เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
![]() | |
บทบาท | เครื่องบินรบหลากบทบาท |
---|---|
ชาติกำเนิด | ![]() |
บริษัทผู้ผลิต | แมคดอนเนลล์ ดักลาส/โบอิง |
บินครั้งแรก | 29 กันยายน พ.ศ. 2538 |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2544 |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพเรือสหรัฐ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2538 ถึงปัจจุบัน |
จำนวนที่ผลิต | ทั้งหมด 350 ลำเมื่อถึงปีพ.ศ. 2551[1] |
มูลค่า | 55.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2551) |
พัฒนามาจาก | เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท |
แบบอื่น | อีเอ-18จี โกรว์เลอร์ |
เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท (อังกฤษ: F/A-18E/F Super Hornet) เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีชนิดที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เอฟ/เอ-18อีนั้นเป็นแบบที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟนั้นเป็นแบบสองที่นั่งที่มีขนาดใหญ่และก้าวหน้ากว่าเอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีอาวุธเป็นปืนใหญ่อากาศขนาด 20 ม.ม.และสามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้หลากหลาย สามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงสำรองได้ถึงห้าถัง และยังสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้ด้วยการเติมระบบเติมเชื้อเพลิงเข้าไป
ด้วยการที่ถูกออกแบบและผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2538 การผลิตเต็มอัตราเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 หลังจากที่แมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้ากับโบอิงหนึ่งเดือนก่อนหน้า ซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2542 เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-14 ทอมแคทตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 และทำงานร่วมกับฮอร์เน็ทแบบดั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2550 กองทัพอากาศออสเตรเลียได้สั่งซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพื่อเข้าแทนที่กองบินเอฟ-111
การพัฒนา[แก้]
ต้นกำเนิด[แก้]
ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นแบบที่มีขนาดใหญ่กว่าและก้าวหน้ากว่าของเอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท รุ่นก่อนหน้าได้ทำตลาดโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสโดยใช้ชื่อว่าฮอร์เน็ท 2000 เมื่อต้นทศวรรษที่ 1980 ความคิดของฮอร์เน็ท 2000 ถูกนำไปดัดแปลงให้ก้าวหน้าเป็นเอฟ/เอ-18 พร้อมปีกที่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวที่ยาวกว่าเพื่อบรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเครื่องยนต์[2]
การบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ เผชิญหน้ากับปัญหามากมายในต้นทศวรรษที่ 1990 โครงการเอ-12 อเวนเจอร์ได้มุ่งมั่นที่จะเข้ามาแทนที่เอ-6 อินทรูเดอร์และเอ-7 คอร์แซร์ 2 ได้ประสบปัญหาและต้องถูกยกเลิกไป ในเวลานี้เองที่สงครามเย็นสิ้นสุดลงส่งผลให้กองทัพมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการตัดงบ[3] โดยปราศจากโครงการที่ดีกองทัพเรือได้มองว่าการนำแบบเดิมที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้ดีขึ้นดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยการเป็นอีกทางเลือกของเอ-12 แมคดอนเนลล์ ดักลาสได้เสนอโครงการ"ซูเปอร์ฮอร์เน็ท"ที่จะพัฒนาเอฟ/เอ-18[4] และทำหน้าที่เป็นสิ่งที่จะมาแทนที่เอ-6 อินทรูเดอร์ ในเวลาเดียวกันนั้นกองทัพเรือต้องการกองบินสำหรับการป้องกันเพื่อเข้าทำหน้าที่โครงการเดิมที่ถูกยกเลิกไป ซึ่งเป็นข้อเสนอที่จะทำให้เอฟ-22 แร็พเตอร์ใช้งานกับกองทัพเรือได้[2]
เปลี่ยนสู่ซูเปอร์ฮอร์เน็ท[แก้]
ซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกสั่งซื้อครั้งแรกโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2535 กองทัพเรือยังได้สั่งโดยตรงว่าเครื่องบินที่จะมาแทนที่เอฟ-14 ทอมแคทนั้นต้องเน้นเรื่องการต่อสู้ทางน้ำเป็นหลักจนกว่าจะมีการนำเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ใช้[5] กองทัพเรือยังคงใช้ชื่อเอฟ/เอ-18 เพื่อช่วยให้โครงการดูน่าสนใจต่อสภาคองเกรสที่มันเป็นแบบดัดแปลง แม้ว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทจะเป็นเครื่องบินที่ใหม่เกือบหมดก็ตาม ฮอร์เน็ทและซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีความคล้ายคลึงกันที่รวมทั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศ เก้าอี้ดีดตัว เรดาร์ อาวุธ ซอฟต์แวร์ และขั้นตอนในการใช้งานและบำรุงรักษา ในเอฟ/เอ-18อี/เอฟจะมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่คล้ายคลึงกับเอฟ/เอ-18ซี/ดีมากกว่า[2]

