โตโยต้า พริอุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตโยต้า พริอุส
2016 Toyota Prius (ZVW50L) Hybrid liftback (2016-04-02) 01.jpg
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เริ่มผลิตเมื่อธันวาคม 2540–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภท
รูปแบบตัวถังรถเก๋ง 4 ประตู (2540–2546)
ลิฟต์แบ็ก 5 ประตู (2546–2558)
ฟาสต์แบ็ก 5 ประตู (2559–ปัจจุบัน)
โครงสร้างเครื่องวางหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า
ขับเคลื่อนสี่ล้อ
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • 1.5 L 1NZ-FXE DOHC I4 (รุ่นแรก และ รุ่นที่ 2)
  • 1.8 L 2ZR-FXE I4 VVT-i (Atkinson cycle) (รุ่นที่ 3 และ รุ่นที่ 4)
มอเตอร์ไฟฟ้าตั้งแต่ 30 kW (40 hp) จนถึง 81 kW (109 hp)
ระบบเกียร์e-CVT

โตโยต้า พริอุส (อังกฤษ: Toyota Prius) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง ของค่ายรถยนต์โตโยต้า เป็นรถรุ่นแรกของโลกที่นำระบบเครื่องยนต์ไฮบริดมาใช้ในเชิงพาณิชย์ (รถยนต์ไฮบริด คือ รถยนต์ที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบตเตอรี่มาช่วยในการขับเคลื่อนในบางสถานการณ์ ทำให้รถยนต์ที่ใช้ระบบไฮบริดประหยัดน้ำมันได้ประมาณ 30-50%) เริ่มการผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน

โฉมที่ 1 (XW10; พ.ศ. 2540–2546)[แก้]

รุ่น NHW10
รุ่น NHW11

พริอุสรุ่นแรก เปิดตัวในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 มีตัวถังแบบเดียว คือ ซีดาน 4 ประตู ในช่วงก่อน พ.ศ. 2544 พริอุสใช้รหัส NHW10 มีขายเฉพาะในประเทศจีน เท่านั้น ยกเว้นบริษัทนำเข้าอิสระในประเทศต่างๆ จำนำรถมือหนึ่ง และ รถมือสองที่ถูกใช้แล้ว ส่งออกมายังประเทศตนเองบ้างเล็กน้อย หลังจากนั้น พริอุสเปลี่ยนไปใช้รหัสตัวถัง NHW11 โตโยต้าได้ส่งออกไปขายนอกประเทศจีนโดยตรง

พริอุสจะใช้เกียร์อัตโนมัติ CVT เป็นมาตรฐาน มีอัตราการใช้น้ำมันที่ประหยัดมาก (17.5 - 17.9 กม./ลิตร ในการวิ่งปกติ) และได้รับการตัดสินจากองค์กร CARB (California Air Resources Board) ให้เป็นรถยนต์มลพิษต่ำพิเศษ (Super Ultra Low Emission Vehicle)

โฉมที่ 2 (XW20; พ.ศ. 2546–2552)[แก้]

2nd Toyota Prius.jpg

พริอุสรุ่นที่ 2 ใช้รหัส NHW20 ได้เปลี่ยนมาผลิตตัวถังแบบแฮทช์แบ็ก 5 ประตู (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงสั้น คล้าย ฮอนด้า แจ๊ซ, โตโยต้า ยาริส ฯลฯ) พริอุสได้รับออกแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น (19.2 - 20.4 กม./ลิตร ในการวิ่งปกติ)

ด้านความปลอดภัย มีองค์กรต่างๆ ได้ไปทำการทดสอบการชน กับรถพริอุส โดยมีผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีในรุ่นที่มีถุงลมนิรภัย Airbags รอบคัน แต่รุ่นที่ไม่มีถุงลมนิรภัย Airbags ในด้านข้าง มีผลการทดสอบที่ค่อนข้างไม่น่าพอใจ

โฉมที่ 3 (XW30; พ.ศ. 2552–2558)[แก้]

พรีอุส ไฮบริด

โตโยต้า พริอุสรุ่นที่ 3 ใช้รหัส ZVW30 ใช้ตัวถังแบบลิฟต์แบ็ก 5 ประตูเช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้า เปิดตัวที่งานแสดงรถยนต์อเมริกาเหนือเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 เป็นรุ่นปี 2010[1] ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2552 มีการผลิตพรีอุสรุ่นนี้ไปแล้วกว่า 1,688,000 คันทั่วโลก[2]

โตโยต้า พริอุส รุ่นนี้มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของตัวรถเพียง 0.25 และมีครีบหลังใต้ท้องรถช่วยให้รถทรงตัวได้ที่ความเร็วสูง

