ภาษาชะกะไต
ภาษาชะกะไต | |
---|---|
ภูมิภาค | เอเชียกลาง, โคราซาน |
สูญหาย | ราวพ.ศ. 2533 |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | chg |
ISO 639-3 | chg |
ภาษาชะกะไต (ภาษาชะกะไต: جغتای ; ตุรกี: Çağatayca; อุยกูร์: چاغاتاي Chaghatay; อุซเบก: ﭼىﻐﺎتوي Chig'atoy) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในเอเชียกลางและบริเวณโคราซาน คำว่า “ชะกะไต” มีความเกี่ยวพันกับเขตของชะกะไตข่านทางตะวันตกของจักรวรรดิมองโกเลียที่อยู่ในความครอบครองของชะกะไตข่าน ลูกชายคนที่สองของเจงกีสข่าน ชาวตุรกีชะกะไตและชาวตาตาร์จำนวนมากที่เคยพูดภาษานี้เป็นลูกหลานที่สืบตระกูลมาจากจักรวรรดิข่านจักกาไท
พัฒนาการ[แก้]
ภาษานี้พัฒนาระบบการเขียนโดยใช้อักษรอาหรับ ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก เคยเป็นภาษากลางในเอเชียกลาง แบ่งได้เป็นสามยุคคือ
- ยุคก่อนคลาสสิก (พ.ศ. 1943 – 2008) เป็นยุคที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาก
- ยุคคลาสสิก (พ.ศ. 2008 – 2143) เป็นยุคที่มีวรรณคดีเกิดขึ้นมาก
- ยุคหลังคลาสสิก (พ.ศ. 2143 – 2464) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสองทาง ทางหนึ่งคืออนุรักษ์ภาษาชะกะไตยุคคลาสสิกโดยโนวอย และอีกทางหนึ่งเป็นการรับอิทธิพลจากภาษาท้องถิ่นอื่นๆเข้ามา
ปัจจุบันในบริเวณที่เคยใช้ภาษาชะกะไต เป็นบริเวณที่ใช้ภาษาอุซเบกและภาษาอุยกูร์ ในอุซเบกิสถาน ภาษาชะกะไตถูกแทนที่ด้วยภาษาอุซเบกเมื่อราว พ.ศ. 2464 ผู้พูดภาษาชะกะไตคนสุดท้ายคาดว่าตายเมื่อ พ.ศ. 2533 วรรณคดีภาษาชะกะไตที่มีชื่อเสียงคือบทกวีของ Mir Alisher Navoi จนบางครั้งมีผู้เรียกภาษาชะกะไตว่า ภาษาของโนวอย
อ้างอิง[แก้]
- Eckmann, J., Chagatay Manual (Uralic & Altaic): 1997, ISBN 070070860X, ISBN 978-0700708604
- Bodrogligeti, András J. E., A Grammar of Chagatay (Languages of the World/Materials 155): 2001 repr. 2007, ISBN 3-89586-563-X