ไซส์โมซอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไซส์โมซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Jurassic, 154-152Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับย่อย: Sauropodomorpha
วงศ์: Diplodocidae
สกุล: Diplodocus
Cope, 1878a
Species

D. hallorum Gillette, 1991 (type)

ไซส์โมซอรัส (อังกฤษ: Seismosaurus) เป็นอดีตสกุลไดโนเสาร์ซอโรพอดที่มีความยาวประมาณ 30-35 เมตร และหนักถึง 60 ตัน มีความหมายว่ากิ้งก่าแห่งแผ่นดินไหว เพราะเวลาเดินจะทำให้พื้นสั่นเหมือนแผ่นดินไหว กินพืชเป็นอาหาร รักสงบ อาศัยอยู่ในจูแรสซิกตอนปลาย ค้นพบโดยกิลต์เลตต์ เมื่อปีค.ศ.1991 รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบัน ได้มีการค้นพบว่าไซส์โมซอรัสนั้น แท้จริงแล้วคือชนิดหนึ่งของสกุลดิปโพลโดคัส

ขนาด[แก้]

ในปี ค.ศ. 1994 ได้มีการประมาณการขนาดของไซส์โมซอรัส ซึ่งใช้ดิปโพลโดคัสเป็นที่อ้างอิงเพราะมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ใน วงส์เดียวกัน ประมาณความยาว กระดูกขาอ่อน 3.1-4เมตร(10-13ฟุต) ต่อมาในปี2006 ได้มีการประเมินโดย เคน คาร์เพนเตอร์ ซึ่งยังคงใช้ ดิปโพลโดคัส เป็นที่อ้างอิง ได้ประมาณความสูงของกระดูกขาอ่อนที่ 4.4-4.6เมตร(14-15ฟุต) แม้ว่ามีสัดส่วนในขนาดที่แตกต่างกัน คาร์เพนเตอร์ ได้แสดงสัดส่วนความยาวรวมประมาณ 58 เมตร (190ฟุต)ซึ่งเขาลดขนาดลงจากที่ เกรโกรี่ พอล ประมาณความยาวไว้ที่ 40-60 เมตร คาร์เพนเตอร์ ชี้ให้เห็นว่า ไซส์โมซอรัส มีความยาวกว่า ซอโรพอดยักษ์อื่นๆอย่าง ดิปโพลโดคัส(32.5เมตร) แบรกคิโอซอรัส ซอโรโพไซดอน (34เมตร) ไททันซอรัส อาร์เจนติโนซอรัส (38เมตร) รวมถึงความยาวของคอ 16.75 เมตร (55 ฟุต) ความยาวลำตัว 9เมตร(30ฟุต) ความยาวของหาง 32เมตร(105ฟุต) ความสูงของขาหน้า 5.75 เมตร(19ฟุต)

แต่ในปัจจุบันได้มีการระบุว่ากระดูกที่เคยเชื่อกันว่าเป็นปลายหางนั้น แท้จริงเป็นโคนหาง จึงทำให้ไดโนเสาร์สกุลนี้มีความยาวลดลงเหลือเพียง 30-35 เมตร มันจึงไม่ใช่ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดอีกต่อไป พร้อมกับถูกยุบรวมกับสกุลดิปโพลโดคัสอีกด้วย

โดยดิปโพลโคัส ฮัลโลรัม (Diplodocus hallorum) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของไซส์โมซอรัส มีลักษณะคล้ายคลึงกับดิปโพลโดคัส คาร์เนกี (Diplodocus carnegiei) แค่ก็ต่างกันในส่วนโครงกระดูกขา ของไซส์โมซอรัส มีความเรียวยาวกว่าดิปโพลโดคัส และด้วยขนาดที่แตกต่างกัน โดยดิปโพลโดคัส มีขนาดเล็กกว่าประมาณ25เมตร โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้ สัดส่วนรายละเอียดเหล่านี้เพื่อแยกแยะสกุลของซอโรพอดทั้งสองนี้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]