แม่น้ำจู
แม่น้ำจู แม่น้ำเพิร์ล 珠江 / Zhū Jiāng / Zyu1 Gong1 | |
---|---|
แม่น้ำเพิร์ลในช่องแคบหู่เหมิน | |
ระบบลำน้ำของแม่น้ำจู (แม่น้ำเพิร์ล) ไหลผ่านจีนและเวียดนาม และที่ราบลุ่มแม่น้ำจู (สีเหลือง) | |
ชื่อท้องถิ่น | 珠江 |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | จีน, เวียดนาม |
มณฑล/จังหวัด | ยูนนาน, กุ้ยโจว, กว่างซี, กวางตุ้ง, ฮ่องกง, มาเก๊า, กาวบั่ง, หลั่งเซิน |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | มาจากหลากหลายแหล่งของแต่ละลำน้ำสาขา |
ปากน้ำ | ทะเลจีนใต้ |
• ตำแหน่ง | กวางตุ้ง |
ความยาว | 2,400 km (1,500 mi) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 453,700 km2 (175,200 sq mi)[1] |
อัตราการไหล | |
• เฉลี่ย | 9,500 m3/s (340,000 cu ft/s)[2] |
แม่น้ำจู | |||||||||||||
ภาษาจีน | 珠江 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | แม่น้ำไข่มุก | ||||||||||||
|
แม่น้ำกวางตุ้ง | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 粵江 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 粤江 | ||||||||||||
|
แม่น้ำจู หรือ แม่น้ำเพิร์ล (จีน: 珠江; พินอิน: Zhū Jiāng; อังกฤษ: Pearl River) หรือเดิมมักเรียกว่า แม่น้ำกวางตุ้ง เป็นระบบแม่น้ำที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างทางใต้ของประเทศจีน ชื่อเรียกแม่น้ำอาจครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำซี (ตะวันตก), แม่น้ำเป่ย์ (เหนือ) และแม่น้ำตง (ตะวันออก) ในมณฑลกวางตุ้ง ทั้งหมดถือเป็นแควแม่น้ำของแม่น้ำจู เพราะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเดียวกัน หากวัดจากจุดที่ไกลสุดของแม่น้ำซีแล้ว แม่น้ำจูถือเป็นแม่น้ำยาวเป็นอันดับ 3 ของประเทศจีน มีความยาว 2,400 กิโลเมตร (1,500 ไมล์) มีความยาวรองจากแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำหวง และถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากเป็นอันดับสอง รองจากแม่น้ำแยงซี แม่น้ำมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 409,480 ตารางกิโลเมตร (158,100 ตารางไมล์) ไหลผ่านเหลียงกวัง (มณฑลกวางตุ้งและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) รวมถึงบางส่วนของมณฑลยูนนาน มณฑลยูนนาน มณฑลหูหนาน และมณฑลเจียงซี ของประเทศจีน และยังไหลจากทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ผ่านจังหวัดกาวบั่งและจังหวัดหลั่งเซิน เข้าสู่ประเทศจีน