ซูเปอร์ฮอร์เน็ททำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538[2] การผลิตครั้งแรกของเอฟ/เอ-18อี/เอฟเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2538 การบินทดสอบเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2539 พร้อมกับการลงจอดครั้งแรกบนเรือบรรทุกเครื่องบินในปีพ.ศ. 2540[2] การผลิตอัตราต่ำเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540[6] พร้อมกับการผลิตเต็มอัตราที่เริ่มขึ้นในเดือนกันยายนพ.ศ. 2540[7] การทดสอบดำเนินไปจนถึงปีพ.ศ. 2542 สิ้นสุดด้วยการทดสอบทางทะเลและการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ การทดสอบมีการบิน 3,100 เที่ยวกินเวลาบินไป 4,600 ชั่วโมง[4] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทประสบกับการทอสอบของกองทัพเรือสหรัฐฯ และทำการเปลี่ยนแปลงในปีพ.ศ. 2542[8] และได้รับการยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543[9]
ความสามารถในการปฏิบัติการขึ้นแรกหรือไอโอซี (Initial Operational Capability) สำเร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 พร้อมกับฝูงบินที่ฐานทัพเลมอร์ในแคลิฟอร์เนีย กองทัพเรือพบว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นสมราคาและตามความต้องการ[10]
แม้ว่าจะมีระบบและรูปลักษณ์ที่เหมือนกัน ซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นแตกต่างอย่างมากจากเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า"ไรโน่"เพื่อแยกแยะมันจากฮอร์เน็ทรุ่นก่อนที่เรียกว่า"ลีเจซี่"และหลีกเลี่ยงความสับสนทางวิทยุ สิ่งนี้ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการบิน เพราะระบบส่งเครื่องบินนั้นต้องตั้งค่าต่างกันไปสำหรับซูเปอร์ฮอร์เน็ทที่มีน้ำหนักมากว่า "ไรโน่"เริ่มใช้กับเอฟ-4 แฟนทอม 2 ซึ่งถูกปลดประจำการในปีพ.ศ. 2530
ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐฯ ใช้ทั้งเอฟ/เอ-18อีที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟสองที่นั่งสำหรับการต่อสู้ โดยเข้ามาแทนที่เอฟ-14 เอ-6 อินทรูเดอร์ เอส-3 ไวกิ้ง และเคเอ-6ดี สำหรับแบบสงครามอิเลคทรอนิกอีเอ-18จี โกรว์เลอร์ที่จะเข้าแทนที่อีเอ-6บี โพรว์เลอร์ ในสงครามเวียดนามความสามารถของซูเปอร์ฮอร์เน็ทเทียบได้กับเอ-1/เอ-4/เอ-7 เอ-6 เอฟ-8/เอฟ-4 เออาร์-5ซี เคเอ-3/เคเอ-6 และอีเอ-6 มันเป็นที่คาดกันว่าจะประหยัดเงินได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ในกองบินที่นำซูเปอร์ฮอร์เน็ทมาแทนที่เครื่องบินชนิดอื่นๆ[11]
ในปีพ.ศ. 2546 กองทัพเรือได้ระบุถึงข้อบกพร่องที่ส่วนติดตั้งใต้ปีของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ซึ่งสามารถลดอายุการใช้งานของมันได้หากไม่ทำการซ่อมแซม ปัญหาได้รับการแก้ไขนำไปสู่เครื่องบินใหม่ที่จะเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2552[12]
ในต้นปีพ.ศ. 2551 โบอิงได้ปรึกษาเรื่องการสร้างซูเปอร์ฮอร์เน็ทบล็อก 3 พร้อมกับกองทัพสหรัฐฯ และออสเตรเลีย มันจะเป็นการพัฒนารุ่นที่ 4.75 พร้อมกับความสามารถในการล่องหนและพิสัยที่เพิ่มขึ้น มันจะเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2567 โดยเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 6[13]
การออกแบบ[แก้]
ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีขนาดใหญ่กว่าฮอร์เน็ทธรรมดา 20% น้ำหนักเปล่าที่มากกว่า 3,000 กิโลกรัม และน้ำหนักสูงสุดที่มากกว่า 6,800 กิโลกรัม ซูเปอร์ฮอร์เน็ทบรรทุกเชื้อเพลิงภายในได้มากกว่า 33%[14] เพื่อเพิ่มพิสัยการทำภารกิจอีก 41% และความคงทนมากกว่า 50% น้ำหนักเปล่าของซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือประมาณ 5,000 กิโลกรัมซึ่งน้อยกว่าเอฟ-14 ทอมแคท ในขณะที่การบรรทุกอาวุธก็ไม่เท่าเทียมกับเอฟ-14 ทั้งๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า [15]
การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง[แก้]
