ตัวแบบนอร์ดิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Nordic model)
ธงของประเทศนอร์ดิก

ตัวแบบนอร์ดิก หรือ ทุนนิยมแบบนอร์ดิก หรือ ประชาธิปไตยสังคมนิยมแบบนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic model, Nordic capitalism[1], Nordic social democracy)[2][3] หมายถึงนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่สามัญในประเทศกลุ่มนอร์ดิก รวมทั้งเดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และสวีเดน ซึ่งรวมระบบทุนนิยมตลาดเสรี กับรัฐสวัสดิการและการร่วมเจรจาต่อรองของแรงงานในระดับประเทศ[4][5] เป็นตัวแบบที่เริ่มได้ความสนใจหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2[6]

แม้ประเทศต่าง ๆ จะต่างกันอย่างสำคัญ แต่ก็มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน รวมทั้ง

  • การให้สวัสดิการแบบไม่เจาะจง โดยมีจุดหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มอิสรภาพของแต่ละบุคคลและเพื่อโปรโหมตการเปลี่ยนฐานะทางสังคม
  • เป็นระบบ "บรรษัทนิยม" (Corporatism) แบบไตรภาคีที่ผู้แทนของแรงงานและลูกจ้าง ต่อรองทั้งค่าแรงงานและนโยบายตลาดแรงงานกับนายจ้าง โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ไกล่เกลี่ย[7]
  • การผูกมัดกับการมีทรัพย์สินส่วนตัว ตลาดเสรี และการค้าเสรีอย่างกว้างขวาง[8]

ประเทศแต่ละประเทศมีรูปแบบทางเศรษฐกิจและสังคมของตัวเอง บางครั้งต่างกันอย่างมากจากประเทศเพื่อนบ้าน[9] ตามนักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน ศ. เลน เค็นเวอร์ธี ในบริบทของตัวแบบนอร์ดิก "ประชาธิปไตยสังคมนิยม" หมายถึงกลุ่มนโยบายที่โปรโหมตความมั่นคงและโอกาสทางเศรษฐกิจภายในโครงสร้างแบบทุนนิยม ไม่ใช่ระบบที่หมายทดแทนทุนนิยม[10][11]

มุมมองกว้าง ๆ[แก้]

กลุ่มนักวิชาการชาวฟินแลนด์กลุ่มหนึ่งได้กำหนดลักษณะของระบบดังต่อไปนี้ คือ[12]

