ข้ามไปเนื้อหา

เชินเจิ้น

พิกัด: 22°32′29″N 114°03′35″E / 22.5415°N 114.0596°E / 22.5415; 114.0596
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Shenzhen)
เชินเจิ้น

深圳市
สถานที่ต่าง ๆ ในนครเชินเจิ้น
แผนที่
ที่ตั้งของนครเชินเจิ้นในมณฑลกวางตุ้ง
ที่ตั้งของนครเชินเจิ้นในมณฑลกวางตุ้ง
เชินเจิ้นตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง
เชินเจิ้น
เชินเจิ้น
ที่ตั้งของใจกลางเมืองเชินเจิ้นในมณฑลกวางตุ้ง
เชินเจิ้นตั้งอยู่ในประเทศจีน
เชินเจิ้น
เชินเจิ้น
เชินเจิ้น (ประเทศจีน)
พิกัด (จัตุรัสพลเมือง (市民广场)): 22°32′29″N 114°03′35″E / 22.5415°N 114.0596°E / 22.5415; 114.0596
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลมณฑลกวางตุ้ง
จำนวนเขตการปกครองระดับอำเภอ9
ตั้งถิ่นฐาน331
ก่อตั้งหมู่บ้าน1953
ก่อตั้งนคร23 มกราคม 1979
ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ1 พฤษภาคม 1980
ที่ตั้งที่ทำการเขตฝูเถียน
การปกครอง
 • ประเภทนครระดับกิ่งมณฑล
 • เลขานุการคณะกรรมการพรรคฯหวาง เหว่ย์จง (王伟中)
 • นายกเทศมนตรีเฉิน หรูกุ้ย (陈如桂)
พื้นที่
 • ทั้งจังหวัด2,050 ตร.กม. (790 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,748 ตร.กม. (675 ตร.ไมล์)
ความสูง0–943.7 เมตร (0–3,145.7 ฟุต)
ประชากร
 (2017)[1]
 • ทั้งจังหวัด12,528,300 คน
 • ความหนาแน่น6,100 คน/ตร.กม. (16,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (2018)[2]12,905,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง7,400 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[3]23,300,000 คน
 • ชาติพันธุ์หลักชาวฮั่น
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์518000
รหัสพื้นที่755
รหัส ISO 3166CN-GD-03
ผลิตภัณฑ์มวลรวม (ราคาตลาด)2019[4]
 - ทั้งหมด2.6 ล้านล้านเหรินหมินปี้
 - ต่อหัว208,000 เหรินหมินปี้
 - ความเติบโตเพิ่มขึ้น 7.7%
คำนำหน้าป้ายทะเบียนรถ粤B
ดอกไม้ประจำนครเฟื่องฟ้า
ต้นไม้ประจำนครลิ้นจี่ และป่าชายเลน[5]
เว็บไซต์sz.gov.cn

เชินเจิ้น ตามสำเนียงมาตรฐาน, ซำจั่น ตามสำเนียงกวั่งตง, ชิมจุ่ง ตามสำเนียงแต้จิ๋ว (จีน: 深圳; พินอิน: Shēnzhèn; พินอินกวางตุ้ง: sam1 zan3) เป็นเมืองหลักที่อยู่ทางตะวันออกของชะวากทะเลแม่น้ำจูในมณฑลกวางตุ้งตอนใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีอาณาเขตทางใต้ติดกับฮ่องกง ตะวันออกเฉียงเหนือติดกับฮุ่ยโจว ตะวันตกเฉียงเหนือติดกับตงกว่าน และทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ติดกับกว่างโจว จงชาน และจูไห่ ซึ่งเป็นอีกฝั่งของชะวากทะเล โดยใช้เขตแดนทางทะเลเป็นตัวแบ่งอาณาเขต


ภูมิทัศน์ของเชินเจิ้นเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่มีความคึกคัก ซึ่งเกิดจากการลงทุนระหว่างประเทศตามนโยบาย "การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน" ใน ค.ศ. 1979[6] ตัวเมืองเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระดับโลก โดยขนานนามว่าเป็น ซิลิคอนแวลเลย์ของจีน[7][8][9][10][11] เป็นหนึ่งในเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ถึง 2000[12] และติดอันดับสองจาก "10 เมืองที่ควรเยี่ยมเยือนใน ค.ศ. 2019" โดย Lonely Planet[13]