ลำตัวส่วนหน้าไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีส่วนคล้ายคลึงเพียงเล็กน้อยกับแบบเอฟ/เอ-18ซี/ดี[14] ลำตัวถูกยืดออกไปอีก 34 นิ้ว (0.86 ม.) เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับเชื้อเพลิงและระบบอิเลคทรอนิกอากาศและเพิ่มพื้นที่ปีกอีก 25%[16] อย่างไรก็ตามซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีส่วนที่น้อยกว่าฮอร์เน็ทดั้งเดิม 42%[17] เครื่องยนต์เจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ414 ได้พัฒนามาจากเครื่องยนต์เอฟ404 ของฮอร์เน็ทแต่ทรงพลังกว่า 35%[16] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทสามารถกลับสู่เรือบรรทุกเครื่องบินพร้อมกับเชื้อเพลิงและอาวุธที่มากกว่าฮอร์เน็ทดั้งเดิม ความสามารถนี้เรียกว่า"บริงแบ็ค" (Bringback) บริงแบ็คสำหรับซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นคือน้ำหนักที่เพ่มขึ้น 4,000 กิโลกรัม[18]
ความแตกต่างอื่นยังรวมทั้งช่องรับลมทรงเหลี่ยมและปีกเพิ่มสำหรับติดอาวุธ (ทั้งหมด 11 ตำบล)[19] ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลกด้านอากาศพลศาสตร์ที่สำคัญคือปีกเสริมที่ส่วนหน้าหรือเล็กซ์ (leading edge extension, LEX) ซึ่งสร้างแรงลมที่จะยกจนเกิดมุมปะทะระดับสูง และลดความไม่สเถียรเพื่อเพิ่มการเอียง มันส่งผลให้อัตราการเลี้ยวได้มากถึง 40 องศาต่อวินาที[14] และแรงต้านทานระดับสูงเพื่อปลีกออกจากการบิน[20]
การลดการตรวจจับจากเรดาร์[แก้]
ความอยู่รอดคือสิ่งสำคัญของซูเปอร์ฮอร์เน็ท กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้นำความสมดุลเข้ามาในการออกแบบ[21] นี่หมายความว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีซ่อนตัวอย่างระบบล่องหน เพื่อแยกออกจากปัจจัยอื่นๆ แทนที่จะเป็นแบบนั้นการออกแบบของมันทำงานร่วมกับการล่องหน ความสามารถในสงครามอิลเคทรอนิก ลดความอ่อนแอต่อขีปนาวุธ เพื่อใช้อาวุธจากระยะที่ปลอดภัย และยุทธวิธีใหม่ซึ่งรุนแรงและเป็นหมู่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องบินขับไล่และลูกเรือ[22]
โครงสร้างเรดาร์ของเอฟ/เอ-18อี/เอฟได้ลดอย่างมากจากบางมุมมอง โดยเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง[2] การออกแบบของช่องรับลมเครื่องยนต์ลดโครงสร้างด้านหน้าในเรดาร์ของเครื่องบิน การวางตำแหน่งของปีกเสริมของเครื่องยนต์ถูกออกแบบมาเพื่อกระจายรัศมีไปที่ด้านข้าง โครงสร้างในช่องรับลมจะเปลี่ยนทิศทางของพลังงานเรดาร์ไปจากใบพัดที่กำลังหมุน[23]
ซูเปอร์ฮอร์เน็ทยังมีการวางตำแหน่งที่เชื่อมต่อแผงต่างๆ แบบซี่เลื่อน สิ่งที่ดึงดูดความสนใจถูกนำออกหรือหลุมที่สร้างเสียงดัง ที่ซึ่งเอฟ/เอ-18เอ-ดีใช้ตะแกรงเพื่อปกปิดไอเสียและช่องรับลม เอฟ/เอ-18อี/เอฟใช้แผงที่เจาะเป็นรูซึ่งเรดาร์จะเห็นไม่ชัด มีการวางตำแหน่งของแผงที่ระมัดระวังอย่างมากเพื่อกระจายคลื่นที่ส่งมาจากเรดาร์ให้ออกไปจากเครื่องบิน[2]
มันเป็นที่อ้างกันว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทใช้การลดเรดาร์ที่เยี่ยมที่สุดเหนือเครื่องบินขับไล่ในสมัยเดียวกันในขณะนั้น
ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ[แก้]
ระบบอิเลคทรอนิกอากาศและซอฟต์แวร์ดั้งเดิมของซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีความเหมือนกับเอฟ/เอ-18ซี/ดี 90%[24] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีจุดเด่นที่คันบงคับ จอแสดงผล ขนาดที่ใหญ่กว่า จอแสดงผลสีแบบแอลซีเอ็ม และจอแสดงผลเชื้อเพลิงเครื่องยนต์แบบใหม่[24] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีระบบฟลายบายไวร์ (fly-by-wire) สี่ระบบ[25] เช่นเดียวกับระบบควบคุมการบินดิจิตอลซึ่งตรวจจับและมองหาความเสียหาย[20] รุ่นแรก ที่ผลิตออกมานั้นใช้เรดาร์แบบเอพีขี-73 ต่อมาถูแทนที่โดยเอพีจี-79
อิฟราเรดจับเป้าด้านหน้าแบบเอเอ็น/เอเอสคิว-228 เป็นเซ็นเซอร์และตัวชี้เป้าเลเซอร์หลักของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ระบบป้องกันทำงานร่วมกันผ่านระบบไอดีอีซีเอ็ม (Integrated Defensive Countermeasures system) ระบบนี้รวมทั้งเครื่องปล่อยพลุแบบเอแอลอี-47 พลุเอแอลอี-50 เรดาร์เตือนภัยแบบเอเอ็น/เอแอลอาร์-67(วี)3 เครื่องป้องกันการรบกกวนทางอากาศเอแอลคิว-165 และระบบเตือนภัยขีปนาวุธอัลตราไวโอเลตและอินฟราเรดแบบเอเอ็น/เอเออาร์-47 ลูกเรือมีความสามารถที่จะใช้กล้องมองกลางคืนอีกด้วย
บทบาทในการเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิง[แก้]

