ข้ามไปเนื้อหา

51 ม้าบิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
51 ม้าบิน

วงกลมสีแดง แสดงตำแหน่งของ 51 ม้าบินในกลุ่มดาวม้าบิน
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว กลุ่มดาวม้าบิน
ไรต์แอสเซนชัน 22h 57m 28.0s
เดคลิเนชัน +20° 46′ 08″
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 5.49
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมG2.5IVa หรือ G4-5Va
ดัชนีสี U-B0.22
ดัชนีสี B-V0.67
ดัชนีสี V-R0.37
ดัชนีสี R-I0.32
ชนิดดาวแปรแสงไม่แน่ชัด
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)-33.7 km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 208.07 mas/yr
Dec.: 60.96 mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)65.10 ± 0.76 mas
ระยะทาง50.1 ly
(15.4 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)4.51
รายละเอียด
มวล1.06 M
รัศมี1.15-1.4 R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)3.89-4.21
กำลังส่องสว่าง1.30 L
อุณหภูมิ5,665 K
ค่าความเป็นโลหะ160%
การหมุนตัว37 d [1]
อายุ7.5-8.5 × 109 ปี
ชื่ออื่น
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata
ARICNSdata
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
data
ดาว 51 ม้าบิน

51 ม้าบิน (อังกฤษ: 51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1995

ดาวเคราะห์ 51 ม้าบิน บี และดาวเอกของมัน

การประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบรอบดาวนี้ ประกาศเมื่อ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1995 โดย มิเชล ไมยอร์ และ ดีดีเย เกโล[2] ตรวจพบด้วยวิธีการการตรวจวัดความเร็วแนวเล็ง ที่หอดูดาว de Haute-Provence โดยใช้เครื่องสเปกโตรกราฟ ELODIE

ดาวฤกษ์นี้มีความส่องสว่างปรากฏ เท่ากับ 5.49 ดังนั้นจึงสามารถมองเห็นจากโลกได้โดยอาศัยเพียงกล้องสองตา หรืออาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในคืนเดือนมืดที่ฟ้าเปิด 51 ม้าบินดาวแคระสีเหลือง อายุประมาณ 7,500 ล้านปี ซึ่งแก่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ราว 4-6% และมีค่าความเป็นโลหะสูงกว่า มีไฮโดรเจนน้อยกว่า จากค่าสเปกตรัมของดาวจัดว่าเป็นดาวฤกษ์ประเภท G2.5V หรือ G4-5Va

ปี ค.ศ. 1996 นักดาราศาสตร์ บาลิวนาส โซโกลอฟ และ ซูน รายงานผลการตรวจวัด 51 ม้าบิน ได้ว่ามีเส้นสเปกตรัมของ แคลเซียม II เอช และ เค และสามารถวัดคาบการหมุนรอบตัวเองได้ที่ 37 วัน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Sallie Baliunas, Dmitry Sokoloff, and Willie Soon (1996). "Magnetic Field and Rotation in Lower Main-Sequence Stars: An Empirical Time-Dependent Magnetic Bode's Relation?". The Astrophysical Journal Letters. 457 (2): L99–L102. doi:10.1086/309891.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย].
  2. Mayor, Michael; Queloz, Didier (1995). "A Jupiter-mass companion to a solar-type star". Nature. 378 (6555): 355–359. doi:10.1038/378355a0.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]