เบาจืด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Diabetes insipidus)
เบาจืด
Diabetes insipidus
เวโซเพรสซิน
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการปริมาณปัสสาวะเจือจางมาก, ความกระหายน้ำเพิ่มขึ้น[1]
ภาวะแทรกซ้อนภาวะขาดน้ำ ชัก[1]
การตั้งต้นอายุเท่าใดก็ได้[2][3]
ประเภทกลาง, ไต, ดื่มน้ำมาก, ครรภ์[1]
สาเหตุแล้วแต่ชนิด[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจปัสสาวะ, การตรวจเลือด, การทดสอบขาดน้ำ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันเบาหวาน[1]
การรักษาดื่มของเหลวให้เพียงพอ[1]
ยาเดสโมเพรสซิน, ไทอะไซด์, แอสไพริน[1]
พยากรณ์โรคดีหากได้รับการรักษา[1]
ความชุก3 ต่อ 100,000 คนต่อปี[4]

เบาจืด (อังกฤษ: diabetes insipidus, DI) เป็นภาวะที่มีลักษณะปริมาณปัสสาวะมาก เจือจาง และความกระหายน้ำเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะได้มากถึง 20 ลิตรต่อวัน แม้ผู้ป่วยจะลดการกินของเหลวแล้วร่างกายก็จะยังไม่สามารถทำปัสสาวะให้เข้มข้นขึ้นได้ ต่างจากคนปกติที่เมื่อลดการกินของเหลว (เช่น หิวน้ำ) ปัสสาวะจะเข้มข้น ภาวะแทรกซ้อนอาจได้แก่ ภาวะขาดน้ำหรือชัก[1]

มีเบาจืด 4 ชนิดแบ่งตามสาเหตุ เบาจืดเหตุสมอง (central DI) เนื่องจากขาดฮอร์โมนเวโซเพรสซิน (ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ) อาจเกิดจากความเสียหายต่อไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมอง หรือกรรมพันธุ์ เบาจืดเหตุไต (nephrogenic DI) เกิดเมื่อไตไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อเวโซเพรสซิน เบาจืดเหตุดื่มน้ำ (Dipsogenic DI) เกิดจากกลไกความกระหายผิดปกติในไฮโปทาลามัส และเบาจืดเหตุตั้งครรภ์ (gestational DI) เกิดเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ การวินิจฉัยมักอาศัยการทดสอบปัสสาวะ การทดสอบเลือดและการทดสอบการขาดน้ำ ส่วนเบาหวานเป็นอีกภาวะหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่คล้ายกันตรงที่ทั้งสองภาวะต่างทำให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะปริมาณมากเหมือนกัน[1]

การรักษาได้แก่การดื่มของเหลวให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การรักษาอย่างอื่นขึ้นอยู่กับชนิดของเบาจืด ในเบาจืดเหตุสมองและเบาจืดเหตุตั้งครรภ์สามารถรักษาได้โดยใช้เดสโมเพรสซิน เบาจืดเหตุไตต้องรักษาตามสาเหตุหรือใช้ยาไทอะไซด์ แอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน จำนวนผู้ป่วยเบาจืดรายใหม่มี 3 ใน 100,000 คนต่อปี[4] เบาจืดเหตุสมองโดยทั่วไปจะเริ่มเมื่ออายุ 10 ถึง 20 ปี และพบในชายหญิงเท่า ๆ กัน[2] เบาจืดเหตุไตเริ่มเกิดเมื่อใดก็ได้[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 "Diabetes Insipidus". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2017. สืบค้นเมื่อ 28 May 2017.
  2. 2.0 2.1 "Central Diabetes Insipidus". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2017. สืบค้นเมื่อ 28 May 2017.
  3. 3.0 3.1 "Nephrogenic Diabetes Insipidus". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2017. สืบค้นเมื่อ 28 May 2017.
  4. 4.0 4.1 Saborio P, Tipton GA, Chan JC (2000). "Diabetes Insipidus". Pediatrics in Review. 21 (4): 122–129. doi:10.1542/pir.21-4-122. PMID 10756175.