  • ตาข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่ซับซ้อน นอกเหนือไปจากบริการของรัฐรวมทั้งการศึกษาฟรีและการดูแลสุขภาพสำหรับทุกคน[12]
  • ปกป้องสิทธิในทรัพย์สินและบังคับใช้สัญญาอย่างเข้มแข็ง และง่ายที่จะทำธุรกิจ[13]
  • บำนาญสำหรับทุกคน[12]
  • การมีอุปสรรคต่อการค้าเสรีน้อย[14] ซึ่งรวมเข้ากับการแบ่งภาระความเสี่ยงร่วมกัน (เช่น มีโปรแกรมทางสังคม มีสถาบันตลาดแรงงาน) ที่ป้องกันความเสี่ยงที่มากับเศรษฐกิจแบบเปิด[12]
  • มีกฎควบคุมตลาดขายผลิตภัณฑ์น้อย โดยประเทศนอร์ดิกได้คะแนนสูงมากสำหรับเสรีภาพทางการตลาด ตามการประเมินขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)[12]
  • มีคอร์รัปชันน้อยมาก[12] ตามดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันของ Transparency International ปี 2558 ประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวีเดน และนอร์เวย์ จัดเป็นประเทศที่มีคอร์รับชันน้อยที่สุดโดยอยู่ใน 5 อันดับแรกในบรรดาประเทศ 167 ประเทศที่ประเมิน (เทียบกับประเทศไทยที่อันดับ 45)[15]
  • ผู้ใช้แรงงานอยู่ในสหภาพแรงงานในอัตราสูง[16] ในปี 2556 อัตราผู้ใช้แรงงานและมีรายได้ที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน (labour union density) ในไอซ์แลนด์อยู่ที่ 85.5% ฟินแลนด์ 69% สวีเดน 67.7% เดนมาร์ก 66.8% และนอร์เวย์ 52.1% เทียบกับเม็กซิโกที่ 13.6% และสหรัฐอเมริกาที่ 10.8%[17] อัตราที่ต่ำกว่าในนอร์เวย์สามารถอธิบายได้เพราะไม่ได้ใช้ Ghent system เริ่มตั้งแต่ปี 2481 ซึ่งเป็นระบบที่สหภาพแรงงานเป็นผู้แจกจ่ายสวัสดิการความว่างงานแทนรัฐบาล เทียบกับเดนมาร์ก ฟินแลนด์ และสวีเดนที่ใช้ระบบนี้[18]
  • การเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างนายจ้าง สหภาพแรงงาน และรัฐบาล คือหุ้นส่วนเหล่านี้จะต่อรองกฎเกณฑ์ที่ควบคุมตลาดแรงงานเอง ไม่ได้กำหนดด้วยกฎหมาย[19] สวีเดนมีการต่อรองทางแรงงานที่ไม่รวมศูนย์ เทียบกับฟินแลนด์ที่ยืดหยุ่นได้น้อยสุด[12] แต่ภาวะทางเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนไปก็ได้สร้างความหวาดกลัวในบรรดาผู้ใช้แรงงาน ทำให้สหภาพแรงงานไม่ยอมร่วมมือเพื่อปฏิรูประบบ[12] แม้ในขณะเดียวกัน การปฏิรูปและพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่อำนวยประโยชน์ ก็ดูเหมือนจะลดความว่างงาน ซึ่งตามประวัติแล้วอยู่ในระดับสูง
  • งบประมาณของรัฐบาลสวีเดนอยู่ที่ 56.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เดนมาร์กที่ 51.7% และฟินแลนด์ที่ 48.6% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงมาก[14] เหตุหลักอย่างหนึ่งก็คือการมีข้าราชการเป็นจำนวนมาก ผู้ทำงานในบริการต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษา การดูแลสุขภาพ และตัวรัฐบาลเอง เป็นการงานที่มั่นคงกว่า และมีจำนวนราว ๆ 1/3 ของผู้ทำงานทั้งหมด (>38% ในเดนมาร์ก) งบประมาณในโปรแกรมกระจายรายได้ เช่น สวัสดิการความว่างงานและโปรแกรมเกษียณก่อนกำหนด ก็สูงด้วย ในปี 2544 อัตราเงินทดแทนความว่างงานที่ขึ้นอยู่กับค่าจ้างอยู่ที่ 90% ของเงินค่าจ้างในเดนมาร์ก 80% ในสวีเดน เทียบกับ 75% ในเนเธอร์แลนด์ และ 60% ในเยอรมนี ผู้ว่างงานยังสามารถรับเงินทดแทนเป็นเวลาหลายปีก่อนจะลด เทียบกับการลดอย่างรวดเร็วในประเทศอื่น ๆ
  • การใช้จ่ายของรัฐบาลในเรื่องสาธารณสุขและการศึกษาในเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD[20]
  • มีอัตราภาษีโดยเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP สูงที่สุดในโลก คือ สวีเดนที่ 51.1% เดนมารก์ 46% (ปี 2554)[21] และฟินแลนด์ 43.3% ประเทศนอร์ดิกมีอัตราภาษีค่อนข้างเท่า ๆ กัน คือแม้แต่บุคคลที่มีรายได้น้อยหรือปานกลางก็ต้องเสียภาษีในอัตราสูงเช่นกัน[22][23]
  • รายงานความสุขโลกปี 2556 ของสหประชาชาติแสดงว่า ประเทศที่ประชาชนมีความสุขมากที่สุดในโลกอยู่ในยุโรปเหนือ ประเทศนอร์ดิกได้คะแนนสูงสุดในเรื่อง real GDP ต่อประชากร, การคาดหมายคงชีพโดยยังมีสุขภาพดี, มีผู้ที่ช่วยเหลือได้, ความรู้สึกว่ามีอิสรภาพในการเลือกชีวิต, ความเอื้อเฟื้อ, และการปลอดคอร์รัปชัน[24]
  • ประเทศนอร์ดิกได้คะแนนสูงสุดในการป้องกันสิทธิของผู้ทำงานตามดัชนีสิทธิโลกปี 2557 ของสมาพันธ์สหภาพแรงงานนานาชาติ (International Trade Union Confederation) โดยมีเดนมาร์กเป็นประเทศเดียวในโลกที่ได้คะแนนสมบูรณ์[25]

ด้านต่าง ๆ[แก้]

นโยบายตลาดแรงงาน[แก้]

ประเทศนอร์ดิกมีนโยบายตลาดแรงงานที่รัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบบรรษัทนิยม ที่หมายลดความขัดแย้งกันระหว่างแรงงานและผลประโยชน์ของนายทุน เป็นระบบที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดในสวีเดนและนอร์เวย์ ที่สมาพันธ์ของผู้ว่าจ้างและตัวแทนของแรงงานต่อรองกันในระดับชาติโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ส่วนการแทรกแซงของรัฐในตลาดแรงงานมีจุดหมายเพื่อฝึกงานและย้ายที่อยู่ (เมื่อตกงาน) ใหม่[26]

