เตมือร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Timur)
เตมือร์
รูปปั้นเตมือร์ที่ทำรูปแบบจากกะโหลกโดยMikhail Mikhaylovich Gerasimov
อะมีรแห่งจักรวรรดิเตมือร์
ครองราชย์9 เมษายน ค.ศ. 1370 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405
ราชาภิเษก9 เมษายน ค.ศ. 1370, บัลค์[2]
ก่อนหน้าอะมีร ฮุซัยน์ (ในฐานะผู้นำแห่งแทรนโซเซียนา)
ถัดไปเคาะลีล ซุลตอน
ประสูติ9 เมษายน ค.ศ. 1336[2]
เกช, จักรวรรดิข่านจักกาไท (ปัจจุบันคือชาฮ์รือซัปส์, ประเทศอุซเบกิสถาน)
สวรรคต18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405(1405-02-18) (68 ปี)
ฟารับ, จักรวรรดิเตมือร์ (ปัจจุบันคือโวตรอร์, ประเทศคาซัคสถาน)
ฝังพระศพGur-e-Amir, ซามาร์กันต์, ประเทศอุซเบกิสถาน
พระมเหสีซารัย มุลก์ คานุม
มเหสีรอง
  • Chulpan Mulk Agha
  • Aljaz Turkhan Agha
  • Tukal Khanum
  • Dil Shad Agha
  • Touman Agha
  • มเหสีองค์อื่น
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
ชุญาอุดดีน ตีมูร์[3]
ราชวงศ์เตมือร์
พระราชบิดาAmir Taraghai
พระราชมารดาTekina Khatun
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

เตมือร์[a] (ชากาทาย: تيمور Temür, แปลว่า 'เหล็ก'; 9 เมษายน ค.ศ. 1336 – 17–19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405) ภายหลังมีพระนามว่า ทีมูร์กูร์คอนี[b] (ชากาทาย: تيمور کورگن Temür Küregen)[8] เป็นขุนศึกเชื้อสายผสมระหว่างมองโกลกับเติร์ก และเป็นผู้พิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง และยังเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเตมือร์และราชวงศ์เตมือร์ พระองค์ถือเป็นหนึ่งในผู้นำทหารและนักกลยุทธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[9][10] เตมือร์ยังเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ตอนที่ติดต่อกับปัญญาชนอย่างอิบน์ ค็อลดูนกับฮอฟีซี แอบรูและนำรัชสมัยของพระองค์ไปสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเตมือร์[9]: 341–2 

เตมือร์เสด็จพระราชสมภพที่สมาพันธรัฐแบร์ลอสในแทรนโซเซียนา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1336 ต่อมาได้ควบคุมจักรวรรดิข่านจักกาไทตะวันตกใน ค.ศ. 1370 นับจากนั้น พระองค์เริ่มพิชิตทั่วเอเชียตะวันตก, ใต้ และกลาง, คอเคซัส และรัสเซียใต้ และกลายเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกมุสลิมหลังเอาชนะมัมลูกแห่งอียิปต์และซีเรีย, จักรวรรดิออตโตมันที่กำลังเติบโต และรัฐสุลต่านเดลีที่กำลังเสื่อมสลายในอินเดีย[11] หลังจากการพิชิต พระองค์ก่อตั้งจักรวรรดิเตมือร์ขึ้น แต่หลังสวรรคตไม่นาน จักรวรรดิของพระองค์จึงแตกเป็นเสี่ยง ๆ

เตมือร์เป็นผู้พิชิตชนร่อนเร่คนสุดท้ายแห่งทุ่งหญ้าสเตปป์ยูเรเซีย และจักรวรรดิของพระองค์อยู่ในช่วงขาขึ้นของจักรวรรดิดินปืนอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17[12][13][14] เตมือร์สืบเชื้อสายจากเติร์กและมองโกล และแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงในสองฝั่ง พระองค์มีบรรพบุรุษทางฝั่งพระราชบิดาเป็นคนเดียวกันกับเจงกิสข่าน[15][16][17] ในขณะที่นักเขียนบางส่วนกล่าวแนะว่า พระราชมารดาของพระองค์อาจเป็นลูกหลานของข่าน[18][19] เห็นได้ชัดว่าพระองค์พยายามที่จะใช้มรดกนี้ในการทัพช่วงหลังของพระองค์[20] เตมือร์จินตนาการถึงการฟื้นฟูจักรวรรดิมองโกลของเจงกิสข่าน (สวรรคตใน ค.ศ. 1227) และGérard Chaliandรายงานว่าพระองค์ทอดพระเนตรตัวพระองค์เป็นทายาทของเจงกิสข่าน[21]