ซูเปอร์ฮอร์เน็ทไม่เหมือนกับฮอร์เน็ทรุ่นก่อนหน้าตรงที่มันสามารถติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศหรือเออาร์เอสได้ (aerial refueling system, ARS) เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กับเครื่องบินลำอื่น[26] ระบบเออาร์เอสรวมทั้งถังด้านนอกขนาด 330 แกลลอนสหรัฐฯ (1,200 ลิตร) พร้อมกับท่อและถังด้านนอกขนาด 480 แกลลอนสหรัฐฯ (1,800 ลิตร) สี่ถัง และถังภายในทำให้มีเชื้อเพลิงทั้งสิ้น 13,000 กิโลกรัม (29,900 ปอนด์)[26][27]
การพัฒนา[แก้]
มันเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2548 เครื่องบินที่สร้างใหม่ได้รับเรดาร์เอพีจี-79 สำหรับเครื่องบินที่ผลิตออกมาก่อนหน้านั้นที่ใช้เรดาร์เอพีจี-73 ก็จะถูกแทนที่โดยเอพีจี-79 เช่นกัน[28] เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เครื่องบินที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจำนวน 135 ลำได้รับเรดาร์แบบใหม่[29]
เรดาร์เอพีจี-79 แบบใหม่นั้นให้ข้อได้เปรียบหลายอย่างกับซูเปอร์ฮอร์เน็ท เรดาร์ใหม่นี้สามารถทำให้ลูกเรือทำการโจมตีแบบอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้ในเวลาเดียวกัน เอพีจี-79 ยังให้แผนที่ที่มีการประมวลผลที่ดีกว่าจากระยะที่ปลอดภัย[30] เรดาร์ยังสามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดเล็กอย่างขีปนาวุธที่พุ่งเข้ามาได้อีกด้วย[31]
พลุล่อเป้าไฟเบอร์ออปติกแบบเอเอ็น/เอแอลอี-55 จะเข้ามาแทนที่เอแอลอี-50[32] ตัวรบกวนแบบเอเอ็น/เอแอลคิว-214 ถูกเพิ่มเข้าไปในซูเปอร์ฮอร์เน็ทบล็อก 2[33]
การพัฒนาครั้งแรกของซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือระบบหมวกพิเศษหรือเจเอชเอ็มซีเอส (Joint Helmet Mounted Cueing System, JHMCS) ถูกส่งให้กับฝูงบินเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 หมวกพิเศษนี้ทำให้ลูกเรือมีความระมัดระวังมากขึ้น ระบบชาร์ป (Shared Reconnaissance Pod, SHARP) ซึ่งเป็นระบบลาดตระเวนทางยุทธวิธีนั้นก็มีความสามารถที่จะทำงานได้ทั้งกลางวันหรือกลางคืนและทุกสภาพอากาศ [34]
ในอนาคตการตรวจจับเป้าหมายในอากาศจะใช้อินฟราเรดหาและติดตามแบบไออาร์เอสที (Infrared Search and Track, IRST) ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์พิสัยไกลที่จะส่งคลื่นอินฟราเรดอันเป็นทางออกที่ไม่เหมือนใคร อุปกรณ์ใหม่นี้จะถูกสร้างเข้าไปในที่ด้านหน้าของถังเชื้อเพลิงกลาง คาดกันว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานได้ในปีพ.ศ. 2556[35]
การทำงาน[แก้]
- การโจมตีตอนกลางวันและกลางคืนด้วยอาวุธนำวิถีที่แม่นยำ
- สงครามต่อต้านอากาศยาน
- เครื่องบินขับไล่คุ้มกัน
- การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด
- การกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรู
- การโจมตีทางทะเล
- ลาดตระเวน
- ควบคุมอากาศส่วนหน้า
- การเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
- ปล่อยใบปลิว[36]
ประวัติการใช้งาน[แก้]
กองทัพเรือสหรัฐฯ[แก้]

หน่วยแรกที่ได้รับเอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 115 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เอฟ/เอ-18อีสองลำได้ทำการสนับสนุนให้กับปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์โดยเข้าจัดการกับขีปนาวุธพื้นสู่อากาศที่อัลคัทและศูนย์ป้องกันทางอากาศและบังเกอร์ที่ฐานทัพอากาศทัลลิล นักบินนายหนึ่งชื่อจอห์น เทอร์เนอร์ได้ทิ้งระเบิดเจแดมขนาด 900 กิโลกรัมเป็นครั้งแรกของเอฟ/เอ-18อี
ในการสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 41 และ 115 ได้บินเข้าทำการสนับสนุนทางอากาศ โจมตี คุ้มกัน กดดันการป้องกันทางอากาศ และเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ เอฟ/เอ-18อีสองลำจากฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 และเอฟ/เอ-18เอฟสองลำจากฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 41 ถูกใช้งานที่แนวหน้าบนเรือยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 ทำหน้าที่ในการเติมเชื้อเพลิงและฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 41 เป็นการควบคุมทางอากาศแนวหน้า
ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2548 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 154 และ 147 ได้ทำการทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ขนาด 500 ปอนด์เข้าใส่เป้าหมายที่เป็นศัตรูในทางตะวันออกของแบกแดด[37]
ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 211 ใช้เอฟ/เอ-18เอฟซูเปอร์ฮอร์เน็ทพร้อมระเบิดจีบียู-12 และจีบียู-38 เข้าโจมตีกลุ่มตาลิบันและที่มั่นทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคานดาฮาร์ นี่เป็นครั้งแรกที่หน่วยได้ทำการรบโดยใช้ซูเปอร์ฮอร์เน็ท[38]
