การเจาะน้ำคร่ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การตรวจเจาะน้ำคร่ำ)
การเจาะน้ำคร่ำ
(Amniocentesis)
หัตถการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ICD-9-CM75.1
MeSHD000649

การเจาะน้ำคร่ำ (อังกฤษ: amniocentesis) เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยก่อนการคลอดสำหรับความผิดปกติของโครโมโซม การติดเชื้อในทารก และความผิดปกติอื่นๆ[1] ทำโดยเจาะดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณน้อยจากถุงน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆ ทารกในครรภ์ ในน้ำคร่ำนี้จะมีเนื้อเยื่อของทารกอยู่ สามารถสกัดเซลล์ออกมาตรวจ DNA หาความผิดปกติทางพันธุกรรมได้

ไม่มีข้อบ่งชี้ของการเจาะน้ำคร่ำเพื่อการตรวจวินิจฉัยยืนยันความเป็นบุตร[ต้องการอ้างอิง]

ความเสี่ยงและข้อเสีย[แก้]

การเจาะน้ำคร่ำจะทำในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ หากทำเร็วกว่านี้จะมีความเสี่ยงที่การเจาะจะทำอันตรายต่อแขนขาของทารก ส่วนใหญ่นิยมทำที่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์[2]

งานวิจัยปีค.ศ. 1970 ประเมินความเสี่ยงของการแท้งที่เกิดจากการเจาะน้ำคร่ำไว้ที่ประมาณ 1 ใน 200 (0.5%)[3]

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำคร่ำหลุดอุดหลอดเลือดอีกด้วย[4]

การรั่วของน้ำคร่ำ[แก้]

พบมีการสูญเสียน้ำคร่ำชั่วคราวในหญิงตั้งครรภ์ที่รับการเจาะน้ำคร่ำมากกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้เจาะ แม้อาจไม่ทำให้เกิดผลการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติมากนักก็ตาม[5] การสูญเสียน้ำคร่ำนี้เกือบทั้งหมดเป็นการสูญเสียน้ำคร่ำเพียงเล็กน้อยและมักหยุดได้เองภายใน 1 สัปดาห์ พร้อมกันกับการมีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นกลับมาเท่าปกติ[6][7] การหยุดรั่วนั้นเชื่อว่าไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการซ่อมแซมเยื่อบุที่ถูกเจาะ แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของชั้น decidua และชั้นกล้ามเนื้อมดลูกที่ป้องกันไม่ให้มีการรั่วมากขึ้น

อันตรายโดยตรงต่อทารก[แก้]

โอกาสที่จะเกิดอันตรายโดยตรงต่อทารกจากเข็มเจาะนั้นมีน้อยมากหากใช้การเจาะน้ำคร่ำพร้อมอัลตราซาวนด์ การทดลองแบบสุ่มชิ้นหนึ่งทำกับหญิงตั้งครรภ์ 2239 คนที่ใช้การเจาะน้ำคร่ำพร้อมอัลตราซาวนด์ไม่พบว่ามีอันตรายโดยตรงต่อทารก

อ้างอิง[แก้]

  1. "Diagnostic Tests - Amniocentesis". Harvard Medical School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-07-15.
  2. Sundberg K, Bang J, Smidt-Jensen S; และคณะ (September 1997). "Randomised study of risk of fetal loss related to early amniocentesis versus chorionic villus sampling". Lancet. 350 (9079): 697–703. doi:10.1016/S0140-6736(97)02449-5. PMID 9291904. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |author= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Amniocentesis Risk Overrated?
  4. Dodgson J, Martin J, Boswell J, Goodall HB, Smith R (May 1987). "Probable amniotic fluid embolism precipitated by amniocentesis and treated by exchange transfusion". Br Med J (Clin Res Ed). 294 (6583): 1322–3. PMC 1246486. PMID 3109636.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Tabor, A, Philip, J, Madsen, M, et al. Randomised controlled trial of genetic amniocentesis in 4606 low-risk women. Lancet 1986; 1:1287.
  6. Simpson, JL, Socol, ML, Aladjem, S, Elias, S. Normal fetal growth despite persistent amniotic fluid leakage after genetic amniocentesis. Prenat Diagn 1981; 1:277.
  7. Crane, JP, Rohland, BM. Clinical significance of persistent amniotic fluid leakage after genetic amniocentesis. Prenat Diagn 1986; 6:25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Amniodex is an interactive decision support intervention designed for women faced with the decision of whether to undergo amniocentesis.