ลัฟเรนตีย์ เบรียา
ลัฟเรนตีย์ เบรียา Лавре́нтий Бе́рия | |
---|---|
![]() เบรียา ป.ทศวรรษ 1939 | |
รองประธานคณะรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม – 26 มิถุนายน 1953 | |
หัวหน้ารัฐบาล | เกออร์กี มาเลนคอฟ |
ก่อนหน้า | วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ |
ถัดไป | ลาซาร์ คากาโนวิช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม 1953 – 26 มิถุนายน 1953 | |
ก่อนหน้า | Sergei Kruglov |
ถัดไป | Sergei Kruglov |
กรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน | |
ดำรงตำแหน่ง ธันวาคม 1938 – ธันวาคม 1945 | |
หัวหน้ารัฐบาล | วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ โจเซฟ สตาลิน |
ก่อนหน้า | นีโคไล เยจอฟ |
ถัดไป | Sergei Kruglov |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มีนาคม พ.ศ. 2442 เมร์เคอูลี, จังหวัดคูไตซี, จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (54 ปี) มอสโก, สาธารณรัฐรัสเซีย, สหภาพโซเวียต |
เชื้อชาติ | โซเวียต |
พรรคการเมือง | คอมมิวนิสต์ |
รางวัล | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหภาพโซเวียต |
สังกัด | กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (NKVD) |
ยศ | จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต |
บังคับบัญชา | กองพลตำรวจลับ |
สงคราม/การสู้รบ | สงครามโลกครั้งที่ 2 |
ลัฟเรนตีย์ ปัฟโลวิช เบรียา (รัสเซีย: Лавре́нтий Па́влович Бе́рия; จอร์เจีย: ლავრენტი პავლეს ძე ბერია; 29 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2496) เป็นนักการเมืองโซเวียตเชื้อชาติจอร์เจีย จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต และกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (NKVD) ภายใต้โจเซฟ สตาลินในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ชีวิตในวัยเด็กและการขึ้นสู่อำนาจ[แก้]
เบรียาเกิดในเมร์เคอูลีในปี พ.ศ. 2442 เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่นับถือนิกายจอร์เจียนออร์ทอดอกซ์[1][2][3] มีแม่ มาร์ จาเคลี (Marta Jaqeli) (2411-2498) เป็นคนเคร่งศาสนา พ่อปาเวล เบรียา (Pavel Beria; 2415-2465) ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในอับคาเซีย[1] นอกจากนี้เขายังมีน้องชาย (ไม่ทราบชื่อ) และน้องสาวชื่อแอนนาที่เกิดมาเป็นใบ้และหูหนวก
เบรียาเข้าโรงเรียนอุตสาหกรรมปิโตรเลียมประสบความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะเข้าร่วมพรรคบอลเชวิคในมีนาคม พ.ศ. 2460 แต่อยู่ได้ไม่นานเขาก็เข้าไปอยู่กับกลุ่มต่อต้านพรรคบอลเชวิคในช่วงสงครามกลางเมือง หลังจากที่หัวเมืองถูกเข้ายึดครองโดยกองทัพแดง (28 เมษายน พ.ศ. 2463) เซอร์เกย์ คีรอฟก็ได้ช่วยเบรียารอดจากโทษประหารชีวิต[4] จากนั้น Nina Gegechkori หลานสาวของเพื่อนร่วมห้องขังของเขาก็พวกเขาหนีไป.[5]
ในปี พ.ศ. 2463-64 เบรียาเข้าร่วม เชการ์ (กองตำรวจลับบอลเชวิคดั้งเดิม) ซึ่งตอนนั้นจอร์เจียกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตไปแล้ว.เบรียาได้เป็นรองหัวหน้าเชการ์ในเขตจอร์เจีย ในปี พ.ศ. 2466 เขานำการปราบปรามการก่อจลาจลของชาวจอร์เจีย 10,000 คนถูกประหารชีวิต
