เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์
เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ | |
---|---|
![]() | |
ชนิด | อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ นำวิถีด้วยเรดาร์พิสัยกลาง |
แหล่งกำเนิด | ![]() |
บทบาท | |
ผู้ใช้งาน | สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิหร่าน อิตาลี สหราชอาณาจักร ซาอุดิอาระเบีย ปากีสถาน โปแลนด์ |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | เรย์ธีออน |
มูลค่าต่อหน่วย | 125,000 ดอลลาร์สหรัฐ |
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2502 (เอไอเอ็ม-7ดี) พ.ศ. 2519 (เอไอเอ็ม-7เอฟ) พ.ศ. 2525 (เอไอเอ็ม-7เอ็ม) |
แบบอื่น | สแปร์โรว์ 1 เอไอเอ็ม-7เอ สแปร์โรว์ 2 เอไอเอ็ม-7บี สแปร์โรว์ 3 เอไอเอ็ม-7ซี เอไอเอ็ม-7ดี เอไอเอ็ม-7อี เอไอเอ็ม-7อี2/สกายแฟลช/แอสไพด์ เอไอเอ็ม-7เอฟ เอไอเอ็ม-7เอ็ม เอไอเอ็ม-7พี อาร์ไอเอ็ม-7เอ็ม |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 230 กิโลกรัม |
ความยาว | 3.7 เมตร |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 8 นิ้ว |
ความยาวระหว่างปลายปีก | 2 ฟุต 8 นิ้ว (เอไอเอ็ม-120เอ/บี) |
หัวรบ | สะเก็ดระเบิดแรงสูง เอไอเอ็ม-7เอฟ/เอ็มใช้ 40 กิโลกรัม |
เครื่องยนต์ | เครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง เฮอร์คิวลิส มาร์ก-58 |
พิสัยปฏิบัติการ | 32 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-7ซี/ดี) 42 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-7อี/อี2) 50 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-7เอฟ/เอ็ม) |
ความเร็วสูงสุด | 4 มัค |
ระบบนำวิถี | เรดาร์กึ่งปฏิบัติ |
ฐานยิง | อากาศยาน: |
เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ (อังกฤษ: AIM-7 Sparrow) เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยกลางที่ใช้โดยกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองนาวิกโยธินของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับกองทัพอากาศของพันธมิตรอื่นๆ สแปร์โรว์และแบบต่างๆ ของมันเป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศที่มีมาตั้งแต่ปลายพ.ศ. 2493 จนถึงพ.ศ. 2533 มันยังคงอยู่ในประจำการถึงแม้ว่ามันกำลังจะถูกเลิกใช้เนื่องมาจากอาวุธใหม่อย่างเอไอเอ็ม-120 แอมแรม กองกำลังติดอาวุธของญี่ปุ่นใช้มิสไซล์สแปร์โรว์ถึงแ้ม้ว่ากำลังจะถูกเลิกใช้และแทนที่ด้วยมิตซูบิชิ เอเอเอ็ม-4 นักบินของนาโต้ใช้รหัสว่าฟ็อกซ์ วัน (Fox One) ทางวิทยุสื่อสารเพื่อเป็นสัญญาณในการบอกการยิงมิสไซล์แบบกึ่งติดตามด้วยเรดาร์อย่างเช่นสแปร์โรว์