เชินเจิ้นมีฐานะเป็นนครอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1979 โดยนำชื่อมาจากอำเภอในอดีตที่มีสถานีรถไฟสุดท้ายที่จอดในจีนแผ่นดินใหญ่ในบริเวณรางรถไฟระหว่างเกาลูนกับกวางตุ้ง[14]ใน ค.ศ. 1980 เชินเจิ้นกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของจีน[15] จากข้อมูลในปี ค.ศ. 2017 มีประชากรในเชินเจิ้นอยู่ที่ 12,905,000 คน[1] แต่ตำรวจท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่ประเมินว่ามีประชากรอยู่ในเมืองประมาณ 20 ล้านคน เนื่องจากมีจำนวนผู้อยู่อาศัยในระยะสั้นจำนวนมาก[a] รวมถึงผู้อพยพที่ไม่ลงทะเบียน ผู้โดยสาร ผู้มาติดต่องาน และผู้อยู่อาศัยชั่วคราว[16][17]

เชินเจิ้นเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้นและสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง เช่น JXD, Vanke, Hytera, CIMC, SF Express, เซินเจิ้นแอร์ไลน์, Nepstar, Hasee, Ping An Bank, Ping An Insurance, China Merchants Bank, Evergrande Group, เทนเซ็นต์, ZTE, OnePlus, หัวเว่ย, DJI และ BYD[18] เชินเจิ้นจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ในดัชนีศูนย์การเงินทั่วโลก (Global Financial Centres Index) ใน ค.ศ. 2019[19] และมีท่าคอนเทนเนอร์ที่คึกคักที่สุดอันดับ 3 ของโลก[20]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เป็นผู้อยู่อาศัยในจีนนานถึง 6 เดือนโดยไม่ลงทะเบียน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 2017年深圳经济有质量稳定发展 [In 2017, Shenzhen economy will have stable quality and development] (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2018.
  2. Cox, W (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2018.
  3. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. 18 เมษายน 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2017.Linked from the OECD here เก็บถาวร 9 ธันวาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. https://www.asiatimes.com/2020/01/guangzhou-shenzhen-consolidate-gdp-lead-over-hk/
  5. "ShenZhen Government Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2015.
  6. "Shenzhen Continues to lead China's reform and opening-up". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2016. Shenzhen, [...] which was just a small town when it was chosen as China's first special economic zone to pilot the country's reform and opening-up drive 22 years ago, has now grown into a boomtown, which is placed fourth among Chinese cities in overall economic strength.
  7. Compare: "The next Silicon Valley? It could be here". Das Netz. 11 กรกฎาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2018. Worldwide, 16 cities are in the starting blocks in the race to become the next Silicon Valley. [...] That Shenzhen is being treated as the Chinese Silicon Valley should come as no surprise.
  8. Compare: "Shenzhen is a hothouse of innovation". The Economist (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2018. Welcome to Silicon Delta
  9. "Shenzhen aims to be global technology innovation hub - Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2018. An important reason Silicon Valley in the US and Israel became world innovation hubs is that they gathered a lot of angel investments. However, Shenzhen lacks angel investments [...].
  10. The rise of China's 'Silicon Valley' - CNN Video, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ธันวาคม 2018, สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2018
  11. Rivers, Matt. "Inside China's Silicon Valley: From copycats to innovation". CNN. สืบค้นเมื่อ 2019-09-01.
  12. "Shenzhen". U.S. Commercial Service. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 February 2008.
  13. "Lonely Planet names Shenzhen as a top city to visit in 2019". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2018.
  14. 昔日边陲小镇深圳的历史渊源. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2018.
  15. Fish, Isaac Stone (25 กันยายน 2010). "A New Shenzhen". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2014. Shenzhen grew over the past three decades by capitalizing on both its advantageous coastal location and proximity to Hong Kong and Taiwan (major sources of investment capital), but also on the huge Chinese government support that came with its designation as the first Special Economic Zone.
  16. Li, Zhu (李注). 深圳将提高户籍人口比例 今年有望新增38万_深圳新闻_南方网. sz.Southcn.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2017.
  17. 深圳大幅放宽落户政策 一年户籍人口增幅有望超过10%. finance.Sina.com.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2017.
  18. "Inside Shenzhen: China's Silicon Valley". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2015.
  19. "The Global Financial Centres Index 26" (PDF). Long Finance. September 2019. สืบค้นเมื่อ 3 October 2019.
  20. "Top 50 World Container Ports | World Shipping Council". World Shipping Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-04. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]