ตลาดแรงงานของกลุ่มนอร์ดิกยืดหยุ่นได้ เพราะกฎหมายทำให้ว่าจ้างหรือไล่คนงานออก และใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดแรงงานแบบใหม่ ๆ ได้ง่าย แต่เพื่อลดผลลบต่อคนงาน รัฐบาลจึงให้สวัสดิการทางสังคมที่สูง การฝึกงานใหม่ และการย้ายที่อยู่เพื่อจำกัดความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับแรงงานที่อาจเกิดเนื่องจากกระบวนการนี้[5]

ระบบเศรษฐกิจ[แก้]

ระบบนอร์ดิกรองรับด้วยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมตลาดเสรีที่มีระดับทรัพย์สินส่วนบุคคลสูง[5] โดยยกเว้นนอร์เวย์ ซึ่งมีธุรกิจและบริษัทมหาชนที่รัฐมีส่วนเป็นเจ้าของเป็นจำนวนมาก[27]

ตัวแบบนอร์ดิกเป็นระบบทุนนิยมที่มีการแข่งขันสูง ร่วมกับการมีอัตราประชากรสูงที่เป็นข้าราชการ (คร่าว ๆ ที่ 30%)[28] ในปี 2556 นิตยสารรายสัปดาห์ The Economist เรียกประเทศนอร์ดิกว่าเป็น "นักการค้าเสรีล่ำ ๆ ผู้สามารถอดกลั้นต่อแรงล่อใจที่จะแทรกแซง (ทางเศรษฐกิจ) แม้เพื่อป้องกันบริษัทที่เป็นสัญลักษณ์ (ของประเทศ)" ในขณะที่สืบหาวิธีลดผลร้ายของระบบทุนนิยม โดยนิตยสารประกาศด้วยว่า ประเทศนอร์ดิก "น่าจะเป็นประเทศปกครองได้ดีที่สุดในโลก"[28][29] นักเศรษฐศาสตร์บางท่านเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนอร์ดิกว่าเป็น ทุนนิยมแบบ "น่ารัก" เพราะมีระดับความไม่เท่าเทียมกันต่ำ มีสวัสดิการทางสังคมสูง และลดการรวบความมั่งมี แล้วเทียบกับระบบทุนนิยมแบบ "เชือดคอ" ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกันสูงและมีความมั่งมีแบบรวบยอด[12][30][31]

แต่เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลสวีเดนก็เริ่มปฏิรูปนโยบายเป็นแบบเสรีนิยมใหม่ (neoliberal)[32][33] ซึ่งลดบทบาทของรัฐบาล และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันอย่างรวดเร็วที่สุดในบรรดาเศรษฐกิจของ OECD[34] อย่างไรก็ดี ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในสวีเดนก็ยังน้อยกว่าประเทศโดยมาก[35]

ระบบสวัสดิการแบบนอร์ดิก[แก้]

ระบบสวัสดิการของประเทศนอร์ดิกผูกอยู่กับนโยบายตลาดแรงงาน และต่างจากรัฐสวัสดิการอื่น ๆ เพราะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แรงงานอย่างสูงสุด เน้นโปรโหมตความเท่าเทียมกันทางเพศ ระดับสวัสดิการที่เท่าเทียมกันและมาก การปรับกระจายรายได้ขนาดมหาศาล และงบประมาณของรัฐที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[36]

แม้ประเทศนอร์ดิกจะแตกต่างกัน แต่ก็ผูกพันอยู่กับความเป็นหนึ่งเดียวกันทางสังคม การมีสวัสดิการทั่วไปเพื่อพิทักษ์อิสรภาพส่วนบุคคลโดยทำการป้องกันบุคคลและกลุ่มที่กำลังอ่อนแอในสังคม และให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในนโยบายทางสังคม โดยมีลักษณะเฉพาะคือยืดหยุ่นได้และยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ในสวัสดิการทางสังคมได้ ระบบสวัสดิการโดยหลักได้งบประมาณมาจากภาษี[37]

แม้จะมีค่านิยมที่เหมือนกัน ประเทศก็ใช้วิธีการต่าง ๆ กันเพื่อบริหารจัดการรัฐสวัสดิการ เดนมาร์กให้เอกชนมีส่วนร่วมสูงในการบริหารจัดการและการบริการ และมีนโยบายผสมกลมกลืนผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศ สวัสดิการของไอซ์แลนด์ออกแบบเพื่อกระตุ้นให้ผู้ว่างงานกลับไปทำงาน ในขณะที่ระบบของฟินแลนด์ให้องค์กรเอกชนมีส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุ ส่วนระบบสวัสดิการของนอร์เวย์เป็นหน้าที่ของรัฐโดยมาก[37]

การลดความยากจน[แก้]