สแปร์โรว์ถูกใช้ในฐานะอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศแบบพื้นฐาน อาร์ไอเอ็ม-7 ซีสแปร์โรว์ถูกใช้โดยกองทัพเรือสหรัฐ เพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศ
การพัฒนา
[แก้]สแปร์โรว์ 1
[แก้]
สแปร์โรว์ปรากฏตัวตั้งแต่ปี 2483 ในโครงการของกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อทำการพัฒนาอาวุธจรวดนำวิถีสำหรับการใช้งานทางอากาศ ในปีพ.ศ. 2490 กองทัพเรือได้ทำสัญญากับบริษัทสเปอร์รีเพื่อสร้างจรวดทางอากาศเอชวีเออาร์แบบไม่นำวิถีภายใ้ต้โครงการฮ็อทช็อท (Project Hotshot) อาวุธดังกล่าวถูกเรียกว่าเคเอเอส-1 จากนั้นก็เป็นเอเอเอ็ม-2 และตั้งแต่ปี 2491 เป็นต้นมาก็ถูกเรียกว่าเอเอเอ็ม-เอ็น-2 โครงสร้างนั้นถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทอากาศยานดักลาส เส้นผ่าศูนย์กลางของเอชวีเออาร์ไม่มากพอสำหรับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ มันทำให้ดักลาสต้องขยายโครงสร้างของมิสไซล์ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 2 นิ้ว ต้นแบบได้ทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2495
หลังจากการพัฒนาที่ยืดเยื้อเอเอเอ็ม-เอ็น-2 สแปร์โรว์ก็เริ่มเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2499 ซึ่งใช้กับเครื่องเอฟ3เอช-2เอ็ม ดีมอนและเอฟ7ยู คัทลาส เมื่อเทียบกับรุ่นปัจจุบันแล้วสแปร์โรว์ 1 มีความเพรียวลมมากกว่าและมีโครงสร้างที่คล้ายกระสุนโดยที่ส่วนปลายนั้นเรียวยาว
สแปร์โรว์ 1 มีขีดจำกัดมากกว่าจะเป็นอาวุธพื้นฐาน ด้วยการนำวิถีที่จำกัดทำให้มันยิงได้แต่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้เท่านั้นและทำให้มันไร้ค่าเมื่อต้องจัดการกับเป้าหมายที่เคลื่อนที่ สแปร์โรว์รุ่นนี้มีผลิตออกมาเพียง 2,000 ลูกเท่านั้น
สแปร์โรว์ 2
[แก้]เมื่อถึงปีพ.ศ. 2493 ดักลาสทำการทดสอบอุปกรณ์ของสแปร์โรว์ด้วยเรดาร์ค้นหา โดยมีชื่อในทีแรกว่าเอ็กซ์เอเอเอ็ม-เอ็น-2เอ สแปร์โรว์ 2 ตอนหลังก็มีชื่อว่าสแปร์โรว์ 2 ในปีพ.ศ. 2495 มันได้รหัสใหม่ว่าเอเอเอ็ม-เอ็น-3
เมื่อถึงปี 2498 ดักลาสเสนอการพัฒนาต่อโดยตั้งใจที่ให้มันเป็นอาวุธหลักให้กับเอฟ5ดี สกายแลนเซอร์และสิบปีต่อมาเรดาร์ที่คล้ายคลึงกันได้ติดตั้งกับเอไอเอ็ม-120 แอมแรม อย่างไรก็ตามลำตัวส่วนหน้าที่มีขนาดเล็กและเรดาร์แบบเค-แลนด์ เอเอ็น/เอพีคิว-64 มีการทำงานที่จำกัด และมันก็ไม่เคยได้ทำการทดสอบ
โครงการถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2501 และถึงแม้ว่าจะมีการหารือเรื่องที่บริษัทคานาแดร์จะเข้ามาทำงานแทน แต่เมื่อมันถูกยกเลิกงานทุกอย่างก็ถือว่าเป็นการยุติ
สแปร์โรว์ 2ดี
[แก้]เมื่อสแปร์โรว์ 2 ควบคู่กับระบบการยิงแบบอาร์ว๊เอ-วิคเตอร์ แอสทราที่ถูกเลือกเข้าโครงการเอฟโร แอร์โรว์ หลังจากที่กองทัพเรือสหรัฐฯ ยกเลิกโครงการสแปร์โรว์ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2499 งานทั้งหมดก็ยกให้กับคานาแดร์ โครงการแอสทราและสแปร์โรว์ 2 ถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2501 โครงการสแปร์โรว์ 2ดีอดทนจนถึงปีพ.ศ. 2493 เป้าหมายของมันล้มเหลวจนกระทั่งมิสไซล์แอมแรมเปิดตัวในปีพ.ศ. 2523
สแปร์โรว์ เอ็กซ์
[แก้]รุ่นรองของสแปร์โรว์ 2ดีที่มีหัวรบนิวเคลียร์เหมือนกันคือเอ็มดี-2 จีไนแต่ถูกยกเลิก
สแปร์โรว์ 3
[แก้]
ด้วยความเห็นพ้องต้องกันในปี 2494 เรธีออนได้เริ่มทำการพัฒนามิสไซล์ตระกูลสแปร์โรว์แบบกึ่งเรดาร์โดยมีชื่อว่าเอเอเอ็ฒ-เอ็น-6 สแปร์โรว์3 อาวุธแรกๆ เหล่านี้ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อปีพ.ศ. 2501
เอเอเอ็ม-เอ็น-6 คล้ายคลึงกันกับ -6 แต่ใช้เชื้อเพลิงเหลวให้กับเครื่องยนต์เพื่อให้มันทำงานได้ดีขึ้น มันยังเปลี่ยนเป็นระบบนำวิถีอิเลคทรอนิกส์เพื่อทำให้มันมีประสิทธิภาพด้านความเร็วที่เพิ่มขึ้น -6เอยังได้รับเลือกให้เป็นอาวุธของเอฟ-110เอ สเปกเทอร์ (เอฟ-4 แฟนทอม) เมื่อปีพ.ศ. 2505 โดยมีชื่อเรียกว่าเอไอเอ็ม-101 มันได้เข้าสู่การผลิตในปีพ.ศ. 2502 ในที่สุดก็ถูกสร้างขึ้นประมาณ 7,500 ลูก
อีกการพัฒนาหนึ่งคือการกลับไปใช้เชื้อเพลิงแข็งให้กับเอเอเอ็ม-เอ็น-6บีซึ่งเริ่มผลิตในปีพ.ศ. 2506 มอเตอร์ใหม่นี้เพิ่มระยะทำการขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งมากขึ้นเป็น 35 กิโลเมตร
ในช่วงปีนี้เองกองทัพเรือและกองทัพอากาศได้ตกลงในการตั้งชื่อของมิสไซล์และสแปร์โรว์ก็กลายมาเป็นซีรี่ยส์เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ 1 ดั้งเดิมและสแปร์โรว์ 2 ที่ถูกยกเลิกกลายมาเป็นเอไอเอ็ม-7เอและเอไอเอ็ม-7บี ถึงกระนั้นทั้งสองแบบก็ถูกนำออกจากคลังแสง -6 และ -6บีกลายมาเป็นเอไอเอ็ม-7ซี เอไอเอ็ม-7ดี และเอไอเอ็ม-7อีตามลำดับ
เอไอเอ็ม-7อีจำนวน 25,000 ลูกถูกผลิตขึ้นและถูกใช้อย่างมากในสงครามเวียดนามที่ซึ่งการทำงานของมันนั้นถูกมองว่าน่าผิดหวัง เหตุผลก็มีหลายอย่างทั้งปัญหาในความน่าเชื่อถือ นักบินที่ไม่ได้รับการฝึกเพียงพอ และกฎของการเข้าปะทะที่เข้มงวดซึ่งไม่อนุญาตให้ทำการยิงหากเป้าหมายไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา อัตราการสังหารของเอไอเอ็ม-7อีนั้นต่ำกว่า 10% นักบินรบของสหรัฐฯ ยิงเครื่องบินตก 55 ลำด้วยสแปร์โรว์
