ดักลาส เอ-4 สกายฮอว์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอ-4 สกายฮอว์ค)
เอ-4 สกายฮอว์ก
บทบาทเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตแมคดอนเนลล์ ดักลาส
ดักลาส แอร์คราฟต์
ผู้ออกแบบเอ็ด ไฮน์เนแมน
บินครั้งแรก22 มิถุนายน พ.ศ. 2497
เริ่มใช้ตุลาคม พ.ศ. 2499
ปลดประจำการกองทัพเรือสหรัฐ พ.ศ. 2546
กองนาวิกโยธินสหรัฐ พ.ศ. 2541
สถานะอยู่ในประจำการของประเทศอื่นที่ไม่ใช่สหรัฐฯ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพเรือสหรัฐ
กองนาวิกโยธินสหรัฐ
จำนวนที่ผลิต2,960 ลำ
มูลค่า860,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ 500 ลำแรก
แบบอื่นเอ-4เออาร์ ไฟท์ติ้งฮอว์ก
เอ-4เอสยู ซูเปอร์สกายฮอว์ก

เอ-4 สกายฮอว์ก (อังกฤษ: A-4 Skyhawk) เป็นเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่ออกแบบมาให้กับกองทัพเรือสหรัฐและนาวิกโยธินสหรัฐ มันเป็นเครื่องบินปีกสามเหลี่ยมที่มีเครื่องยนต์ไอพ่นหนึ่งเครื่องที่ออกแบบและผลิตโดยบริษัท ดักลาส แอร์คราฟต์ (เปลี่ยนเป็นบริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส ในเวลาต่อมา) สกายฮอว์กเดิมทีมีชื่อว่า เอ 4 ดี (A-4D) ตามระบบระบุชื่อของกองทัพเรือสหรัฐ ใน พ.ศ. 2505

ห้าสิบปีหลังจากที่มันได้บินครั้งแรกและได้มีทบาทสำคัญในสงครามเวียดนามและสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ สกายฮอว์กเกือบ 3,000 ลำยังคงอยู่ในประจำการทั่วโลก รวมทั้งบนเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือบราซิล

รายละเอียด เอ-4 สกายฮอว์ก[แก้]

  • ผู้สร้าง : บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส(สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท: เจ๊ตโจมตีทิ้งระเบิด ที่นั่งเดียว ประจำเรือบรรทุกอากาศยาน
  • เครื่องยนต์ : ทอร์โบเจ๊ต แพรทท์ แอนด์วิทนีย์ เจ 52 พี-8 เอ ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 4,218 กิโลกรัม 1 เครื่อง
  • กางปีก : 8.38 เมตร
  • ยาว : 12.22 เมตร
  • สูง : 4.57 เมตร
  • พื้นที่ปีก : 24.15 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า : 4,747 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ : 11,113 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูงในการบินระดับปกติ : 1,038 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราไต่ : 43เมตร/วินาที
  • พิสัยบินไกลสุด : 3,220กิโลเมตร
  • อาวุธ :
    • ปืนใหญ่อากาศ ขนาด 20 มม. พร้อมกระสุนกระบอกละ 100 นัด 2 กระบอกที่โคนปีก
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ไซด์ไวน์เดอร์
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้น บลูพับ
    • จรวดยิงจากอากาศสู่อากาศ
    • จรวดยิงจากอากาศสู่พื้น
    • ลูกระเบิดแรงสูง
    • ลูกระเบิดนิวเคลียร์
    • ตอร์ปีโด
    • กระเปาะปืนที่ใต้ลำตัว 1 ตำบล
  • รับน้ำหนักได้ 3,500 ปอนด์ ที่ใต้ปีกข้างละ 2 ตำบล ตำบลด้านในรับน้ำหนักอาวุธได้ 2,250 ปอนด์ ตำบลด้านนอกรับน้ำหนักได้ 1,000 ปอนด์ รวม 5 ตำบลรับน้ำหนัก 10,000 ปอนด์

[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. อภิวัตน์ โควินทรานนท์ (1979). อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน. กรุงเทพ: เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์.