สถาปัตยกรรมตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งานสถาปัตยกรรมตะวันออก อาจแบ่งออกได้ตามประโยชน์ช่วงใช้ จึงมีทั้งที่อยู่อาศัยและสิ่งก่อสร้างในศาสนา และเนื่องจากประเทศในตะวันออกส่วนใหญ่อยู่ในโซนร้อน มีฝนชุกบ้าง มีอากาศแปรปรวนหนาวร้อนจัดบ้าง หลังคาของอาคารส่วนใหญ่จะมีจั่วสูง ซึ่งแตกต่างกับอินเดีย เพราะแม้ว่าจะเป็นประเทศแม่บทบาททางศิลปะและวัฒนธรรมของเอเซีย แต่ก็มิได้มีสิ่งก่อสร้างเฉพาะ ที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะอากาศตามปกติของอินเดียออกจะแห้งแล้งและหนาวจัดในบางฤดู ที่อยู่อาศัยจึงสร้างขึ้นเพื่อป้องกันอากาศที่แปรปรวน แต่ประเทศทางตะวันออกไกลมีฝนตกชุก มีอากาศร้อน ที่อยู่อาศัยจึงหลังคาสูง และปลูกอยู่บนเสาสูง

ลักษณะของสถาปัตยกรรมตะวันออกเป็นไปตามฐานะของบุคคลอย่างเห็นได้ชัด เช่น ปราสาทราชวังของกษัตริย์ หรือคฤหาสน์อันโอ่อ่าของคหบดี หรือกระท่อมไม้ไผ่ มุงหญ้าคาของคนในชนบท สิ่งเหล่านี้มิได้เป็นสิ่งแปลกประหลาด เพราะดูจะเหมือนกันทุกแห่งในโลก

พิจารณาในด้านการศึกษารูปแบบการตกแต่งแล้ว จะเห็นความคิดสร้างสรรค์ตามความเหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น ในถิ่นที่มีไม้มากก็จะใช้ไม้หรือในถิ่นที่มหาไม้ได้ยากกว่า ก็จะใช้วัสดุอย่างอื่น การสร้างที่อยู่อาศัยจึงขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง เช่น อุปกรณ์ ดินฟ้าอากาศ และพื้นเพสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน

สำหรับศาสนสถาน หรือ สิ่งก่อสร้างในศาสนานั้น แตกต่างกันออกไปจากที่อยู่อาศัย บ้างมีความมุ่งหมายให้เกิดความถาวรมั่นคง มีอายุยืนนาน จึงมักจะก่อสมร้างด้วยหิน หรือ อิฐปูนตามกำลังศรัทธา เช่น ในประเทศอินเดีย สมัยราชวงค์คุปตะ มีการเจาะภูเขาสร้างเป็น “ วิหารถ้ำ ” เช่น ถ้ำอาจันตะ มีอยู่ถึง 20 กว่าถ้ำ แต่ถ้าถ้ำประดิษฐ์สิ่งตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง จนเหนือความสามารถของมนุษย์ในปัจจุบันที่จะทำเช่นนั้นได้ การสร้างศาสนาสถานในลักษณะต่าง ๆ ของประเทศตะวันออก แม้ว่ามีแม่บทคือ อินเดีย แต่ก็ยังสามารถประดิษฐ์ให้เป็นแบบอย่างเฉพาะของแต่ละประเทศได้ นับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งคนสมัยก่อน ๆ ได้ฝากความคิด และฝีมือไว้เป็นอุทาหรณ์

การตกแต่งประดับประดาสิ่งก่อสร้างเฉพาะที่อยู่อาศัยย่อมแตกต่างกับศาสนสถานเพราะ ที่อยู่อาศัยนั้น มุ่งแสดงฐานะความสะดวกสบาย และความสุขของผู้อยู่อาศัยที่เป็นเจ้าของ แต่ศาสนสถานนั้นมุ่งจรรโลงศาสนา ทุ่มเทพลังความคิดและฝีมือเพื่อเสริสร้างความศรัทธาแก่มหาชน อาจทำตามผู้มีอำนาจบงการก็จริงอยู่ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นสถานที่ทำให้เกิดความวิเวกจิตสงบ จึงมีการตกแต่งที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เรื่องราวที่นำมาประกอบกับความเข้าใจในการตกแต่งอาจมีทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เพื่อประโยชน์สุขทางศาสนาร่วมกันของมหาชนทั้งสิ้น