ศาลสูงสุดญี่ปุ่น

พิกัด: 35°40′49″N 139°44′37″E / 35.68028°N 139.74361°E / 35.68028; 139.74361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Supreme Court of Japan)
ศาลสูงสุด
最高裁判所
อาคารศาลสูงสุด
สถาปนา3 พฤษภาคม ค.ศ. 1947
ที่ตั้งเขตชิโยดะ, โตเกียว
พิกัด35°40′49″N 139°44′37″E / 35.68028°N 139.74361°E / 35.68028; 139.74361
วิธีได้มารับเลือกโดยคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ที่มารัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น
วาระตุลาการบังคับเกษียณที่อายุ 70 ปี
เว็บไซต์ศาลสูงสุด
ประธานศาลสูงสุดญี่ปุ่น
ปัจจุบันซาบูโร โทกูระ
ตั้งแต่23 มิถุนายน ค.ศ. 2022

ศาลสูงสุดญี่ปุ่น[1] หรือ ศาลฎีกาญี่ปุ่น[2][3] (ญี่ปุ่น: 最高裁判所โรมาจิSaikō-Saibansho หรือ เรียกอย่างสั้น ญี่ปุ่น: 最高裁โรมาจิSaikō-Sai; อังกฤษ: Supreme Court of Japan) เป็นศาลสูงสุดในประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในฮายาบูซาโจ, เขตชิโยดะ, โตเกียว มีอำนาจทางตุลาการสูงสุดในการตีความรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นและตอบกระทู้คำถามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแห่งชาติ ศาลสูงสุดญี่ปุ่นยังมีอำนาจในการพิจารณาทบทวนซึ่งทำให้ศาลสามารถกำหนดความเป็นรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือพระราชบัญญัติใด ๆ ได้

ประวัติ[แก้]

ศาลสูงสุดในปัจจุบันก่อตั้งตามมาตรา 81 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1947[4] มีการโต้เถียงในหมู่เจ้าหน้าที่นิติกรของผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายพันธมิตรผู้ร่างรัฐธรรมนูญและในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิใน ค.ศ. 1946 เกี่ยวกับอำนาจที่มากเกินไปของฝ่ายตุลาการ แต่ถูกบดบังความสำคัญโดยคำถามประเด็นหลักอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน, หน้าที่ของจักรพรรดิ และการยอมสละสงคราม[5] อย่างไรก็ตามการใช้คำในมาตรา 81 ที่ได้รับเห็นชอบบัญญัติว่าศาลถืออำนาจการพิจารณาทบทวน ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ตอนต้นของศาลมีการเข้าไปเกี่ยวพันกับขอบเขตอำนาจนี้[4] ใน ค.ศ. 1948 ศาลประกาศว่ารัฐธรรมนูญมีเจตจำนงในการกำหนดประเภทของการพิจารณาทบทวนที่ถูกนำมาใช้ในสหรัฐ ใน ค.ศ. 1952 มีการประกาศให้อำนาจดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้เพียงคดีที่มีความยุ่งยาก[4][6]

ในช่วง ค.ศ. 1960–1970 ศาลสูงสุดประสบ "วิกฤตตุลาการ" (judicial crisis) ระหว่างผู้พิพากษาอาวุโสและผู้พิพากษาเสรีนิยมที่เด็กกว่าเป็นส่วนใหญ่[7][8][9] อาทิ มีข้อโต้เถียงว่าผู้พิพากษาบางคนในศาลจังหวัดคับข้องใจเกี่ยวกับการบังคับใช้ข้อบัญญัติที่จะจำกัดการประท้วงต่อต้านรัฐบาล[7] ใน ค.ศ. 1971 ศาลสูงสุดไม่แต่งตั้งผู้ช่วยผู้พิพากษา ยาซูอากิ มิยาโมโตะ อีกครั้งหลังเขาเข้าร่วมองค์กรที่มีแนวคิดทางการเมืองเอนเอียงไปทางฝ่ายซ้ายซึ่งจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย[8][10] เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีการทำข่าวและประท้วงโดยผู้พิพากษาคนอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด[10] นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาไม่มีผู้พิพากษาคนไหนจะไม่ได้รับการแต่งตั้งใหม่[10] ท้ายที่สุด ในช่วง ค.ศ. 1960–1970 ศาลสูงสุดถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้น โดยมีผู้พิพากษาบางส่วนเป็นตัวแทนของข้าราชการตลอดชีพ เป็นเหตุให้การตัดสินต่าง ๆ มักจำกัดการแสดงออกอย่างเสรีและการชุมนุมสาธารณะ[7]

อำนาจและความรับผิดชอบ[แก้]

มาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นจำกัดความว่า ศาลสูงสุดเป็นศาลที่พึ่งสุดท้ายและอนุญาตให้ศาลพิจารณาทบทวนผ่าน "อำนาจในการตัดสินความเป็นรัฐธรรมนูญของกฎหมาย, คำสั่ง, ข้อกำหนดหรือพระราชบัญญัติใด ๆ"[6] ตามคำนิยามของรัฐธรรมนูญ ศาลสูงสุดรับพิจารณาคดีแพ่ง, คดีปกครอง และคดีอาญาจากศาลจังหวัดที่ได้รับคำร้องขออุทธรณ์[6] ความรับผิดชอบนี้และความไม่สามารถในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบในคำร้องส่งผลให้การอุทธรณ์คดีแพ่งและอาญาค้างพิจาณราอยู่เป็นจำนวนมาก[6][11] ศาลสูงสุดสามารถใช้อำนาจพิจารณาทบทวนเมื่อมีการยื่นอุทธรณ์ข้อพิพาททางกฎหมายที่ยากจะไกล่เกลี่ยมีความเกี่ยวข้องกับการละเมิดหรือการตีความรัฐธรรมนูญที่ผิด[6][12]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายงานการเข้ารับฟังการบรรยายและศึกษาดูงานหลักสูตร Mini LL.M. รุ่นที่ 7 โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรมและ Kyushu University[ลิงก์เสีย]. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
  2. นพดล คชรินทร์.ระบบกฎหมายประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับประเทศไทย เก็บถาวร 2022-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม
  3. "ผู้พิพากษาของศาลฎีกาของญี่ปุ่น และผู้พิพากษาศาลชั้นต้นโตเกียว เข้าเยี่ยมคารวะประธานศาลปกครองสูงสุด เนื่องในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย". The Administrative Court, Thailand. 2018-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-26.
  4. 4.0 4.1 4.2 Okudaira, Yasuhiro (1990). "Forty Years of the Constitution and Its Various Influences: Japanese, American, and European". Law and Contemporary Problems. 53 (1): 17–49. doi:10.2307/1191824. ISSN 0023-9186. JSTOR 1191824.
  5. Kawagishi, Norikazu (2007-04-01). "The birth of judicial review in Japan". International Journal of Constitutional Law. 5 (2): 308–331. doi:10.1093/icon/mom011. ISSN 1474-2640. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Tadano, Masahito (2018). "The Role of the Judicial Branch in the Protection of Fundamental Rights in Japan". ใน Yumiko Nakanishi (บ.ก.). Contemporary Issues in Human Rights Law: Europe and Asia. Singapore: Springer. pp. 73–90. doi:10.1007/978-981-10-6129-5_4. ISBN 978-981-10-6129-5.
  7. 7.0 7.1 7.2 Repeta, Lawrence (2011). "Reserved Seats on Japan's Supreme Court". Washington University Law Review. 88 (6): 33.
  8. 8.0 8.1 Danelski, David J (1974). "Political Impact of the Japanese Supreme Court". Notre Dame Law Review. 49 (5): 27.
  9. Fujita, Tokiyasu (2011-01-01). "The Supreme Court of Japan: Commentary on the Recent Work of Scholars in the United States". Washington University Law Review. 88 (6): 1507–1526. ISSN 2166-8000.
  10. 10.0 10.1 10.2 Haley, John (2002-08-22). The Japanese Judiciary: Maintaining Integrity, Autonomy and the Public Trust (PDF). Law in Japan: At the Turning Point, Seattle. Law in Japan: At the Turning Point. S2CID 155394286. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-13.
  11. Matsui, Shigenori (2011). "Why Is the Japanese Supreme Court So Conservative?". Washington University Law Review. Decision Making on the Japanese Supreme Court. 88 (6): 50.
  12. "Courts in Japan" (PDF). Supreme Court of Japan. 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.