บีเทิลเมเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปรากฏการณ์กระแสที่เรียกว่า บีทเทิลเมเนีย (อังกฤษ: Beatlemania) เกิดขึ้นใน ค.ศ.1963 ในสหราชอาณาจักรบ้านเกิดของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ ที่ซึ่งวงนี้เริ่มได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ก่อนหน้านั้นวงดนตรีวงนี้ได้ตระเวณแสดงตามคลับต่างๆ ในประเทศเยอรมนีเป็นระยะเวลาราว 2 ปี และกลับมาสู่สหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1962 วงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ประสบความสำเร็จเชิงพานิชย์เป็นก้าวแรกในสหราชอาณาจักรกับการออกซิงเกิลที่สองของพวกเขาที่ชื่อว่า “Please Please Me” ในช่วงต้นปี 1963 แต่ได้รับสถานะ “ซูเปอร์สตาร์” จริงๆ กับซิงเกิล “She Loves You” ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นเป็นต้นมาตลอดปีค.ศ. 1964 วงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ก็มีการแสดงคอนเสิร์ตและทัวร์ตามมาอย่างต่อเนื่อง มีแฟนเพลงที่คลั่งไคล้ติดตามเข้าร่วมชมงานแสดงดนตรีไปทั่วสหราชอาณาจักร[1][2] กระแสความนิยมของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ในสหราชอาณาจักรมีมากจนแซงหน้าศิลปินชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จบนชาร์ทเพลงของสหราชอาณาจักรในช่วงเวลานั้น ได้แก่ ทอมมี่ โร, คริส มอนเทซ และรอย ออร์ไบสัน ในระหว่างปี 1963 สื่อต่างๆ ให้ความสนใจในวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์อย่างมากมาย มีทั้งการไปออกเกมโชว์ การให้สัมภาษณ์ออกสื่อสิ่งพิมพ์ และการโชว์ทางรายการวิทยุประจำสัปดาห์ แต่ถึงกระนั้น วงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ก็ยังมีเวลาเข้าสตูดิโอทำงานเพลงออกมาได้ถึง 2 อัลบั้มและ 4 ซิงเกิล และจูเลี่ยน เลนนอนลูกชายของจอห์น เลนนอน ก็ถือกำเนิดมาในปีเดียวกันนั้นเอง

ในช่วงท้ายของปี ค.ศ. 1963 ปรากฏการณ์ “บีทเทิลเมเนีย” เริ่มได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในระดับสากล อาทิ ซิงเกิลชื่อ “I Want to Hold Your Hand” ได้เข้าสู่ชาร์ทเพลงของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1964 สร้างยอดขายซิงเกิลได้หนึ่งล้านห้าแสนแผ่นภายในสามสัปดาห์[3] และในเดือนต่อมาวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ก็เริ่มทัวร์ครั้งแรกในอเมริกา ความยิ่งใหญ่ของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนอเมริกันที่มีต่อเพลงที่เป็นที่นิยม[4] และเป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “อังกฤษบุก (The British Invasion)”

เบื้องหลัง[แก้]

ช่วงกลับมาจากฮัมบวร์ค และเดอะคาเวิร์นคลับ[แก้]

ช่วงหลังจากที่เดอะบีทเทิลส์ตระเวณแสดงตามคลับต่างๆ ในประเทศเยอรมนี (Hamburg period) เดอะบีทเทิลส์ได้กลับมายังสหราชอาณาจักรและเล่นดนตรีประจำอยู่ที่เดอะคาเวิร์นคลับ ที่นี่เองที่ผู้จัดการคนใหม่ของพวกเขาคือ ไบรอัน เอพสไตน์ ได้พยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของวงขึ้นให้ดูดีขึ้น ด้วยการให้พวกเขาใส่ชุดสูทแทนกางเกงยีนส์และแจ็คเก็ตหนัง และให้เว้นจากสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือกินอาหารบนเวที หรือแม้กระทั่งการหยุดเล่นเพลง เริ่มเล่นเพลงตามอำเภอใจ ไบรอัน เอพสไตน์ เล็งเห็นศักยภาพของวงและพยายามที่จะเปลี่ยนวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ให้หันเข้าสู่ธุรกิจดนตรีอย่างจริงจัง แต่นั้นยังไม่เพียงพอที่จะดึงความสนใจของสมาชิกในวงได้[5][6]

สัญญากับค่ายเพลง[แก้]

หลังจากประสบความล้มเหลวกับการตระเวณนำเสนอผลงานเพลงกับค่ายเพลงเป็นจำนวนมาก รวมทั้งงานการทดสอบการแสดงที่เดคคา (Decca audition) ในที่สุดแล้ว ไบรอัน เอพสไตน์ ได้นำเอางานการทดสอบการแสดงที่เดคคาไปทำการบันทึกลงแผ่นที่ร้านเฮชเอ็มวีบนถนนออกซฟอร์ด และนั่นเป็นที่มาให้เขาได้พบกับจอร์จ มาร์ติน แห่งค่ายเพลงอีเอ็มไอ และได้เซ็นสัญญาวงดนตรีกับค่ายพาร์โลโฟน การบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ที่แอบเบย์โรดสตูดิโอ ณ ตอนเหนือของกรุงลอนดอนมีขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1962 [7] ในตอนนั้น เมื่อตอนนี้มาร์ตินพบกับวงเดอะบีทเทิลส์ เขาไม่ได้ประทับใจในงานเดโมเพลงของเดอะบีทเทิลส์แต่อย่างใด แต่เขากลับชอบบุคลิกของวงเสียมากกว่า [8] He concluded that they had raw musical talent, but stated in later interviews that what made the difference for him was their wit and humour.[9]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Pawlowski 1990, pp. 117–185.
  2. Dermon III, Dave. "The Beatles on Tour 1963 to 1966". Dave Dermon III. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-06. สืบค้นเมื่อ 25 May 2009.
  3. Pawlowski 1990, p. 175.
  4. "When the Beatles hit America". CNN. 10 February 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  5. Spitz 2005, pp. 279–280.
  6. Anthology 2000, p. 66.
  7. Davies (1985) p178
  8. Spitz 2005, p. 318.
  9. Spitz 2005, pp. 318–319.

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]