รูปแบบนอร์ดิกประสบผลสำเร็จอย่างสำคัญในการลดความยากจน[38] ในปี 2554 อัตราคนยากจน ก่อนนับผลของภาษีและการกระจายรายได้ อยู่ที่ 24.7% ในเดนมาร์ก 31.9% ในฟินแลนด์ 21.6% ในไอซ์แลนด์ 25.6% ในนอร์เวย์ และ 26.5% ในสวีเดน หลังจากนับผลของภาษีและการกระจายรายได้ อัตราความยากจนลดลงเหลือ 6%, 7.5%, 5.7%, 7.7%, และ 9.7% ตามลำดับ โดยเฉลี่ยลดตามเปอร์เซ็นต์ที่ 18.7 แต้ม[39] เทียบกับของสหรัฐอเมริกา ที่มีอัตราความยากจนก่อนนับผลของภาษีที่ 28.3% และหลังภาษีที่ 17.4% คือลดเพียงแค่ 10.9 แต้ม ดังนั้นภาษีและการกระจายรายได้จึงมีผลมากกว่าต่อความยากจนในประเทศนอร์ดิก[39] ถึงกระนั้น ก็ยังน้อยกว่าถ้าเทียบกับฝรั่งเศส (ลด 27 แต้ม) และเยอรมนี (ลด 24.2 แต้ม) แม้อัตราภาษีและการกระจายรายได้ในประเทศนอร์ดิกก็ต่ำกว่าโดยเฉลี่ยด้วย[39]

ปัจจัยทางศาสนา[แก้]

ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียมีศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรนเป็นศาสนาหลักของประเทศ ซึ่งนักวิชาการอ้างว่า โปรโหมตความเป็นชุมชนในระดับชาติและการมีส่วนร่วมของรัฐในเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีความเป็นปึกแผ่นในเรื่องรัฐสวัสดิการและการประสานงานทางเศรษฐกิจ

ประเทศที่ได้อิทธิพลจากแนวคิดแบบอนุรักษนิยมมากกว่า (เช่น เยอรมนี อิตาลี) จะดำเนินการตามแนวคิดแบบโรมันคาทอลิกมากกว่า ซึ่งสนับสนุนว่า ระเบียบทางสังคมไม่ควรเข้าไปยุ่ง ไม่ว่าจะผ่านทางเศรษฐกิจหรือรัฐบาล และยึดหลักความเป็นรอง (subsidiarity) ของรัฐบาลกลาง คือโปรโหมตให้ร่วมมือกันภายในกลุ่มสังคมของตนโดยรัฐจะมีส่วนร่วมเฉพาะในเรื่องที่ทำไม่ได้ ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงโปรโหมตรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม และระบบการผลิตที่ประสานงานภายในกลุ่ม

ส่วนประเทศที่พูดอังกฤษ (ยกเว้นไอร์แลนด์) มักจะเป็นนิกายคาลวินโดยมาก หรือนิกายโปรเตสแตนต์ที่คล้าย ๆ กัน ซึ่งมักโปรโหมตความเป็นส่วนบุคคล ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อทั้งระบบสวัสดิการและอำนวยระบบการผลิตให้เป็นแบบเสรีนิยม[40]

อย่างไรก็ดี ก็มีนักข่าวที่อ้างว่า คนสแกดิเนเวียนปัจจุบันโดยมากละเลยศาสนา แม้จะไม่ได้หมายความว่าไม่เชื่อในพระเป็นเจ้า/เทพเจ้า[41]

การยอมรับ[แก้]

นักปฏิบัติการผู้หนึ่งเรียกระบบนอร์ดิกว่า เป็นระบบผสมที่ประสานเศรษฐกิจทุนนิยมกับค่านิยมของสังคมนิยม[42] นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน ศ. เลน เค็นเวอร์ธี สนับสนุนให้สหรัฐเปลี่ยนระบบอย่างค่อยเป็นค่อยไปให้เหมือนกับของประเทศนอร์ดิก[43] สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐเบอร์นีย์ แซนเดอร์ส ผู้เรียกตนว่านักสังคมนิยมประชาธิปไตย เป็นผู้สนับสนุนระบบนอร์ดิกอย่างเข้มแข็ง[44][45][46]

นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ศ. โจเซฟ สติกลิตส์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียมีการเปลี่ยนฐานะทางสังคมได้ในระดับที่สูงกว่าสหรัฐ และปัจจุบันจึงเป็นดินแดนแห่งโอกาสที่สหรัฐเคยเป็น[47] ส่วนนักเขียนชาวอเมริกันคนหนึ่ง (Ann Jones) ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในนอร์เวย์ถึง 4 ปี อ้างว่า "ประเทศนอร์ดิกให้ประชาชนของตนอิสรภาพ 'จาก' ตลาดแรงงานโดยใช้ทุนนิยมเป็นเครื่องมือที่ให้ประโยชน์แก่ทุก ๆ คน" เทียบกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น "การเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่ให้หมาจิ้งจอกเป็นผู้ดูแลเล้าไก่ และนายทุนที่ใช้ความมั่งมีที่ได้จากธุรกิจของตน (ซึ่งรวมการชักใยทางการเงินและทางการเมือง) เพื่อยึดครองรัฐและถอนขนไก่"[48]

