อะเพลซวิทโนเนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก A Place with No Name)
"อะเพลซวิทโนเนม"
ซิงเกิลโดยไมเคิล แจ็กสัน
จากอัลบั้มเอ็กซ์สเคป
วางจำหน่าย12 สิงหาคม ค.ศ. 2014 (2014-08-12)
บันทึกเสียงค.ศ. 1998 (ต้นฉบับ)
ค.ศ. 2013–2014 (ทำใหม่)
สตูดิโอ
  • Hit Factory Criteria (ไมแอมี)
  • Milkboy Studios (ฟิลาเดลเฟีย)
  • Sterling Sound (นิวยอร์ก)
  • Jungle City (นิวยอร์ก)
แนวเพลงSynth funk[1]
ความยาว
  • 3:58 (รุ่นซิงเกิล)
  • 4:56 (รุ่นต้นฉบับ)
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
  • ไมเคิล แจ็กสัน
  • Dr. Freeze
  • Stargate
ลำดับซิงเกิลของไมเคิล แจ็กสัน
"เลิฟเนเวอร์เฟลท์โซกูด"
(2014)
"อะเพลซวิทโนเนม"
(2014)
"บลัดออนเดอะแดนซ์ฟลอร์ x เดนเจอรัส"
(2017)
มิวสิกวิดีโอ
"อะเพลซวิทโนเนม" ที่ยูทูบ

อะเพลซวิทโนเนม (อังกฤษ: A Place with No Name) เป็นเพลงโดยไมเคิล แจ็กสัน นักร้องชาวอเมริกัน ซึ่งเผยแพร่บนอลับั้นหลังเสียชีวิตอันที่สองที่มีชื่อว่า Xscape (2014) มีการเผยแพร่ตัวอย่างเพลง 24 วินาทีบนเว็บไซต์ TMZ.com ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 หลังไมเคิล แจ็กสันเสียชีวิต 3 สัปดาห์ ส่วนเพลงฉบับเต็มรั่วไหลในโลกออนไลน์เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2013[2] ชื่อแทร็กนี้อิงจาก "อะฮอร์สวิทโนเนม" เพลงฮิตใน ค.ศ. 1972 โดยวงร็อก อเมริกา ในช่วงเวลาที่มีการรั่วไหล ทางอเมริกากล่าวว่าตน "ได้รับเกียรติ" ที่ไมเคิล แจ็กสันได้เลือกตัวอย่างเพลงของตน

มีการกล่าวอ้างว่ามีเพลงที่ไม่เคยได้วางจำหน่ายที่รอวันเผยแพร่หลายปีถึง "หลายสิบ" เพลง[3][4] ต่อมาได้นำเพลงนี้มาทำใหม่โดยโปรดิวเซอร์ชาวนอร์เวย์ StarGate ใน Xscape ร่วมกับรุ่นต้นฉบับ "อะเพลซวิทโนเนม" ได้รับการเผยแพร่ใน urban adult contemporary รายการวิทยุสัญชาติอเมริกันในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2014[5]

ภูมิหลัง[แก้]

ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ไมเคิลแจ็กสันเสียชีวิตตามที่ได้รับรายงานในเบื้องต้นว่าเกิดอาการหัวใจหยุดเต้น[6][7] อย่างไรก็ตาม ภายหลังมีการกำหนดว่าเขาเสียชีวิตจากการกินโปรโพฟอลและลอราเซแพมเกินขนาด และจัดให้การเสียชีวิตของเขาเป็นฆาตกรรม[8] จากนั้นในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 เว็บไซต์ข่าวที่มีชื่อเสียง TMZ.com ซึ่งเป็นสื่อแรกที่รายการการเสียชีวิต ได้ปล่อยตัวอย่างเพลง 24 วินาที จากเพลงที่ไม่ได้เผยแพร่ชื่อ "อะเพลซวิทโนเนม"[3][9][10] แทร็กนี้อิงจากซิงเกิลอันดับหนึ่งชื่อ "อะฮอร์สวิธโนเนม" ของวงอเมริกาใน ค.ศ. 1972[3][11][12] แจ็กสันได้รับอนุญาตให้ใช้เพลงนี้ตามกฎหมาย[13] ทาง St. Louis Post-Dispatch ระบุว่าสองเพลงนี้ "เกือบจะเหมือนกัน"[14] ไม่มีใครทราบว่ามีการบันทึกเพลงตอนไหน ถึงแม้ว่าแจ็กสันและอเมริกาจะมีผู้จัดการคนเดียวกัน (เชื่อว่าเป็น Jim Morey) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990[3][15][16]

