กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา
กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา | |
---|---|
缅甸民族民主同盟军 မြန်မာ့အမျိုးသားဒီမိုကရက်တစ်မဟာမိတ်တပ်မတော် | |
คณะผู้นำ | Pheung Daxun[1] |
ปีที่ปฏิบัติการ | 12 มีนาคม พ.ศ. 1989 – ปัจจุบัน |
ภูมิภาคปฏิบัติการ | โกก้าง, ประเทศพม่า |
แนวคิด | ชาตินิยมโกก้าง |
ขนาด | 6,000+ นาย[2] |
ส่วนหนึ่งของ | พรรคเพื่อความจริงและความยุติธรรมแห่งชาติพม่า |
พันธมิตร | พันธมิตรเหนือ[3]
พันธมิตรอื่น |
ฝ่ายตรงข้าม | พม่า สหภาพพม่า (จนถึงปี 2554) |
การต่อสู้และสงคราม | ความขัดแย้งภายในพม่า |
ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มก่อการร้ายโดย | ประเทศพม่า[4] |
ธง | |
กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 缅甸民族民主同盟军 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 緬甸民族民主同盟軍 | ||||||
|
กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (อังกฤษ: Myanmar National Democratic Alliance Army: MNDA; พม่า: မြန်မာအမျိုးသား ဒီမိုကရက်တစ် မဟာမိတ်တပ်မတော်) ชื่อเดิมคือ พรรคประชาธิปไตยโกก้าง (Kokang Democracy Party)[5] เป็นกองทัพกบฏของชาวโกก้างทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าที่ก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2532. กองทัพนี้ได้ตกลงสงบศึกกับรัฐบาลทหารของพม่ามาราว 20 ปี[6] ยัง เมาเลียงเป็นผู้นำคนปัจจุบัน
ภูมิหลัง
[แก้]พื้นที่ในบริเวณนี้ถูกควบคุมด้วยขุนศึกต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503[7] กองทัพนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2532 หลังจากที่ผู้นำในท้องถิ่นของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า โพน กยัน ชิน (Phone Kyar Shin) หรือเปง เจียเช็ง (Peng Jia Sheng) ได้แยกตัวออกมาจากพรรคและจัดตั้งกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาขึ้น[7] โดยร่วมมือกับพี่ชายของเขาคือเปง เจียฟู (Peng Jiafu) ทำให้กลายเป็นกองทัพใหม่ในโกก้าง[8] มีกำลังพลราว 1,500 ถึง 2,000 คน
กลุ่มกบฏกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่ตกลงเจรจาสันติภาพกับทหารพม่า หลังสงบศึก พื้นที่นี้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งทั้งทางกองทัพและผู้นำทหารในท้องถิ่นได้แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งเพิ่มการเก็บเกี่ยวฝิ่น ผลิตเฮโรอีน[9] และผลิตเมแทมเฟตามีน[10] กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาควบคุมพื้นที่เพาะปลูกและสามารถควบคุมกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหตุการณ์โกก้าง
[แก้]ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาเกี่ยวข้องในความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับทหารพม่า ทำให้เกิดการสู้รบกันขึ้นเป็นครั้งแรกนับแต่ลงนามสงบศึกไปเมื่อ 20 ปีก่อน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Myanmar Peace Monitor - MNDAA". 6 June 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
- ↑ "Myanmar National Democratic Alliance Army (MNDAA) » Myanmar Peace Monitor". 6 June 2013.
- ↑ Lynn, Kyaw Ye. "Curfew imposed after clashes near Myanmar-China border". Anadolu Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2020. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
- ↑ https://www.aljazeera.com/news/2024/9/4/myanmar-regime-labels-key-ethnic-armed-groups-terrorist-organisations
- ↑ Fredholm, Michael (1993). Burma: ethnicity and insurgency. Praeger. p. 205. ISBN 978-0-275-94370-7.
- ↑ Ethnic group in Myanmar said to break cease-fire เก็บถาวร 2009-09-06 ที่ archive.today. Associated Press. August 28, 2009.
- ↑ 7.0 7.1 South, Ashley (2008). Ethnic politics in Burma: states of conflict. Taylor & Francis. p. 140. ISBN 978-0-203-89519-1.
- ↑ Rotberg, Robert (1998). Burma: prospects for a democratic future. Brookings Institution Press. p. 169.
- ↑ Skidmore, Monique; Wilson, Trevor (2007). Myanmar: the state, community and the environment. ANU E Press. p. 69.
- ↑ Shanty, Frank; Mishra, Patit Paban (2007). Organized crime: from trafficking to terrorism. ABC-CLIO. p. 70.
- ↑ Johnson, Tim (August 29, 2009). China Urges Burma to Bridle Ethnic Militia Uprising at Border. The Washington Post.