ในปีพ.ศ. 2512 รุ่นที่รับการพัฒนาคืออี-2 ถูกนำมาใช้ด้วยปีกแบบใหม่และการเชื่อมต่อแบบใหม่ เอไอเอ็ม-7อี-2 ถูกคาดว่าจะถูกใช้ในระยะที่สั้นกว่าซึ่งมิสไซล์จะยังคงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงทำให้มันมีประโยชน์มากกว่าในข้อจำกัดในการปะทะ ถึงกระนั้นอัตราการสังหารของมันก็มีเพียง 13% มันจึงนำไปสู่การยิงแบบที่เดียวสี่นัดเพื่อเพิ่มโอกาสในการสังหาร แนวโน้มที่แย่กว่าก็คือการที่มันจุดชนวนก่อนกำหนด โดยประมาณหนึ่งพันฟุตห่างจากอากาศยานที่ยิงมันออกมา แต่มันยังมีปัญหามากมายที่มีทั้งมอเตอร์ล้มเหลว การบินที่ไม่แน่นอน และปัญหาในการเชื่อมต่อ รุ่นอี-3 นั้นมีทั้งการเปลี่ยนการเชื่อมต่อและอี-4 ก็ใช้กับเอฟ-14 ทอมแคท
รุ่นที่พัฒนาของเอไอเอ็ม-7 ถูกพัฒนาในช่วงปีพ.ศ. 2513 ด้วยความพยายามที่จะกำจัดข้อจำกัดของอาวุธ เอไอเอ็ม-7เอฟซึ่งได้เข้าประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2519 เป็นจรวดที่มีสองตอนเพื่อเพิ่มพิสัย ระบบอิเลคทรอนิกส์ที่เพิ่มความเชื่อถือ และหัวรบที่ใหญ่ขึ้น แม้ว่ารุ่นนี้จะมีช่องว่างให้กับการพัฒนาทางอังกฤษและอิตาลีได้พัฒนารุ่นที่ดีกว่าของสแปร์โรว์ด้วยการทำงานและระบบอิเลคทรอนิกส์ที่ดีขึ้น
สแปร์โรว์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในปัจจุบันคือเอไอเอ็ม-7เอ็มซึ่งได้เข้าประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2525 และมีจุดเด่นเป็นตัวหาเป้าแบบใหม่ เรดาร์ การควบคุมแบบดิจิทัล การต่อต้านเป้าล่อ และทำงานในระดับต่ำได้ดีขึ้น มันถูกใช้ในสงครามอ่าวที่ซึ่งมันทำคะแนนด้วยการฆ่าแบบอากาศสู่อากาศอย่างมากให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามอัตราการสังหารของมันทั้งหมดแล้วก็น้อยกว่า 40%
เอไอเอ็ม-7พีคล้ายคลึงกับรุ่นเอ็มแทบจะในทุกๆ ด้านและอยู่ในโครงการสำหรับมิสไซล์เอ็มซีรี่ยส์ การเปลี่ยนเปลงหลักก็คือซอฟต์แวร์และการทำงานในระดับต่ำที่ดีขึ้น การพัฒนาบล็อก 2 ที่ตามมาในภายหลังได้เพิ่มตัวรับที่ด้านหลังเพื่อรับข้อมูลที่ถูกต้องจากอากาศยานที่ยิงปล่อยมัน มีแผนที่จะพัฒนารุ่นเอ็มแต่ในปัจจุบันรุ่นพีถูกใช้เพื่อแทนที่รุ่นเอ็มที่ถูกนำออกจากคลังแสง
รุ่นสุดท้ายของมิสไซล์คือเอไอเอ็ม-7อาร์ซึ่งได้เพิ่มตัวหาอินฟราเรด ทุนที่ต่ำลงทำให้มันถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2540
ปัจจุบันสแปร์โรว์กำลังถูกเลิกใช้โดยมีเอไอเอ็ม-120 แอมแรมเข้ามาแทนที่ แต่ดูเหมือนว่ามันยังคงถูกใช้ต่อไปอีกหลายปี
-
เอไอเอ็ม-7อีกำลังถูกติดตั้งกับเอเอ็นจี เอฟ-4ซีที่ฮาวายในปีพ.ศ. 2523
-
เอไอเอ็ม-7เอฟบนเครื่องเอฟ-4จีเมื่อพ.ศ. 2531
-
เอไอเอ็ม-7 กำลังถูกติดตั้ง
-
เอไอเอ็ม-7เอ็มกำลังถูกติดตั้ง