ระบบขับเคลื่อน[แก้]

ZVW30[แก้]

รุ่นนี้มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร เครื่องยนต์เบนซินสี่สูบเรียง (รุ่นก่อน 1.5 ลิตร) มีแรงม้า 73 kW; 99 PS (98 hp) รวมกับพลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า 20 kW; 27 PS (27 hp) ได้แรงม้ารวมเป็น 100 kW (134 hp) (รุ่นก่อน 110 hp) ซึ่งเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้นนี้ทำให้แรงบิดเพิ่มขึ้น รอบต่อนาที (rpm) ต่ำลง ทำให้ประหยัดน้ำมันเมื่อขับขี่บนทางหลวง นอกจากนี้ยังมีปั๊มน้ำไฟฟ้าทำให้เครื่องยนต์ของพรีอุสไม่จำเป็นต้องมีสายพานยิ่งทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น[3] ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบไฮบริดก็เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น[4] โตโยต้าประเมินว่าอินเวอร์เตอร์ มอเตอร์ และเพลาส่งกำลังแบบใหม่จะเบาลง 20 เปอร์เซ็นต์ และมีแบตเตอรีนิกเกิลไฮไดรด์ 1.3 กิโลวัตต์ติดตั้งที่ใต้ท้องรถ

ZVW35: รุ่นปลั๊กอิน[แก้]

พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริด จัดแสดงที่งานแสดงรถยนต์แฟรงก์เฟิร์ตประจำปี ค.ศ. 2011
พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริด

ตัวต้นแบบของโตโยต้า พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดได้ถูกแสดงในงานแสดงรถยนต์โตเกียวประจำปี 2009 งานแสดงรถยนต์แฟรงก์เฟิร์ตประจำปี 2009 และงานแสดงรถยนต์ลอสแอนเจลิสประจำปี 2009 ในจำนวนจำกัดสำหรับโปรแกรมสาธิตตัวต้นแบบนี้ ตัวต้นแบบนี้พัฒนามาจากตัวไฮบริดรุ่นที่สามและมาพร้อมกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 5.2 กิโลวัตต์[5][6] สามารถขับด้วยระบบไฟฟ้าล้วนได้ 21 กิโลเมตร (13 ไมล์)[7] โปรแกรมสาธิตพรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดได้ผลิตพรีอุสที่เป็นตัวทดลองกว่า 600 คันเริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2552 สำหรับการทดสอบในประเทศญี่ปุ่น ยุโรป แคนาดา จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา[8][9][10]

ส่วนพรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดรุ่นผลิตจริงได้เปิดตัวที่งานแสดงรถยนต์แฟรงก์เฟิร์ตประจำปี 2011 จากการทดสอบด้วยโปรแกรมสาธิตได้ทำให้พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นด้วยขนาดแบตเตอรี่ที่เล็กลงเป็น 4.4 กิโลวัตต์ แต่ได้ระยะทางขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าล้วนได้ 23 กิโลเมตร (14.3 ไมล์)[11] พรีอุส ปลั๊กอิน ไฮบริดเริ่มต้นจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 สหรัฐอเมริกาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ และตลาดยุโรปเมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน[12][13][14]

การตลาดในประเทศไทย[แก้]

โตโยต้า พรีอุสรุ่นที่สามได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยเป็นการนำเข้าสิ้นส่วนมาประกอบในประเทศ (CDK) เป็นรถโตโยต้าไฮบริดรุ่นที่สองหลังจากโตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด โดยพรีอุสมีรุ่นย่อยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ Top Grade ราคา 1,260,000 บาท และ Standard Grade 1,190,000 บาท โดยทุกรุ่นมีระบบสัญญาณไฟเบรกกระพริบเมื่อเบรกกะทันหัน ระบบควบคุมการทรงตัว (VSC) ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (TRC) ระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) และถุงลมนิรภัย 7 จุดในทุกรุ่นย่อย

ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 โตโยต้าได้เปิดตัวพรีอุสรุ่นปรับโฉมในประเทศไทย โดยมีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบด้านหน้าของตัวรถใหม่ มีรุ่นย่อยทั้งหมด 3 รุ่น คือรุ่น Standard 1,199,000 บาท, รุ่น Top 1,299,000 บาท และรุ่น Top Option 1,369,000 บาท โดยรุ่น Top Option จะมีระบบระบายอากาศอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Ventilation System)

ประกาศยกเลิกผลิตพรีอุสประสบปัญหาเรื่องยอดขายและภาษีในประเทศไทย[แก้]

ในวันที่ 18 กันยายน 2558 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยแจ้งหยุดผลิตโตโยต้า พรีอุสหลังจากที่มีปัญหาเกี่ยวกับยอดขายที่ไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้และปัญหาเกี่ยวกับภาษีนำเข้า โดยโตโยต้าได้เผชิญกับข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าชิ้นส่วนประกอบพรีอุส ทางโตโยต้าเองได้ออกมาชี้แจงว่าบริษัทไม่ได้นำเข้ารถยนต์พริอุสเข้ามาทั้งคันตามที่ถูกพาดพิง และได้ชี้แจงอีกว่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ทุกชิ้นได้มีการแสดงเอกสารอย่างถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย รวมถึงได้รับอนุมัติการนำเข้าและตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาวันที่ 15 ก.ย.65 ศาลฎีกาภาษีอากรกลางนัดอ่านคำพิพากษาชั้นฎีกา คดีข้อพิพาทการจัดเก็บภาษีนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่พรีอุสโดยมีโจทก์ (ผู้ฟ้อง) คือ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และมีจำเลย (ผู้ถูกฟ้อง) คือกรมศุลกากร โจทก์ร้องขอให้ศาลภาษีอากรเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน อ้างว่าตนเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนแล้ว ในชั้นศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร ตุลาการในคดีมีเห็นว่า ชิ้นส่วนรถยนต์ที่โจทก์นำเข้าเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว จะมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของพรีอุสและสามารถนำไปประกอบเป็นรถยนต์โตโยต้า พรีอุสได้ทันที จึงต้องจัดให้อยู่ในประเภท “ชิ้นส่วนที่สมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว” พิกัด 8703.23.51 (ตามช่วงที่นำเข้า) ซึ่งต้องจ่ายภาษีในอัตรา 80% เช่นนี้จึงไม่เข้ากรณีที่จะได้รับการลดอัตราภาษีตาม JTEPA

วันที่ 19 กันยายน 2565 นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามที่ศาลมีคำพิพากษาให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ต้องชำระค่าภาษีอากรต่อกรมศุลกากรราว 1 หมื่นล้านบาท ภายใน 1 เดือน หลังจากวันที่มีคำพิพากษานั้น ล่าสุด ทางบริษัทได้ประสานงานเข้ามาแล้ว ซึ่งตามคำพิพากษาบริษัทต้องจ่ายทั้งหมดนั้น เป็นการรวมทั้งภาษีส่วนที่ขาด พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ส่วนกรณีหากเอกชนไม่สามารถจ่ายได้ในคราวเดียวนั้น ก็ต้องทำเรื่องขอผ่อนชำระเข้ามา แต่ทางกรมไม่สามารถไปผ่อนปรนให้ก่อนได้

โฉมที่ 4 (XW50; พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน) [แก้]

โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 ด้านหน้า
โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 ด้านหลัง
โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 Facelift (Taiwan)

โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 ได้เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ที่เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจำหน่ายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ตามด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 และเดือนกุมภาพันธ์ในยุโรป โดยโตโยต้าคาดหวังไว้ว่าจะขายโตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 นี้ได้ 12,000 คันต่อเดือนและ 300,000 ถึง 350,000 คันต่อปีในประเทศญี่ปุ่น

โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 4 ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลทฟอร์มใหม่ที่มีชื่อว่า Toyota New Global Architecture (TNGA) ซึ่งออกแบบให้มีจุดศุนย์ถ่วงต่ำลงกว่าเดิมและทำให้โครงสร้างของรถแข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงช่วงล่างใหม่ ทำให้โตโยต้า พริอุส รุ่นนี้มีการขับขี่ที่คล่องตัวมากขึ้น ส่วนภายนอกนั้นมีการออกแบบใหม่เพื่อปรับปรุงหลักอากาศพลศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการทำการตกแต่งภายในให้มีพื้นที่กว้างขวางมากขึ้น โดยตัวถังภายนอกมีความยาวเพิ่มขึ้น 61 มิลลิเมตร กว้างขึ้น 15 มิลลิเมตร ขณะที่ความสูงลดลง 20 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับโฉมที่ 3

โฉมที่ 5 (XW60; พ.ศ. 2566) [แก้]

โตโยต้า พริอุส รุ่นที่ 5

ล่าสุดมีการทดสอบวิ่ง TOYOTA Prius เจเนอเรชั่นใหม่ ซึ่งไฟหน้าดูเหมือนจะใช้ภาษาการออกแบบใหม่ของ Toyota Crown series มีรายงานว่า พรีอุสใหม่ จะใช้เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ 2.0 ลิตร ผสานเทคโนโลยีไฮบริด และ ปลั๊กอินไฮบริด ใหม่ บนพื้นฐาน TNGA-C