ตามนักปฏิบัติการชาวแคนาดาคนหนึ่ง อดีตผู้นำโซเวียตมิคาเอล กอร์บาชอฟ ต้องการเปลี่ยนสหภาพโซเวียตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของระบบนอร์ดิก คือผสมใช้ตลาดเสรีกับตาข่ายความปลอดภัยของสังคม โดยรัฐยังเป็นเจ้าของระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เขาเชื่อว่าจะเปลี่ยนสหภาพโซเวียตให้เป็น "ประภาคารทางสังคมนิยมของมวลมนุษย์"[49][50]

การรวมสวัสดิการทางสังคมกับวัฒนธรรมปัจเจกนิยม ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ชาวสวีเดนกำหนดระบบนอร์ดิกว่าเป็น ปัจเจกนิยมโดยอำนาจรัฐ (statist individualism)[51]

การสำรวจปี 2559 ของสถาบันนโยบาย "สถาบันประชาธิปไตยอิสราเอล" พบว่า คนยิวในประเทศอิสราเอล 60% ชอบใจระบบเศรษฐกิจแบบกลุ่มสแกนดิเนเวีย ที่มีอัตราภาษีสูงแต่เป็นรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง[52]

ส่วนนักเขียนชาวอเมริกันคนหนึ่งอ้างว่า คนอเมริกันมักเข้าใจ "รัฐสวัสดิการ" แบบนอร์ดิกผิด ๆ

คนอเมริกันจินตนาการ "รัฐสวัสดิการ" ว่าเป็นระบบสวัสดิการแบบสหรัฐที่เติมสเตอรอยด์ จริงแล้ว ๆ ชาวนอร์ดิกได้ทิ้งระบบสวัสดิการรูปแบบอเมริกันอย่างช้าก็ 60 ปีก่อน แล้วทดแทนด้วยบริการที่เป็นสากล ซึ่งหมายถึงทุก ๆ คน ไม่ว่าจะรวยหรือจน สามารถได้การศึกษาระดับสูง บริการทางการแพทย์ บริการดูแลคนชราเป็นต้น ฟรี ความเป็นสากลมีชัยชนะเหนือการกำหนดรายได้ของระบบสวัสดิการเก่าที่น่าสังเวชของพวกเขา ที่พวกเขาได้ทิ้งมันไปแล้วแต่สหรัฐอเมริกาก็ยังมี[53]

ข้อคัดค้าน[แก้]

นักเศรษศาสตร์สังคมนิยมคู่หนึ่ง (John Roemer และ Pranab Bardhan) คัดค้านประชาธิปไตยสังคมนิยม โดยตั้งความสงสัยในประสิทธิผลในการโปรโหมตสมภาคนิยมและในความยั่งยืนของมัน โดยชี้ว่า

  • ประชาธิปไตยสังคมนิยมต้องมีขบวนการแรงงานที่เข้มแข็ง เพื่อผดุงการปรับกระจายรายได้มหาศาลที่ต้องมี
  • มันเป็นความคิดแบบอุดมการณ์ว่า การปรับกระจายรายได้เช่นนี้สามารถทำได้ในประเทศอื่น ๆ ที่มีขบวนการแรงงานที่อ่อนแอกว่า
  • แม้ในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียเอง ประชาธิปไตยสังคมนิยมก็ได้เสื่อมลงเริ่มตั้งแต่ขบวนการแรงงานเริ่มอ่อนแอ ดังนั้น ความยั่งยืนของประชาธิปไตยสังคมนิยมจึงจำกัด
  • ระบบเศรษฐกิจที่เป็นสังคมนิยมโดยกลไกทางตลาดและเปลี่ยนความเป็นเจ้าของของธุรกิจต่าง ๆ จะโปรโหมตสมภาคนิยมได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าการปรับกระจายรายได้ของประชาธิปไตยสังคมนิยม[54]

ส่วนนักประวัติศาสตร์ชาวไอซ์แลนด์ผู้หนึ่ง (Guðmundur Jónsson) อ้างว่า การรวมไอซ์แลนด์เป็นส่วนของระบบนอร์ดิกโดยเป็นประชาไตยแบบฉันทามติ (consensus democracy) เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง คือ[55]

  1. ประชาธิปไตยของไอซ์แลนด์เรียกอย่างถูกต้องกว่าว่า เป็นแบบปฏิปักษ์มากกว่าฉันทามติทั้งตามสไตล์และการปฏิบัติ เพราะตลาดแรงงานเต็มไปด้วยความขัดแย้งและการนัดหยุดงานก็บ่อยกว่ายุโรป มีผลเป็นสัมพันธภาพที่ตึงเครียดระหว่างรัฐบาลและสหภาพแรงงาน
  2. ไอซ์แลนด์ไม่ได้มีธรรมเนียมแบบนอร์ดิกในการแชร์อำนาจหรือชมชอบบรรษัทนิยม เกี่ยวกับการบริหารจัดการนโยบายตลาดแรงงานหรือนโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยหลักเพราะความอ่อนแอของพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมและฝ่ายซ้ายโดยทั่ว ๆ ไป
  3. กระบวนการนิติบัญญัติไม่ได้โน้มเอียงอย่างเข้มแข็งเพื่อสร้างฉันทามติระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยให้รัฐบาลสืบหาคำปรึกษาหรือการสนับสนุนเพื่อกฎหมายหลัก ๆ
  4. การดำเนินการทางนิติบัญญัติและการอภิปรายที่เป็นสาธารณะ โดยทั่วไปเป็นแบบปฏิปักษ์ ไม่ใช่ฉันทามติ

นักวิชาการสองท่านรวมทั้งผู้ได้รับรางวัลโนเบล (James J. Heckman และ Rasmus Landersøn) ได้เทียบเดนมาร์กกับสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า การเปลี่ยนฐานะทางสังคมไม่ได้สูงเท่ากับที่ค่าวัดต่าง ๆ อาจแสดงในประเทศนอร์ดิก เพราะเมื่อดูแค่ค่าจ้างอย่างเดียว (แต่ก่อนภาษีและการปรับกระจายรายได้) การเปลี่ยนฐานะทางสังคมของประเทศทั้งสองคล้ายกันมาก แต่เมื่อนับผลของภาษีและการปรับกระจายรายได้ การเปลี่ยนฐานะทางสังคมของเดนมาร์กจึงจะดีกว่า ซึ่งแสดงว่า นโยบายการปรับกระจายรายได้เพียงแค่ให้ความรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนฐานะทางสังคมที่ดีกว่า

อนึ่ง การลงทุนในระบบการศึกษาของรัฐก็ไม่ได้เพิ่มการเปลี่ยนฐานะทางการศึกษาอย่างสำคัญ คือ ลูกของพ่อแม่ที่ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยก็ยังมีโอกาสน้อยที่จะได้การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แม้การลงทุนเช่นนี้จะเพิ่มสติปัญญา/ทักษะทางประชานในเด็กยากจนชาวเดนมาร์ก เทียบกับเด็กอเมริกันคล้าย ๆ กัน นักวิจัยยังพบหลักฐานด้วยว่า นโยบายสวัสดิการแบบใจกว้างยังตัดความทะเยอทะยานเพื่อเรียนให้สูงขึ้น เนื่องจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากงานระดับมหาวิทยาลัยที่ลดลง และระดับสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นถ้ามีการศึกษาน้อย[56]

ดูเพิ่ม[แก้]

รายการ[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. The Nordic Way, Klas Eklund, Henrik Berggren and Lars Trägårdh. 2011.
  2. Brandal, Nik; Bratberg, Øivind; Thorsen, Dag Einar (2013). The Nordic Model of Social Democracy. Springer. ISBN 9781137013279.
  3. Pontusson, Jonas (2011-08-24). "Once Again A Model: Nordic Social Democracy in a Globalized World". ใน Shoch, James; Ross, George W.; Cronin, James E. (บ.ก.). What's Left of the Left: Democrats and Social Democrats in Challenging Times. Duke University Press. pp. 89–115. ISBN 9780199322510.
  4. "The surprising ingredients of Swedish success - free markets and social cohesion" (PDF). Institute of Economic Affairs. 2013-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
  5. 5.0 5.1 5.2 McWhinney, James E. (25 June 2013). "The Nordic Model: Pros and Cons". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 16 September 2015. The Nordic model is a term coined to capture the unique combination of free market capitalism and social benefits that have given rise to a society that enjoys a host of top-quality services, including free education and free healthcare, as well as generous, guaranteed pension payments for retirees. These benefits are funded by taxpayers and administered by the government for the benefit of all citizens.
  6. Petersen, Klaus (March 2009). "Constructing Nordic Welfare? Nordic Social Political Cooperation" (PDF). ใน Christiansen, Niels Finn; Edling, Nils; Haave, Per; Petersen, Klaus (บ.ก.). The Nordic Model of Welfare: A Historical Reappraisal. Copenaghen: Museum Tusculanum Press. pp. 67–96. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020 – โดยทาง Helsinki University.
  7. Hicks, Alexander (20 January 2000). Social Democracy and Welfare Capitalism: A Century of Income Security Politics. Cornell University Press. p. 130. ISBN 978-0801485565. By the late 1950s, labor had been incorporated alongside Swedish business in fully elaborated corporatist institutions of collective bargaining and policy making, public as well as private, supply-side (as for labour training) as well as demand side (e.g., Keynesian). During the 1950s and 1960s, similar neocorpratist institutions developed in Denmark and Norway, in Austria and the Netherlands, and somewhat later, in Belgium and Finland.
  8. McWhinney 2013 "The model is underpinned by a capitalist economy that encourages creative destruction. While the laws make it is easy for companies to shed workers and implement transformative business models, employees are supported by generous social welfare programs."
  9. Lane, Kenworthy (2013). Social Democratic America. New York City: Oxford University Press. pp. 88–93. ISBN 9780199322527.
  10. Kenworthy, Lane (January 2014). "America's Social Democratic Future". Foreign Affairs (January/February 2014). สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  11. Kenworthy, Lane (1 March 2016). "Social Democracy". The Next System Project. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020. The chief goals social democracy attempts to realize, and that distinguish it from other actually-existing capitalisms, are economic security, equality (low inequality) of opportunity, and shared prosperity. ... Modern social democracy consists, to put it simply, of market capitalism plus generous and employment-friendly social policy... .
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 Andersen, Torben M.; Holmström, Bengt; Honkapohja, Seppo; Korkman, Sixten; Söderström, Hans Tson; Vartiainen, Juhana (2007). The Nordic Model: Embracing globalization and sharing risks (PDF). Yliopistopaino, Helsinki: Taloustieto Oy. ISBN 978-951-628-468-5. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
  13. "Economy Rankings". Doing Business. The World Bank Group. 2016. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
  14. 14.0 14.1 "Index of Economic Freedom – Countries". Index of Economic Freedom. The Heritage Foundation. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2008. สืบค้นเมื่อ 26 July 2016.
  15. "Corruption Perceptions Index 2015". Transparency International. Full Table and Rankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-13. สืบค้นเมื่อ 2017-01-01.
  16. Bruhn, Anders; Kjellberg, Anders; Sandberg, Åke (2013). Sandberg, Åke (บ.ก.). A New World of Work Challenging Swedish Unions (PDF). Nordic Lights. Work, Management and Welfare in Scandinavia. Stockholm: SNS. pp. 126–186.
  17. "Trade Union Density". OECD StatExtracts. OECD. 2010. สืบค้นเมื่อ 2016-07-26.
  18. Kjellberg, Anders (2006-04-04). "The Swedish unemployment insurance - will the Ghent system survive?" (pdf). Transfer: European Review of Labour and Research: 87–98. doi:10.1177/102425890601200109. ISSN 1024-2589. สืบค้นเมื่อ 2016-07-26 – โดยทาง Lund University. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  19. "The Nordic Model". In focus 2001. Nordic Labour Journal. สืบค้นเมื่อ 2016-07-26.
  20. Growing Unequal? Income Distribution and Poverty in OECD Countries. OECD. 2008. p. 233. doi:10.1787/9789264044197-en. ISBN 978-92-64-04418-0 – โดยทาง Keepeek 360.
  21. "Skattetrykket". Danish Ministry of Taxation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ 2012-06-24.
  22. "The Nordic model is about more than high taxes - CapX". 2015-01-15.
  23. "How Scandinavian Countries Pay for Their Government Spending - Tax Foundation". 2015-06-10.
