชาชนเป็นผู้เลือกตามชื่อที่ปรากฎในบัตรเลือกตั้ง หากผู้แทนราษฎรลาออก ตำแหน่งที่ว่างลงจะตกเป็นของพรรคที่อดีตผู้แทนคนนั้นสังกัด รัฐบาลผสมอาจจะถูกยุบเลิกได้ก่อนครบวาระ ซึ่งมักจะนำมาสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรก่อนถึงวาระและมีการจัดการเลือกตั้งใหม่

ส่วนสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมจากสมาชิสภาจังหวัด ที่มีการเลือกตั้งทุก 4 ปีเช่นกัน โดยสภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในระบบพรรคการเมืองเช่นเดียวกัน ระบบนี้มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์ที่แต่ละภูมิภาคจะส่งตัวแทนมาประชุมในสภากลางของประเทศ ปัจจุบัน วุฒิสภาเป็นดั่งองค์กรอาวุโสที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อกฎหมายโดยอิสระ ปราศจากแรงกดดันใดจากสังคมและสื่อ มีการประชุมหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์

พรรคการเมือง

[แก้]

เนเธอร์แลนด์มีระบบการเมืองที่มีหลายพรรค เกิดจากการที่สังคมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา(อาทิ คาทอลิก โปรเตสแตนท์) และความแตกต่างทางแนวคิดการเมือง(สังคมนิยมหรือเสรีนิยม) พรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันได้แก่

ระบบยุติธรรม

[แก้]

ระบบยุติธรรมของเนเธอร์แลนด์ประกอบไปด้วยศาลเขต 11 แห่ง ศาลอุทธรณ์ 4 แห่ง ศาลปกครอง 3 แห่ง และศาลสูงสุด รัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตลอดชีพจนกว่าจะเกษียณอายุราชการเมื่ออายุครบ 70 ปี

นโยบาย

[แก้]

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

นโยบายต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับสี่ประการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ข้ามทะเลแอตแลนติก การรวมตัวของยุโรป การพัฒนาระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ในอดีตนั้นเนเธอร์แลนด์เคยยึดนโยบายเป็นกลางมาตลอด กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนเธอร์แลนด์ได้เข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร ทั้งองค์การสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และสหภาพยุโรป เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์เป็นระบบเปิดและขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก

นโยบายในประเทศ

[แก้]

เนเธอร์แลนด์มีนโยบายอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อความบันเทิง อนุญาตการค้าประเวณีระดับหนึ่ง และออกกฎหมายรับรองการแต่งงานในเพศเดียวกัน การทำแท้ง และการุณยฆาต นับเป็นประเทศที่มีแนวคิดเสรีนิยมสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Civil service systems in Western Europe edited by A. J. G. M. Bekke, Frits M. Meer, Edward Elgar Publishing, 2000, Chapter 7
  2. McGarry, John; O'Leary, Brendan (1993). "Introduction: The 4-political regulation of ethnic conflict". ใน McGarry, John; O'Leary, Brendan (บ.ก.). The Politics of Ethnic Conflict Regulation: Case Studies of Protracted Ethnic Conflicts. London: Routledge. pp. 1–40. ISBN 0-415-07522-X.