ในปีพ.ศ. 2549-2550 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 103 และ 143 บนเรือยูเอสเอส ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์ ได้ทำการสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก เอ็นดัวริ่งฟรีดอม และปฏิบัติการตามชายฝั่งโซมาลี และพร้อมกับฮอร์เน็ทดั้งเดิมของฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 131 และ 83 พวกเขาได้ทำการทิ้งระเบิด 140 ลูก และทำการยิงกราดเกือบ 70 ครั้ง[39]
ในปีพ.ศ. 2550 โบอิงได้เสนอเอฟ/เอ-18อี/เอฟเพิ่มให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยจะใช้สัญญาหลายปี[40] ในปีพ.ศ. 2551 มีการรายงานว่ากองทัพเรือกำลังตัดสินใจที่จะซื้อเอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพิ่มเพื่อเติมช่องว่างของเครื่องบินขับไล่โจตี[41][42] เมื่อถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 โบอิงได้ส่งซูเปอร์ฮอร์เน็ท 367 ลำให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ[43] ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมได้ประกาศว่ากระทรวงกลามโหมตั้งใจที่จะมีเอฟ/เอ-18อี/เอฟเพิ่มอีก 31 ลำในปีพ.ศ. 2553[44]
กองทัพอากาศออสเตรเลีย[แก้]
ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลออสเตรเลียได้ทำสัญญาเพื่อให้ได้เอฟ/เอ-18เอฟ 24 ลำให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลียเป็นจำนวนเงิน 6 พันล้านดอลลาร์อออสเตรเลีย เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-111[45] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นผลมาจากการห่วงว่าเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 อาจจะสร้างไม่ทันตอนที่เอฟ-111 ปลดประจำการ นักบินและนายทหารควบคุมการโจมตีทางอากาศของกองทัพอากาศออสเตรเลียจะเริ่มทำการฝึกในสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2552 พร้อมกับฝูงบินหมายเลข 1 และ 6 ที่จะพร้อมปฏิบัติการกับเอฟ/เอ-18เอฟในปีพ.ศ. 2553
การสั่งซื้อได้รับการยืนยันเกิดการโต้แย้งขึ้น พร้อมกับปัญหาที่รวมทั้งนายทหารที่ปลดประจำการบางส่วน รองจอมพลอากาศปีเตอร์ คริสส์ได้กล่าวว่าเขาประหลาดใจอย่างมากที่พบว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะใช้เงิน 6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียไปกับเครื่องบินชั่วคราว[46] คริสส์ยังได้กล่าวถึงหลักฐานที่ได้รับมาก่อนที่ขณะกรรมการด้านอาวุธของสหรัฐฯ จะว่าเอฟ/เอ-18เอฟนั้นด้อยกว่ามิก-29 และซู-30[47] ซึ่งเข้าประจำการแล้วเรียบร้อยหรือไม่ก็ถูกสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้การอากาศเท็ด บุชเฮลได้กล่าวว่าเอฟ/เอ-18เอฟไม่สามารถทำหน้าที่ที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบหมายให้มันได้ และการออกแบบโครงสร้างของเอฟ-111 นั้นยังเหมาะคงกับบทบาททางยุทธวิธีจนถึงปีพ.ศ. 2563[46] บ้างการคัดค้านกล่าวว่าการตัดสินใจซื้อเอฟ/เอ-18เอฟมีเพียงไว้เพื่อที่จะขายซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับออสเตรเลียได้ง่ายเท่านั้น โครงการเอฟ-35 ควรจะประสบกับปัญหา [48]
แพ็คเกจเริ่มแรกที่เสนอต่อกองทัพอากาศออสเตรเลียมีดังนี้[49]
- เครื่องยนต์ 48 เครื่องและ 6 เครื่องสำรอง
- เรดาร์แบเอพีจี-79
- การเชื่อมต่อแบบลิงก์ 16 กับเอเอ็น/ยูเอสคิว-140
- ที่ยิงขีปนาวุธนำวิถีแอลเอยู-127
- กล้องมองกลางคืนแบบเอเอ็น/พีวีเอส-9
- ระบบภารกิรร่วมหรือเจเอ็มพีเอส (Joint Mission Planning System, JMPS) 12 เครื่อง
- พลุล่อเป้าไฟเบอร์ออปติกแบบเอเอ็น/เอแอลอี-55
ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลแรงงานออสเตรเลียได้ประกาศว่าจะมีการทบทวนการซื้ออันเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนในแผนการกองทัพอากาศออสเตรเลีย พร้อมกับความเป็นไปได้ของการสั่งซื้อเอฟ/เอ-18เอฟที่อาจถูกลดลงหรือยกเลิก เหตุผลหลักคือความเหมาะสมในการปฏิบัติการ ขาดความเหมาะสมในการตรวจสอบกระบวนการ และความเชื่อที่ว่าเครื่องบินชั่วคราวไม่เป็นที่ต้องการนัก[50]
ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551รัฐบาลได้ประกาศว่าจำดำเนินแผนเพื่อให้ได้เอฟ/เอ-18เอฟทั้งหมด 24 ลำ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโจเอล ฟิทซ์กิบบอนกล่าวว่ารัฐบาลได้สรุปว่ามันเป็นการจำเป็นที่จะสั่งซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ท ถึงแม้ว่าพวกมันยังคงได้รับคำวิจารณ์จากการวางแผนของรัฐบาลก่อน เขากล่าวว่าไม่มีเครื่องบินที่เหมาะสมที่จะสร้างออกมาในปีพ.ศ. 2553 สำหรับความต้องการเอฟ-111 ที่ตั้งโดยรัฐบาลเก่าและมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บเอฟ-111 ให้ทำงานในปัจจุบัน[51] รัฐบาลยังได้มองหาอีเอ-18จี โกรว์เลอร์ที่อาจส่งออกด้วย[52] ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโจเอล ฟิทซ์กิบบอนได้ประกาศว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ท 12 จาก 24 ลำจะเข้าการผลิตที่ดัดแปลงให้เป็นอีเอ-18จี มันมีราคาประมาณ 35 ล้านดอลาร์ออสเตรเลีย การตัดสินใจสุดท้ายในการดัดแปลงให้เป็นอีเอ-18จีที่มีมูลค่า 300 ล้านดอลาร์ออสเตรเลียนั้นจะเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2565[53]
การประกอบซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลียครั้งแรกเริ่มในเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงงานของโบอิงในเซนท์หลุยส์รัฐมิสซูรี[54]
ประเทศที่อาจเป็นผู้ใช้งานในอนาคต[แก้]
โบอิงได้เสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับมาเลเซียโดยเป็นส่วนหนึ่งของการซื้อเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทในปีพ.ศ. 2545 อย่างไรก็ตามการจัดซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกระงับหลังจากที่รัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะซื้อซุคฮอย ซู-30เอ็มเคเอ็มแทนในปีพ.ศ. 2550 แต่นายพลดาทัค นิค อิสมาไล นิค มูฮาเม็ดได้กล่าวว่ากองทัพอากาศมาเลเซียไม่ได้วางแผนที่จะยุติการจัดซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพราะพวกเขาต้องการมัน[55]
โบอิงได้ส่งข้อเสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับรัฐบาลเดนมาร์กและบราซิลในปีพ.ศ. 2551 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดสามลำในการแข่งขันของเดนมาร์กเพื่อหาสิ่งที่จะมาแทนที่เอฟ-16 จำนวน 48 ลำ[56][57] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 มีการรายงานว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสามที่เข้าแข่งขันในบราซิล บราซิลเริ่มต้องการเครื่องบินเป็นจำนวน 36 ลำพร้อมกับความเป็นไปได้ในการซื้อทั้งสิ้น 120 ลำ[58][59]
โบอิงตกลงในข้อเสนอสำหรับการแข่งขันเครื่องบินรบหลากบทบาทของอินเดียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 แบบอื่นของซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเสนอให้กับอินเดียนั้นชื่อเอฟ/เอ-18ไอเอ็น มันจะรวมทั้งเรดาร์เอพีจี-79 ของเรย์ธีออน[1] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 โบอิงตกลงในข้อเสนอให้กับอินเดียเพื่อแสดงความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทของอินเดียเพื่อทำการผลิต[60]
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 โบอิงได้เสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทในโครงการของกรีซ[61]
แบบต่างๆ[แก้]
- เอฟ/เอ-18อี ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เป็นแบบหนึ่งที่นั่ง
- เอฟ/เอ-18เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เป็นแบบสองที่นั่ง
- อีเอ-18จี โกรว์เลอร์ รุ่นสำหรับสงครามอิเลคทรอนิกของเอฟ/เอ-18เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท กล่าวว่าจะเริ่มทำการผลิตในปีพ.ศ. 2551 โดยพร้อมใช้งานในปีพ.ศ. 2552 อีเอ-18จีจะเข้าแทนที่อีเอ-6บี โพรว์เลอร์ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

- กองทัพอากาศออสเตรเลีย สั่งซื้อไว้ 24 ลำ
รายละเอียด เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท[แก้]
- ลูกเรือ นักบินหนึ่งนายสำหรับเอฟ/เอ-18อี สองนายสำหรับเอฟ/เอ-18เอฟ
- ความยาว 18.31 เมตร
- ความยาวระหว่างปลายปีกทั้งสองข้าง 13.62 เมตร
- ความสูง 4.88 เมตร
- พื้นที่ปีก 46.45 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 13,900 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมอาวุธ 21,320 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 29,900 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเจเนรัล อิเลคทริก เอฟ414-จีอี-400 สองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 13,000 ปอนด์ และ 22,000 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
- ความจุเชื้อเพลิงภายใน 6,530 กิโลกรัม (เอฟ/เอ-18อี) 6,145 กิโลกรัม (เอฟ/เอ-18เอฟ)