ในปี พ.ศ. 2468 เบรียาได้รู้จักเพื่อนจอร์เจียโจเซฟ สตาลิน เขาได้เป็นหนึ่งในการช่วยสตาลินขึ้นสู่อำนาจ เบรียามีประสิทธิภาพในทำลายเครือข่ายข่าวกรองที่ตุรกีและอิหร่านที่แฝงตัวในคอเคซัสและประสบความสำเร็จในการเจาะข้อมูลรัฐบาลตุรกีและอิหร่าน นอกจากนี้เขายังไปรักษาความปลอดภัยให้สตาลินตอนช่วงพักร้อน
เบรียาได้รับการแต่งตั้งเลขานุการของพรรคคอมมิวนิสต์ในจอร์เจียในปี พ.ศ. 2474 และกลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2476
กรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน[แก้]
ในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2481 สตาลินให้เบรียาขึ้นมาเป็นรองกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (NKVD) หน่วยงานเทียบเท่ากระทรวงที่คุมรัฐการรักษาความปลอดภัยและกองตำรวจลับภายใต้ นิโคไล เยซอฟ กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายในดำเนินการล้าง: "ศัตรูของประชาชน" จำคุกหรือประหารผู้คนนับล้านที่ถูกกล่าวหาทั่วสหภาพโซเวียต ตอนแรกสตาลินมีความคิดที่จะแต่งตั้ง ลาซาร์ คากาโนวิช เป็นกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน แต่เลือกเบรียาเพราะเขาเป็นตำรวจลับมืออาชีพ กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายในได้รับการปรับปรุงใหม่โดยครึ่งหนึ่งของบุคลากรทั้งหมดถูกแทนโดยบุคลากรจากเขตคอเคซัสที่เบรียาจัดหามาให้
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 เบรียากลายเป็นสมาชิกโปลิตบูโร แม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มรูปแบบจนถึงปี พ.ศ. 2489 เขาเป็นหนึ่งในผู้นำอาวุโสของรัฐโซเวียต ในปี พ.ศ. 2484 เบรียาเป็นผู้บังคับการตำรวจรักษาความปลอดภัยรัฐ ในช่วงเวลานั้นเปรียบได้อย่าง จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต

ในช่วงการเข้ายึดครองโปแลนด์เป็นผู้คุมในการสังหารหมู่กาตึญ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2484 เบรียาได้เป็นรองประธานกรรมการของสภาตำรวจ,ในเดือนมิถุนายนหลังปฏิบัติการบาร์บารอสซาของเขาก็กลายเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลาโหมของรัฐ (GKO)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเขารับผิดชอบร่วมกับเกออร์กี มาเลนคอฟ ในการระดมผู้คนนับล้านที่ถูกคุมขังในค่ายกูลัก มาช่วยการผลิตในช่วงสงคราม เขาควบคุมของการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และอากาศยานเครื่องยนต์ นี่คือจุดเริ่มต้นของการเป็นพันธมิตรกันระหว่างเบรียาและมาเลนคอฟ
ในปี พ.ศ. 2487 ขณะที่เยอรมันถูกขับออกจากดินแดนโซเวียต เบรียาได้จัดการกับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆที่ถูกกล่าวหาว่าต่อต้านโซเวียต และให้ความร่วมมือกับเยอรมัน ทั้งเชชเนีย ไครเมียตาตาร์ติก กรีก[6] และโวลกาเยอรมัน กลุ่มเหล่านี้ถูกเนรเทศไปยังเอเชียกลาง
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2487 เบรียาได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการพัฒนาระเบิดปรมาณูของโซเวียตซึ่งสร้างและทดสอบระเบิดในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งเบรียาได้นำหน่วยสืบราชการลับทำการขโมยข้อมูลจำเป็นในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาได้อย่างประสบความสำเร็จ.จากนั้นระดมถูกคุมขังในค่ายกูลักในเหมืองแร่ยูเรเนียมและสำหรับการก่อสร้างและการดำเนินงานของโรงงานแปรรูปยูเรเนียม
่ในเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2488 สตาลินแต่งตั้งเบรียาเป็นจอมพลสหภาพโซเวียต ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยสั่งการทางทหาร เบรียาก็ทำผลงานอย่างมีนัยสำคัญสู่ชัยชนะของสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง
การเมืองหลังสงคราม[แก้]

เมื่อสตาลินอายุใกล้ 70 ปีมีการต่อสู้ในการสืบทอดตำแหน่งในหมู่ผู้สนับสนุนของสตาลิน โดยความเป็นไปได้มากที่สุดดูเหมือนจะเป็นอันเดรย์ จดานอฟ เลขาธิการที่หนึ่งแห่งคณะกรรมการภูมิภาคเลนินกราดแห่งพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต หลังจากที่ พ.ศ. 2489 เบรียากับมาเลนคอฟ ได้เป็นพันธมิตรกันเพื่อตอบโต้อำนาจของจดานอฟ ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2489 เบรียาลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าของ NKVD ไปเป็นรองประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต
หลังการเสียชีวิตของ จดานอฟ ในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2491 เบรียากับมาเลนคอฟได้เข้าทำการกวาดล้างอำนาจของคณะกรรมการภูมิภาคเลนินกราดโดยมี หัวหน้าเศรษฐกิจ นีโคไล วอซนีเซนสกี; เลขาธิการที่หนึ่งแห่งคณะกรรมการภูมิภาคเลนินกราด ปอตร์ ปอปคอฟ; และนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐรัสเซียมีฮาอิล โรดีโอนอฟ[7]ถูกประหารชีวิต หลังการเสียชีวิตของ จดานอฟ นีกีตา ครุชชอฟหนึ่งในคนสนิทของสตาลินก็มีความเป็นไปได้พอๆกับ เบรียาและมาเลนคอฟ ในการสืบทอดอำนาจต่อจากสตาลิน
ในสงครามกลางเมืองจีน เบรียาเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการต่อสู้โดยการคืนดินแดนแมนจูเรียที่ได้ยึดครองในช่วงปฏิบัติการพายุสิงหาคมให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีนพร้อมการสนับสนุนอาวุธและเงินทุน
การตายของสตาลินและจุดจบ[แก้]
หลังการตายของสตาลินมีนาคม พ.ศ. 2496 เบรียาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานสภารัฐมนตรีและรัฐมนตรีกิจการภายในแห่งสหภาพโซเวียต เขาเป็นส่วนหนึ่งของ"ทรอยกา" กับ เกออร์กี มาเลนคอฟ และ วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในสมัยนั้นเกออร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิด และเบรียาครองอำนาจทุกอย่าง
เบรียามีนโยบายที่จะออกจากเยอรมนีตะวันออกและหันไปญาติดีกับสหรัฐ ทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไว้ใจในตัวเบรียา โดยเฉพาะครุชชอฟ เป็นคนที่ต่อต้านเบรียาอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบรียาได้
จนกระทั่งเมื่อเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอรมันตะวันออกในเดือนมิถุนายน สมาชิกพรรคหลายคนกังวลว่านั้นเป็นนโยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต ต่อมา นิกิตา ครุสชอฟ เกออร์กี มาเลนคอฟ และจอมพลเกออร์กี จูคอฟ ทำการรัฐประหาร เบรียาถูกจับในข้อหากบฏในระหว่างการประชุมโปลิตบูโร หลังจากสอบปากคำเบรียาถูกนำตัวไปห้องใต้ดินและถูกยิงเสียชีวิตโดยนายพลปาเวล บาตีซกี[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Knight, Amy (1995). Beria. Princeton University Press. pp. 14–16. ISBN 0-691-01093-5.
- ↑ Взлёт и падение Берии
- ↑ Последние Годы Правления Сталина
- ↑ Alliluyeva, Svetlana, Twenty Letters to a Friend, p. 138.
- ↑ Simon Sebag Montefiore, Young Stalin, page 67
- ↑ Books, Google, p. 122.
- ↑ Knight 1995, p. 151, preview by Google Books
- ↑ Лаврентия Берию в 1953 году расстрелял лично советский маршал