ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย | |
---|---|
ชื่ออื่น | Hypothyroidism, underactive thyroid, low thyroid, hypothyreosis |
โครงสร้างโมเลกุลของไทรอกซีน หากขาดฮอร์โมนนี้จะทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย | |
การออกเสียง | |
สาขาวิชา | วิทยาต่อมไร้ท่อ |
อาการ | ทนความหนาวไม่ได้ รู้สึกอ่อนเพลีย ท้องผูก หัวใจเต้นช้า ซึมเศร้า และน้ำหนักเพิ่ม[3] |
ภาวะแทรกซ้อน | หากเป็นขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกมีสภาพแคระโง่ได้[4] |
การตั้งต้น | อายุ 60 ปี ขึ้นไป[3] |
สาเหตุ | Iodine deficiency, Hashimoto's thyroiditis[3] |
วิธีวินิจฉัย | Blood tests (thyroid-stimulating hormone, thyroxine)[3] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Depression, dementia, heart failure, chronic fatigue syndrome[5] |
การป้องกัน | Salt iodization[6] |
การรักษา | Levothyroxine[3] |
ความชุก | 0.3–0.4% (สหรัฐอเมริกา)[7] |
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (อังกฤษ: hypothyroidism) เป็นโรคระบบต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย[3] ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายอย่าง เช่น ทนความหนาวไม่ได้ รู้สึกอ่อนเพลีย ท้องผูก หัวใจเต้นช้า ซึมเศร้า และน้ำหนักเพิ่ม[3] ผู้ป่วยบางรายอาจมีต่อมไทรอยด์โตกว่าปกติ เรียกว่าคอพอก[3] หากหญิงตั้งครรภ์ป่วยจากภาวะนี้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ทารกมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาล่าช้า หรือเกิดกลุ่มอาการขาดไอโอดีนตั้งแต่กำเนิดได้[4]
สาเหตุของภาวะนี้ที่พบบ่อยที่สุดในระดับโลกคือการขาดไอโอดีน[7][8] ในประเทศที่มีการเสริมไอโอดีนเพียงพอสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดจะเป็นโรคไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต[3] สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้น้อยกว่า ได้แก่ การได้รับการรักษาด้วยการกลื่นไอโอดีนกัมมันตรังสีเพื่อทำลายต่อมไทรอยด์ การบาดเจ็บต่อไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมองส่วนหน้า ยาบางชนิด ไทรอยด์ต่ำแต่กำเนิด หรือเคยผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออก[3][9] การวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ ทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน TSH และไทรอกซีน[3]
การเสริมไอโอดีนในเกลือสามารถป้องกันภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยได้ในหลายๆ พื้นที่[6] สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะนี้แล้วสามารถรักษาได้โดยการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ชดเชยฮอร์โมนไทรอยด์ที่ขาด[3] แพทย์จะปรับขนาดยาตามอาการและระดับของฮอร์โมนทั้ง TSH และไทรอกซีน[3] ยานี้ปลอดภัยใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์[3] การกินอาหารที่มีไอโอดีนเพียงพอเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันโรค แต่หากได้รับไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยได้เช่นกัน[3]
ทั่วโลกมีประชากรที่ขาดไอโอดีนอยู่ประมาณหนึ่งพันล้านคน แต่ยังไม่ชัดเจนว่าในจำนวนนี้ทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเป็นจำนวนเท่าไร[10] ในสหรัฐพบผู้ป่วยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยประมาณ 0.3-0.4% ของประชากร[7] นอกจากนี้ยังมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยชนิดไม่ทำให้เกิดอาการ (subclinical hypothyroidism) พบในสหรัฐ 4.3-8.5% ของประชากร[7] ภาวะนี้ผู้ป่วยจะมีฮอร์โมน TSH สูงแต่ไทรอกซีนจะปกติ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[3] มักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี[3] นอกจากพบในมนุษย์แล้วยังพบในสุนัข แมว และม้าด้วย แต่พบได้น้อยมาก[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "hypothyroidism". Dictionary.com Unabridged. Random House.
- ↑ "hypothyroidism - definition of hypothyroidism in English from the Oxford dictionary". OxfordDictionaries.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 "Hypothyroidism". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. March 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 5 March 2016.
- ↑ 4.0 4.1 Preedy, Victor (2009). Comprehensive Handbook of Iodine Nutritional, Biochemical, Pathological and Therapeutic Aspects. Burlington: Elsevier. p. 616. ISBN 9780080920863.
- ↑ Ferri, Fred F. (2010). Ferri's differential diagnosis : a practical guide to the differential diagnosis of symptoms, signs, and clinical disorders (2nd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. p. Chapter H. ISBN 978-0323076999.
- ↑ 6.0 6.1 Syed S (April 2015). "Iodine and the "near" eradication of cretinism". Pediatrics. 135 (4): 594–6. doi:10.1542/peds.2014-3718. PMID 25825529.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Garber JR, Cobin RH, Gharib H, Hennessey JV, Klein I, Mechanick JI, Pessah-Pollack R, Singer PA, Woeber KA (December 2012). "Clinical practice guidelines for hypothyroidism in adults: cosponsored by the American Association of Clinical Endocrinologists and the American Thyroid Association" (PDF). Thyroid. 22 (12): 1200–35. doi:10.1089/thy.2012.0205. PMID 22954017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-14. สืบค้นเมื่อ 2013-12-25.
- ↑ Chakera AJ, Pearce SH, Vaidya B (2012). "Treatment for primary hypothyroidism: current approaches and future possibilities". Drug Design, Development and Therapy (Review). 6: 1–11. doi:10.2147/DDDT.S12894. PMC 3267517. PMID 22291465.
- ↑ Persani L (September 2012). "Clinical review: Central hypothyroidism: pathogenic, diagnostic, and therapeutic challenges". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism (Review). 97 (9): 3068–78. doi:10.1210/jc.2012-1616. PMID 22851492.
- ↑ Cooper, DS; Braverman LE, บ.ก. (2012-07-12). Werner & Ingbar's the thyroid : a fundamental and clinical text (10th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins Health. p. 552. ISBN 978-1451120639. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-20.
- ↑ "Hypothyroidism". Merck Veterinary Manual, 10th edition (online version). 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-23. สืบค้นเมื่อ 2013-12-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |