ข้ามไปเนื้อหา

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Italianate)
คฤหาสน์คลิฟเดินโดยสถาปนิกชาร์ลส์ แบร์รี[1]ที่เป็นคฤหาสน์ฟื้นฟูเรอเนซองส์ลักษณะแบบอิตาลีที่แสดงลักษณะที่ “บ่งเป็นนัยยะอย่างชัดแจ้ง[ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างของ]คหบดีพ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวอิตาลี”“[2]

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี (อังกฤษ: Italianate architecture หรือ Italianate style of architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของยุคสถาปัตยกรรมที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูสถาปัตยกรรมคลาสสิก การสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมอิตาลีเป็นการใช้ลักษณะทรงและศัพท์สถาปัตยกรรมของสถาปัตยกรรมอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นพื้นฐานในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทั้งลัทธิพาลเลเดียน และลัทธิฟื้นฟูคลาสสิกในการผสานกับความงามอันต้องตา (picturesque aesthetics) ฉะนั้นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “ฟื้นฟูเรอเนซองส์” ด้วยจึงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของยุค นักประวัติศาสตร์ชาวสวิสเชื้อสายเยอรมันซิกฟรีด กีเดียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของปรัชญาของการเปลี่ยนแปลงลักษณะสถาปัตยกรรมว่า “การมองอดีตแปรสภาพของสิ่งของ ผู้ชมทุกคนทุกสมัย—ทุกช่วงเวลา—ในที่สุดก็จะเปลี่ยนแปรลักษณะที่เห็นในอดีตในบริบทของความเข้าใจของตนเอง”[3] สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเริ่มขึ้นในบริเตนราว ค.ศ. 1802 โดยจอห์น แนช โดยการสร้างคฤหาสน์ ครองค์ฮิลล์ในชร็อพเชอร์ คฤหาสน์ชนบทขนาดเล็กหลังนี้โดยทั่วไปแล้วก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคฤหาสน์แบบอิตาลีหลังแรกในอังกฤษ ที่กลายมาเป็นต้นฉบับของ “สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี” ในตอนปลายของสมัยสถาปัตยกรรมรีเจ็นซี และในตอนต้นของสถาปัตยกรรมวิคตอเรียต่อมา[4]

ต่อมาสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีก็พัฒนาขึ้นและทำให้แพร่หลายมากขึ้นโดยสถาปนิกชาร์ลส์ แบร์รีในคริสต์ทศวรรษ 1830[5] งานแบบอิตาลีของแบร์รีส่วนใหญ่แล้วจะใช้ลักษณะรูปทรงและการตกแต่งของสิ่งก่อสร้างของอิตาลีของสมัยเรอเนซองส์ ซึ่งบางครั้งก็จะขัดกับงานคฤหาสน์แบบอิตาลีกี่งชนบทขอจอห์น แนช ที่ผลที่ออกมาเป็นลักษณะที่เรียกว่า “ลักษณะแบบอิตาลี” การใช้ลักษณะดังว่านี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในอังกฤษแต่ยังรวมทั้งยุโรปเหนือ และจักรวรรดิอังกฤษด้วย และมีลักษณะที่ย่อยออกมาอีกหลายสักษณะ ที่ยังคงเป็นที่นิยมกันเป็นเวลานานหลังจากที่หมดความนิยมกันไปแล้วในอังกฤษเอง ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1840 จนถีง 1890 สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีไปมีความนิยมกันสหรัฐอเมริกา[6] ที่ได้รับการเผยแพร่โดยสถาปนิกอเล็กซานเดอร์ แจ็คสัน เดวิส

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในอังกฤษและเวลส์

[แก้]
คฤหาสน์ฟื้นฟูเรอเนซองส์: คฤหาสน์ออสบอร์นที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1851 คฤหาสน์แบบพาลเลเดียนที่ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติม “แบบอิตาลี” โดยการเพิ่มหอทัศนา
Villa Emo by Palladio,1559. The great Italian villas were often a starting point for the buildings of the 19th century Italianate style.

งานเลียนแบบสถาปัตยกรรมอิตาลีตอนปลายของการพัฒนาการของแนชทำในปี ค.ศ. 1805 ในการออกแบบคฤหาสน์แซนดริดจ์พาร์คที่Stoke Gabrielสโตคกาเบรียลในเดวอน โดยมีเลดี้แอชเบอร์ตันเป็นผู้จ้างเพื่อให้เป็นคฤหาสน์ชยบท คฤหาสน์ขนาดเล็กหลังนี้แสดงให้เห็นชัดถึงลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างความงามที่ต้องตาของงารของวิลเลียม กิลพิน งานของแนชเองที่อยู่ในระหว่างการพัฒนไปเป็นแบบอิตาลีอย่างเต็มที่ ขณะที่ยังเรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมรีเจ็นซี แต่การมีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และไม่สมมาตร พร้อมทั้งการมีระเบียงลอจเจียและระเบียงยื่นทั้งที่ทำด้วยหินและเหล็กดัด, หอ และหลังคาลักษณะป้านเป็นงานที่มีลักษณะเป็นแบบอิตาลีของคฤหาสน์ ครองค์ฮิลล์อย่างเต็มที่[7] และถือกันว่าเป็นตัวอย่างแรกของลักษณะแบบอิตาลีแรกในบริเตน

ตัวอย่างต่อมาของแบบอิตาลีแรกในอังกฤษมักจะเป็นรูปแบบของลักษณะของสิ่งก่อสร้างแบบพาลเลเดียนที่มักจะเพิ่มหอทัศนาพร้อมด้วยลูกกรงระเบียงแบบเรอเนซองส์บนระดับหลังคา ลักษณะดังว่ามักจะเป็นลักษณะที่เกิดจากการตีความหมายของรูปทรงเกินไปกว่าที่สถาปนิกและผู้สร้างบ้านคาดคิดว่าควารจะเป็นงานแบบอิตาลี และเป็นการใช้ทรงการตกแต่งของรายละเอียดของเรอเนซองส์แบบอิตาลีมากกว่าตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีของแนชก่อนหน้านั้น

เซอร์ชาร์ลส์ แบร์รีผู้เป็นที่รู้จักกันมากกว่าในงานสถาปัตยกรรมทิวดอร์ และ กอธิคของตึกรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรในลอนดอนเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันในการเผยแพร่ลักษณะสถาปัตยกรรมดังกล่าว แต่ไม่เหมือนแนช, แบร์รีได้รับแรงบันดาลใจจากอิตาลีเอง แบร์รีได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากการออกแบบคฤหาสน์เรอเนซองส์ในโรม, ลาซิโอ และเวเนโตหรือตามที่แบร์รีเองกล่าวว่าจาก “...ลักษณะอันไม่สมมาตรอันมีเสน่ห์ของคฤหาสน์อิตาลี”[8] งานแบบอิตาลีชิ้นที่เด่นที่สุดของแบร์รีคือคฤหาสน์คลิฟเดินซึ่งเป็นคฤหาสน์เรอเนซองส์ขนาดใหญ่ แม้จะกล่าวอ้างกันว่าหนึ่งในสามของคฤหาสน์ชนบทของสมัยวิคตอเรียในอังกฤษเป็นลักษณะแบบคลาสสิกที่ส่วนใหญ่เป็นแบบอิตาลี[9] เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1855 ลักษณะแบบอิตาลีก็หมดความนิยมลงและคฤหาสน์คลิฟเดินกลายมาเป็นตัวแทนของ “...ลักษณะของความเสื่อมของความนิยมที่สิ้นสุดลง”[10]

ทอมัส คิวบิทท์ผู้รับสัญญาก่อสร้างชาวลอนดอนผสานเส้นสายแบบคลาสสิกของแบบอิตาลีของแบร์รีในการก่อสร้างบ้านเรือนแถวในลอนดอน[11] ทอมัส คิวบิทท์ออกแบบคฤหาสน์ออสบอร์นภายใต้การควบคุมของเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต และเป็นผู้ที่ทำเปลี่ยนโฉมสถาปัตยกรรมสองมิติหลังนี้ให้เป็นคฤหาสน์ที่ตั้งเด่น[12] ที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คฤหาสน์แบบอิตาลีไปทั่วจักรวรรดิอังกฤษต่อมา

หลังจากสร้างคฤหาสน์ออสบอร์นเสร็จในปี ค.ศ. 1851 ลักษณะสถาปัตยกรรมของคฤหาสน์ก็กลายเป็นลักษณะที่นิยมกันในการก่อสร้างคฤหาสน์ขนาดย่อมที่สร้างโดยนักอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยขึ้นมาใหม่ในยุคนั้น คฤหาสน์เหล่านี้มักจะสร้างในตัวเมืองล้อมรอบไปด้วยสวนใหญ่แต่ไม่ใหญ่และกว้างขวางมากเท่าใดนัก และมักจะวางตัวบ้านบนเนินลดหลั่นและทัสคันเช่นกัน คฤหาสน์บางหลังที่เหมือนกันหรือเกือบจะเหมือนกันที่เป็นแบบคฤหาสน์แบบอิตาลีจะมีหลังคาทรงหลังคามันซาร์ด (Mansard roof) แบบฝรั่งเศสที่ทำให้สิ่งก่อสร้างได้รับชื่อว่าคฤหาสน์ “สถาปัตยกรรมแบบชาโต” (Châteauesque) แต่หลังจากนั้นความนิยมการก่อสร้างคฤหาสน์อิตาลีและแบบชาโตฝรั่งเศสแล้ว[13] เมื่อมาถึง ค.ศ. 1855 ลักษณะสถาปัตยากรรมที่นิยมกันที่สุดต่อมาของเป็นแบบคฤหาสน์ชนบทก็เปลี่ยนไปเป็นสถาปัตยากรรมแบบกอธิค, ทิวดอร์ และ เอลิซาเบธ

ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีคือหมู่บ้านตากอากาศพอร์ทไมเรียนที่กวินเนดด์ทางตอนเหนือของเวลส์

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในเลบานอน

[แก้]

อิทพลทางสถาปัตยกรรมของอิตาลีที่มีต่อเลบานอนโดยเฉพาะสถาปัตยกรรมทัสคันเริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคเรอเนซองส์เมื่อฟาคห์ร-อัล-ดินที่ 2 (Fakhr-al-Din II) ผู้เป็นประมุขของสหเลบานอนองค์แรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 พระองค์ทรงรวมเมานท์เลบานอนเข้ากับบริเวณฝั่งทะเลเลบานอนและทรงมีแผนการใหญ่ในการพัฒนาประเทศ

เมื่อออตโตมันส่งฟาคห์ร-อัล-ดินที่ 2 ไปลี้ภัยยังทัสคานีในปี ค.ศ. 1613 ฟาคห์ร-อัล-ดินก็ไปทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับตระกูลเมดิชิ เมื่อเสด็จกลับเลบานอนในปี ค.ศ. 1618 พระองค์ก็ทรงเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาเลบานอนให้ทันสมัยขึ้น โดยการก่อตั้งอุตสาหกรรมไหม, ปรับปรุงอุตสาหกรรมการทำน้ำมันมะกอก และทรงนำวิศวกรอิตาลีติดตามมาด้วยเป็นจำนวนมาก ผู้มาเริ่มการก่อสร้างคฤหาสน์ และ ตึกราชการต่างๆ ทั่วไปในเลบานอน[14] โดยเฉพาะเบรุต และ ไซดอนที่สร้างเป็นเมืองแบบอิตาลีอย่างแท้จริง[15] อิทธิพลของสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ เช่นตึกใน Deir el Qamar มีอิทธิพลต่อการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในเลบานอนต่อมาเป็นเวลาอีกหลายร้อยปี และ ยังคงดำเนินต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ตัวอย่างเช่นบ้านเรือนบนถนนกูโรด์ที่ยังมีบ้านเรือนอยู่หลายหลังที่ยังคงเป็นแบบอิตาลี[16]

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในสหรัฐอเมริกา

[แก้]
คฤหาสน์เบรกเคอร์ออกแบบโดยริชาร์ด มอรริส ฮันท์สำหรับตระกูลแวนเดอบิลท์ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1895

ลักษณะแบบอิตาลีเริ่มมามีความนิยมกันในสหรัฐอเมริกาโดยสถาปนิกอเล็กซานเดอร์ แจ็คสัน เดวิสในคริสต์ทศวรรษ 1840 ในการเป็นสถาปัตยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งนอกไปจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค หรือ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก คฤหาสน์ลิชฟิลด์ (Litchfield Villa) ที่สร้างโดยเดวิสในปี ค.ศ. 1854 ที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพรอสเพ็คพาร์ค, บรุคลินเป็นตัวอย่างที่ดีของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ที่เดิมเรียกกันว่าลักษณะ “คฤหาสน์อิตาลี” หรือ “คฤหาสน์ทัสคัน” กล่าวกันว่า คฤหาสน์แบลนด์วูดที่เดิมเป็นที่พำนักของข้าหลวงประจำรัฐนอร์ทแคโรไลนาจอห์น โมทลีย์ มอร์เฮดเป็นสิ่งก่อสร้างแบบอิตาลีที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[17] ตัวอย่างแรกๆ ของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีมีลักษณะคล้ายงานแบบอิตาลีโดยแนชมากกว่าที่จะเป็นงานที่มีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ที่ออกแบบโดยแบร์รี สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษริชาร์ด อัพจอห์นใช้สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในการก่อสร้างเป็นจำนวนมากที่เริ่มในปี ค.ศ. 1845 ด้วยคฤหาสน์เอ็ดเวิร์ด คิง สถาปนิกผู้อื่นที่ใช้การก่อสร้างลักษณะนี้ก็ได้แก่จอห์น น็อทมันที่หลายท่านกล่าวว่าเป็นผู้นำลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังสหรัฐอเมริกา และ เฮนรี ออสติน (สถาปนิก)[18] น็อทมันออกแบบคฤหาสน์ริเวอร์ไซด์ซึ่งเป็น “คฤหาสน์อิตาลี” คฤหาสน์แรกในเบอร์ลิงทัน, นิวเจอร์ซีย์ในปี ค.ศ. 1837

แบบอิตาลีที่ได้รับตีความหมายใหม่และกลายเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ใช้นำลักษณะเรอเนซองส์อิตาลีบางอย่างมาขยายให้เด่นขึ้น (exaggeration) โดยการเน้นชายคาที่รองรับโดยคันทวย และ หลังคาป้านไปจนราบที่เป็นชายคายื่นกว้างออกไปจากตัวอาคาร นอกจากนั้นก็มีการต่อเติมหอที่เป็นนัยยะของหอทัศนา หรือบางครั้งก็อาจจะถึงกับเป็นหอระฆัง

ลวดลายตกแต่งแบบอิตาลีก็ใช้ผสานเข้าไปในการตกแต่งสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการธุรกิจ ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมวิคตอเรียมาตั้งแต่กลางหรือปลายคริสต์ทศวรรษ 1800

ลักษณะสถาปัตยกรรมกลายมาเป็นที่นิยมกันมากกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกภายในคริสต์ทศวรรษ 1860 ความนิยมอันแพร่หลายมีสาเหตุมาจากความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและงบประมาณ และการวิวัฒนาการของการผลิตเหล็กหล่อ (cast-iron) และ press-metal ที่ทำให้การผลิตสิ่งตกแต่งเช่นบัวทำได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อมาถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1870 ความนิยมของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีก็มาแทนด้วยสถาปัตยกรรมควีนแอนน์ และ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูอาณานิคม

คฤหาสน์เบรกเคอร์ (นิวพอร์ท, โรดไอแลนด์) ออกแบบโดยริชาร์ด มอรริส ฮันท์สำหรับคอร์นีเลียส แวนเดอบิลท์ที่ 2 เป็นคฤหาสน์ 70 ห้องที่ทำการสร้างระหว่าง ค.ศ. 1893 ถึง ค.ศ. 1895 ที่มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีอย่างแท้จริงในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ภายนอกมีลักษณะเป็นพาลัซโซแบบเรอเนซองส์ แต่การก่อสร้างใช้เทคนิคที่ก้าวหน้าที่สุดของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการใช้โครงเหล็กกล้าและไม่มีการใช้ไม้ การใช้ปล่องไฟสูง, การใช้ปีกสิ่งก่อสร้างหลายปีกเรียงกัน, การใช้คันทวยที่ใหญ่กว่าปกติ, หลังคาจั่วแหลมที่มองเห็นได้ ต่างก็เป็นลักษณะของการตีความหมายของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีแบบอเมริกัน

คฤหาสน์เบรกเคอร์และลักษณะสถาปัตยกรรมของการก่อสร้างได้รับการวิจารณ์โดยผู้ออกความเห็นเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมว่าเป็น “ความหลงลักษณะสถาปัตยกรรมโบราณของยุโรปในการแปลงสถาปัตยกรรมพาลัซโซแบบเรอเนซองส์มาใช้กับที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล”[19] แต่เมื่อสร้างเสร็จคฤหาสน์เบรกเคอร์ก็กลายเป็นการแสดงออกของรสนิยมส่วนตัว และ ความมั่งคั่งของเจ้าของแทนที่จะแต่เพียงการแสดงออกของลักษณะสถาปัตยกรรม

ความนิยมสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในช่วงหลังจากปี ค.ศ. 1845 จะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมในเมืองซินซินแนติซี่งเป็นเมืองที่รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็ว (boomtown) เมืองแรกทางตะวันตกของเทือกเขาแอพเพเลเชียน ซินซินแนติเจริญขึ้นมาจากการขึ้นล่องตามแม่น้ำโอไฮโอ และเป็นเมืองที่มีกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีกลุ่มใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ที่ส่วนใหญ่สร้างโดยผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจากเยอรมนีที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีประชากรอยู่กันอย่างแออัด เมื่อไม่นานมานี้ก็เริ่มมีการเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมลักษณะนี้ที่เป็นสาเหตุให้มีการรณรงค์ในการเริ่มโครงการขนาดใหญ่เพื่อทำการอนุรักษ์กลุ่มสิ่งก่อสร้างอันน่าประทับใจดังกล่าว เมืองเพื่อนบ้านเช่นนิวพอร์ท, เคนทักกี และ โคฟวิงตัน, เคนทักกีต่างก็มีกลุ่มสิ่งก่อสร้างแบบอิตาลีอันน่าประทับใจเช่นกัน

การ์เดนดิสตริคท์, นิวออร์ลินส์ก็มีตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีที่งดงามอยู่บ้าง เช่นคฤหาสน์ 1331 เฟิร์สท์สตรีทที่ออกแบบโดยซามูเอล เจมิสัน หรือ คฤหาสน์ แวนเบนฮุยเซน-เอล์มส์

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มขึ้นเป็นเวลานานหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุที่ทำให้การตกแต่งรายระเอียดของสิ่งก่อสร้างทำจากวัสดุที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม การกระจายสินค้าไปยังตลาดต่างๆ ก็เป็นไปอย่างง่ายดายด้วยระบบการคมนาคมทางรถไฟ ฉะนั้นเราจึงอาจจะพบสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในเดนเวอร์สำหรับผู้มีฐานะดีอาจจะเป็นสิ่งเดียวกับที่ใช้ในการตกแต่งเรือนแถวของผู้ทำงานในโรงงานในพิตส์เบิร์ก[20]

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในออสเตรเลีย

[แก้]
จวนข้าหลวง, เมลเบิร์นสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1876

ลักษณะแบบอิตาลีเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในออสเตรเลียในการสร้างที่อยู่อาศัย จวนข้าหลวง, เมลเบิร์นที่ออกแบบโดยสถาปนิกวิลเลียม วอร์เดลล์ — ที่ในปัจจุบันใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงของรัฐวิคตอเรีย — เป็นตัวอย่างหนึ่งของ “การพบความรักในสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี, พาลเลเดียน และ เวนิส” ของวอร์เดลล์[21] สิ่งก่อสร้างสีครีม พร้อมด้วยสิ่งตกแต่งพาลเลเดียนยกเว้นหอเชิงเทินและหอทัศนาคงจะไม่ดูแปลกแต่อย่างใดถ้าได้ไปตั้งเคียงข้างกับสถาปัตยกรรมที่สร้างโดยทอมัส คิบิทท์ในลอนดอน

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลียังคงใช้ในการก่อสร้างในสถานที่อันห่างไกลในจักรวรรดิอังกฤษเป็นเวลานานหลังจากที่หมดความนิยมในบริเตนกันไปแล้วต่อมาอีกเป็นเวลานาน เช่นในการก่อสร้างสถานีรถไฟในนิวเซาท์เวลส์ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1881 เป็นต้น

การตกแต่งภายใน

[แก้]
จวนข้าหลวง, เมลเบิร์น โถงภายในอาคารตกแต่งแบบอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 19

การตกแต่งภายในอาคารมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ที่เป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งตกแต่งที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมและสิ่งตกแต่งของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มาประยุกต์สำหรับรูปทรงของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตู้เสื้อผ้าหรือโต๊ะเครื่องสำอางค์ก็สามารถนำเอาตกแต่งเป็นแบบอิตาลีได้

ในปัจจุบันการตกแต่งแบบอิตาลีมักจะเรียกว่า “Eastlake” โดยนักสะสมและผู้ค้าขายในทวีปอเมริกาเหนือ แต่คำร่วมสมัยที่ใช้ในการจัดกลุ่มมีด้วยกันหลายคำที่รวมทั้ง “Neo-Grec”

องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

[แก้]

องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีก็ได้แก่[22]:

  • หลังคาป้านหรือราบและมักจะใช้hipped
  • ชายคายื่นกว้างออกไปรองรับด้วยคันทวย
  • บัวตกแต่งใหญ่เด่น
  • หน้าต่างและประตูประดับด้วยจั่ว
  • หน้าต่างชั้นแรกสูงเป็นนัยยะว่าเป็น piano nobile
  • หน้าต่างโค้งหักมุมยื่นออกมาจากตัวอาคาร (Angled bay windows)
  • ห้องใต้หลังคาที่มีหน้าต่างรายที่มีที่คลุม
  • ประตูกระจก
  • หอทัศนา หรือ เชิงเทิน และหอ
  • โดม
  • Quoins
  • ระเบียงลอจเจีย
  • ระเบียงเหล็กดัดหรือลูกกรงระเบียงแบบเรอเนซองส์
  • ลูกกรงระเบียงซ่อนหลังคา
  • ราว 15% ของสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีในสหรัฐอเมริกาจะรวมหอ[23]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Historic Houses In Buckinghamshire". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  2. Direct quote from: Walton, John. Late Georgian and Victorian Britain Page 50. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1
  3. Siegfried Giedion, Space, Time and Architecture 1941 etc.
  4. "John Nash Biography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-12. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  5. Turner, Michael. Osbourne House Page 28. English Heritage. Osbourne House. ISBN 1-85074-249-9
  6. http://www.oldhouseweb.com/blog/the-italianate-style/
  7. Photograph of Cronkhill เก็บถาวร 2016-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The house is still more a picturesque cottage than great Italian Villa or Palazzo
  8. Girouard, Mark. Life in the English Country House Page 272. Yale University
  9. Walton, John. Late Georgian and Victorian Britain Page 58. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1
  10. Direct quote from: Walton, John. Late Georgian and Victorian Britain Page 58. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1
  11. Turner, Michael. Osbourne House Page 28. English Heritage. Osbourne House. ISBN 1-85074-249-9
  12. Turner, Michael. Osbourne House Page 28. English Heritage. Osbourne House. ISBN 1-85074-249-9
  13. Girouard, Mark. Life in the English Country House Page 272. Yale University
  14. http://books.google.com/books?id=Gh8ZrZRKaRwC&pg=PA294&lpg=PA294&dq=Italianate+architecture+Fakhreddine&source=web&ots=temm_7oQ1f&sig=ExfjKPcaEqyyX4uX5kpthBuA7ys&hl=en&sa=X&oi=book_result&resnum=1&ct=result
  15. http://books.google.com/books?id=AylB2M5DjaoC&pg=PA26&lpg=PA26&dq=Italianate+architecture+Fakhreddine&source=web&ots=GJ21G8u8tL&sig=50FRdyX8jEZyQi20RQpm7OjbbQA&hl=en&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result
  16. http://www.economist.com/displaystory.cfm?story_id=12079102&CFID=22575473&CFTOKEN=49147749
  17. "Blandwood Mansion, America's Earliest Tuscan Villa". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  18. Whiffen, Marcus (1984). American Architecture 1607-1860. Cambridge, Massachusetts : MIT Press. ISBN 0262730693. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  19. Cropplestone, Trewin (1963). World Architecture Page 323. Hamlyn.
  20. http://www.oldhouseweb.com/blog/the-italianate-style/ http://www.oldhouseweb.com/blog/the-italianate-style/
  21. Historic Buildings in Berry
  22. "Italianate Architectural Elements". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-03. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  23. McAlester, Virginia & Lee, A Field Guide to American Houses, Alfred H. Knopf, New York 1984 p. 211

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี