จอห์น เลนนอน
จอห์น เลนนอน | |
---|---|
เลนนอน ค.ศ. 1974 | |
เกิด | จอห์น วินสตัน เลนนอน 9 ตุลาคม ค.ศ. 1940 ลิเวอร์พูล อังกฤษ |
เสียชีวิต | 8 ธันวาคม ค.ศ. 1980 นครนิวยอร์ก สหรัฐ | (40 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | ฆาตกรรม |
สุสาน | ฌาปนกิจและโปรยอัฐิที่เซ็นทรัลพาร์ก นครนิวยอร์ก |
ชื่ออื่น | จอห์น วินสตัน โอโนะ เลนนอน |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1956–1980 |
คู่สมรส |
|
คู่รัก | เมย์ แพง (1973–1975) |
บุตร | |
บิดามารดา | |
ญาติ |
|
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี |
|
ค่ายเพลง | |
อดีตสมาชิก | |
เว็บไซต์ | johnlennon |
ลายมือชื่อ | |
จอห์น วินสตัน โอโนะ เลนนอน (อังกฤษ: John Winston Ono Lennon; ชื่อเกิด จอห์น วินสตัน เลนนอน, อังกฤษ: John Winston Lennon; 9 ตุลาคม 1940 – 8 ธันวาคม 1980) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงทั่วโลก และเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งวงเดอะบีเทิลส์ วงดนตรีที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ในประวัติศาสตร์วงการดนตรี ร่วมกับสมาชิก พอล แม็กคาร์ตนีย์ เขากลายเป็นคู่หูนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง
จอห์นเกิดและเติบโตที่เมืองลิเวอร์พูล ในวัยเด็กคลั่งไคล้ดนตรีแนวสกิฟเฟิล จอห์นได้เป็นสมาชิกวงเดอะควอร์รีเมน ต่อมาในปี 1960 เปลี่ยนเป็นเดอะบีเทิลส์ ครั้นยุบวงในปี 1970 เลนนอนออกผลงานเดี่ยวของตัวเอง เขาออกอัลบั้ม จอห์น เลนนอน/พลาสติกโอโนะแบนด์ และอัลบั้ม อิแมจิน ซึ่งได้รับคำยกย่องมากมาย อัลบั้มมีเพลงโดดเด่นอย่าง "กิฟพีซอะชานซ์" และ "เวิร์กกิงคลาสฮีโร" และ "อิแมจิน" หลังจอห์นสมรสกับโยโกะ โอโนะ ในปี 1969 เขาเปลี่ยนชื่อเป็น จอห์น โอโนะ เลนนอน เลนนอนปลีกตัวจากงานเพลงในปี 1975 เพื่อเลี้ยงดูบุตรชาย ฌอน แต่กลับมารวมตัวทำงานเพลงกับโยโกะ โอโนะ ในอัลบั้ม ดับเบิลแฟนตาซี เขาถูกฆาตกรรมสามสัปดาห์ก่อนออกอัลบั้มดังกล่าว
เลนนอนเผยให้เห็นนิสัยหัวรั้นและมีไหวพริบตรงไปตรงมาในด้านดนตรี การเขียน การวาดภาพ ภาพยนตร์ และในบทสัมภาษณ์ หลังจากมีประเด็นเกี่ยวกับกิจกรรมความเคลื่อนไหวเชิงสันติภาพและการเมือง เขาจึงย้ายไปแมนแฮตตัน ในปี 1971 ซึ่งคำวิจารณ์เกี่ยวกับสงครามเวียดนามทำให้รัฐบาลของริชาร์ด นิกสัน พยายามเนรเทศเขา แต่เพลงของเขาบางเพลงถูกนำไปเป็นเพลงสรรเสริญความเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามและกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรม
ในปี 2012 อัลบั้มเดี่ยวของเลนนอนขายได้มากกว่า 14 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา ในนามนักแต่งเพลง ผู้ช่วยนักแต่งเพลง และนักร้อง เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับซิงเกิลอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ถึง 25 เพลง ในปี 2002 ผลสำรวจของบีบีซีชื่อ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด 100 คน (100 Greatest Britons) จัดอันดับให้เลนนอนเป็นบุคคลลำดับที่ 8 ในปี 2008 นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับให้เขาศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลอันดับที่ห้า หลังเสียชีวิต เขาติดในหอเกียรติยศนักแต่งเพลงในปี 1987 และติดในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล สองครั้ง ในฐานะสมาชิกวงเดอะบีเทิลส์ในปี 1988 และฐานะนักร้องเดี่ยวในปี 1994[2]
ประวัติ
[แก้]1940-57 ชีวิตวัยเด็ก
[แก้]เลนนอนเกิดในช่วงสงครามที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 1940 ที่โรงพยาบาลลิเวอร์พูลมาเทอร์นิตี ให้กำเนิดโดย จูเลีย เลนนอน (นามสกุลเดิม สแตนลีย์) และอัลเฟรด เลนนอน เชื้อสายไอริช มีอาชีพเป็นพ่อค้าเดินเรือ และไม่ได้อยู่ด้วยกันขณะเขาเกิด[3] พวกเขาชื่อบุตรว่าจอห์นตามชื่อปู่ว่า จอห์น "แจ็ก" เลนนอน ส่วนชื่อกลาง วินสตัน มาจากวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น[4] พ่อของเขามักจากบ้านไปทำงานบ่อย ๆ แต่ก็ยังส่งเช็คเงินสดมาเป็นประจำที่บ้านเลขที่ 9 ถนนนิวคาสเซิล ลิเวอร์พูล ที่จอห์นอาศัยอยู่กับแม่[5] เช็คหยุดส่งมาหาพวกเขาในกุมภาพันธ์ 1944 เนื่องจากพ่อปลดประจำการโดยไม่ได้รับอนุญาต[6][7] ในที่สุด หกเดือนต่อมา พ่อของจอห์นกลับมาบ้าน เสนอว่าจะดูแลครอบครัว แต่จูเลีย ตั้งครรภ์กับชายคนอื่นแล้ว จึงปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว[8] หลังจากพี่สาวของจูเลีย มีมี สมิธ ร้องทุกข์กับบริการสังคมของลิเวอร์พูลถึงสองครั้ง จูเลียจึงส่งเลนนอนให้เธอดูแล ในเดือนกรกฎาคม 1946 พ่อของเลนนอนมาเยี่ยมสมิธ และพาเลนนอนไปเที่ยวในเมืองแบล็กพูล โดยตั้งใจลับ ๆ ว่าจะพาย้ายออกไปอยู่กับเขาที่ประเทศนิวซีแลนด์[9] แต่จูเลียและสามีคนใหม่ของเธอ บ็อบบี ไดกินส์ ตามไปจนพบ และหลังจากการทะเลาะวิวาทรุนแรง ผู้เป็นพ่อบังคับให้เลนนอนอายุ 5 ขวบเลือกว่าจะอยู่กับใคร เลนนอนเลือกพ่อของเขาถึงสองครั้ง แต่ขณะที่แม่ของเขาเดินจากไป เขาเริ่มร้องไห้และเลือกตามแม่ของเขาไป[10] เขาได้ติดต่อกับพ่อของเขาอีกครั้งหลังผ่านไป 20 ปี[11]
เลนนอนอาศัยอยู่กับลุงและป้า มีมี และ จอร์จ สมิธ ซึ่งไม่มีบุตรของตนเอง ที่เมนดิปส์ 251 ถนนเมนเลิฟ เมืองวูลตัน[12] ป้าซื้อนวนิยายเรื่องสั้นให้จอห์นหลายเล่ม และลุงเป็นเจ้าของฟาร์มวัวนมเคยซื้อหีบเพลงปากให้จอห์น และร่วมเล่นปริศนาอักษรไขว้กับจอห์นด้วย[13] จูเลียแวะมาที่เมนดิปส์เป็นประจำ และเมื่อจอห์นอายุได้ 11 ขวบ จอห์นมักจะมาเยี่ยมจูเลีย ที่ 1 ถนนบลอมฟิลด์ เมืองลิเวอร์พูล ซึ่งเธอเคยเล่นแผ่นเสียงของเอลวิส เพรสลีย์ สอนเขาเล่นแบนโจ และแสดงวิธีเล่นเพลงเพลง "เอนต์แดตอะเชม" ของแฟตส์โดมิโน[14] ในเดือนกันยายน 1980 เลนนอนให้ความเห็นเกี่ยวกับครอบครัวและนิสัยหัวรั้นของเขาว่า
