โรคแอดดิสัน
โรคแอดดิสัน | |
---|---|
ชื่ออื่น | Addison disease, chronic adrenal insufficiency, hypocortisolism, hypoadrenalism, primary adrenal insufficiency[1] |
สาขาวิชา | วิทยาต่อมไร้ท่อ |
อาการ | ปวดท้อง, อ่อนแรง, น้ำหนักลด, ผิวคล้ำขึ้น[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | ภาวะวิกฤติต่อมหมวกไต[1] |
การตั้งต้น | เพศหญิงวัยกลางคน[1] |
สาเหตุ | ต่อมหมวกไตมีปัญหา[1] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจเลือด, การตรวจปัสสาวะ, การฉายภาพทางการแพทย์[1] |
การรักษา | คอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น คอร์ติซอลและฟลูโดคอร์ติโซน[1][2] |
ความชุก | 0.9–1.4 ต่อ 10,000 คน (ประเทศพัฒนาแล้ว)[1][3] |
โรคแอดดิสัน (อังกฤษ: Addison's disease) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ เนื่องจากต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนสเตอรอยด์ไม่เพียงพอ[1] อาการทั่วไปที่พบได้แก่ ปวดท้อง, อ่อนแรง, น้ำหนักลด รวมถึงสีผิวคล้ำขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือภาวะวิกฤติต่อมหมวกไต ร่วมกับอาเจียน, ปวดหลังส่วนล่าง, ช็อกและโคม่า[1]
โรคแอดดิสันเป็นหนึ่งในโรคต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ แบบปฐมภูมิ คือต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลและอัลโดสเตอโรนไม่เพียงพอ และแบบทุติยภูมิ คือต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิกไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการผลิตคอร์ติซอลในต่อมหมวกไต[4] ความผิดปกตินี้ส่วนใหญ่เกิดจากโรคภูมิต้านตนเองในประเทศพัฒนาแล้ว และวัณโรคในประเทศกำลังพัฒนา[5] การตรวจโรคทำได้ด้วยการการตรวจเลือด, การตรวจปัสสาวะและการฉายภาพทางการแพทย์[1] การรักษาโรคแอดดิสันมักเป็นการให้ฮอร์โมนทดแทน คือให้ไฮโดรคอร์ติโซนและฟลูโดคอร์ติโซนทางปาก[1][2] หากอาการแย่ลง จะมีการแนะนำให้ฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์ ร่วมกับการให้น้ำตาลเดกซ์โตรสทางหลอดเลือดดำ หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดภาวะวิกฤติต่อมหมวกไตและทำให้เสียชีวิตได้
โรคแอดดิสันมีความชุกประมาณ 0.9 ถึง 1.4 ต่อประชากร 10,000 คนในประเทศพัฒนาแล้ว[1][3] มักพบในเพศหญิงวัยกลางคน[1] นอกจากจะพบในมนุษย์แล้ว โรคนี้ยังสามารถพบในสุนัข โดย 70% พบในสุนัขเพศเมีย[6][7] โรคแอดดิสันตั้งชื่อตามทอมัส แอดดิสัน แพทย์ชาวอังกฤษที่บรรยายถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1855[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 "Adrenal Insufficiency and Addison's Disease". NIDDK. May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
- ↑ 2.0 2.1 Napier, C; Pearce, SH (June 2014). "Current and emerging therapies for Addison's disease". Current Opinion in Endocrinology, Diabetes and Obesity. 21 (3): 147–53. doi:10.1097/med.0000000000000067. PMID 24755997.
- ↑ 3.0 3.1 Brandão Neto, RA; de Carvalho, JF (2014). "Diagnosis and classification of Addison's disease (autoimmune adrenalitis)". Autoimmunity Reviews. 13 (4–5): 408–11. doi:10.1016/j.autrev.2014.01.025. PMID 24424183.
- ↑ "Adrenal Insufficiency (Addison's disease)". Johns Hopkins Medicine. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
- ↑ Adam, Andy (2014). Grainger & Allison's Diagnostic Radiology (6 ed.). Elsevier Health Sciences. p. 1031. ISBN 9780702061288. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14.
- ↑ Stafford, Debbie (September 1999). "The Great Mimic: Canine Addison's Disease" (PDF). Veterinary Technician. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2016. สืบค้นเมื่อ 5 May 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) (PDF) - ↑ Klein, Susan C.; Peterson, Mark E. (2010). "Canine hypoadrenocorticism: part I". The Canadian Veterinary Journal. 51 (1): 63–9. PMC 2797351. PMID 20357943.
- ↑ Rose, Noel R.; Mackay, Ian R. (2014). The autoimmune diseases (5 ed.). San Diego, CA: Elsevier Science. p. 605. ISBN 9780123849304. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรคแอดดิสัน
- "โรคแอดดิสัน (Addison's disease)". Pobpad.