การขาดแอนโดรเจน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การขาดแอนโดรเจน[1] หรือ ภาวะแอนโดรเจนทำงานพร่อง (อังกฤษ: Androgen deficiency, hypoandrogenism, androgen deficiency syndrome) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่กำหนดโดยมีการทำงานเนื่องกับฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายไม่เพียงพอ

อาการ[แก้]

อาการในชายรวมทั้งการเสียความต้องการทางเพศ, ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, เป็นหมัน, อัณฑะ องคชาต และต่อมลูกหมากฝ่อ, ภาวะเพศชายลดลง (เช่น ขนหน้าและขนตัวลดลง), กล้ามเนื้อฝ่อ, วิตกกังวล, ซึมเศร้า, ล้า, อาการหลอดเลือดหดขยาย (vasomotor symptom) เช่น ร้อนเนื้อร้อนตัว, นอนไม่หลับ, ปวดศีรษะ, และภาวะกระดูกพรุน นอกจากนั้นแล้ว อาการของภาวะเอสโทรเจนทำงานเกิน (hyperestrogenism) เช่น เต้านมชายโตขึ้น (gynecomastia) และภาวะเพศหญิงเพิ่มขึ้น อาจปรากฏพร้อม ๆ กันในชาย

ส่วนหญิงจะมีอาการเสียความต้องการทางเพศ, ขนลดลง, ซึมเศร้า, ล้า, หลอดเลือดตีบในช่องคลอด (vaginal vasocongestion) ซึ่งทำให้เกิดตะคริว, อาการหลอดเลือดหดขยาย (vasomotor symptom) เช่น ร้อนเนื้อร้อนตัว ใจสั่น, นอนไม่หลับ, ปวดศีรษะ, ภาวะกระดูกพรุน, และกล้ามเนื้อฝ่อ[2][3][4] อาการของภาวะเอสโทรเจนทำงานพร่อง (hypoestrogenism) อาจมีได้ทั้งในสองเพศในกรณีที่ภาวะนี้รุนแรง เพราะว่า เอสโทรเจนสังเคราะห์มาจากแอนโดรเจน

เหตุ[แก้]

ภาวะแอนโดรเจนทำงานพร่องเกิดจากการทำงานผิดปกติ หรือการไม่ทำงาน หรือการไม่มีต่อมบ่งเพศ (hypergonadotropic hypogonadism), หรือความพิการของไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมอง (hypogonadotropic hypogonadism) ซึ่งอาจมีสาเหตุต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งสภาพทางพันธุกรรม (เช่น gonadotropin-releasing hormone/gonadotropin insensitivity และเอนไซม์สังเคราะห์สเตอรอยด์บกพร่อง [enzymatic defects of steroidogenesis]), เนื้องอก, การบาดเจ็บ (trauma), การผ่าตัด, ภาวะภูมิต้านตนเอง, การฉายรังสี (radiation therapy), การติดเชื้อ, พิษ, ยา, และเหตุอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจเป็นอาการของ androgen insensitivity syndrome หรือภาวะเอสโทรเจนทำงานเกิน (hyperestrogenism) และอายุที่มากขึ้นก็อาจเป็นปัจจัยของภาวะนี้ เพราะว่า ระดับแอนโดรเจนจะลดลงตามอายุ[ต้องการอ้างอิง]

การวินิจฉัย[แก้]

ภาวะนี้ปกติจะไม่เช็คในหญิงที่มีสุขภาพดี[5]

การรักษา[แก้]

การรักษาอาจรวมการให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนแทน (hormone replacement therapy) ทั้งในหญิงชาย หรือว่า อาจให้ gonadotropin-releasing hormone (GnRH) หรือ gonadotropin-releasing hormone agonist (GnRH agonist) หรือ gonadotropin ในกรณีที่เป็น hypogonadotropic hypoandrogenism

องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) รายงานในปี 2558 ว่า ทั้งประโยชน์และความปลอดภัยในการรักษาด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสำหรับผู้ที่มีระดับฮอร์โมนต่ำเนื่องจากอายุยังไม่ชัดเจน[6] และ FDA ก็บังคับบริษัทจำหน่ายเทสโทสเตอโรนให้พิมพ์คำเตือนว่า ยามีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง[6]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "deficiency", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) การขาด, การพร่อง
  2. Jakiel, G; Baran, A (2005). "[Androgen deficiency in women]". Endokrynologia Polska (ภาษาโปแลนด์). 56 (6): 1016–20. PMID 16821229.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Bachmann, GA (April 2002). "The hypoandrogenic woman: pathophysiologic overview". Fertility and Sterility. 77 Suppl 4: S72-6. doi:10.1016/S0015-0282(02)03003-0. PMID 12007907.
  4. Bremner, William J (27 May 2003). Androgens in Health and Disease. Humana Press. pp. 365–379. ISBN 978-1-58829-029-8. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  5. Wierman, ME; Arlt, W; Basson, R; Davis, SR; Miller, KK; Murad, MH; Rosner, W; Santoro, N (October 2014). "Androgen therapy in women: a reappraisal: an endocrine society clinical practice guideline". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 99 (10): 3489–510. doi:10.1210/jc.2014-2260. PMID 25279570.
  6. 6.0 6.1 "Testosterone Products: Drug Safety Communication - FDA Cautions About Using Testosterone Products for Low Testosterone Due to Aging; Requires Labeling Change to Inform of Possible Increased Risk of Heart Attack And Stroke". FDA. 3 March 2015. สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.