คำวิจารณ์ที่สำคัญ[แก้]

Joe Levy จาก Billboard เรียกเพลงนี้เป็น "หัวใจ" ของอัลบั้ม[17] Meggie Morris จาก Renowned for Sound เรียกแทร็กนี้ว่า "ไม่เป็นที่รู้จัก และในขณะเดียวกันก็คุ้นเคย ทำให้เกิดเสียงที่ย้อนยุคและคลาสสิกมากกว่าพ้นสมัย"[18] อย่างไรก็ตาม Nekesa Mumbi Moody จาก Yahoo! กล่าวว่า "อะเพลซวิทโนเนม" "มีจังหวะและเสียงเหมือนกันกับเพลง 'Leave Me Alone' จากยุค 'Bad' และมีเนื้อเพลงที่อ่อน: เราสามารถบอกได้ว่าทำไมแจ็กสันถึงทิ้งมันไว้บนพื้นห้องตัดต่อ"[19]

คำตอบรับจากอเมริกา[แก้]

ดิวอี บันเนลล์ และเจอร์รี เบกลีย์ สองสมาชิกจากวงอเมริกา แสดงความขอบคุณของพวกเขาที่มีต่อแจ็กสันในการเลือกเพลงของตนเป็นแม่แบบดนตรีสำหรับ "อะเพลซวิทโนเนม" ในคำให้การที่ MTV นักดนตรียังแสดงความเสียใจที่แฟน ๆ ของแจ็กสันไม่ได้ยินรุ่นที่เสร็จสมบูรณ์ขณะที่แจ็กสันยังมีชีวิตอยู่:[3][10]

เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ไมเคิล แจ็กสันเลือกที่จะบันทึกไว้ และเราประทับใจกับคุณภาพของแทร็ก เรายังหวังว่ามันจะได้รับการปล่อยตัวในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ผู้ฟังเพลงทั่วโลกสามารถฟังเพลงทั้งหมด และได้สัมผัสกับความสามารถที่เปรียบมิได้ของไมเคิล แจ็คสันอีกครั้ง [...] ไมเคิล แจ็คสันจริง ๆ ได้รับความยุติธรรม (did it justice) และเราหวังอย่างแท้จริงหวังว่าแฟน ๆ ของเขาและแฟน ๆ ของเราจะได้ฟังมันทั้งหมด เจ็บปวดเสียจริง[3][10]

บันเนลล์ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าเขามี "ความภาคภูมิใจในความจริงที่ [แจ็กสัน] ได้บันทึกไว้ มันเป็นเวอร์ชันที่ดี และอนุพันธ์ที่น่าสนใจของเพลงเดิมที่ผมเขียนขึ้นมา" บันเนลล์กล่าวว่า เขาและเบกลีย์ได้ "ปกปิดความจริง" เกี่ยวกับอนาคตของเนื้อหาที่ยังไม่เผยแพร่ของแจ็กสัน[20]

รายการเพลง[แก้]

Digital download / CD single[21]
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ผู้ผลิตยาว
1."A Place with No Name" (รุ่นซิงเกิล)
3:58
2."A Place with No Name" (รุ่นอัลบั้ม)
  • Jackson
  • Bunnell
  • Straite
5:35
3."Slave to the Rhythm" (Audien Remix Radio Edit)3:15

หมายเหตุ

  • ^[a] โปรดิวเซอร์เสียงร้อง
  • ^[b] ผู้ร่วมผลิต
  • ^[c] ผู้ผลิตเพิ่มเติม

ชาร์ต[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Revisiting Michael Jackson's 'Xscape' (2014) | Retrospective Tribute".
  2. Shields, Damien (2013-12-06). "Michael Jackson's "A Place With No Name" – The story behind the song". Damienshields.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-08-14.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Montgomery, James (July 20, 2009). "America 'Honored' By Michael Jackson's 'A Place With No Name' Sample". MTV. สืบค้นเมื่อ August 28, 2009.
  4. "Many unreleased songs". The Straits Times. July 2, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 5, 2009. สืบค้นเมื่อ March 5, 2010.
  5. "Urban/UAC Future Releases". All Access Music Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2014. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
  6. "Michael Jackson dead at 50 after cardiac arrest". cnn.com. สืบค้นเมื่อ October 10, 2017.
  7. Hessel, Evan (July 25, 2009). "Michael Jackson, King Of Pop, Dies At 50". Forbes. สืบค้นเมื่อ October 17, 2009.
  8. Tourtelotte, Bob (August 28, 2009). "Jackson death ruled homicide, focus on doctor". Reuters. สืบค้นเมื่อ August 2, 2022.
  9. "New Michael Jackson song leaked". news.com.au. July 17, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-19. สืบค้นเมื่อ October 17, 2009.
  10. 10.0 10.1 10.2 Kreps, Daniel (July 20, 2009). "America Respond To Michael Jackson's 'A Place With No Name'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2009. สืบค้นเมื่อ October 17, 2009.
  11. "Michael Jackson homage to America". news.com.au. July 18, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2012. สืบค้นเมื่อ March 5, 2010.
  12. "Place with No Name sounds like Horse with No Name". news.com.au. July 17, 2009. สืบค้นเมื่อ March 5, 2010.
  13. "New Michael Jackson Song Emerges". CBS. July 16, 2009. สืบค้นเมื่อ October 17, 2009. [ลิงก์เสีย]
  14. "People". St. Louis Post-Dispatch. July 18, 2009. สืบค้นเมื่อ March 5, 2010.
  15. "Jackson's new song hits the web". The Hindu. July 18, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ March 5, 2010.
  16. "New Michael Jackson song: A Place With No Name". news.com.au. July 17, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2013. สืบค้นเมื่อ March 5, 2010.
  17. Levy, Joe. "Michael Jackson's 'Xscape': Track-By-Track Review". Billboard.com. Billboard. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  18. "Single Review: Michael Jackson – 'A Place with No Name' – Renowned for Sound".
  19. Moody, Nekesa Mumbi. "Review: 'Xscape' is a mixed bag for Jackson fans". Yahoo! Movies. Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  20. Berger, John (August 7, 2009). "America rides in on 'horse with no name'". Honolulu Star-Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ August 28, 2009.
  21. Bunnell, Dewey; Straite, Elliott; Jackson, Michael. "A Place with No Name" [CD Single]. MJJ Productions and Epic Records. Catalog no: 88875018402.
  22. "Michael Jackson – A Place with No Name" (in Dutch). Ultratip. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  23. "Michael Jackson – A Place with No Name" (in French). Ultratip. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  24. "Michael Jackson – A Place with No Name" (in French). Les classement single. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  25. "Archívum – Slágerlisták – MAHASZ" (in Hungarian). Rádiós Top 40 játszási lista. Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  26. "Archívum – Slágerlisták – MAHASZ" (in Hungarian). Single (track) Top 40 lista. Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  27. "Michael Jackson – A Place with No Name" (in Dutch). Single Top 100. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.
  28. "Rádiós Top 100 - hallgatottsági adatok alapján - 2014". Mahasz. สืบค้นเมื่อ June 10, 2020.