กองทัพของเตมือร์มีหลายเชื้อชาติและเป็นที่หวาดกลัวทั่วเอเชีย แอฟริกา และยุโรป[9] ส่วนที่พระองค์พิชิตได้กลับทำให้มันเสียเปล่า[22] นักวิชาการประมาณการว่าการทัพของพระองค์ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 ล้านคน ซึ่งเท่ากับประชากรโลกประมาณร้อยละ 5 ในเวลานั้น[23][24] ในดินแดนที่พิชิตทั้งหมด ฆวอแรซม์ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีการก่อกบฏหลายครั้งในบริเวณนี้[25]

เตมือร์เป็นพระอัยกาของอูลุฆ เบก ผู้ปกครองเอเชียกลางใน ค.ศ. 1411 ถึง 1449 และพระอัยกาของพระปัยกาของจักรพรรดิบาบูร์ (ค.ศ. 1483–1530) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิโมกุล ซึ่งปกครองเกือบทั่วอนุทวีปอินเดีย[26][27]

เตมือร์เป็นคนที่ได้รับทั้งการยกย่องและเกลียดชัง ผู้คนในแถบเอเชียกลางยกย่องเขาในฐานะที่เป็นผู้ปกครองที่นำความร่ำรวย ความมั่งคั่ง และอำนาจมาสู่ภูมิภาคนี้อย่างมาก แต่ผู้คนในโลกอาหรับ เปอร์เซีย และอินเดียสาปแช่งเขาในฐานะที่เขาเป็นผู้ทำลายอารยธรรมและได้ฆ่าผู้คนไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ทุกวัฒนธรรมต่างก็ยอมรับในความสามารถในการศึกของเขา โดยในเปอร์เซียเขามักถูกเรียกว่า Teymour The Conqueror of The World

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

งานเลี้ยงของเอมีร์เตมือร์ในสวนที่ซามาร์กันต์

เตมือร์เสด็จพระราชสมภพที่แทรนโซเซียนาใกล้กับเมืองเคช (ปัจจุบันคือชาฮ์รือซัปส์ ประเทศอุซเบกิสถาน) ซึ่งอยู่ทางใต้ของซามาร์กันต์ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) ในจักรวรรดิข่านจักกาไท[28] พระนามของพระองค์ในภาษาชะกะไตหมายถึง "เหล็ก" (เปรียบเทียบกับอุซเบก: Temir, ตุรกี: Demir)[29] ซึ่งคล้ายกับพระนามเจงกิสข่านตอนเสด็จพระราชสมภพว่า เตมือจิน (Temüjin)[30][31] นักประวัติศาสตร์ราชวงศ์เตมือร์ช่วงหลังอ้างว่าพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1336 แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ให้วันพระราชสมภพของพะรองค์อยู่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1320 Beatrice Forbes Manz นักประวัติศาสตร์สงสัยว่าปี 1336 ถูกออกแบบให้เชื่อมเตมือร์กับอะบูซะอีด บะฮาดูร์ ข่าน ผู้ปกครององค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิข่านอิลที่สืบมาจากฮูลากู ข่าน ผู้สวรรคตในปีนั้น[32]

พระองค์อยู่ในตระกูลแบร์ลอส เผ่ามองโกล[33][34]ที่ถูกแผลงเป็นเติร์กในหลายรูปแบบ[35][36][37] Taraghai พระราชบิดาของพระองค์ถูกกล่าวถึงเป็นขุนนางรองของเผ่า[28] แต่ Manz เชื่อว่าในภายหลังเตมือร์อาจประเมินตำแหน่งสังคมของพระราชบิดาต่ำเกินจริง เพื่อทำให้ความสำเร็จของพระองค์เป็นที่จดจำมากกว่า เธอกล่าวว่า แม้ไม่เชื่อว่าพระองค์มีอำนาจมาก แต่ Taraghai ยังมีทรัพย์สินและมีอิทธิพลอย่างสมเหตุสมผล[38] ซึ่งแสดงให้เห็นจากการที่เตมือร์เสด็จกลับไปยังที่ที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพหลังพระราชบิดาสวรรคตใน ค.ศ. 1360 ซึ่งกล่าวแนะถึงความกังวลต่ออสังหาริมทรัพย์[39]

ในช่วงวัยเด็ก เตมือร์กับผู้ติดตามกลุ่มเล็กไปปล้นสะดมนักเดินทางเพื่อเอาสินค้า โดยเฉพาะสัตว์ต่าง ๆ เช่นแกะ, ม้า และวัว[32]: 116  ในช่วง ค.ศ. 1363 เชื่อกันว่าในตอนที่เตมือร์พยายามขโมยแกะจากคนเลี้ยงแกะ แต่กลับถูกยิงธนูใส่สองดอก โดยดอกแรกยิงโดนที่พระเพลาข้าวขวา ส่วนดอกที่สองยิงโดนที่พระหัตถ์ข้างขวา ทำให้เสียนิ้วไปสองนิ้ว บาดแผลทั้งสองอันในครั้งนั้นส่งผลต่อพระองค์ทั้งชีวิต บางส่วนเชื่อว่าเตมือร์ได้รับบาดเจ็บสาหัสตอนเป็นทหารรับจ้างให้กับข่านแห่งซีซทอนในโฆรอซอนซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาคตวันตกเฉียงใต้ของประเทศอัฟกานิสถาน การบาดเจ็บของเตมือร์ทำให้ชาวยุโรปให้ชื่อเขาว่าเตมือร์ขากะเผลก (Timur the Lame) และแทเมอร์เลน (Tamerlane)[9]: 31 

สวรรคต[แก้]

เตมือร์ประสงค์ที่จะสู้ในฤดูใบไม้ผลิ อย่างไรก็ตาม พระองค์สวรรคตขณะเสด็จไปสู้รบในฤดูหนาว ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1404 เตมือร์เริ่มการทัพต่อจีนสมัยราชวงศ์หมิงและกักขังราชทูตหมิง พระองค์ทรงพระประชวรตอนตั้งค่ายที่ Syr Daria และสวรรคตที่ฟารับในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405[40] ก่อนที่จะถึงชายแดนประเทศจีน[41] หลังสวรรคต เคาะลีล ซุลตอน พระราชนัดดาของพระองค์ ได้ปล่อยตัวทูตหมิงและคณะผู้ติดตามไป[42] Clements Markham นักภูมิศาสตร์ กล่าวถึงรายงานของทูตจาก Clavij ว่า หลังเตมือร์สวรรคต พระวรกายของพระองค์ "ถูกอาบด้วยชะมดและน้ำกุหลาบ ห่อด้วยผ้าลินิน ตั้งในโลงไม้มะเกลือ และถูกส่งไปฝังที่ซามาร์กันต์"[43] Gur-e-Amir สุสานของพระองค์ ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ตาม[44]

มุมมองศาสนา[แก้]

พระบรมสาทิสลักษณ์เตมือร์ในปัจจุบันที่ Gur-e-Amir, ซามาร์กันต์

เตมือร์นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี อาจอยู่ในสำนักแนกช์แบนดี ซึ่งมีอิทธิพลในแทรนโซเซียนา[45] หัวหน้าที่ปรึกษาและที่ปรึกษาทางศาสนาของพระองค์เป็นนักวิชาการสำนักฮะนะฟี อับดุลญับบาร ควาร็อซมี ตอนประทับที่ติรมิซ พระองค์อยู่ภายใต้อิทธิพลของที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณ ซัยยิด บะเราะกะฮ์ ผู้นำจากบัลค์ที่ฝังข้าง ๆ เตมือร์ในGur-e-Amir[46][47][48]

เตมือร์เป็นที่รู้จักจากการยกย่องอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์อย่างสูงและนักวิชาการหลายคนกล่าวถึงพระองค์ว่า "สนับสนุนชีอะฮ์" อย่างไรก็ตาม พระองค์ลงโทษชีอะฮ์จากการดูหมิ่นเศาะฮาบะฮ์[49] และยังเป็นที่รู้จักจากการโจมตีชีอะฮ์ด้วยคำแก้ต่างของซุนนี แล้วบางช่วงก็โจมตีซุนนีเช่นเดียวกัน[50]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อังกฤษ: Timur, /tɪˈmʊər/
     • บางครั้งสะกดเป็น Taimur หรือ Temur.
     • ในอดีตรู้จักกันในนาม อะมีร ตีมูร์ (Amir Timur), แทเมอร์เลน (Tamerlane)[4] (เปอร์เซีย: تيمور لنگ Temūr(-i) Lang; ชากาทาย: اقساق تیمور Aqsaq Temür,[5] แปลว่า 'เตมือร์ขากะเผลก') หรือฉายา Sahib-i-Qiran (แปลว่า 'เจ้าแห่งทางแยกอันรุ่งเรือง' (Lord of the Auspicious Conjunction))[6]
  2. เพื่อทำให้การปกครองของพระองค์เป็นไปตามกฎหมาย เตมือร์จึงอ้างสิทธิตำแหน่ง Guregen (แปลว่า 'ลูกเขยหลวง') ตอนอภิเษกสมรสกับซารัย มุลก์ คานุม เจ้าหญิงเชื้อสาย Chinggisid[7]
  1. Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. Vol. 9. Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. 1847. p. 377.
  2. 2.0 2.1 Muntakhab-al Lubab, Khafi Khan Nizam-ul-Mulki, Vol I, p. 49. Printed in Lahore, 1985
  3. W. M. Thackston, A Century of Princes: Sources on Timurid History and Art, (1989), p.239
  4. /ˈtæmərln/
  5. Johanson, Lars (1998). The Turkic Languages. Routledge. p. 27. ISBN 0-415-08200-5.
  6. ʻInāyat Khān, Muḥammad Ṭāhir Āšnā ʿInāyat Ḫān (1990). The Shah Jahan Nama of 'Inayat Khan: An Abridged History of the Mughal Emperor Shah Jahan, Compiled by His Royal Librarian: the Nineteenth-century Manuscript Translation of A.R. Fuller (British Library, Add. 30,777. Oxford University Press. pp. 11–17.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Manz 1999, p. 14.
  8. Heissig, Walther; Sagaster, Klaus (1989). Gedanke und Wirkung: Festschrift zum 90. Geburtstag von Nikolaus Poppe. p. 115. ISBN 9783447028936.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Marozzi, Justin (2004). Tamerlane: Sword of Islam, conqueror of the world. HarperCollins.
  10. Josef W. Meri (2005). Medieval Islamic Civilization. Routledge. p. 812. ISBN 9780415966900.
  11. "Counterview: Taimur's actions were uniquely horrific in Indian history".
  12. Darwin, John (2008). After Tamerlane: the rise and fall of global empires, 1400–2000. Bloomsbury Press. pp. 29, 92. ISBN 978-1-59691-760-6.
  13. Manz 1999, p. 1.
  14. Marozzi, Justin (2006). Tamerlane: Sword of Islam, Conqueror of the World. Da Capo Press. p. 342. ISBN 978-0-306-81465-5.
  15. Donald M. Seekins, Richard F. Nyrop (1986). Afghanistan A Country Study · Volume 550, Issues 65-986 (ภาษาอังกฤษ). The Studies. p. 11. ISBN 9780160239298 – โดยทาง University of California. Timur was of both Turkish and Mongol descent and claimed Genghis Khan as an ancestor{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. International Association for Mongol Studies; Secretariat, Kokusai Kōryū Kikin; Unesco (2002). Eighth International Congress of Mongolists being convened under the patronage of N. Bagabandi, president of Mongolia (ภาษาอังกฤษ). OUMSKh-ny Nariĭn bichgiĭn darga naryn gazar. p. 377 – โดยทาง Indiana University. First of all, Timur's genealogy gives him a common ancestor with Chinggis Khan in Tumbinai - sechen or Tumanay Khan{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Woods, John E. (2002). Timur and Chinggis Khan. Eighth International Congress of Mongolists being convened under the patronage of N. Bagabandi, president of Mongolia. Ulaanbaatar: OUMSKh-ny Nariĭn bichgiĭn darga naryn gazar. p. 377.
  18. Henry Cabot Lodge (1916). The History of Nations Volume 14 (ภาษาอังกฤษ). P. F. Collier & son. p. 46. ISBN 9780160239298 – โดยทาง University of Minnesota. Timur the Lame, from the effects of an early wound, a name which some European writers have converted into Tamerlane, or Tamberlaine. He was of Mongol origin, and a direct descendant, by the mother's side, of Genghis Khan
  19. Ahmad ibn Arabshah; McChesney, Robert D. (2017). Tamerlane: The Life of the Great Amir. แปลโดย M. M. Khorramia. Bloomsbury Academic. p. 4. ISBN 978-1-78453-170-6.
  20. Richard C. Martin, Encyclopedia of Islam and the Muslim World A-L, Macmillan Reference USA, 2004, ISBN 978-0-02-865604-5, p. 134.
  21. Gérard Chaliand, Nomadic Empires: From Mongolia to the Danube translated by A.M. Berrett, Transaction Publishers, 2004. translated by A.M. Berrett. Transaction Publishers, p.75. ISBN 0-7658-0204-X. Limited preview ที่ Google Books. p. 75., ISBN 0-7658-0204-X, p.75., "Timur Leng (Tamerlane) Timur, known as the lame (1336–1405) was a Muslim Turk. He aspired to recreate the empire of his ancestors. He was a military genius who loved to play chess in his spare time to improve his military tactics and skill. And although he wielded absolute power, he never called himself more than an emir.", "Timur Leng (Tamerlane) Timur, known as the lame (1336–1405) was a Muslim Turk from the Umus of Chagatai who saw himself as Genghis Khan's heir."
  22. Matthew White: Atrocitology: Humanity's 100 Deadliest Achievements, Canongate Books, 2011, ISBN 9780857861252, section "Timur"
  23. "The Rehabilitation of Tamerlane". Chicago Tribune. 17 January 1999.
  24. J.J. Saunders, The history of the Mongol conquests (page 174), Routledge & Kegan Paul Ltd., 1971, ISBN 0812217667
  25. Barthold, V.V. (1962). Four studies on the History of Central Asia, vol. 1 (Second Printing, 1962 ed.). Leiden, E.J.Brill. p. 61.
  26. "Timur". Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition. 2007.
  27. Beatrice F. Manz (2000). "Tīmūr Lang". Encyclopaedia of Islam. Vol. 10 (2nd ed.). Brill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-07. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  28. 28.0 28.1 "Tamerlane". AsianHistory. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  29. Richard Peters, The Story of the Turks: From Empire to Democracy (1959), p. 24
  30. Glassé, Cyril (2001). The new encyclopedia of Islam (Rev. ed.). Walnut Creek, CA: AltaMira Press. ISBN 0-7591-0189-2. OCLC 48553252.
  31. Sinor, Denis (1990-03-01), "Introduction: the concept of Inner Asia", The Cambridge History of Early Inner Asia, Cambridge University Press, pp. 1–18, doi:10.1017/chol9780521243049.002, ISBN 978-0-521-24304-9, สืบค้นเมื่อ 2021-04-06
  32. 32.0 32.1 Manz, Beatrice Forbes (1988). "Tamerlane and the symbolism of sovereignty". Iranian Studies. 21 (1–2): 105–122. doi:10.1080/00210868808701711. JSTOR 4310596.
  33. "Central Asia, history of Timur", in Encyclopædia Britannica, Online Edition, 2007. (Quotation:"Under his leadership, Timur united the Mongol tribes located in the basins of the two rivers.")
  34. "Islamic world", in Encyclopædia Britannica, Online Edition, 2007. Quotation: "Timur (Tamerlane) was of Mongol descent and he aimed to restore Mongol power."
  35. Carter V. Findley, The Turks in World History, Oxford University Press, 2005, Oxford University Press, 2005, ISBN 978-0-19-517726-8, p. 101.
  36. G. R. Garthwaite, The Persians, Malden, ISBN 978-1-55786-860-2, MA: Blackwell Pub., 2007. (p.148) Quotation: "Timur's tribe, the Barlas, had Mongol origins but had become Turkic-speaking ... However, the Barlus tribe is considered one of the original Mongol tribes and there are "Barlus Ovogton" people who belong to Barlus tribe in modern Mongolia."
  37. M.S. Asimov & Clifford Edmund Bosworth, History of Civilizations of Central Asia, UNESCO Regional Office, 1998, ISBN 92-3-103467-7, p. 320: "One of his followers was [...] Timur of the Barlas tribe. This Mongol tribe had settled [...] in the valley of Kashka Darya, intermingling with the Turkic population, adopting their religion (Islam) and gradually giving up its own nomadic ways, like a number of other Mongol tribes in Transoxania ..."
  38. Beatrice Forbes Manz, Tamerlane and the Symbolism of Sovereignty (1988), p. 116
  39. Sharaf ad-Din Ali Yazdi, Zafarnama (1424–1428), p. 35
  40. Adela C.Y. Lee. "Tamerlane (1336–1405) – The Last Great Nomad Power". Silkroad Foundation. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  41. Tsai 2002, p. 161.
  42. Tsai 2002, pp. 188–189.
  43. James Louis Garvin, Franklin Henry Hooper, Warren E. Cox, The Encyclopedia Britannica, Volume 22 (1929), p. 233
  44. Abdulla Vakhabov, Muslims in the USSR (1980), p. 63-4
  45. Manz 1999, p. 17.
  46. "The Descendants of Sayyid Ata and the Rank of Naqīb in Central Asia" by Devin DeWeese Journal of the American Oriental Society, Vol. 115, No. 4 (Oct. – Dec. 1995), pp. 612–634
  47. Four studies on the history of Central Asia, Volume 1 By Vasilij Vladimirovič Bartold p.19
  48. Islamic art By Barbara Brend p.130
  49. Michael Shterenshis Tamerlane and the Jews Routledge ISBN 9781136873669 p. 38
  50. Virani, Shafique N. The Ismailis in the Middle Ages: A History of Survival, A Search for Salvation (New York: Oxford University Press), 2007, p. 114.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Abazov, Rafis. "Timur (Tamerlane) and the Timurid Empire in Central Asia." The Palgrave Concise Historical Atlas of Central Asia. Palgrave Macmillan US, 2008. 56–57.
  • Lamb, Harold (1929). Tamerlane: The Earth Shaker (Hardback). London: Thorndon Butterworth.
  • Marlowe, Christopher. Tamburlaine the Great. Ed. J. S. Cunningham. Manchester University Press, Manchester 1981.
  • Manz, Beatrice Forbes. "Temür and the Problem of a Conqueror's Legacy," Journal of the Royal Asiatic Society, Third Series, Vol. 8, No. 1 (Apr. 1998)
  • Marozzi, Justin. Tamerlane: sword of Islam, conqueror of the world, London: HarperCollins, 2004
  • Marozzi, Justin. "Tamerlane", in: The Art of War: great commanders of the ancient and medieval world, Andrew Roberts (editor), London: Quercus Military History, 2008. ISBN 978-1-84724-259-4
  • Novosel'tsev, A. P. "On the Historical Evaluation of Tamerlane." Soviet studies in history 12.3 (1973): 37–70.
  • Shterenshis, Michael V. "Approach to Tamerlane: Tradition and Innovation." Central Asia and the Caucasus 2 (2000).
  • Sykes, P. M. "Tamerlane" Journal of the Central Asian Society 2.1 (1915): 17–33.
  • YÜKSEL, Musa Şamil. "Timur’un Yükselişi ve Batı’nın Diplomatik Cevabı, 1390–1405." Selçuk Üniversitesi Türkiyat Araştırmaları Dergisi 1.18 (2005): 231–243.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]