ส่วนหนึ่งในตัวผมก็อยากเป็นที่ยอมรับในสังคม และไม่อยากเป็นกวีหรือนักดนตรีที่บ้าและเสียงดังน่ารำคาญ แต่ผมไม่อาจเป็นสิ่งที่ผมไม่ได้เป็นได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่พ่อแม่ของคนอื่น ๆ รวมถึงพ่อของพอล ต่างก็กล่าวว่า 'อยู่ห่างจากเขาไว้' พ่อแม่ของพวกเขารู้ดีจากสัญชาตญาณว่าผมเป็นคนสร้างปัญหา หมายความว่าผมไม่ปรับตัวและสิ่งที่ผมทำอาจส่งผลต่อลูก ๆ ของพวกเขาได้ ส่วนหนึ่งผมไม่ได้อิจฉาว่าผมไม่มีความเป็นอยู่ในบ้านอย่างเขา แต่ผมมี มีผู้หญิงห้าคนที่เคยเป็นครอบครัวของผม ผู้หญิงเข้มแข็ง ฉลาด และสวยงามห้าคน พี่สาวน้องสาวห้าคน คนหนึ่งเป็นแม่ของผม [เธอ] ไม่อาจจัดการกับชีวิตได้ เธออายุน้อยที่สุดและเธอมีสามีที่หนีออกทะเล และสงครามยังปะทุ และเธอไม่อาจรับมือกับผมกับ และต้องจบที่ผมไปอยู่กับพี่สาวของเธอ ตอนนี้ผู้หญิงเหล่านั้นเคยมหัศจรรย์ และนั่นเป็นบทเรียนเกี่ยวกับผู้หญิงครั้งแรกของผม ผมอยากบุกเข้าไปในจิตใจของเด็กชายคนอื่น ๆ และพูดว่า "พ่อแม่ไม่ใช่พระเจ้า เพราะผมไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ผม ดังนั้น ผมจึงรู้"[15]
เขาแวะเยี่ยมลูกพี่ลูกน้องชื่อ สแตนลีย์ พากส์ ที่ฟลีตวูด เป็นประจำ พากส์ มีอายุมากกว่าเลนนอน 7 ปี เคยพาเขาเดินทางและไปโรงภาพยนตร์[16] ในช่วงหยุดเรียน พากส์มักมาเยี่ยมเลนนอนพร้อมกับเลลา ฮาร์วีย์ ลูกพี่ลูกน้องอีกคนหนึ่ง และพาเขาเดินทางไปแบล็กพูลสองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์เพื่อชมการแสดง พวกเขามักไปที่แบล็กพูลทาวเวอร์เซอร์คัส และชมศิลปินมากมาย ได้แก่ ดิกกี วาเลนไทน์ อาเธอร์ แอสกี แมกซ์ บายเกรฟส์ และโจ ลอส โดยพากส์จำได้ว่าเลนนอนชื่นชอบจอร์จ ฟอร์มบี[17] เป็นพิเศษ หลังจากครอบครัวของพากส์ย้ายไปประเทศสกอตแลนด์ ลูกพี่ลูกน้องทั้งสามคนใช้เวลาในวันหยุดร่วมกันที่นั่น พากส์จำได้ว่า "จอห์น เลลา และผม สนิทกันมาก พวกเราขับรถจากเอดินบะระ ขึ้นไปหาครอบครัวที่เดอร์เนส ตั้งแต่จอห์นอายุราว 9 ปี จนกระทั่งเขาอายุ 16 ปี"[18] ลุงจอร์จเสียชีวิตด้วยอาการตกเลือดที่ตับในวันที่ 5 มิถุนายน 1955 (สิริอายุ 52 ปี) เมื่อเลนนอนอายุ 14 ปี[19]
เลนนอนนับถือนิกายแองกลิคันและเข้าศึกษาที่โดฟเดลไพรแมรีสกูล[20] หลังจากผ่านการทดสอบอีเลเวนพลัส เขาเข้าศึกษาที่โรงเรียนควอรีแบงก์ไฮสกูล ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 1952 ถึง 1957 และฮาร์วีย์พูดถึงเขาว่า "เด็กหนุ่มร่าเริง เรียบง่าย อารมณ์ดี ไม่ทุกข์ไม่ร้อน"[21] เขามักวาดการ์ตูนขบขันลงนิตยสารที่โรงเรียนพิมพ์เองชื่อ เดอะเดลีฮาวล์[22] แต่แม้ว่าเขามีพรสวรรค์ด้านศิลปะ แต่ผลการเรียนของเขากลับออกมาเลวร้าย: "อยู่บนถนนสู่ความล้มเหลว สิ้นหวัง มากกว่าเป็นตัวตลกในห้องเรียน เสียเวลาของนักเรียนคนอื่น ๆ"[23]
แม่ของเขาซื้อกีตาร์ตัวแรกให้ในปี 1956 กีตาร์โปร่งรุ่นกีตาร์รุ่นแกลโลโทน แชมเปียน ราคาถูก โดยเธอให้ลูกชายยืมเงิน 5 ปอนด์ 10 ชิลลิง ในเงื่อนไขว่ากีตาร์ต้องถูกส่งมาที่บ้านของเธอ ไม่ใช่บ้านของมีมี เนื่องจากตระหนักว่าพี่สาวของเธอไม่สนับสนุนให้ลูกชายเป็นนักดนตรี[24] ขณะที่มีมีสงสัยกับคำกล่าวที่ว่าเขาจะต้องมีชื่อเสียงสักวัน เธอหวังว่าเขาจะเบื่อดนตรี และมักบอกเขาว่า "กีตาร์เป็นสิ่งที่ดีนะจอห์น แต่แกจะหาเลี้ยงชีพจากมันไม่ได้หรอก"[25] ในวันที่ 15 กรกฎาคม 1958 ขณะเลนนอนอายุ 17 ปี แม่ของเขาเดินออกจากบ้านหลังจากเยี่ยมบ้านของสมิธ ถูกรถยนต์ชนและเสียชีวิต[26]
เลนนอนสอบตกการวัดระดับการศึกษาทั่วไประดับโอทุกวิช และได้รับเลือกเข้าเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูลหลังจากป้าของเขาและอาจารย์ใหญ่เข้ามาช่วย[27] ขณะเรียนที่วิทยาลัย เขาเริ่มใส่ชุดเท็ดดีบอย และเป็นที่จดจำในเรื่องขัดขวางการเรียนการสอนและล้อเลียนครู ส่งผลให้เขาถูกคัดชื่อออกจากวิชาวาดภาพ วิชาศิลปะกราฟิก และถูกตักเตือนว่าจะถูกไล่ออก หลังจากเขามีพฤติกรรมนั่งบนตักของนางแบบเปลือยในวิชาวาดภาพคน[28] เขาสอบตกการสอบประจำปี แม้ว่ามีเพื่อนและอนาคตภรรยาของเขา ซินเธีย เพาเอลล์ คอยช่วยเหลือ และเขาถูก "ไล่ออกจากวิทยาลัยก่อนเรียนปีสุดท้าย"[29]
1957-70: เดอะควอร์รีเมน สู่ เดอะบีเทิลส์
[แก้]1957-66: ก่อตั้งวง ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์และปีที่มีทัวร์
[แก้]เมื่ออายุ 15 ปี เลนนอนก่อตั้งวงดนตรีแนวสกิฟเฟิลชื่อ เดอะควอร์รีเมน ตั้งชื่อตามชื่อโรงเรียนควอรีแบงก์ไฮสกูล เมื่อเดือนกันยายน 1956[30] ในฤดูร้อนปี 1957 เดอะควอร์รีเมนเล่น "เพลงหลายเพลงในแบบมีชีวิตชีวา" เป็นแนวครึ่งสกิฟเฟิลครึ่งร็อกแอนด์โรล[31] เลนนอนพบกับพอล แม็กคาร์ตนีย์ครั้งแรกในการแสดงครั้งที่สอง จัดขึ้นที่วูลตันในงานเลี้ยงในสวนของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ เขาชวนแม็กคาร์ตนีย์ให้มาร่วมเล่นกับวง[32]
แม็กคาร์ตนีย์กล่าวว่าป้ามีมี "รู้ว่าเพื่อนของจอห์นเป็นคนฐานะด้อยกว่า" และมักจะดูแลเขาเมื่อเขามาหาเลนนอน[33] ไมก์ พี่ชายของพอล กล่าวว่า พ่อของแม็กคาร์ตนีย์ก็ไม่สนับสนุน พร้อมกล่าวว่าเลนนอนจะพาลูกชายของเขา "เจอแต่ปัญหา"[34] แม้ว่าต่อมาเขาอนุญาตให้ซ้อมดนตรีในห้องหน้าบ้านของแม็กคาร์ตนีย์ที่บ้านเลขที่ 20 ถนนฟอร์ทลิน[35][36] ในระหว่างนี้ เลนนอนอายุ 18 ปีเขียนเพลงแรกชื่อ "เฮลโลลิตเทิลเกิร์ล" เป็นเพลงดังติด 10 อันดับแรกในสหราชอาณาจักรของวงเดอะโฟร์โมสต์ในอีกห้าปีต่อมา[37]
แม็กคาร์ตนีย์แนะนำให้จอร์จ แฮร์ริสัน เป็นมือกีตาร์นำ[38] เลนนอนคิดว่าแฮร์ริสัน (อายุ 14 ปีในขณะนั้น) ยังอายุน้อยเกินไป แม็กคาร์ตนีย์ช่วยควบคุมเสียงให้บนดาดฟ้าของรถประจำทางลิเวอร์พูลให้กับแฮร์ริสันที่กำลังเล่นเพลง "รอนชี" ให้เลนนอน และได้รับชวนให้ร่วมวง[39] สจ๊วต ซัตคลิฟฟ์ เพื่อนจากโรงเรียนศิลปะของเลนนอนร่วมวงในตำแหน่งมือเบส[40] เลนนอน แม็กคาร์ตนีย์ แฮร์ริสัน และซัตคลิฟฟ์ รวมตัวกันเป็น "เดอะบีเทิลส์" ในต้นปี 1960 ในเดือนสิงหาคมปีนั้น เดอะบีเทิลส์ได้พำนักอยู่ที่ฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี เป็นเวลา 48 คืน และเนื่องจากสิ้นหวังจากเหตุขาดมือกลอง จึงชวนพีต เบสต์ มาร่วมด้วย[41] เมื่อเลนนอนอายุ 19 ปี เขาบอกป้าเรื่องการเดินทางดังกล่าว ป้าของเขารู้สึกกลัว และขอร้องให้เขากลับมาเรียนศิลปะแทน[42] หลังอาศัยที่ฮัมบวร์คครั้งแรก วงกลับมาพำนักอีกครั้งในเดือนเมษายน 1961 และครั้งที่สามในเดือนเมษายน 1962 เลนนอนและเพื่อนร่วมวงได้รู้จักกับยาพรีลูดินขณะอยู่ที่ฮัมบวร์ค[43] และเริ่มเสพยาเป็นประจำ รวมถึงแอมเฟตามีนด้วย โดยใช้เป็นยากระตุ้นระหว่างการแสดงยาวนานข้ามคืน[44]
ไบรอัน เอปสไตน์ ผู้จัดการวงตั้งแต่ปี 1962 ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการจัดการศิลปินมาก่อน แต่มีอิทธิพลสูงจากรหัสการแต่งกายในยุคต้นและทัศนคติบนเวที[45] แรกเริ่ม เลนนอนไม่เห็นชอบความพยายามที่เขากระตุ้นวงให้แสดงดนตรีอย่างมืออาชีพ แต่ในที่สุดก็ยอมรับ กล่าวว่า "ผมจะสวมบอลลูนโชกเลือดถ้าจะมีสักคนจ่ายเงินผม"[46] แม็กคาร์ตนีย์เล่นเบสแทนซัตคลิฟฟ์ หลังจากซัตคลิฟฟ์ตัดสินใจอยู่ฮัมบวร์คต่อ และมือกลองชื่อ ริงโก สตาร์ มาแทนที่เบสต์ กลายเป็นสมาชิกวงชุดสมบูรณ์จนกระทั่งแยกวงในปี 1970 ซิงเกิลแรกของวง "เลิฟมีดู" ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม 1962 และขึ้นอันดับ 17 ในชาร์ตของสหราชอาณาจักร พวกเขาอัดอัลบั้มแรกชื่อ พลีสพลีสมี เสร็จในเวลา 10 ชั่วโมงในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1963[47] ซึ่งเป็นวันที่เลนนอนเป็นหวัด[48] เห็นได้ชัดจากเสียงร้องของเขาในเพลง "ทวิสต์แอนด์เชาต์"[49] เพลงสุดท้ายที่อัดวันนั้น เลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์แต่งเพลงร่วมกันจำนวน 8 เพลงจาก 14 เพลง แต่มีข้อยกเว้น อย่างแรกคือชื่ออัลบั้ม เลนนอนยัง เล่นคำในเนื้อเพลงที่ร้องว่า "We were just writing songs ... pop songs with no more thought of them than that—to create a sound. And the words were almost irrelevant"[47] ในบทสัมภาษณ์ปี 1987 แม็กคาร์ตนีย์กล่าวว่าบีเทิลส์คนอื่น ๆ หลงใหลในตัวจอห์น "เขาเป็นดั่งเอลวิสตัวน้อย ๆ ของพวกเรา เรานับถือจอห์น เขาแก่กว่าและค่อนข้างเป็นผู้นำ เขามีสติปัญญาว่องไวและฉลาดที่สุด"[50]
เดอะบีเทิลส์ประสบความสำเร็จกระแสหลักในสหราชอาณาจักรในช่วงต้นปี 1963 เลนนอนกำลังทัวร์คอนเสิร์ต ขณะที่ลูกชายคนแรกของเขา จูเลียน เกิดในเดือนเมษายน ในระหว่างการแสดงรายการโรยัลวาไรตีโชว์ ที่มีพระราชินีและราชวงศ์บริติชเข้าชมการแสดงด้วยนั้น เลนนอนเล่นตลกกับผู้ชมว่า "สำหรับเพลงต่อไป ผมอยากขอความช่วยเหลือจากพวกคุณ สำหรับคนที่นั่งที่นั่งราคาถูก ให้ปรบมือ ... และพวกคุณที่เหลือ หากคุณจะช่วยส่งเสียงเพชรพลอยให้ได้ยินสักหน่อย"[51] หลังช่วงบีเทิลเมเนียในสหราชอาณาจักรผ่านไปหนึ่งปี วงได้ปรากฏตัวครั้งประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในรายการ ดิเอ็ดซัลลิแวนโชว์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1964 ทำให้พวกเขาได้แจ้งเกิดสู่ความเป็นดาราต่างประเทศ ตามมาด้วยช่วงเวลาทัวร์ต่อเนื่องสองปี การถ่ายทำภาพยนตร์ และการแต่งเพลง ระหว่างนั้น เลนนอนเขียนหนังสือสองเล่มคือ อินฮิสโอนไรต์ และ อะสเปเนียดอินเดอะเวิกส์[52] เดอะบีเทิลส์เป็นที่จดจำจากสถาบันบริติช หลังจากเขาได้นัดพบกับขุนนางจากเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติช ในงานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระราชินีปี 1965[53]
เลนนอนตระหนักว่าแฟนคลับที่ชมคอนเสิร์ตของบีเทิลส์ไม่อาจได้ยินเสียงดนตรีได้เนื่องจากเสียงกรีดร้องดังมาก และความสามารถทางดนตรีของวงเริ่มมีปัญหา[54] เพลง "เฮลป์!" (ช่วยด้วย!) ของเลนนอนในปี ปี 1965 แสดงความรู้สึกของเขาว่า "ผมหมายถึงอย่างนั้นจริง ๆ ผมกำลังร้องว่า 'ช่วยด้วย'"[55] เขาน้ำหนักขึ้น (ต่อมาเขาเรียกช่วงเวลานี้ว่า "เอลวิสอ้วน")[56] และรู้สึกว่าจิตใต้สำนึกของเขากำลังมองหาความเปลี่ยนแปลง[57] ในเดือนมีนาคมปีนั้น เขาได้รู้จักกับยาแอลเอสดีโดยไม่รู้ตัว เมื่อเขาดื่มกาแฟที่มียานั้นอยู่[58] ขณะที่เขา แฮร์ริสัน และภรรยาของพวกเขาพบกับหมอฟันเจ้าของงานสังสรรค์มื้อเย็น เมื่อพวกเขาต้องการออกจากงานเลี้ยง เจ้าบ้านเปิดเผยสิ่งที่พวกเขาดื่มเข้าไป และแนะว่าไม่ให้ออกจากบ้านเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์ ต่อมา ในลิฟต์ที่ไนต์คลับแห่งหนึ่ง พวกเขาทุกคนเชื่อว่าไฟกำลังครอกตัวพวกเขา "พวกเรากรีดร้อง... ร้อนและเหมือนเป็นโรคประสาท"[59] ในเดือนมีนาคม 1966 ระหว่างสัมภาษณ์กับนักข่าวหนังสือพิมพ์อีฟนิงสแตนดาร์ด มอรีน คลีฟ เลนนอนกล่าวว่า "คริสต์ศาสนาจะหายไป มันจะเลือนและหดหาย ตอนนี้พวกเราโด่งดังกว่าพระเยซูแล้ว ผมไม่รู้ว่าอะไรจะไปก่อนกัน ระหว่างร็อกแอนด์โรลกับคริสต์ศาสนา"[60] ความเห็นนี้ไม่เป็นที่สังเกตในอังกฤษ แต่ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อนิตยสารฉบับหนึ่งนำคำกล่าวไปใช้ที่นั่นในห้าเดือนถัดมา หลังจากนั้นมีการปะทะเชิงอารมณ์ตามมา กิจกรรมของการเคลื่อนไหวคูคลักซ์แคลนและการขู่ทำร้ายเลนนอนทำให้วงตัดสินใจหยุดทัวร์คอนเสิร์ต[61]
1967-70: ช่วงปีที่อัดเสียง การยุบวง และงานเพลงเดี่ยว
[แก้]เนื่องจากขาดช่วงจากการแสดงสดหลังคอนเสิร์ตเชิงพาณิชย์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 สิงหาคม 1966 เลนนอนรู้สึกหลงทางและคิดลาออกจากวง[62] เนื่องจากเขาได้ใช้ยาแอลเอสดีโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เขาใช้ยานั้นเพิ่มขึ้น และเกือบเสพติดถาวรเกือบตลอดปี 1967[63] นักชีวประวัติ เอียน แม็กโดนัลด์ กล่าวว่า การที่เลนนอนใช้แอลเอสดีต่อเนื่องตลอดปีนั้นทำให้เขา "เกือบลบความเป็นตัวตนออกไป"[64] ปี 1967 มีเพลง "สตรอเบอรีฟิลส์ฟอร์เอฟเวอร์ ที่นิตยสารไทม์ทักว่าเป็น "งานประดิษฐ์ที่น่าทึ่ง"[65] และอัลบั้มที่โดดเด่นของวงคือ ซาร์เจินต์เปปเปอส์โลนลีฮาตส์คลับแบนด์ เผยเนื้อร้องของเลนนอนที่ขัดกับเพลงรักหลายเพลงในช่วงแรก ๆ ของเลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์อย่างมาก
ในเดือนสิงหาคม หลังจากได้เข้าชมรมมหาฤๅษี มเหศโยคี วงเข้าสัมมนาการทำสมาธิอดิศัยเพื่อขอคำแนะนำส่วนตัวในช่วงสุดสัปดาห์ที่แบงเกอร์ ประเทศเวลส์[66] และได้ข่าวการตายของเอปสไตน์ในระหว่างสัมมนา "ผมรู้ว่าเรามีปัญหาแล้วในตอนนั้น" เลนนอนกล่าวต่อมา "ผมไม่ได้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถอื่น ๆ ของพวกเรา นอกจากเล่นดนตรี และผมกลัว"[67] ต่อมา เดอะบีเทิลส์เดินทางไปที่อาศรมของมหาฤๅษีที่ประเทศอินเดียเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม[68] ขณะอยู่ที่นั่น พวกเขาแต่งเพลงหลายเพลงสำหรับอัลบั้มเดอะบีเทิลส์ และแอบบีย์โรดด้วย[69]
เลนนอนได้แสดงภาพยนตร์ต่อต้านสงครามเรื่อง ฮาวไอวันเดอะวอร์ แบบเต็มเรื่องเพียงเรื่องเดียวที่ไม่เกี่ยวกับเดอะบีเทิลส์ ภาพยนตร์ออกฉายในเดือนตุลาคม 1967[70] แม็กคาร์ตนีย์เป็นคนจัดการโครงการโครงการแรกของวงหลังเอปไตน์เสียชีวิต[71] ในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง แมจิคัลมิสเตอรีทัวร์ โดยพวกเขาเขียนบทเอง ผลิตเอง และกำกับเอง ฉายในเดือนธันวาคมปีนั้นเอง แม้ว่าภาพยนตร์จะล้มเหลวอย่างหนัก แต่เพลงประกอบภาพยนตร์ "ไอแอมเดอะวอลรัส" ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากลูอิส แคร์รอลและทำให้เลนนอนได้รับคำชม กลับประสบความสำเร็จ[72][73] หลังจากเอปสไตน์จากไป สมาชิกวงเข้ามาทำกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และในเดือนกุมภาพันธ์ 1968 พวกเขาก่อตั้งแอปเปิลคอร์ บริษัทมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยค่ายเพลงแอปเปิลเรเคิดส์ และบริษัทย่อยอีกหลายบริษัท เลนนอนพูดถึงการทำธุรกิจครั้งนี้ว่าเป็นความพยายามที่จะบรรลุ "อิสรภาพทางศิลปินภายในโครงสร้างธุรกิจ"[74] แต่ด้วยการใช้ยาที่มากขึ้น ความลุ่มหลงในตัวโยโกะ โอโนะ และแผนการสมรสของแม็กคาร์ตนีย์ เลนนอนลาออกจากแอปเปิลเนื่องจากต้องการการจัดการที่เป็นมืออาชีพ เลนนอนขอให้ลอร์ด บีชิง เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่เขาปฏิเสธ โดยแนะนำเลนนอนให้กลับไปทำเพลง เลนนอนไปหาอัลเลน ไคลน์ ซึ่งเคยทำดนตรีให้เดอะโรลลิงสโตนส์และวงอื่น ๆ ระหว่างยุคการรุกรานของชาวบริติช เลนนอน แฮร์ริสัน และสตาร์ มอบหมายให้ไคลน์ทำหน้าที่ผู้บริหาร[75] แต่แม็กคาร์ตนีย์ไม่เซ็นสัญญาดังกล่าว[76]
ปลายปี 1968 เลนนอนแสดงในภาพยนตร์เรื่องเดอะโรลลิงสโตนร็อกแอนด์โรลเซอร์คัส (ออกฉายในปี 1996) ในบทสมาชิกวงเดอร์ตีแม็ก ซูเปอร์กรุปนี้ประกอบด้วยจอห์น เลนนอน เอริก แคลปตัน คีธ ริชาดส์ และมิตช์ มิตเชลล์ และร้องเบื้องหลังโดยโอโนะ[77] เลนนอนและโอโนะสมรสกันในวันที่ 20 มีนาคม 1969 และออกจำหน่ายภาพพิมพ์หินชื่อ "แบกวัน" (Bag One) 14 ภาพ เป็นภาพบรรยายถึงช่วงเวลาฮันนีมูนของพวกเขา ภาพจำนวนแปดภาพถูกมองว่าไม่เหมาะสมและส่วนใหญ่ถูกห้ามจำหน่ายและริบไว้[78] ความสร้างสรรค์ของเลนนอนยังคงดำเนินต่อไปกับวงเดอะบีเทิลส์ และระหว่างปี 1968 และ 1969 เขาและโอโนะบันทึกอัลบั้มเพลงแนวดนตรีทดลองร่วมกัน ได้แก่ อัลบั้มอันฟินิชด์มิวสิกนัมเบอร์ 1: ทูเวอร์จินส์[79] (ปกเป็นที่รู้จักมากกว่าเพลง) อันฟินิชด์มิวสิกนัมเบอร์ 2: ไลฟ์วิดเดอะไลออนส์ และเวดดิงอัลบั้ม ในปั 1969 พวกเขาตั้งวง พลาสติกโอโนะแบนด์ ออกอัลบั้มไลฟ์พีซอินโทรอนโต 1969 ระหว่างปี 1969 และ 1970 เลนนอนออกซิงเกิล "กิฟพีซอะชานซ์" (ถูกนำไปเปิดเป็นเพลงรณรงค์การต่อต้านสงครามเวียดนามในปี 1969)[80] "โคลด์เทอร์คี" (เล่าเรื่องการถอนยาหลังจากเขาเสพติดเฮโรอีน)[81] และ "อินสแตนต์คาร์มา" ในการประท้วงการที่บริเตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองไนจีเรีย[82] กองกำลังสนับสนุนของอเมริกาในสงครามเวียดนาม และประท้วงที่เพลง "โคลด์เทอร์คี" ตกอันดับชาร์ต[83] เลนนอนคืนเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติชให้พระราชินี แม้ว่าจะไม่มีผลใด ๆ ต่อสถานะของเครื่องอิสริยาภรณ์ของอาณาจักรบริติชของเขา เนื่องจากสถานะไม่อาจยกเลิกได้[84]
เลนนอนออกจากวงเดอะบีเทิลส์ในเดือนกันยายน 1969[85] และจะไม่ชี้แจงสื่อใด ๆ ขณะที่เจรจาสัญญาครั้งใหม่กับสังกัด แต่เขาโกรธที่แม็กคาร์ตนีย์เผยแพร่การแยกทางจากวงโดยออกผลงานเดี่ยวอัลบั้มแรกในเดือนเมษายน 1970 เลนนอนมีปฏิกิริยาว่า "พระเจ้า! เขาเอาหน้าอยู่คนเดียวเลย"[86] เขายังเขียนต่อไปว่า "ผมก่อตั้งวง ผมยุบวง ง่าย ๆ อย่างนั้นเลย"[87] ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารโรลลิงสโตน เขาแสดงความขุ่นเคืองต่อแม็กคาร์ตนีย์ว่า "ผมมันโง่ที่ไม่ทำอย่างที่พอลทำ เพื่อที่จะใช้ข่าวนี้ขายงานเพลง"[88] เขายังพูดว่าเขารับรู้ได้ถึงความเป็นปฏิปักษ์ที่สมาชิกคนอื่นมีต่อโอโนะ และเกี่ยวกับว่าแฮร์ริสัน และสตาร์ รู้สึก "เบื่อการเป็นตัวประกอบให้กับพอล ... หลังจากไบรอัน เอปสไตน์เสียชีวิต พวกเราประสบปัญหา พอลรับช่วงต่อ และเป็นผู้นำทางพวกเรา แต่อะไรจะนำทางเราได้เมื่อเราเดินทางเป็นวงกลม"[89]
