โลโมโซนิก
โลโมโซนิก | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | สมอลล์รูม (พ.ศ. 2552–2557) วีเรคคอร์ดส (พ.ศ. 2558–2559) สนามหลวงมิวสิก (พ.ศ. 2559–2563) จีนี่ เรคคอร์ด (พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน) |
สมาชิก | อริย์ธัช พลตาล ฉัตรชัย งามสิริมงคลชัย ปิติ สหพงศ์ ชาญเดช จันทร์จำเริญ |
อดีตสมาชิก | มาดสัมฤทธิ์ พสุภา ทองเอก หอศิริธรรม |
โลโมโซนิก (อังกฤษ: Lomosonic) เป็นวงดนตรีแนวร็อกสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 ออกจำหน่ายอัลบั้มแรก ไฟร์เวิกส์ (Fireworks) ในปี พ.ศ. 2552 อัลบั้มที่สอง เอ็กโคแอนด์ไซเลนซ์ (Echo & Silence) ในปี พ.ศ. 2556 อัลบั้มที่สาม แอนทาย-กราวิตี (ANTI-GRAVITY) ในปี พ.ศ. 2560 อัลบั้มอีพี สวีตโบรส์ (SWEET BROS.) และอัลบั้มที่สี่ สวีตโบรส์วิทแบดทีน (Sweet Bros. with Bad Teen) ในปี พ.ศ. 2563 และอัลบั้มที่ห้า พีสส์ออฟเมมโมรี่ส์ (Pieces Of Memories) ในปี พ.ศ. 2565
ประวัติ[แก้]
โลโมโซนิกรวมตัวกันตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[1] โดยครั้งแรกเป็นการรวมตัวเพื่อร่วมแสดงในงานประจำปีและงานปาร์ตีต่าง ๆ และได้เข้าร่วมประกวดรายการประกวดวงดนตรีภายในมหาวิทยาลัย เริ่มจากป้อม ออตโต้ และเอก ซึ่งเรียนรุ่นเดียวกัน จนภายหลังได้ชักชวนบอย ซึ่งเป็นรุ่นน้องได้มาร้องแทนป้อม ส่วนอั๋ม ทางวงได้ใช้บ้านอั้มเป็นแหล่งอัดเพลง หลังจากนั้นบอย ก็ได้ชวนปิติ สมาชิกคนสุดท้าย ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นมาเล่นกีตาร์ในวง จนได้ทำให้เห็นแนวทางของวงที่ชัดเจนขึ้น[2]
แต่เดิมโลโมโซนิกใช้ชื่อเพียงสั้น ๆ ว่า "โลโม่" (ประเภท/ยี่ห้อของกล้องถ่ายรูปชนิดหนึ่ง) ซึ่งชื่อนั้นถูกคิดขึ้นมาในชั่วข้ามคืนเพียงเพื่อต้องมีชื่อวง เพราะต้องการส่งเดโมให้กับค่ายสมอลล์รูม ใน "ไฮเนเก้น แฟต เฟส 5" ภายหลังต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "โลโมโซนิก" (Lomosonic) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
ในปี พ.ศ. 2554 อั๋ม ลาออกจากวงเนื่องจากปัญหาภายใน และแนวทางที่ต่างกันในด้านการทำเพลง ในปี พ.ศ. 2555 เอก ลาออกจากวงเนื่องจากปัญหาที่ต้องทำงานสถาปนิกและไม่มีเวลาให้วง โดยประกาศอย่างเป็นทางการผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กของวง[3] ในปี พ.ศ. 2558 โลโมโซนิกหมดสัญญากับทางค่ายสมอลล์รูม และได้ย้ายมาอยู่สังกัดวีเรคคอร์ดส[4][5] ออกซิงเกิลแรกชื่อว่า "คำตัดสิน" (Heartbeat)[6] และซิงเกิลที่สองชื่อว่า "เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด"[7]
สมาชิก[แก้]
|
|
- เส้นเวลา

ผลงาน[แก้]
ผลงานเพลงของโลโมโซนิก | |
---|---|
ปกอัลบั้ม ไฟร์เวิกส์ | |
สตูดิโออัลบั้ม | 4 |
อีพี | 1 |
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
ชื่ออัลบั้ม | รายละเอียด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
ไฟร์เวิกส์ (Fireworks) |
|
|
เอ็กโคแอนด์ไซเลนซ์ (Echo & Silence) |
|
|
แอนทาย-กราวิตี (Anti-Gravity) |
|
|
สวีตโบรส์วิทแบดทีน (Sweet Bros. with Bad Teen) |
|
Sweet Bros.
Bad Teen
|
พีสส์ออฟเมมโมรี่ส์ (Pieces Of Memories) |
|
|
อีพี[แก้]
ชื่ออัลบั้ม | รายละเอียด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
สวีตโบรส์ (Sweet Bros.) |
|
|
ซิงเกิล[แก้]
ปี | รายชื่อเพลง | อัลบั้ม |
---|---|---|
2552 | "ได้หรือไม่ได้" | Fireworks |
"วัน" | ||
"ดอกไม้ไฟ" | ||
"บาด" | ||
2554 | "ใครจะหยุดความเหงา" | Echo & Silence |
2555 | "ถึงเวลา..." (WAKE) | |
"ความรู้สึกของวันนี้" (FELT) | ||
2556 | "อยากจะรักแค่ไหน" (AWAY MESSAGE) | |
"เก็บไว้" (ECHO) | ||
"ขอ (WARM EYES) | ||
2557 | "เพลงรัก" (LOVE SONG) | |
"หลงทาง" (HOME) | ||
2558 | "คำตัดสิน" (HEARTBEAT) | Sweet Bros. with Bad Teen |
"เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด" (BIRTH) | Anti-Gravity | |
2559 | "ปล่อย" (NOISE) | |
"เพลงกลับบ้าน" (LULLABY) (ร่วมกับ POD) | ||
2560 | "หลอก" (NAIVE) | |
"ความอ่อนแอ" (FEELING) | ||
"ทางที่ลมผ่าน" (VERANDA) | ||
"เพชฌฆาตพายุนางฟ้า" (ANTI-GRAVITY) | ||
"ส่งมือ" (TRUST) | ||
2561 | "หากโลกนี้ไม่มีความรัก" (EVERYDAY OCCURRENCE) (ร่วมกับ POD) | |
"กอด" (AIRPORT) | ||
"SORRY" (ZERO GRAVITY) | ||
2562 | "Tonight We Run" | Sweet Bros. with Bad Teen |
"กลัวความคิดถึงของฉันจะทำร้ายเธอ" (AFRAID) | ||
"ดับดวงอาทิตย์" (SHUT DOWN THE SUN) (ร่วมกับ Twopee) | ||
"ยอมแพ้" (SURRENDER) | ||
2563 | "วันที่ฉันไม่อยู่" (TOMORROW) | |
"ยังไม่ถึงเวลา" (TIMING) | ||
"ไม่ใช่ความรัก" (LOSER) (ร่วมกับ โป่ง หินเหล็กไฟ) | ||
"รักครั้งสุดท้าย" (MY MAGNET) | ||
"คนขี้อ่อย" (FLIRT!) | ||
2564 | "หมดรัก" (EXPIRE) | Pieces Of Memories |
"ส่งเธอได้เท่านี้" (GOODBYE) | ||
"ได้โปรดจดจำฉันไว้" (MEMORY) | ||
2565 | "นักซิ่งเจ้าน้ำตา" (ROUTE11) | |
"ฉันไม่คุ้นเคยกับความเหงา" (LONELINESS) |
ซิงเกิ้ลอื่นๆ[แก้]
- "เมด อิน ไทย แลนด์" (ต้นฉบับ คาราบาว) (ประกอบซีรีส์ Carabao The Series)
- "เจ้าตาก" (ต้นฉบับ คาราบาว) (ประกอบซีรีส์ Carabao The Series)
- "สิ่งดีดี" (ต้นฉบับ Goose]) (ประกอบภาพยนตร์ Together วันที่รัก)
- "เล่นของสูง" (ต้นฉบับ บิ๊กแอส)
- "เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ)" (ต้นฉบับ เพชร โอสถานุเคราะห์) (ประกอบภาพยนตร์ ขุนแผน ฟ้าฟื้น)
- "เธอไม่ได้เดียวดาย" (DEAR YOUTH,) (เพลงพิเศษแด่แฟนเพลง)
บี-ไซดส์[แก้]
"MERCHNDISC VOL.1" ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็น ดีที่ประกอบไปด้วย Tour diary และ Interview ความยาว 20 นาที และเพลงเดโมที่ไม่ได้บรรจุในอัลบั้มดอกไม้ไฟ 4 เพลง รวมถึงเพลงพิเศษที่ทางวงได้คัฟเวอร์เล่นในโอกาสต่าง ๆ วางขายเพียง 100 แผ่นในงาน FAT FESTIVAL ครั้งที่ 9
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต BIG MAX RS@SMALLROOM THE MUSIC คั่น เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2552 ร่วมกับ โฟร์-มด, เฟย์ ฟาง แก้ว, ลิเดีย, กระแต อาร์สยาม, แทททู คัลเล่อร์, เดอะริชแมนทอย และ เลม่อนซุป
- คอนเสิร์ต Lomosonic T Minus Zero 29 มีนาคม 2557 ณ แจ้งวัฒนะฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ
- Lomosonic Anti-Gravity Concert 2 กันยายน 2560 ณ เมืองไทย จีเอ็มเอ็ม ไลฟ์เฮาส์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
- คอนเสิร์ต Lomosonic Home #เป็นวัยรุ่นไม่มีบ้านให้กลับ 22 ธันวาคม 2562 ณ จีเอ็มเอ็ม ไลฟ์เฮาส์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
ผลงานอื่น ๆ[แก้]
- เพลง "ต้องทำอย่างไรให้ลืมเธอ" ขับร้องโดย บอย อยู่ในอัลบั้ม Compilation ชื่อ Leisure Songs โดย Smallroom
- เพลงโฆษณา "กระทิงแดง" ชุดรวม (เป้าหมายมีไว้พุ่งชน) เปิดช่วงฟุตบอลโลก 2010 ขับร้องโดย บอย
- เพลง "เชื่อใจ" ความยาว 3 นาที ประกอบโฆษณา cockpit ขับร้องโดย บอย
- เพลง 'ตัวประกัน' โดยศิลปิน Poobomb ในอัลบั้ม Smallroom007 'Boutuque' เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียง อัดเครื่องดนตรีและเสียงร้องทั้งหมดโดย ป้อม โลโมโซนิค และ บู้ เสลอ
- ป้อม ฉัตรชัย เคยสร้างผลงานมากมายในระหว่างศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษาแต่ที่เป็นที่จดจำและพูดถึงมากที่สุดก็คือเพลง ศึกษานารี และ วายร้าย ไวรัส
รางวัล[แก้]
ปี | รางวัล | สาขา | เสนอชื่อเข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|---|
2552 | แชนแนลวีไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ด 2009 | มิวสิกวิดีโอเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม | ได้หรือไม่ได้ | เสนอชื่อเข้าชิง |
2565 | TOTY Music Awards 2021[9] | มิวสิควีดีโอแห่งปี | ส่งเธอได้เท่านี้ (Goodbye) | ชนะ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ SoA+D (School of Architecture and Design)
- ↑ lomosonic
- ↑ แถลงการณ์จากมือเบส ทองเอก เรื่องลาออกจากวง lomosonic
- ↑ Lomosonic -- Facebook
- ↑ FongBeer WeRecords -- Facebook
- ↑ คำตัดสิน (HEARTBEAT) - LOMOSONIC【OFFICIAL MV】
- ↑ LOMOSONIC - เพราะความรักมันไม่เลือกเวลาเกิด【OFFICIAL LYRICS VIDEO】
- ↑ 'โลโมโซนิค'สังกัดสมอลล์รูม ปล่อยเพลงช้าซึ้ง'อยากจะรักแค่ไหน
- ↑ สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (March 1, 2022). "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2021 Tilly Birds คว้า 4 รางวัลใหญ่ 4EVE คว้ารางวัล Best Music of the Year และ Best Female Group". The Standard. สืบค้นเมื่อ March 1, 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเพลง ดนตรี หรือ เครื่องดนตรีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดนตรี |