ไฮโดรเจนแอสทาไทด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮโดรเจนแอสทาไทด์
hydrogen astatide
แบบจำลอง Spacefill model ไฮโดรเจนแอสทาไทด์
ชื่ออื่น แอสทาทีนไฮไดรด์ (astatine hydride)
แอสทาเทน (astatane)
แอสทีโดไฮโดรเจน (astidohydrogen)
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS
PubChem 23996
ChEBI 30418
SMILES
 
InChI
 
Gmelin Reference 532398
ChemSpider ID 22432
คุณสมบัติ
สูตรเคมี HAt
มวลต่อหนึ่งโมล 211.008 g/mol
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

ไฮโดรเจนแอสทาไทด์ (อังกฤษ: hydrogen astatide) หรือ แอสทาเทน (อังกฤษ: astatane) มีสูตรทางเคมีว่า HAt เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดจากอะตอมของธาตุแอสทาทีนเชื่อมกับอะตอมไฮโดรเจนด้วยพันธะโคเวเลนต์[1] สารประกอบชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทไฮโดรเจนแฮไลด์ (hydrogen halide) ซึ่งประกอบด้วยสาร 5 ชนิดที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน โดยไฮโดรเจนแอสทาไทด์มีสภาพเป็นกรดสูงสุดในกลุ่มดังกล่าว แต่สารชนิดนี้ยังใช้ประโยชน์ได้ในวงจำกัด เนื่องจากสามารถสลายตัวออกเป็นไฮโดรเจนกับแอสทาทีนได้อย่างรวดเร็ว[2] เช่นเดียวกับไอโซโทปของแอสทาทีนที่มีครึ่งชีวิตสั้น สาเหตุที่สลายตัวเร็วเนื่องจากทั้งไฮโดรเจนและแอสทาทีนมีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีเกือบเท่ากัน ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนแอสทาไทด์อาจเกิดได้ตามสมการดังต่อไปนี้

โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ แก๊สไฮโดรเจนและตะกอนแอสทาทีน เนื่องจากธาตุแอสทาทีนไม่มีไอโซโทปใดเลยที่เสถียร โดยโอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ แอสทาทีน-210 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียงประมาณ 8.1 ชั่วโมง ทำให้ยากต่อการศึกษาในเรื่องสารประกอบที่เกิดจากแอสทาทีน[3] ธาตุชนิดนี้จะสลายตัวได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นธาตุชนิดอื่นแทน

อ้างอิง[แก้]