ไข้ซิกา
ไข้ซิกา (Zika fever) | |
---|---|
ชื่ออื่น | โรคไวรัสซิกา, ซิกา, การติดเชื้อไวรัสซิกา |
ผื่นที่พบในผู้ป่วยไข้ซิกา | |
การออกเสียง |
|
สาขาวิชา | โรคติดเชื้อ |
อาการ | ไข้, ตาแดง, ปวดข้อ, ปวดศีรษะ, ผื่น[1][2][3] |
ภาวะแทรกซ้อน | ภาวะหัวเล็กเกินในทารก (หากมารดาติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์, กลุ่มอาการกิลแลงบาร์เร[4][5][6] |
ระยะดำเนินโรค | น้อยกว่า 1 สัปดาห์[2] |
สาเหตุ | เชื้อไวรัสซิกา ส่วนใหญ่ติดผ่านพาหะคือยุง[2] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายเพื่อหาอาร์เอ็นเอของไวรัส หรือตรวจหาแอนติบอดีในเลือด[1][2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ชิคุนกุนยา, มาลาเรีย, ไข้เลือดออกเดงกี, โรคฉี่หนู, โรคหัด[7] |
การป้องกัน | การป้องกันไม่ให้ยุงกัด, ถุงยางอนามัย[2][8] |
การรักษา | การรักษาประคับประคอง[2] |
การเสียชีวิต | การติดเชื้อเฉียบพลันไม่ทำให้เสียชีวิต[4] |
ไข้ซิกา หรือโรคไวรัสซิกา เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสซิกา[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยคล้ายกับไข้เดงกี[1][9] อาการมักคงอยู่ไม่เกินเจ็ดวัน[2] โดยอาการเหล่านี้เช่น ไข้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดหัว ผื่นแดง เป็นต้น[1][3][2] ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้[9] ภาวะนี้สัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เรอีกด้วย[9]
ไข้ซิกาติดต่อผ่านทางการถูกยุง Aedes เช่น ยุงลาย กัด[2] เป็นส่วนใหญ่ และยังอาจติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์และการถ่ายเลือด[2]ได้ด้วย เชื้ออาจติดต่อผ่านทางมารดาไปยังทารกและทำให้ทารกมีศีรษะเล็กได้[1][9] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจหา RNA ของไวรัสในเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายจากผู้ป่วย[1][2]
การป้องกันทำได้โดยการลดโอกาสการถูกยุงกัดในพื้นที่ที่มีการระบาด[2] ทำได้โดยการใช้สารไล่แมลง การปกคลุมร่างกาย การใช้มุ้ง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเช่นในน้ำนิ่ง[1] ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลดี[2] บุคลากรทางสาธารณสุขเริ่มให้คำแนะนำแก่คู่สามีภรรยาในพื้นที่ระบาดว่าให้ชะลอการมีบุตรออกไปก่อน และแนะนำให้สตรีมีครรภ์งดการเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด[2][10] การรักษาทำได้ด้วยวิธีรักษาประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาจำเพาะที่มีประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เข่นพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ[2] ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล[9]
ไวรัสนี้ถูกแยกได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1947[11] การระบาดในมนุษย์มีบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2007 ในสหพันธรัฐไมโครนีเซีย[2] จนถึงมกราคม ค.ศ. 2016 มีการพบโรคนี้ในกว่า 20 พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา[2] นอกจากนี้ยังพบได้ในแอฟริกา เอเชีย และในเขตแปซิฟิก[1] องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็นหัวข้อฉุกเฉินนานาชาติทางสุขภาพเมื่อกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 หลังจากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศบราซิลเมื่อ ค.ศ. 2015[12]
อาการและอาการแสดง
[แก้]ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย[13] อาการเหล่านี้ได้แก่ ไข้ ผื่น เยื่อบุตาอักเสบ (ตาแดง) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ซึ่งคล้ายคลึงกับอาการของไข้เดงกีหรือไข้ชิคุนกุนยา[14] ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลของระยะฟักตัวที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าอยู่ที่ประมาณ 2-7 วัน[15] ผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการเหล่านี้มักไม่เป็นมากถึงขั้นที่ทำให้ผู้ป่วยเดินทางไปโรงพยาบาล[1][16]
เนื่องจากโรคนี้มีอาการคล้ายกับไข้เดงกี จึงมีความกังวลว่าผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติในลักษณะเดียวกันได้ อย่างไรก็ดีมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเช่นนี้เพียง 1 ราย โดยมีเลือดออกมากับน้ำอสุจิ[17]
กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร
[แก้]พบว่าการติดเชื้อซิกามีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ซึ่งเป็นอาการอ่อนแรงเฉียบพลันที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันตนเองไปทำลายเส้นประสาทส่วนปลาย จึงเกิดเป็นอาการอ่อนแรง[18] แม้จะมีการพบว่ามีผู้ป่วยบางรายป่วยจากกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรและติดเชื้อซิกาไปพร้อม ๆ กัน แต่ก็เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าการติดไวรัสซิกาเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร[19] หลายประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิการายงานว่ามีจำนวนผู้ป่วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่นในการระบาดของไวรัสซิกาในเฟรนช์โปลินีเซียเมื่อ ค.ศ. 2013-2014 มีรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร 42 ราย ในระยะเวลา 3 เดือน สูงกว่าที่พบในภาวะปกติ โดยพบเพียง 3-10 รายต่อปี[20]
ระหว่างการตั้งครรภ์
[แก้]เชื่อกันว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ได้ และทำให้ทารกมีศีรษะเล็ก[21] อย่างไรก็ดีกรณีเช่นนี้ยังมีรายงานตีพิมพ์ไม่มากนัก[22]
พฤศจิกายน 2558 กระทรวงสาธารณสุขบราซิลรายงานว่าตรวจพบความสัมพันธ์ระหว่างไวรัสซิกากับการเกิดภาวะศีรษะเล็กในทารกแรกเกิดในตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล อ้างอิงจากกรณีผู้ป่วยทารกสองรายที่มีภาวะศีรษะเล็กรุนแรง และผลการตรวจเจาะน้ำคร่ำพบมีไวรัสซิกาในน้ำคร่ำ[23][24][25][26] รายงานเมื่อ 5 มกราคม 2559 ระบุว่าผลการตรวจอัลตราซาวนด์ทารกสองรายนี้พบว่ามีศีรษะเล็กจากการที่เนื้อสมองบางส่วนถูกทำลาย[27] ในจำนวนนี้หนึ่งรายพบมีแคลเซียมจับในตาและมีตาเล็กด้วย กระทรวงฯ ของบราซิลได้รายงานยืนยันในเวลาต่อมาว่ากรณีที่เคยมีข้อสังเกตถึงความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อซิกาและการเกิดทารกมีศีรษะเล็กนั้นมีความสัมพันธ์กันจริง โดยตรวจพบผู้ป่วยทารกแรกเกิดมีศีรษะเล็ก 2,400 รายในประเทศใน พ.ศ. 2558 นับจนถึง 12 ธันวาคม และเสียชีวิต 29 ราย[28][29][30][31]
สาเหตุ
[แก้]แหล่งสะสมเชื้อ
[แก้]ไวรัสซิกาเป็นไวรัสในกลุ่มฟลาวิไวรัสซึ่งติดต่อโดยมียุงเป็นพาหะ มีความใกล้เคียงกับไวรัสเดงกีที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เชื้อนี้มียุงเป็นพาหะ แต่สัตว์ที่เป็นแหล่งกักเก็บเชื้อนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่ามีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาอิมมูนในลิงและสัตว์ฟันแทะในแอฟริกาตะวันตก
การติดต่อ
[แก้]โรคนี้ติดต่อผ่านการถูกยุงในจีนัส Aedes (เช่น ยุงลายบ้าน Aedes aegypti) ที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังพบเชื้อนี้ในยุงอื่นๆ เช่น Aedes africanus, Aedes apicoargenteus, Aedes luteocephalus[32], Aedes albopictus[33][34], Aedes vittatus, และ Aedes furcifer[35] การระบาดที่เกาะแยพเมื่อ ค.ศ. 2007 เกิดโดยมียุง Aedes hensilli เป็นพาหะ ในขณะที่การระบาดในเฟรนช์โพลินิเซียเมื่อ ค.ศ. 2013 เกิดโดยมียุง Aedes polynesiensis เป็นพาหะ[36]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Zika virus". WHO. January 2016. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 Chen, LH; Hamer, DH (2 February 2016). "Zika Virus: Rapid Spread in the Western Hemisphere". Annals of internal medicine. PMID 26832396. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 2016-02-05.
- ↑ 3.0 3.1 Musso, D.; Nilles, E.J.; Cao-Lormeau, V.-M. (2014). "Rapid spread of emerging Zika virus in the Pacific area". Clinical Microbiology and Infection. 20 (10): O595–6. doi:10.1111/1469-0691.12707. PMID 24909208.
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อecdc1
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNEJM201604
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2016Cause
- ↑ Bope, Edward T.; Kellerman, Rick D. (2016). Conn's Current Therapy 2017 E-Book (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 635. ISBN 9780323443357. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2016
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Factsheet for health professionals". ecdc.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "EU2015" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Brazil warns against pregnancy due to spreading virus - CNN.com". CNN. สืบค้นเมื่อ 24 December 2015.
- ↑ Haddow, AD; Schuh, AJ; Yasuda, CY; Kasper, MR; Heang, V; Huy, R; Guzman, H; Tesh, RB; Weaver, SC (2012). "Genetic characterization of Zika virus strains: geographic expansion of the Asian lineage". PLoS neglected tropical diseases. 6 (2): e1477. PMID 22389730.
- ↑ "WHO Director-General summarizes the outcome of the Emergency Committee regarding clusters of microcephaly and Guillain-Barré syndrome". WHO. 1 February 2016. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
- ↑ "Symptoms, Diagnosis, & Treatment of Zika Virus". Zika Virus Home. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
- ↑ Heang, Vireak; Yasuda, Chadwick Y.; Sovann, Ly; และคณะ (2012). "Zika Virus Infection, Cambodia, 2010". Emerging Infectious Diseases. 18 (2): 349–351. doi:10.3201/eid1802.111224. ISSN 1080-6040. PMC 3310457. PMID 22305269. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-18. สืบค้นเมื่อ 2016-09-03.
- ↑ "Signs and Symptoms". Zika virus home. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
- ↑ Sikka, Veronica; Chattu, Vijay Kumar; Popli, Raaj K.; และคณะ (11 February 2016). "The emergence of zika virus as a global health security threat: A review and a consensus statement of the INDUSEM Joint working Group (JWG)". Journal of Global Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 8 (1): 3–15. doi:10.4103/0974-777X.176140. ISSN 0974-8245.
- ↑ Foy, Brian D.; Kobylinski, K.C.; Foy, J.L.C.; และคณะ (2011). "Probable Non–Vector-borne Transmission of Zika Virus, Colorado, USA". Emerging Infectious Diseases. 17 (5): 880–882. doi:10.3201/eid1705.101939. ISSN 1080-6040. PMC 3321795. PMID 21529401. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-09-03.
- ↑ Oehler, E; Watrin, L; Larre, P; และคณะ (2014). "Zika virus infection complicated by Guillain-Barré syndrome – case report, French Polynesia, December 2013". Eurosurveillance. 19 (9): 20720. doi:10.2807/1560-7917.ES2014.19.9.20720. ISSN 1560-7917.
- ↑ "Guillain-Barré syndrome Q & A". Centers for Disease Control and Prevention. 8 February 2016. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ Cao-Lormeau, Van-Mai; Blake, Alexandre; Mons, Sandrine; และคณะ (2016). "Guillain-Barré Syndrome outbreak associated with Zika virus infection in French Polynesia: a case-control study". The Lancet. 387: 1531–1539. doi:10.1016/S0140-6736(16)00562-6. ISSN 0140-6736.
- ↑ Schnirring, Lisa (30 November 2015). "Zika virus spreads to more countries". Center for Infectious Disease Research and Policy, U. of Minnesota Academic Health Center. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
- ↑ Duffy, M.R.; Chen, T.H.; Hancock, W.T.; Powers, A.M.; Kool, J.L.; Lanciotti, R.S.; Pretrick, M.; Marfel, M.; Holzbauer, S.; Dubray, C.; Guillaumot, L.; Griggs, A.; Bel, M.; Lambert, A.J.; Laven, J.; Kosoy, O.; Panella, A.; Biggerstaff, B.J.; Fischer, M.; Hayes, E.B. (2009). "Zika Virus Outbreak on Yap Island, Federated States of Micronesia". New England Journal of Medicine. 360 (24): 2536–43. doi:10.1056/NEJMoa0805715. PMID 19516034.
- ↑ "News - Microcephaly in Brazil potentially linked to the Zika virus epidemic, ECDC assesses the risk". European Centre for Disease Prevention and Control. 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
- ↑ Alexandra Sims. "Zika virus: Health alerts in South America and Caribbean following fears illness may cause birth deformities | Americas | News". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
- ↑ "Brazil reports 739 suspected microcephaly cases in nine states". Agenciabrasil.ebc.com.br. 2015-11-24. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
- ↑ "Ministério da Saúde divulga boletim epidemiológico". Portal da Saúde – Ministério da Saúde – www.saude.gov.br. สืบค้นเมื่อ 16 January 2016.
- ↑ Oliveira Melo, A. S.; Malinger, G.; Ximenes, R.; Szejnfeld, P. O.; Alves Sampaio, S.; Bispo de Filippis, A. M. (1 January 2016). "Zika virus intrauterine infection causes fetal brain abnormality and microcephaly: tip of the iceberg?". Ultrasound in Obstetrics & Gynecology. 47 (1): 6–7. doi:10.1002/uog.15831. ISSN 1469-0705. PMID 26731034.
- ↑ (In Portuguese) Governo confirma relação entre zika vírus e epidemia de microcefalia, BBC
- ↑ Blount, Jeb (2015-11-28). "Brazil confirms zica virus link to fetal brain-damage outbreak". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:3
- ↑ "País registra 1.248 casos de microcefalia e sete mortes; maioria em PE - Notícias - Saúde". Noticias.uol.com.br. 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
- ↑ "Aedes luteocephala". Medically Important Mosquitoes. Walter Reed Biosystematics Unit. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
- ↑ Grard, G; Caron, M; Mombo, I M; Nkoghe, D; Ondo, S M; Jiolle, D; Fontenille, D; Paupy, C; Leroy, E M (2014). "Zika Virus in Gabon (Central Africa) – 2007: A New Threat from Aedes albopictus ?". PLOS Negl Trop Dis. 8 (2): e2681. doi:10.1371/journal.pntd.0002681. ISSN 1935-2735. PMC 3916288. PMID 24516683.
- ↑ Wong, PJ; Li, M I; Chong, C; Ng, L; Tan, C (2013). "Aedes ( Stegomyia ) albopictus (Skuse): A Potential Vector of Zika Virus in Singapore". PLOS Negl Trop Dis. 7 (8): e2348. doi:10.1371/journal.pntd.0002348. ISSN 1935-2735. PMC 3731215. PMID 23936579.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHayes2009
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:5
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |