ข้ามไปเนื้อหา

ยุงลายบ้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Aedes aegypti
ตัวเต็มวัย
ตัวอ่อน (ลูกน้ำ)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Diptera
วงศ์: Culicidae
สกุล: Aedes
สกุลย่อย: Stegomyia
สปีชีส์: A.  aegypti
ชื่อทวินาม
Aedes aegypti
(Linnaeus in Hasselquist, 1762) [1]
การกระจายพันธุ์ในปี 2006 ของ Aedes aegypti (สีฟ้า) และพื้นที่ระบาดของไข้เด็งกี (สีแดง)
ชื่อพ้อง [1]
  • Culex aegypti Linnaeus in Hasselquist, 1762
  • Culex fasciatus Fabricius, 1805
  • Culex bancrofti Skuse, 1889
  • Mimetomyia pulcherrima Taylor, 1919

ยุงลายบ้าน หรือยุงไข้เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aedes aegypti) เป็นยุงที่สามารถแพร่ไวรัสไข้เด็งกี ชิคุนกุนยา และไข้เหลือง ตลอดจนโรคอื่น ๆ ได้ ยุงลายบ้านสามารถสังเกตได้จากรอยสีขาวที่ขาและเครื่องหมายรูปพิณโบราณ (lyre) บนอก ยุงลายบ้านมีกำเนิดในทวีปแอฟริกา[2] แต่ปัจจุบันพบได้ในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนทั่วโลก[3]

การแพร่กระจายโรค

[แก้]

ยุงลายบ้านเป็นตัวพาหะนำโรคส่งผ่านไข้เขตร้อนหลายโรค ยุงลายบ้านเฉพาะเพศเมียเท่านั้นที่กัดเพื่อดูดเลือดไปใช้ให้ไข่เจริญ ยุงลายบ้านหาเหยื่อโดยจะดึงดูดเข้าหาสารเคมีที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปล่อยออกมา สารประกอบเหล่านี้รวมถึงแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ กรดแลกติกและออคทีนอล นักวิทยาศาสตร์แห่งงานบริการวิจัยการเกษตรได้ศึกษาโครงสร้างเคมีเฉพาะของออคทีนอลเพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดสารเคมีดังกล่าวจึงดึงดูดยุงมายังตัวถูกเบียน (host) พวกเขาพบว่ายุงชอบโมเลกุลออคทีนอลหมุนขวา (dextrorotatory) มากกว่า

คู่มือนักเดินทางเรื่องการป้องกันไข้เด็งกีของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำให้ใช้สารขับไล่ยุงที่มี DEET (เอ็น, เอ็น-ไดเอทิลเมทาโทลูเอไมด์ ความเข้มข้น 20% ถึง 30% ไม่ควรเกินกว่านี้) นอกจากนี้ยังแนะนำดังต่อไปนี้

  1. แม้ว่ายุงลายบ้านมักกัดเวลาตกค่ำ และรุ่งเช้า ในบ้าน ในที่มืด หรือเมื่อมีเมฆมาก แต่ยุงชนิดนี้กัดและแพร่กระจายโรคได้ตลอดปีและทุกช่วงเวลาของวัน[4][5]
  2. ที่วางไข่ของยุงลายบ้านมักเป็นที่น้ำนิ่ง เช่น แจกันดอกไม้ ถังหรือภาชนาที่ไม่มีฝาปิด และยางรถยนต์ที่ทิ้งแล้ว แต่ที่อันตรายที่สุด คือ พื้นฝักบัวเปียกและถังชักโครก เพราะยุงจะเข้ามาแพร่พันธุ์ในที่พักอาศัยได้ มีการวิจัยที่แสดงว่าสารเคมีบางชนิดที่แบคทีเรียปล่อยออกมาในที่เก็บน้ำสามารถกระตุ้นให้ยุงเพศเมียวางไข่ได้ นอกจากนี้ ยุงเพศเมียมักจะถูกกระตุ้นให้วางไข่ในที่เก็บน้ำที่มีปริมาณกรดไขมันบางชนิดพอเหมาะซึ่งกรดไขมันดังกล่าวสัมพันธ์กับแบคทีเรียที่มีส่วนในการย่อยสลายใบไม้และสารอินทรีย์อื่นในน้ำ
  3. สวมเสื้อผ้าแขนยาวและกางเกงขายาวเมื่ออยู่นอกอาคารในช่วงกลางวัน และตอนเย็น
  4. ฉีดพ่นสารขับไล่เพอร์เมธรินหรือ DEET บนเสื้อผ้า เพราะยุงอาจกัดผ่านเสื้อผ้าบาง ๆ ได้
  5. ใช้มุ้งคลุมเหนือเตียงหากห้องนอนไม่ได้ปรับอากาศหรือมีมุ้งลวด สามารถเพิ่มการป้องกันได้โดยชุบมุ้งด้วยยาฆ่าแมลงเพอร์เมธริน (en:Permethrin)
  6. ฉีดพ่นเพอร์เมธรินหรือยาฆ่าแมลงที่คล้ายกันในห้องนอนก่อนเข้านอน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Neal L. Evenhuis & Samuel M. Gon III (2007). "22. Family Culicidae". ใน Neal L. Evenhuis (บ.ก.). Catalog of the Diptera of the Australasian and Oceanian Regions (PDF). Bishop Museum. pp. 191–218. สืบค้นเมื่อ February 4, 2012.
  2. Laurence Mousson, Catherine Dauga, Thomas Garrigues, Francis Schaffner, Marie Vazeille & Anna-Bella Failloux (August 2005). "Phylogeography of Aedes (Stegomyia) aegypti (L.) and Aedes (Stegomyia) albopictus (Skuse) (Diptera: Culicidae) based on mitochondrial DNA variations". Genetics Research. 86 (1): 1–11. doi:10.1017/S0016672305007627. PMID 16181519.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. M. Womack (1993). "The yellow fever mosquito, Aedes aegypti". Wing Beats. 5 (4): 4.
  4. "Travelers' Health Outbreak Notice". Centers for Disease Control and Prevention. June 2, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-26. สืบค้นเมื่อ 2010-08-27.
  5. "Dengue Virus: Vector And Transmission". สืบค้นเมื่อ 19 October 2012.