ข้ามไปเนื้อหา

ฟิโอดอร์ ตอลบูคิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Fyodor Tolbukhin)
ฟิโอดอร์ ตอลบูคิน
เกิด16 มิถุนายน ค.ศ. 1894(1894-06-16)
Androniki เขตผู้ว่าการยาโรสลัฟล์ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต17 ตุลาคม ค.ศ. 1949(1949-10-17) (55 ปี)
มอสโก สาธารณรัฐรัสเซีย
สุสาน
รับใช้ รัสเซีย (1914–1917)
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต (1917–1949)
ประจำการ1914–1949
ชั้นยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต
บังคับบัญชาแนวรบยูเครนที่ 4
แนวรบยูเครนที่ 3
มนฑลทหารทรานส์คอเคซัส
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามโลกครั้งที่สอง
บำเหน็จวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน (2)
เครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง (3)
เครื่องอิสริยาภรณ์ซูโวรอฟชั้นที่ 1 (2)
เครื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟชั้นที่ 1
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัย

ฟิโอดอร์ อีวาโนวิช ตอลบูคิน (รัสเซีย: Фёдор Ива́нович Толбу́хин; 16 มิถุนายน 1894 – 17 ตุลาคม 1949) เป็นผู้บัญชาการทหารโซเวียต

ตอลบูคิน เกิดในครอบครัวชาวนาในจังหวัดยาโรสลัฟล์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงมอสโก เขาอาสาเข้าร่วมกับกองทัพจักรวรรดิในปี 1914 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งประทุขึ้น เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่างต่อเนื่องเลื่อนจากพลทหารเป็นร้อยเอกในปี 1916 นอกจากนี้เขายังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกล้าหาญหลายครั้ง

ในเดือนสิงหาคม 1918 ตอลบูคินได้เข้าร่วมกับกองทัพแดงซึ่งเขาทำหน้าที่เป็นเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 56 หลังจากสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดลง ตอลบูคินได้รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่จำนวนมาก นอกจากนี้เขายังได้เรียนที่วิทยาลัยการทหารฟรุนเซสำหรับการฝึกเสนาธิการขั้นสูง เขาสำเร็จการศึกษาในปี 1931 ในปี 1937 หลังจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่หลายชุด ตอลบูคินได้รับคำสั่งจากกองพล ในปี 1938 ตอลบูคินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาธิการมนฑลทหารทรานส์คอเคซัส

ตอลบูคินยังคงอยู่ในตำแหน่งนี้ผ่านช่วงการเปิดฉากปฏิบัติการบาร์บารอสซาจนถึงเดือนสิงหาคม 1941 เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาธิการแนวรบไครเมีย ซึ่งเขาดำรงอยู่จนถึงเดือนมีนาคม 1942 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 1942 เขาเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการมนฑลทหารสตาลินกราด หลังจากนั้นเขาก็ได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพที่ 58 จนถึงเดือนมีนาคม 1943 กองทัพที่ 58 มีส่วนร่วมในการต่อสู้ของสตาลินกราดซึ่งตอลบูคินอยู่เหนือกว่า พลเอกอันเดรย์ เยเรเมนโกได้ยกย่องกองบัญชาการและความกล้าหาญทางทหารของเขา หลังจากบัญชาการกองทัพ 57 ตอลบูคินได้เข้าบัญชาการแนวรบใต้

ในเดือนตุลาคม 1943 แนวรบใต้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแนวรบยูเครนที่ 4 ตอลบูคินเป็นผู้ช่วยนายพลโรดีออน มาลีนอฟสกีแห่งแนวรบยูเครนที่ 3 ในการรุกโลว์เวอร์นีเปอร์และการรุกนีเปอร์–คาร์เพเทียน ในเดือนพฤษภาคม 1944 ตอลบูคินถูกย้ายไปควบคุมแนวรบยูเครนที่ 3 ในช่วงการทัพฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 1944 ตอลบูคินและมาลีนอฟสกีเปิดฉากบุกโจมตีบอลข่านและสามารถเอาชนะโรมาเนียส่วนใหญ่ได้ ในวันที่ 12 กันยายน 1944 สองวันหลังจากได้รับการเลื่อนตำแหน่งนายพลมาลีนอฟสกีให้เป็นจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต ตอลบูคินก็ได้รับการเลื่อนยศในแบบเดียวกัน ขณะที่มาลีนอฟสกีเคลื่อนทัพไปทางตะวันตกเฉียงเหนือสู่ฮังการีและยูโกสลาเวีย ตอลบูคินก็ได้เข้ายึดครองบัลแกเรีย เมื่อเริ่มต้นในการทัพฤดูหนาว ตอลบูคินเปลี่ยนกองทัพของเขาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของฝ่ายอักษะ จึงทำให้ตอลบูคินเข้าปลดปล่อยยูโกสลาเวียและบุกทางตอนใต้ของฮังการี

หลังจากสงคราม ตอลบูคินเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกลุ่มกองกำลังใต้ซึ่งประกอบไปด้วยภูมิภาคบอลข่าน ในเดือนมกราคม 1947 ตอลบูคินได้เป็นผู้บัญชาการมนฑลทหารทรานส์คอเคซัสจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 17 ตุลาคม 1949

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Храпченков В. К. Солдат Отчизны в маршальских погонах. Ярославль: Нюанс, 2005. 380, [3] с.: ил., портр., карты. (60 лет Великой Победы).
  • Герои Советского Союза: Краткий биографический словарь / Пред. ред. коллегии И. Н. Шкадов. — М.: Воениздат, 1988. — Т. 2 /Любов — Ящук/. — 863 с. — 100 000 экз. — ISBN 5-203-00536-2.
  • Кузнецов П. Г. Маршал Толбухин [1894-1949]. — М., 1966.
  • Мальцев Е. Е. В годы испытаний. — М.: Воениздат, 1979.
  • Народни хероји Југославије, «Партизанска књига» Љубљана, «Народна књига» Београд, «Побједа Титоград», 1982 година.