ปัจจุบัน Prius ในไทยได้ยกเลิกจำหน่ายไปแล้ว แต่สำหรับต่างประเทศยังคงจำหน่ายต่อไป แม้ไม่ได้รับความนิยมเหมือนอดีต รถยนต์ไฮบริดอย่างพรีอุส สมควรแล้ว ที่จะได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมด และมันมีแนวโน้มที่จะได้ขุมกำลัง ไฮบริด และ ปลั๊กอินไฮบริด PHEV รวมทั้งปรับดีไซน์ให้ทันยุคสมัย รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ นับตั้งแต่การเปิดตัว Toyota Prius ในปี 1997 รถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นแรกของโลกที่มาพร้อมระบบไฮบริด และได้รับการพัฒนาจนถึงเจนที่ 4 ที่เปิดตัวในปี 2015 แม้ว่าความนิยมรถซีดานจะลดลง แต่โตโยต้ายังคงจะสานต่อการพัฒนา พรีอุส

Bestcarweb.jp นิตยสารรถยนต์ญี่ปุ่นได้เผยว่า Prius ใหม่จะมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดครั้งใหญ่ในปี 2023 นั่นคือเจนที่ 5 ใหม่ แน่นอนว่า Prius ได้รับการออกแบบบนพื้นฐานแพล็ตฟอร์ม TNGA-C (Toyota New Global Architecture) เน้นการออกแบบที่ทันสมัย สปอร์ตมากกว่าปัจจุบัน ว่ากันว่า รูปลักษณ์ภายนอกแบบสปอร์ตคูเป้มากกว่ารถครอบครัว นอกจากนี้การออกแบบภายในที่ล้ำยุคจะเป็นจุดขายของพรีอุสรุ่นต่อไป

พร้อมติดตั้ง Toyota Safety Sense 3.0 รุ่นล่าสุด เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของทุกรุ่น

  • ระบบเตือนความปลอดภัยก่อนการชน Pre-Collision System
  • ระบบช่วยควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน Dynamic Radar Cruise Control (DRCC) แบบ Full-Speed
  • ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง RCTA (Rear Cross Traffic Alert)
  • ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตาที่กระจกมองข้าง Blind Spot Monitor (BSM)
  • ระบบช่วยเตือนเมื่อออกนอกเลน Lane Departure Alert (LDA)
  • ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่กลางเลน Lane Trace Assist (LTA)
  • ระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ Automatic High Beam
  1. "2010 Toyota Prius Revealed - Specs, Images, and more". Automoblog.net. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  2. Toyota Europe News (2013-07-03). "Worldwide Prius sales top 3-million mark; Prius family sales at 3.4 million". Green Car Congress. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
  3. "Official Toyota Specifications (Flash Site includes link to informative press release)". Toyota.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  4. Garrett, Jerry (2009-03-26). "Hybrid Superstar Shines Brighter". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-01-01.
  5. Abuelsamid, Sam (2009-12-14). "Toyota officially launches plug-in Prius program, retail sales in 2011". Autoblog Green. สืบค้นเมื่อ 2009-12-22.
  6. "2010 Prius Plug-in Hybrid Makes North American Debut at Los Angeles Auto Show; First Li-ion Battery Traction Battery Developed by Toyota and PEVE". Green Car Congress. 2009-12-02. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  7. John Stewart (2010-04-21). "2010 Toyota Prius Plug-In Hybrid First Drive". Edmunds.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  8. "Toyota Prius Plug-in Hybrid Demo Program". Toyota. สืบค้นเมื่อ 2010-04-09.
  9. "TMC Introduces 'Prius Plug-in Hybrid' into Key Markets". Toyota News release. 2009-12-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-09.
  10. "Toyota to Start Trials of Plug-in Prius in China". Green Car Congress. 2010-04-25. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  11. Sebastian Blanco (2011-09-14). "2012 Toyota Prius Plug-In Hybrid now offers 111 MPGe". AutoblogGreen. สืบค้นเมื่อ 2011-09-16. See details in Toyota Press Release
  12. Takeshi Narabe (2012-05-10). "Toyota rolls out rechargeable Prius plug-in hybrid". Asahi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-01. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
  13. John Voelcker (2012-04-03). "Plug-In Car Sales Soar in March, Led By Chevrolet Volt". Green Car Reports. สืบค้นเมื่อ 2012-04-03.
  14. Toyota Motor Europe (2012-07-13). "Solid 13% Q2 sales increase for Toyota and Lexus vehicles in Europe". Toyota Media Press Release. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-08-07.