- ความจุเชื้อเพลิงภายนอก 7,430 กิโลกรัม (ด้วยถังขนาด 480 แกลลอนห้าถัง)
- ความเร็วสูงสุด มากกว่า 1.8 มัค[10] (1,915 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ที่ความสูง 40,000 ฟุต
- พิสัยบิน 2,346 กิโลเมตรพร้อมเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์สองลูก[10]
- รัศมีทำการรบ 722 กิโลเมตรสำหรับภารกิจแอบเข้าประเทศ[62]
- พิสัยในการขนส่ง 3,330 กิโลเมตร
- เพดานบิน 50,000 ฟุตขึ้นไป
- น้ำหนักบรรทุกที่ปีก 453 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- อาวุธ
- ปืน ปืนใหญ่อากาศแบบแกทลิ่งเอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอกที่จมูก พร้อมกระสุน 578 นัด
- จรวด
- ระเบิด
- เจแดม
- ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ตระกูลเพฟเวย์
- ระเบิดมาร์ค 80
- ซีบียู-87
- ระเบิดปล่อยทุ่นระเบิดซีบียู-89
- ซีบียู-97
- ระเบิดพวง ซีบียู-100
สื่อบันเทิง[แก้]
เอฟ/เอ-18 เอฟเป็นเครื่องบินที่ถูกยิงตกโดยกองกำลังเซอร์เบียในภาพยนตร์เรื่องบีไฮนด์ เอ็นเนมี ไลน์ส
ดูเพิ่ม[แก้]
- การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
- เครื่องบินที่เทียบเท่า
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "Boeing Delivers Proposal to Equip Indian Air Force with Super Hornet Fighters", Boeing, 24 April 2008. Accessed 29 April 2008.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Jenkins, Dennis R (2000). F/A-18 Hornet: A Navy Success Story. New York City: McGraw-Hill. ISBN 0071346961.
- ↑ Donald 2004, p. 45.
- ↑ 4.0 4.1 F/A-18E/F Super Hornet program milestones
- ↑ Young, J., Anderson, R., Yurkovich, R., AIAA-98-4701, "A Description of the F/A-18E/F Design and Design Process", 7th AIAA/USAF/NASA/ISSMO Symposium on Multidisciplinary Analysis and Optimization, St. Louis, Missouri, 2-4 September 1998. (F/A-18E intended to replace A-6 and F-14D)
- ↑ F/A-18E/F Super Hornet Approved For Low-Rate Production
- ↑ F/A-18E/F Super Hornet Enters Production
- ↑ Operational and Test Evaluation of F/A-18E/F and F-22 review to Senate Armed Services Committee เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 22 March 2000.
- ↑ DoD Special Briefing on "Super Hornet" Operation Evaluation Results
- ↑ 10.0 10.1 10.2 F/A-18 fact file เก็บถาวร 2014-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 13 October 2006.
- ↑ "The F/A-18E/F Super Hornet: Tomorrow's Air Power Today". National Defense Industrial Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PPT)เมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ Cavas, Christopher P. (2007-05-18). "Navy, Boeing downplay alleged F/A-18 problems". Navy Times.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Fulghum, David A. (2008-01-30). "Boeing Plans Sixth Generation Fighter With Block 3 Super Hornet". Aviation Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Kopp, C. "Flying the F/A-18F Super Hornet", AusAirPower.net, 2001.
- ↑ Bob Kress and RADM Gilchrist USNRet "F-14D Tomcat vs. F/18 E/F Super Hornet" เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Flight Journal Magazine, February 2002 Issue "it has only 36 percent of the F-14's payload/range capability"
- ↑ 16.0 16.1 Donald 2004, pp. 49-52.
- ↑ F/A-18E/F Super Hornet - maritime strike attack aircraft
- ↑ Ready On Arrival: Super Hornet Joins The Fleet เก็บถาวร 2006-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Navy League, June 2002.
- ↑ Elward 2001, pp. 74-75.
- ↑ 20.0 20.1 F/A-18E/F Super Hornet page, Boeing
- ↑ Gaddis, BD. F/A-18 & EF-18G Program brief เก็บถาวร 2008-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 24 April 2007.
- ↑ F/A-18-E/F Super Hornet .... Leading Naval Aviation into the 21st Century เก็บถาวร 2011-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, Accessed 13 December 2007.
- ↑ Donald 2004, pp. 50-51, 56.
- ↑ 24.0 24.1 Elward 2001, p. 77.
- ↑ Winchester, Jim. The Encyclopedia of Modern Aircraft, p. 166. Thunder Bay Press, 2006. ISBN 1-59223-628-6.
- ↑ 26.0 26.1 "Boeing Super Hornet Demonstrates Aerial Refueling Capability", Boeing Global Strike Systems, April 14, 1999.
- ↑ Donald 2004, p. 76.
- ↑ Boeing Frontiers: F/A-18E/F Block II upgrades add to Super Hornet's potent arsenal, Boeing, June 2005.
- ↑ "Raytheon to Provide Revolutionary AESA Capabilities to 135 F/A-18s", Raytheon, 23 January 2008.
- ↑ New APG-79 AESA Radars for Super Hornets เก็บถาวร 2007-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Defense Industry Daily, April 26, 2005.
- ↑ "New U.S. Navy Radar Detects Cruise Missiles". Aviation Week and Space Technology. 2007-04-30.
{{cite news}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - ↑ AN/ALE-55 Fiber Optic Towed Decoy, Globalsecurity.org
- ↑ Navy Details New Super Hornet Capabilities เก็บถาวร 2012-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Aviation Week and Space Technology, February 25, 2007
- ↑ Raytheon Awarded Navy Contract to Increase SHARP System Capability, October 4, 2006
- ↑ Boeing Selects Supplier for Super Hornet Block II Infrared Search and Track Capability, July 2, 2007.
- ↑ U.S.N. photo of PDU-5 leaflet drop[ลิงก์เสีย]
- ↑ USS Carl Vinson CVN-70 History
- ↑ "Strikes Continue; ISAF Air Component Commander Visits Big E". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ "CVW-7 Sailors Complete an Eight-Month Deployment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ Trimble, Stephen. "US Navy Super Hornet deal could cut JSF numbers", Flight International, 23 July 2007.
- ↑ "U.S. Navy Mulls New F/A-18E/F Buy"[ลิงก์เสีย], DefenseNews.com, 5 March 2008.
- ↑ "Where Have all the Strike Fighters Gone?", Tailhook Daily Briefing, October 2008.
- ↑ Boeing F/A-18E/F Super Hornet a Finalist in Brazil Fighter Aircraft Competition. Boeing Press Release, St. Louis, MO, October 1, 2008.
- ↑ http://www.defenselink.mil/transcripts/transcript.aspx?transcriptid=4396
- ↑ Super Hornet Acquisition Contract Signed
- ↑ 46.0 46.1 The 7.30 Report, "Nelson stands by fighter jet decision", Australian Broadcasting Corporation (ABC), (Transcript, broadcast March 15, 2007) Access date: April 13, 2007.
- ↑ Criss, Peter. "There is nothing super about this Hornet", Sydney Morning Herald, March 15, 2007. Access date: May 9, 2007.
- ↑ Richard Baker "The Hornet's nest" The Age, July 9, 2007
- ↑ Australia – F/A-18E/F Super Hornet Aircraft เก็บถาวร 2009-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Defense Security Cooperation Agency, 6 February 2007.
- ↑ Allard, Tom (2007-12-31). "Axe set to fall on Nelson's fighters". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
{{cite news}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help) - ↑ Govt to keep Super Hornets The Age, March 3, 2008
- ↑ Dodd, Mark (2008-08-15). "RAAF likes the sound of the Growler". The Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ "SUPER HORNETS WIRED FOR FUTURE UPGRADE". Department of Defence. 2009-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ Boeing Press Release, December 17, 2008
- ↑ "Super Hornets, Awacs may feature in RMAF modernisation plans". Utusan Malaysia. 2007-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Warwick, Graham. "Boeing Submits Danish Super Hornet Proposal" เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Aviation Week, 28 August 2008.
- ↑ "Boeing, US Navy Offer Super Hornet for Denmark Fighter Competition", Boeing, 27 August 2008.
- ↑ Trimble, Stephen. "Brazil names three finalists for F-X2 contract, rejects three others", Flight International, 6 October 2008.
- ↑ "Boeing F/A-18E/F Super Hornet a Finalist in Brazil Fighter Aircraft Competition", Boeing, October 1, 2008.
- ↑ "Boeing Submits Combat Aircraft Industrial-Participation Proposal to Indian Government", Boeing, 4 August 2008.
- ↑ "Boeing to Offer Super Hornet for Greece's Next-Generation Fighter Program". Boeing. Boeing. March 10, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.
- ↑ F/A-18E/F Super Hornet page, FAS.org.
- ↑ F/A-18E/F Super Hornet page on Aerospaceweb.org
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เอฟ-18 ฮอร์เน็ท |
- แฟ้ม เก็บถาวร 2009-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนและประวัติเอฟ/เอ-18 ของกองทัพเรือสหรัฐ เก็บถาวร 2014-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทใน Boeing.com
- เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทใน NorthropGrumman.com เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทในและแผนผังของเอฟ/เอ-18 ใน GlobalSecurity.org
- เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทใน Vectorsite.net
- เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทใน on Ausairpower.net
- "เครื่องบินจากยูเอสเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ทิ้งระเบิดใส่ศัตรูในอัฟกานิสถาน" เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Stars and Stripes, 13 October 2006
- "เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท บล็อก 2 ทำการบินเหนือสถานนีอากาศกองทัพเรือที่โอเซียนา", Boeing, 8 January 2007