1970-80: งานเดี่ยว
[แก้]1970-72: ความสำเร็จในฐานะนักร้องเดี่ยวและกิจกรรมในช่วงแรก
[แก้]ในปี 1970 เลนนอนและโอโนะเข้ารับการบำบัดพื้นฐานกับอาร์เธอร์ แจเนิฟ ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย การบำบัดถูกออกแบบมาให้ปลดปล่อยความเจ็บปวดทางอารมณ์ในวัยเด็กออกมา การบำบัดกับแจเนิฟใช้เวลา 4 เดือน เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งวัน เลนนอนอยากบำบัดให้นานกว่านั้น แต่พวกเขารู้สึกว่าไม่จำเป็นและเดินทางกลับลอนดอน[90] อัลบั้มเพลงที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกอัลบั้มแรกของเลนนอน จอห์น เลนนอน/พลาสติกโอโนะแบนด์ (1970) ได้รับคำชมอย่างสูง นักวิจารณ์ เกรล มาร์คัส กล่าวว่า "ท่อนที่จอห์นร้องในท่อนสุดท้ายของ 'ก๊อด' อาจจะเป็นท่อนร็อกที่ดีที่สุด"[91] อัลบั้มมีเพลง "มาเธอร์" ซึ่งเลนนอนเคยต้องเผชิญกับความรู้สึกที่มีต่อการถูกปฏิเสธในวัยเด็ก[92] และเพลง "เวิร์กกิงคลาสฮีโร" เป็นการโจมตีระบบทางสังคมชนชั้นกลาง ซึ่งจากเนื้อเพลงที่ว่า "you're still fucking peasants" แสดงความรังเกียจต่อนักข่าว[93][94] ในปีเดียวกัน มุมมองทางการเมืองของทารีก อาลี ที่แสดงออกขณะสัมภาษณ์เลนนอน เป็นแรงบันดาลใจให้เลนนอนเขียนเพลง "เพาเวอร์ทูเดอะพีเพิล" เลนนอนยังพัวพันกับอาลีในการประท้วงต่อต้านการฟ้องร้องเกี่ยวกับความลามกของนิตยสารออซ เลนนอนประณามการพิจารณาคดีความนี้ว่า "ฟาสซิสม์น่าขยะแขยง" และเขากับโอโนะ (ในนาม อิลาสติกออซแบนด์) ออกซิงเกิล "ก๊อดเซฟอัส/ดูดิออซ" และร่วมเดินขบวนสนับสนุนนิตยสารดังกล่าว[95]
อัลบั้มต่อไปของเลนนอน อิแมจิน (1971) ได้รับการป้องกันจากการตอบรับที่หนักหน่วง นิตยสารโรลลิงสโตนรายงานว่า "อัลบั้มประกอบด้วยสัดส่วนของดนตรีที่ดี" แต่ตำหนิถึงความเป็นไปได้ว่า "ทัศนคติของเขาไม่เพียงแต่จะดูโง่แต่ดูไม่สัมพันธ์กันด้วย"[96] เพลงที่ชื่อเดียวกับอัลบั้มจะกลายเป็นเพลงประจำความเคลื่อนไหว้ต่อต้านสงคราม[97] ขณะที่อีกเพลงหนึ่ง "ฮาวดูยูสลีป" เป็นเพลงที่โจมตีแม็กคาร์ตนีย์ เป็นการตอบสนองเนื้อเพลงจากอัลบั้มแรม ซึ่งเลนนอนรู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับเขาและโอโนะโดยตรง และต่อมาแม็กคาร์ตนีย์ก็ยืนยันเช่นนั้น[98] อย่างไรก็ตาม เลนนอนปรับทัศนคติให้อ่อนโยนลงในกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 และกล่าวว่าเขาแต่งเพลง "ฮาวดูยูสลีป" เพื่อพูดถึงตนเอง[99] เขากล่าวในปี 1980 ว่า "ผมเคยใช้ความโกรธเคืองพอลมาสร้างเป็นเพลงเพลง ไม่ใช่ความพยาบาทสยดสยองเสื่อมทราม ผมใช้ความโกรธเคืองและการถอนตัวจากพอลและเดอะบีเทิลส์ และความสัมพันธ์ที่มีต่อพอล มาเขียนเป็นเพลง 'ฮาวดูยูสลีป' ผมไม่ได้มัวแต่คิดแต่เรื่องพรรณนั้นอยู่ตลอดเวลา"[100]
เลนนอนและโอโนะย้ายไปที่นิวยอร์กในเดือนสิงหาคม 1971 และออกเพลง "แฮปปีเอกซ์มาส (วอร์อิสโอเวอร์)" ในเดือนธันวาคม[101] ในช่วงปีใหม่ สมัยของประธานาธิบดีนิกสันใช้สิ่งที่เรียกว่า "มาตรการต่อต้านเชิงกลยุทธ์" กับการต่อต้านสงครามและโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านนิกสันของเลนนอน เริ่มขึ้นในช่วงปีที่พยายามเนรเทศเขา ในปี 1972 เลนนอนและโอโนะเข้าร่วมเหตุการณ์ลุกฮือหลังเลือกตั้งในที่พักที่นิวยอร์กของนักกิจกรรม เจอร์รี รูบิน หลังจากแม็กโกเวิร์นพ่ายให้กับนิกสัน[102][103] หลังเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เลนนอนถูกยกเลิกสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรของสหรัฐอเมริกา (มีผลในปี 1976)[104] เลนนอนรู้สึกหดหู่ มึนเมา และมีเพศสัมพันธ์กับแขกผู้หญิงคนหนึ่ง ปล่อยให้โอโนะรู้สึกละอายใจ เพลงของเธอ "เดทออกซาแมนธา" มีแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์นี้[105]
อัลบั้มซัมไทม์อินนิวยอร์กซิตี วางจำหน่ายในปี 1972 อัลบั้มอัดเสียงโดยเลนนอนและโอโนะร่วมมือกับวงดนตรีเบื้องหลังจากนิวยอร์กชื่อ แอลเลอเฟินส์เมมโมรี เนื่องจากอัลบั้มมีเพลงหลายเพลงเกี่ยวกับสิทธิสตรี ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ บทบาทของบริเตนในไอร์แลนด์เหนือ และปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองบัตรสีเขียวของเลนนอน[106] อัลบั้มมีการตอบรับที่ไม่ดีนัก นักวิจารณ์คนหนึ่งกล่าวว่า ทนฟังไม่ได้[107] เพลง "วูแมนอิสเดอะนิกเกอร์ออฟเดอะเวิลด์" จำหน่ายเป็นซิงเกิลในสหรัฐอเมริกาจากอัลบั้มดังกล่าวในปีเดียวกัน ออกอากาศทางโทรทัศน์ในวันที่ 11 พฤษภาคม ทางรายการเดอะดิกแควิตต์โชว์ สถานีวิทยุหลายแห่งไม่ยอมออกอากาศเพลงดังกล่าวเพราะมีคำว่า "nigger"[108] เลนนอนและโอโนะจัดคอนเสิร์ตสองครั้งร่วมกับวงแอลเลอเฟินส์เมมโมรี และแขกรับเชิญในนิวยอร์กเพื่อหารายได้ช่วยผู้ป่วยในศูนย์สุขภาพจิตของโรงเรียนวิลโลว์บรุกสเตตสกูล[109] คอนเสิร์ตจัดขึ้นที่สวนเมดิสันสแควร์การ์เดนในวันที 30 สิงหาคม 1972 เป็นคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายของเขา[110]
1973–1975: "สุดสัปดาห์ที่หายไป" (lost weekend)
[แก้]ขณะที่เลนนอนกำลังอัดเสียงอัลบั้ม ไมนด์เกมส์ (1973) เขาและโอโนะตัดสินใจแยกทางกัน เวลาผ่านไป 18 เดือน เขาใช้ชีวิตอยู่ในลอสแอนเจลิสและนิวยอร์กในบริษัทของเมย์ แพง เขาเรียกช่วงเวลานี้ว่า "สุดสัปดาห์ที่หายไป" (lost weekend)[111] อัลบั้มไมนด์เกมส์ออกภายใต้ชื่อศิลปินว่า "พลาสติก ยู.เอฟ.โอโนะแบนด์" ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1973 เลนนอนร่วมแต่งเพลง "ไอม์เดอะเกรตเทสต์" ในอัลบั้มริงโก (1973) ของริงโก สตาร์ วางจำหน่ายในเดือนเดียวกัน (มีอีกเวอร์ชันถึงจากตอนอัดอัลบั้มริงโก 1973 โดยเลนนอนร้องนำ ปรากฏในบ็อกซ์เซตจอห์นเลนนอนแอนโทโลจี)
ต้นปี ค.ศ. 1974 เลนนอนดื่มหนักและพฤติกรรมที่เกิดจากแอลกอฮอล์ระหว่างเขากับแฮร์รี นิลสันทำให้เกิดพาดหัวข่าว เหตุการณ์ใหญ่สองเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเกิดขึ้นที่คลับเดอะทรูบาโดร์ในเดือนมีนาคม ครั้งแรก เมื่อเลนนอนวางผ้าอนามัยบนหน้าผากและทะเลาะกับบริกรหญิงคนหนึ่ง ครั้งที่สอง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ เมื่อเลนนอนและนิลสันถูกไล่ออกจากร้านเดียวกันหลังจากทะเลาะวิวาทกับวงสมาเทอส์บราเธอส์[112] เลนนอนตัดสินใจทำอัลบั้มของนิลสันชื่อ พุสซีแคตส์ และแพงเช่าบ้านริมหาดที่ลอสแอนเจลิสให้กับนักดนตรีทุกคน[113] แต่หนึ่งเดือนหลังเกิดพฤติกรรมเสเพล ผนวกกับช่วงอัดเสียงเกิดความโกลาหล เลนนอนย้ายไปนิวยอร์กกับแพงเพื่อทำอัลบั้มเพลงจนเสร็จ ในเดือนเมษายน เลนนอนทำเพลง "ทูเมนีคุกส์ (สปอยส์เดอะซุป)" ของมิก แจกเกอร์ เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับสัญญา เพลงไม่ได้ออกเผยแพร่นานกว่า 30 ปี แพงบรรจุเพลงไว้ในอัลบั้มรวมเพลง เดอะเวรีเบสต์ออฟมิกแจกเกอร์ (2007)[114]
กลับไปที่นิวยอร์ก เลนนอนอัดอัลบั้ม วอลส์แอนด์บริดเจส วางจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1974 ในอัลบั้มมีเพลง "วอตเอเวอร์เกตส์ยูทรูเดอะไนต์" ได้เอลตัน จอห์นมาร้องเบื้องหลังและบรรเลงเปียโนให้ และกลายเป็นซิงเกิลเดี่ยวเพลงเดียวของเลนนอนที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่[115]b ซิงเกิลที่สองจากอัลบั้มคือ "#9 ดรีม" วางจำหน่ายตามมาในปลายปี เลนนอนช่วยแต่งเพลงและบรรเลงเปียโนให้สตาร์อีกครั้งในอัลบั้มกูดไนต์เวียนนา (1974)[116] ในวันที่ 28 พฤศจิกายน เลนนอนเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตขอบคุณพระเจ้าของเอลตัน จอห์นที่แมดิสันสแควร์การ์เดน ตามสัญญาที่ว่าเขาจะร่วมแสดงสดหากเพลง "วอตเอเวอร์เกตส์ยูทรูเดอะไนต์" ประสบความสำเร็จและขึ้นอันดับหนึ่ง เลนนอนแสดงเพลงนั้น ร่วมด้วยเพลง "ลูซีอินเดอะสกายวิทไดมอนส์" และ "ไอซอว์เฮอร์สแตนดิงแดร์" ซึ่งเขากล่าวก่อนร้องเพลงดังกล่าวว่า "เป็นเพลงของคู่หมั้นที่บาดหมางกับผม ชื่อพอล"[117]
เลนนอนร่วมแต่งเพลง "เฟม" เพลงอันดับหนึ่งในสหรัฐอเมริกาของเดวิด โบอี และเล่นกีตาร์และร้องเพลงเบื้องหลังขณะอัดเสียงในปี ค.ศ. 1975[118] ในเดือนเดียวกันนั้น เพลง "ลูซีอินเดอะสกายวิทไดมอนส์" ที่เอลตัน จอห์นนำมาร้องใหม่ขึ้นอันดับหนึ่ง โดยมีเลนนอนเล่นกีตาร์และร้องเบื้องหลังให้ (เลนนอนได้เครดิตในซิงเกิลภายใต้ชื่อเล่น "ดร.วินสตัน โอบูกี") ไม่นานหลังจากนั้น เขาและโอโนะกลับมารวมตัวกัน เลนนอนออกอัลบั้ม ร็อกเอ็นโรล (1975) อัลบั้มที่มีแต่เพลงทำใหม่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ "แสตนด์บายมี" เป็นอีกเพลงจากอัลบั้มและได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เป็นซิงเกิลสุดท้ายของเขาตลอดเวลาห้าปี[119] เขาปรากฏตัวบนเวทีครั้งสุดท้ายในงานอะซาลูตทูลิว เกรด จัดโดยเอทีวี บันทึกรายการในวันที่ 18 เมษายนและออกอากาศในเดือนมิถุนายน[120] เลนนอนแสดงเพลงจากอัลบั้มร็อกเอ็นโรลสองเพลง ("แสตนด์บายมี" ซึ่งไม่ได้ออกอากาศ และ "สลิปปินแอนด์สไลดิน") ตามด้วยเพลง "อิแมจิน" โดยเลนนอนเล่นกีตาร์โปร่งและหนุนด้วยวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีแปดชิ้น[120] วงดนตรีมีชื่อว่าเอตเซตเทรา (Etc.) สวมหน้ากากไว้หลังศีรษะ ซึ่งเลนนอนคิดเย้าแหย่ว่าเกรดเป็นพวกตีสองหน้า
1975-1980: พักงานดนตรีและการกลับมา
[แก้]หลังให้กำเนิดบุตรชายคนที่สอง ฌอน ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1975 เลนนอนทำหน้าที่เป็นพ่อบ้าน เริ่มจากการพักงานดนตรีนานห้าปีและใส่ใจครอบครัวของเขา[121] ภายในเดือนนั้น เขาทำสัญญาผูกมัดกับสังกัดอีเอ็มไอ/แคปิตอลว่าจะทำอัลบั้มเพลงอีกหนึ่งอัลบั้ม โดยออกอัลบั้มเชฟด์ฟิช อัลบั้มรวมเพลงที่เคยอัดไว้แล้ว[121] เขาสละเวลาตนเองให้ฌอน ตื่นนอนเวลา 6 โมงเช้าทุกวันเพื่อเตรียมอาหารและใช้เวลากับลูก[122] เขาแต่งเพลง "คุกกิน (อินเดอะคิตเชนออฟเลิฟ)" ให้สตาร์ในอัลบั้มริงโกส์โรโทกราเวียร์ และบันทึกเสียงเพลงนี้ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นการบันทึกเสียงครั้งสุดท้ายของเขาจนปี ค.ศ. 1980[123] เขาประกาศพักงานดนตรีอย่างเป็นทางการในโตเกียวในปี ค.ศ. 1977 โดยกล่าวว่า "เราตัดสินใจแล้ว ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว เราจะอยู่กับลูกของเราให้นานที่สุดจนเรารู้สึกว่าเราจะขอปลีกตัวออกมาทำสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากครอบครัวได้อีก"[124] ในช่วงพัก เขาวาดภาพหลายภาพ และร่างหนังสือรวบรวมเรื่องราวอัตชีวประวัติและสิ่งที่เขาเรียกว่า "สิ่งของวิกลจริต" (mad stuff)[125] ทั้งหมดได้รับการตีพิมพ์หลังเขาเสียชีวิต
หลังพักงานดนตรี เลนนอนกลับมาในวันที่ตุลาคม ค.ศ. 1980 โดยออกซิงเกิล "(จัสต์ไลก์) สตาร์ทิงโอเวอร์" ตามมาด้วยอัลบั้มดับเบิลแฟนตาซีในเดือนถัดมา อัลบั้มมีเพลงที่แต่งระหว่างเลนนอนเดินทางไปเบอร์มิวดาบนเรือใบยาว 43 ฟุต เมื่อเดือนมิถุนายน[126] ซึ่งสะท้อนถึงความอิ่มเอมในชีวิตครอบครัวที่มั่นคง[127] ต่อมามีการวางแผนอัดเสียงอัลบั้มเพลงถัดไปคือ มิลก์แอนด์ฮันนี (ออกจำหน่ายหลังเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1984)[128] อัลบั้มดับเบิลแฟนตาซีออกจำหน่ายร่วมกันในนามเลนนอนและโอโนะ ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีนัก ความคิดเห็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์เมโลดีเมเกอร์กล่าวว่า "ตามใจตัวจนเป็นหมัน ... เรื่องน่าเบื่อที่โหดร้าย"[129]
8 ธันวาคม 1980: การเสียชีวิต
[แก้]เวลา 22:50 น. วันที่ 8 ธันวาคม 1980 ขณะเลนนอนและโอโนะกลับเข้าห้องพักเดอะดาโคตา ในรัฐนิวยอร์ก มาร์ก เดวิด แชปแมนยิงเลนนอนเข้าที่หลัง 4 ครั้งที่ทางเข้าอาคาร เลนนอนถูกนำตัวส่งห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลรูสเวลต์ และประกาศว่าเลนนอนเสียชีวิตขณะพามาโรงพยาบาลในเวลา 23:00 น.[130] เย็นวันนั้น เลนนอนเพิ่งได้แจกลายเซ็นบนปกอัลบั้มดับเบิลแฟนตาซีให้กับแชปแมน[131]
โอโนะให้สัมภาษณ์ในวันถัดมาว่า "จะไม่มีงานศพจอห์น" และปิดท้ายว่า "จอห์นรักและสวดมนต์แด่ชาติพันธุ์มนุษย์ โปรดช่วยกันสวดมนต์ภาวนาถึงสิ่งเดียวกันเพื่อเขาเถิด"[132] ศพของเขาถูกฌาปนกิจที่สุสานเฟิร์นคลิฟฟ์เซเมเทรี ในฮาตส์เดล รัฐนิวยอร์ก โอโนะโปรยอัฐิของเขาที่เซนทรัลพาร์กในนิวยอร์ก ที่ที่ต่อมากลายเป็นอนุสรณ์สตรอเบอรีฟิลส์[133] แชปแมนสารภาพผิดต่อคดีฆาตกรรมระดับสองและได้รับตัดสินจำคุก 20 ปีถึงตลอดชีวิต[134] นับถึงปี 2016 เขายังคงอยู่ในคุก และถูกปฏิเสธการปล่อยตัวถึงแปดครั้ง[135]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ซินเธีย เลนนอน
[แก้]เลนนอนและซินเธีย เพาเอลล์ (1939–2015) พบกันในปี 1957 เป็นนักเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูล[136] แม้ว่าซินเธียจะเกรงกลัวทัศนคติและรูปกายของเลนนอน แต่เธอได้ยินว่าเขาหลงใหลนักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส บรีฌิต บาร์โด เธอจึงย้อมผมบลอนด์ เลนนอนชวนเธอเที่ยว แต่เมื่อเธอบอกว่าเธอหมั้นแล้ว เขาตะโกนดัง ๆ ว่า "ผมไม่ได้ขอคุณแต่งงานนะ"[137] เธอจึงไปงานแสดงของวงเดอะควอร์รีเมนกับเขาและเดินทางไปเยี่ยมเขาที่ฮัมบวร์คพร้อมกับคนรักของแม็กคาร์ตนีย์ในเวลานั้น เลนนอนซึ่งมีนิสัยขี้หึง จึงเกิดความหึงวงและมักทำให้เพาเอลล์เกรงกลัวความเกรี้ยวโกรธและความรุนแรงถึงเนื้อถึงตัวของเขา[138] ต่อมาเลนนอนกล่าวว่า เขายังไม่เคยสงสัยในทัศนคติที่ก้าวร้าวต่อผู้หญิงในตัวเขาจนกระทั่งเขาพบกับโอโนะ เขากล่าวว่าเพลง "เกตทิงเบตเทอร์" ของเดอะบีเทิลส์ เล่าเรื่องราวของเขาเอง "ผมเคยโหดร้ายกับผู้หญิง และถึงเนื้อถึงตัวกับผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นคนใด ผมชอบตบตี ผมไม่อาจแสดงตัวตนของผมได้และผมก็ตบตี ผมสู้กับผู้ชายและผมตบตีผู้หญิง จึงเป็นเหตุที่ผมมักจะพูดถึงเรื่องสันติภาพตลอดเวลา"[121]
เมื่อระลึกถึงการกระทำในเดือนกรกฎาคม 1962 ว่าซินเธียตั้งครรภ์ เลนนอนกล่าวว่า "มีสิ่งเดียวที่ทำได้ ซิน เราต้องแต่งงานกัน"[139] ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกันในวันที่ 23 สิงหาคมที่สำนักทะเบียนเมาต์เพลเซินต์ในลิเวอร์พูล การสมรสเริ่มขึ้นช่วงบีเทิลเมเนียเริ่มแพร่หลายในสหราชอาณาจักร เขาแสดงในเย็นวันแต่งงาน และแสดงเช่นนี้เรื่อยไปเกือบทุกวัน[140] เอปสไตน์ ซึ่งเกรงกลัวว่าการที่บีเทิลคนหนึ่งแต่งงานจะทำให้แฟนคลับจะถูกเมิน จึงขอให้เลนนอนเก็บเรื่องสมรสไว้เป็นความลับ จูเลียนถือกำเนิดในวันที่ 8 เมษายน 1963 เลนนอนกำลังทัวร์คอนเสิร์ตและได้พบลูกชายหลังจากนั้นสามวัน[141]
ซินเธียแจงว่าสาเหตุที่เตียงหักคือแอลเอสดี ผลก็คือ เธอรู้สึกว่าเขาเริ่มสนใจเธอน้อยลง[142] เมื่อวงเดินทางไปงานสัมมนาการสมาธิอดิศัยของมาฮาริชิ โยกิ ที่แบงเกอร์ ประเทศเวลส์ ทางรถไฟ ในปี 1967 ตำรวจคนหนึ่งจำหน้าเธอไม่ได้ และไม่อนุญาตให้เธอโดยสารรถไฟ ต่อมาเธอจำได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นดั่งสัญลักษณ์แทนจุดจบของการสมรส[143] หลังมาถึงบ้านที่เคนวูด และพบเลนนอนอยู่กับโอโนะ ซินเธียออกจากบ้านไปอยู่กับเพื่อน ภายหลัง อเล็กซิส มาร์ดัส อ้างว่านอนกับเธอคืนนั้น และสองสามสัปดาห์ถัดมา เขาบอกเธอว่าเลนนอนกำลังหาทางหย่าร้างและพาจูเลียนไปอยู่ด้วย โดยอ้างว่าเพราะเธอมีชู้ หลังเจรจาต่อรอง เลนนอนยินยอม และยอมให้เธอหย่ากับเขาในข้อหาเดียวกัน คดีนี้ถูกตัดสินในศาลในเดือนพฤศจิกายน 1968 โดยเลนนอนจ่ายให้เธอ 100,000 ปอนด์ (240,000 ดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น) เป็นค่าใช้จ่ายรายปีเล็กน้อย และให้เธอเป็นผู้ปกครองจูเลียนต่อไป[144]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Christgau, Robert. "John Lennon | Biography, Songs, Albums, Death, & Facts". Britannica. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
- ↑ "Lennon's 70th birthday". Rock and Roll Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 8 October 2010.
- ↑ Harry 2000b, p. 504.
- ↑ Spitz 2005, p. 24: "Julia offered the name in honour of ... Winston Churchill".
- ↑ Spitz 2005, p. 24: "The entire Stanley clan gathered nightly at Newcastle Road".
- ↑ Lennon 2005, p. 54: "Until then he had sent her money each month from his wages, but now it stopped".
- ↑ Spitz 2005, p. 26: "In February 1944 ... he was arrested and imprisoned. Freddie subsequently disappeared for six months".
- ↑ Spitz 2005, p. 27.
- ↑ Lennon 2005, p. 56: "Alf admitted to her that he had planned to take John to live in New Zealand".
- ↑ Spitz 2005, p. 30: "Julia went out of the door ... John ran after her".
- ↑ Spitz 2005, p. 497.
- ↑ Lennon 2005, p. 56: "Hard to see why Mimi wanted John, as she had always said she didn't want children".
- ↑ Spitz 2005, p. 32: "When he was old enough, taught John how to solve crossword puzzles".
- ↑ Spitz 2005, p. 48: "To get them started, she applied the triad to 'Ain't That a Shame'".
- ↑ Sheff 1981, pp. 134–136.
- ↑ Spitz 2005, p. 32: "Parkes recalled ... Leila and John to the cinema as often as three times a day".
- ↑ Harry 2009.
- ↑ Harry 2000b, p. 702.
- ↑ Harry 2000b, p. 819.
- ↑ Harry 2000b, p. 411.
- ↑ Spitz 2005, pp. 32–33.
- ↑ Spitz 2005, p. 40.
- ↑ ClassReports 2008.
- ↑ Spitz 2005, p. 45.
- ↑ Norman 2008, p. 89.
- ↑ Miles 1997, p. 48.
- ↑ Spitz 2005, p. 100.
- ↑ Harry 2000b, pp. 553–555.
- ↑ Lennon 2005, p. 50.
- ↑ Harry 2000b, p. 738.
- ↑ Spitz 2005, p. 95.
- ↑ Spitz 2005, pp. 93–99.
- ↑ Miles 1997, p. 44.
- ↑ Miles 1997, p. 32.
- ↑ Miles 1997, pp. 38–39.
- ↑ Lennon 2005, p. 47.
- ↑ Harry 2000b, pp. 337–338.
- ↑ Miles 1997, pp. 47, 50.
- ↑ Miles 1997, pp. 47.
- ↑ Lennon 2005, p. 64.
- ↑ Miles 1997, p. 57.
- ↑ Lennon 2005, p. 53.
- ↑ Miles 1997, pp. 66–67.
- ↑ Lennon 2005, p. 57.
- ↑ The Beatles 2000, p. 67.
- ↑ Frankel 2007.
- ↑ 47.0 47.1 Harry 2000b, p. 721.
- ↑ Lewisohn 1988, pp. 24–26: "Twist and Shout, which had to be recorded last because John Lennon had a particularly bad cold".
- ↑ Spitz 2005, p. 376: "He had been struggling all day to reach notes, but this was different, this hurt".
- ↑ Doggett 2010, p. 33.
- ↑ Shennan 2007.
- ↑ Coleman 1984a, pp. 239–240.
- ↑ London Gazette 1965, pp. 5487–5489.
- ↑ Coleman 1984a, p. 288.
- ↑ Gould 2008, p. 268.
- ↑ Lawrence 2005, p. 62.
- ↑ The Beatles 2000, p. 171.
- ↑ Rodriguez 2012, pp. 51–52.
- ↑ Harry 2000b, p. 570.
- ↑ Cleave 2007.
- ↑ Gould 2008, pp. 5–6, 249, 281, 347.
- ↑ Brown 1983, p. 222.
- ↑ Gould 2008, p. 319.
- ↑ MacDonald 2005, p. 281.
- ↑ Time 1967.
- ↑ BBC News 2007b.
- ↑ Brown 1983, p. 276.
- ↑ Doggett 2010, pp. 33, 34.
- ↑ Miles 1997, p. 397.
- ↑ Hoppa 2010.
- ↑ Miles 1997, p. 349-373.
- ↑ Logan 1967.
- ↑ Lewisohn 1988, p. 131.
- ↑ Harry 2000b, p. 31.
- ↑ TelegraphKlein 2010.
- ↑ Miles 1997, p. 549: "Paul never did sign the management contract".
- ↑ Harry 2000b, pp. 774–775.
- ↑ Coleman 1984a, p. 279.
- ↑ Coleman 1984a, pp. 48–49.
- ↑ Perone 2001, pp. 57–58.
- ↑ Harry 2000b, pp. 160–161.
- ↑ Miles 2001, p. 360.
- ↑ "Beatles fans call for return of MBE medal rejected by John Lennon". The Daily Telegraph. 2 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
- ↑ Harry 2000b, pp. 615–617.
- ↑ Edmondson 2010, pp. 129–130.
- ↑ Spitz 2005, pp. 853–54.
- ↑ Loker 2009, p. 348.
- ↑ Wenner 2000, p. 32.
- ↑ Wenner 2000, p. 24.
- ↑ Harry 2000b, pp. 408–410.
- ↑ Blaney 2005, p. 56.
- ↑ Harry 2000b, pp. 640–641.
- ↑ Riley 2002, p. 375.
- ↑ Schechter 1997, p. 106.
- ↑ Wiener 1990, p. 157.
- ↑ Gerson 1971.
- ↑ Vigilla 2005.
- ↑ Goodman 1984.
- ↑ Harry 2000b, pp. 354–356.
- ↑ Peebles 1981, p. 44.
- ↑ Allmusic 2010f.
- ↑ Bill DeMain. "John Lennon and the FBI". Dangerous Liaisons: The FBI Files of Musicians. Performing Songwriter. สืบค้นเมื่อ 19 January 2013.
- ↑ Alan Glenn (27 December 2009). "The Day a Beatle Came to Town". The Ann Arbor Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 19 January 2013.
- ↑ Wiener 1990, p. 204.
- ↑ LennoNYC, PBS Television 2010
- ↑ BBC News 2006a.
- ↑ Landau 1974.
- ↑ Harry 2000b, pp. 979–980.
- ↑ Deming 2008.
- ↑ The Rock and Roll Hall of Fame and Museum 1994.
- ↑ Harry 2000b, pp. 698–699.
- ↑ Harry 2000b, pp. 927–929.
- ↑ Harry 2000b, p. 735.
- ↑ The Very Best of Mick Jagger liner notes
- ↑ Badman 2001, 1974.
- ↑ Harry 2000b, p. 284.
- ↑ Harry 2000b, p. 970.
- ↑ The Rock and Roll Hall of Fame and Museum 1996.
- ↑ Harry 2000b, pp. 240, 563.
- ↑ 120.0 120.1 Harry 2000b, p. 758.
- ↑ 121.0 121.1 121.2 Sheff 1981.
- ↑ Harry 2000b, p. 553.
- ↑ Harry 2000b, p. 166.
- ↑ Bennahum 1991, p. 87.
- ↑ Harry 2000b, p. 814.
- ↑ BBC News 2006b.
- ↑ Schinder & Schwartz 2007, p. 178.
- ↑ Ginell 2009.
- ↑ Badman 2001, 1980.
- ↑ Ingham 2006, p. 82.
- ↑ Harry 2000b, p. 145.
- ↑ Harry 2000b, p. 692.
- ↑ Harry 2000b, p. 510.
- ↑ "Inmate Population Information Search". Nysdoccslookup.doccs.ny.gov. สืบค้นเมื่อ 27 September 2014.
- ↑ Dolmetsch, Chris (23 August 2014). "John Lennon Killer Chapman Denied Parole for Eighth Time". NY. Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 23 August 2014.
- ↑ Lennon 2005, pp. 17–23.
- ↑ Lennon 2005, p. 21.
- ↑ Harry 2000b, pp. 492–493.
- ↑ Lennon 2005, p. 91.
- ↑ Harry 2000b, pp. 493–495.
- ↑ Lennon 2005, p. 113.
- ↑ Harry 2000b, pp. 496–497.
- ↑ Warner Brothers 1988.
- ↑ Lennon 2005, p. 305–306: "He had agreed that I should have custody of Julian", "He raised his offer to £100,000".
บรรณานุกรม
[แก้]- Harry, Bill. The John Lennon Encyclopedia. Virgin; 2000b. ISBN 0753504049.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523
- จอห์น เลนนอน
- นักกีตาร์ชาวอังกฤษ
- นักร้องอังกฤษ
- ชาวสหราชอาณาจักรที่ถูกลอบสังหาร
- ศิลปินสังกัดแคปิตอลเรเคิดส์
- ศิลปินสังกัดพาร์โลโฟน
- ศิลปินสังกัดอีเอ็มไอ
- ศิลปินสังกัดเกฟเฟนเรเคิดส์
- บุคคลจากลิเวอร์พูล
- บุคคลจากนครนิวยอร์ก
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เอ็มบีอี
- ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี สาขาศิลปินผู้ประสบความสำเร็จตลอดช่วงชีวิต