  24. Gregoire, Carolyn (2015-08-01). "The Happiest Countries In The World". The Huffington Post (ตีพิมพ์ 2013-09-10). สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  25. Wearing, David (2014-05-22). "Where's the worst place to be a worker? Most of the world". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  26. Rosser, Mariana, V; Barkley, J Jr. (2003-07-23). Comparative Economics in a Transforming World Economy. MIT Press. p. 226. ISBN 978-0262182348. Liberal corporatism is largely self-organized between labor and management, with only a supporting role for government. Leading examples of such systems are found in small, ethnically homogeneous countries with strong traditions of social democratic or labor party rule, such as Sweden's Nordic neighbors. Using a scale of 0.0 to 2.0 and subjectively assigning values based on six previous studies, Frederic Pryor in 1988 found Norway and Sweden the most corporatist at 2.0 each, followed by Austria at 1.8, the Netherlands at 1.5, Finland, Denmark, and Belgium at 1.3 each, and Switzerland and West Germany at 1.0 each…with the exception of Iceland all the Nordic countries have higher taxes, larger welfare states, and greater corporatist tendencies than most social market economies.
  27. "Norway: The rich cousin". The Economist. 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-27.
  28. 28.0 28.1 "The Nordic countries: The next supermodel". The Economist. 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  29. "The secret of their success". The Economist. 2013-01-31.
  30. Hopkin, Jonathan; Lapuente, Victor; Moller, Lovisa (2014-01-29). "Lower levels of inequality are linked with greater innovation in economies". London School of Economics. สืบค้นเมื่อ 2016-06-27.
  31. Lane, Kenworthy (2013-12-03). Social Democratic America. USA: Oxford University Press. pp. 88–93. ISBN 9780199322527.
  32. Westerlund, Per-Åke (2014-03-22). "IS SWEDEN A MODEL TO FOLLOW?". Socialist Alternative. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  33. Rozworski, Michal (2015-02-27). "Beyond the Swedish Model". Jacobin. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  34. "Swedish riots rage for fourth night". The Guardian. 2013-05-23. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  35. "In Sweden, Riots Put an Identity in Question". The New York Times. 2013-05-26.
  36. Esping-Andersen, G (1991). The three worlds of welfare capitalism. Princeton, NJ: Princeton University Press.
  37. 37.0 37.1 The Nordic Council. "About the Nordic welfare model". Norden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-02.
  38. "We Can Reduce Poverty If We Want To. We Just Have To Want To". Mother Jones. 2013-09-26.
  39. 39.0 39.1 39.2 "Compare your country - Income distribution and poverty". OECD.
  40. Schröder, Martin (2013). Integrating Varieties of Capitalism and Welfare State Research. Palgrave Macmillan. p. 157.
  41. "Scandinavian Nonbelievers, Which Is Not to Say Atheists". The New York Times. 2009-02-27.
  42. Mander, Jerry (24 July 2013). "There Are Good Alternatives to US Capitalism, But No Way to Get There". Alternet. สืบค้นเมื่อ 27 July 2013.
  43. Matthews, Dylan (9 January 2014). "This sociologist has a plan to make America more like Sweden". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.
  44. Sanders, Bernie (26 May 2013). "What Can We Learn From Denmark?". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.
  45. Issenberg, Sasha (9 January 2010). "Sanders a growing force on the far, far left". Boston Globe. You go to Scandinavia, and you will find that people have a much higher standard of living, in terms of education, health care, and decent paying jobs.
  46. Aleem, Zeeshan (4 May 2015). "Bernie Sanders Says the U.S. Could Learn a Lot From Scandinavia. Here's Why He's Right". Mic. สืบค้นเมื่อ 5 May 2015.
  47. "'Scandinavian Dream' is true fix for America's income inequality". CNN Money. 3 June 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  48. "After I Lived in Norway, America Felt Backward. Here's Why". The Nation. 2016-01-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-19. สืบค้นเมื่อ 2017-09-14.
  49. Klein, Naomi (2008). The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism. Picador. p. 276.
  50. Whyman, Philip; Baimbridge, Mark; Mullen, Andrew (2012). The Political Economy of the European Social Model (Routledge Studies in the European Economy). Routledge. p. 108. In short, Gorbachev aimed to lead the Soviet Union towards the Scandinavian social democratic model.
  51. "The secret of their success". The Economist. 2013-02-02.
  52. Sales, Ben (2016-05-23). "Survey: Israeli Jews Want Broader Welfare State, Israeli Arabs Prefer 'American Model'". Haaretz.
  53. "The "Continuing Revelation" of Scandinavian Economies". The American Magazine. 2016-07-22.
  54. Bardhan, Pranab; Roemer, Johen E (1992). "Market socialism, a case for rejuvenation". Journal of Economic Perspectives. 6 (3): 104. ...we believe that social democracy requires rather special political circumstances that are absent in many countries for which our market socialism proposal may be feasible. Since it (social democracy) permits a powerful capitalist class to exist (90 percent of productive assets are privately owned in Sweden), only a strong and unified labor movement can win the redistribution through taxes that is characteristic of social democracy. It is idealistic to believe that tax concessions of this magnitude can be effected simply through electoral democracy without an organized labor movement, when capitalists organize and finance influential political parties. Even in the Scandinavian countries, strong apex labor organizations have been difficult to sustain and social democracy is somewhat on the decline now.
  55. Jónsson, Guðmundur (2014-08-08). "Iceland and the Nordic Model of Consensus Democracy". Scandinavian Journal of History. 39 (4): 510–528. doi:10.1080/03468755.2014.935473. ISSN 0346-8755.
  56. Landersøn, Rasmus; Heckman, James J. "The Scandinavian Fantasy: The Sources of Intergenerational Mobility in Denmark and the U.S." (PDF). National Bureau of Economic Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]