เหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2560
เหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2560 | |
---|---|
ภายนอกอาคารแมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2553 | |
สถานที่ | แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร |
พิกัด | 53°29′10.19″N 2°14′22.80″W / 53.4861639°N 2.2396667°W |
วันที่ | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 22.33 น. (เวลาออมแสงบริติช) |
เป้าหมาย | พลเรือน[1] |
ประเภท | การระเบิดฆ่าตัวตาย |
อาวุธ | ระเบิดแสวงเครื่องแบบใช้ตะปู[2][3] |
ตาย | 23 ราย (รวมผู้ก่อเหตุ)[4] |
เจ็บ | มากกว่า 64 ราย[5][6] |
เหตุจูงใจ | การก่อการร้าย |
เมื่อเวลา 22.33 น. ตามเวลาออมแสงบริติช (UTC+01:00) ของวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เกิดเหตุระเบิดที่ด้านนอกอาคารแมนเชสเตอร์อะรีนา เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร หลังงานแสดงคอนเสิร์ตของอารีอานา กรานเด นักร้องชาวอเมริกัน จบลง ผู้ก่อเหตุทราบชื่อในภายหลังคือนายซัลมาน รามาดาน อะบีดี[7][8] อายุ 22 ปี เป็นชาวบริติชเชื้อสายลิเบีย ได้จุดชนวนระเบิดแสวงเครื่องขณะผู้เข้าชมคอนเสิร์ตกำลังเดินทางออกจากอาคาร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 23 คน รวมนายซัลมานผู้ก่อเหตุ และมีผู้บาดเจ็บจำนวน 64 คน[9]
เหตุระเบิด
[แก้]เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 22.33 น. ตามเวลาออมแสงบริติช (UTC+01:00)[10] ผู้ก่อเหตุได้จุดชนวนระเบิดฆ่าตัวตาย โดยเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่เต็มไปด้วยตะปูและสลักเกลียวเป็นสะเก็ดระเบิด บริเวณโถงทางเข้าด้านนอกอาคารแมนเชสเตอร์อะรีนา เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ หลังงานแสดงคอนเสิร์ต เดนเจอรัสวุมันทัวร์ ของอารีอานา กรานเด จบลง[11][12] ทั้งนี้งานแสดงคอนเสิร์ตดังกล่าวขายที่นั่งจนหมดทุกที่นั่ง และอาจมีผู้เข้าชมมากถึง 21,000 คน[13] ซึ่ง ณ เวลาเกิดเหตุผู้เข้าชมกำลังเดินทางกลับออกจากอาคารและเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกของงานคอนเสิร์ตอยู่เป็นจำนวนมาก[14][15]
สำนักงานตำรวจเมืองแมนเชสเตอร์ได้ทำการสืบสวนและประกาศให้เหตุระเบิดดังกล่าวเป็นการก่อการร้ายโดยใช้วิธีการระเบิดฆ่าตัวตาย[16] นับเป็นเหตุโจมตีครั้งร้ายแรงที่สุดในสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่เหตุระเบิดในลอนดอน 7 กรกฎาคม 2548 และเป็นเหตุระเบิดในแมนเชสเตอร์ครั้งล่าสุดนับตั้งแต้ปี พ.ศ. 2539 โดยกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์หรือ ไออาร์เอ[17]
ความสูญเสีย
[แก้]เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวน 23 คน รวมผู้ก่อเหตุ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 64 คน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี จำนวน 12 คนรวมอยู่ด้วย[16][18][19] ด้านหน่วยรถพยาบาลนอร์ทเวสต์รายงานว่าได้นำรถพยาบาลของตนจำนวนกว่า 60 คัน เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ และได้นำผู้ได้รับบาดเจ็บทั้ง 59 คน ส่งโรงพยาบาลท้องถิ่น ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยรวมอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย[20] ขณะที่อารีอานา กรานเด ไม่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด[21]
ผู้ก่อเหตุ
[แก้]ซัลมาน รามาดาน อะบีดี | |
---|---|
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2537 แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ |
เสียชีวิต | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (22 ปี) แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ |
สัญชาติ | บริติช |
เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุตัวผู้ก่อเหตุทราบชื่อคือนายซัลมาน รามาดาน อะบีดี เป็นชาวบริติชอายุ 22 ปี ซึ่งทางฝ่ายความมั่นคงได้ติดตามพฤติกรรมมาก่อนหน้านี้แล้ว[8][7] ซัลมานเกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ณ เมืองแมนเชสเตอร์ เป็นบุตรของครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวลิเบียที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเมือง[22][23][24][8] เขาเติบโตในเขตวัลลีย์เรนจ์และอาศัยอยู่ในย่านฟัลโลว์ฟีลด์ชานเมืองแมนเชสเตอร์[25] จากการสืบสวนทราบว่าซัลมานและพี่ชายมักจะไปประกอบพิธีทางศาสนาและบูชาพระเจ้าที่มัสยิดดิดส์เบอร์รีเป็นประจำ และกล่าวกันว่าบิดาของซัลมานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำมัสยิดเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างดี[7][25] อย่างไรก็ตามผู้ดูแลมัสยิดปฏิเสธคำกล่าวอ้างนี้พร้อมกับบอกว่า "เราไม่ทราบว่าเขาเป็นใคร เราไม่เคยพบเห็นเขามาก่อน"[26] ซัลมานยังเคยรับงานที่ร้านขนมปังมาก่อน และเพื่อนของเขากล่าวว่าในอดีตซัลมานเป็นนักฟุตบอลที่มีทักษะและเคยเสพกัญชามาก่อน[22]
ในอดีตซัลมานเคยเข้าไปพวกพันกับกลุ่มนักเลงก่อนที่จะกลายมาเป็นมุสลิมหัวรุนแรง มีรายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 เขาเรียกร้องความสนใจให้กับตนเองด้วยการบ่นคร่ำครวญหลังจากฟังเทศน์เกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายและความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต[26]
ในปี พ.ศ. 2557 ซัลมานเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยซัลฟอร์ดในสาขาการบริหารธุรกิจ ก่อนที่จะถอนตัวออกมาในภายหลัง ด้านครอบครัว บิดา-มารดาของเขาเกิดที่กรุงตริโปลีด้วยกันทั้งคู่ และหลังจากมูอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำของลิเบียถูกโค้นอำนาจลงในปี พ.ศ. 2554 ทั้งสองก็ได้ตัดสินใจย้ายกลับบ้านเกิด[25] ในขณะที่ซัลมานยังคงอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรต่อไป
การสืบสวน
[แก้]หลังเหตุระเบิด เจ้าหน้าที่ตำรวจพุ่งเป้าการสืบสวนไปที่เคหะสถานในฟัลโลว์ฟีลด์ที่ซึ่งซัลมานเคยอาศัยอยู่ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาวุธครบมือได้บุกเข้าตรวจค้นบ้านหลังดังกล่าว และจับกุมชายอายุ 23 ปีในเขตคอร์ลตัน-คัม-ฮารดี ทางตอนใต้ของเมืองแมนเชสเตอร์ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับเหตุระเบิดดังกล่าว[27][28] นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้ปฏิบัติการในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมือง และบุกค้นที่อยู่อีกแห่งในวัลลีย์เรนจ์ด้วยเช่นกัน[28]
เจ้าหน้าที่สืบสวนกำลังพยายามระบุให้ได้แน่ชัดว่าผู้ก่อเหตุลงมือก่อการร้ายแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ หรือเหตุดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ใหญ่กว่า[29]
เหตุการณ์ในภายหลัง
[แก้]เวลาประมาณ 01.32 น. ตามเวลาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการระเบิดวัตถุต้องสงสัยบริเวณลานสาธารณะคะทีดรัลการ์เดนส์[16] แต่ภายหลังการตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งไว้เท่านั้น เช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าแทรฟฟอร์ดเซ็นเตอร์และอาร์นเดลเซ็นเตอร์ที่มีการอพยพคนออกจากสถานที่ หลังมีรายงานพบวัตถุต้องสงสัยในบริเวณใกล้เคียง[30]
ชาวเมืองและผู้ให้บริการรถแท็กซี่ในแมนเชสเตอร์หลายรายได้เสนอความช่วยเหลือด้วยบริการรับส่งฟรีหรือให้ที่พำนักชั่วคราวแก่ผู้เข้าชมคอนเสิร์ตที่ติดอยู่ภายในผ่านทางทวิตเตอร์[14] ในขณะที่ความวุ่นวายหลังเหตุระเบิดยังทำให้ผู้ปกครองหลายรายพลัดแยกจากบุตรหลานของตน โรงแรมที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงจึงได้เปิดรับเด็กจำนวนมากให้เข้าไปหลบภัยชั่วคราว และเจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานผู้ปกครองให้สามารถตามหาบุตรหลานของตนได้ที่โรงแรมดังกล่าว[31]
หลังเหตุระเบิด สถานีรถไฟแมนเชสเตอร์วิกตอเรียซึ่งบางส่วนตั้งอยู่ใต้อาคารแมนเชสเตอร์อะรีนา ได้อพยพผู้คนและปิดทำการสถานี ส่งผลให้บริการถไฟเข้าออกสถานีดังกล่าวถูกยกเลิกทั้งหมด และยังคงปิดทำการต่อเนื่องในวันถัดมา[10][21]
ด้านรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ได้กล่าวอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุดังกล่าวผ่านแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ พร้อมกล่าวข่มขู่ถึงเหตุโจมตีครั้งถัดไปว่าจะรุนแรงมากกว่าเดิม[32]
หลังการประชุมคณะกรรมการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ โคบรา (Civil Contingencies Committee; COBRA) ร่วมกับเอียน ฮอปคินส์ ผู้บัญชาการตำรวจเมืองแมนเชสเตอร์ เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้ประกาศยกระดับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายสู่ระดับ "วิกฤต" ซึ่งเป็นระดับสูงสุด[33] หลังจากนั้นจึงได้เริ่มปฏิบัติการเทมเพอเรอร์ (Operation Temperer) ขึ้นเป็นครั้งแรก มีการส่งนายทหารกว่า 5,000 นายเข้าประจำการสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อรักษาความปลอดภัยในพื้นที่บางส่วนของประเทศ[34][35]
ปฏิกิริยาตอบรับ
[แก้]ในประเทศ
[แก้]เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร กล่าวเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น "เหตุก่อการร้ายอันเลวร้ายมาก" และได้เรียกประชุมคณะกรรมการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ โคบรา (Civil Contingencies Committee; COBRA) ในเช้าวันอังคาร[36]
แอนดี เบอร์นัม นายกเทศมนตรีเมืองแมนเชสเตอร์ กล่าวต่อเหตุการณ์ว่า "เป็นการยากที่เชื่อได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้า และเป็นการยากที่จะกล่าวออกมาเป็นคำพูดได้ว่า ในวันนี้เรารู้สึกตกใจ โกรธ และเสียใจอย่างไร... ผู้ก่อเหตุได้เลือกโจมตีและสังหารเด็ก ผู้เยาว์ และครอบครัวของพวกเขา ซึ่งนับได้ว่าเป็นการกระทำที่ชั่วช้าอย่างที่สุด" นายเบอร์นัมยังได้กล่าวสรรเสริญชาวเมืองและธุรกิจท้องถิ่นที่ได้ให้ความช่วยเหลือเหยื่อหลายรายอีกด้วย[37] นอกจากนี้เขายังได้ประกาศในภายหลังว่าจะจัดงานจุดเทียนไว้อาลัยบริเวณจัตุรัสอัลเบิร์ต เมืองแมนเชสเตอร์ ในช่วงค่ำของวันถัดมา[38]
เหตุระเบิดยังส่งผลให้พรรคการเมืองทุกพรรคงดการรณรงค์หาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 ด้วยเช่นกัน[39][40]
ด้านสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีพระราชดำรัสแสดงความ "เสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง" แก่ผู้เคราะห์ร้ายใน "เหตุการณ์อันเลวร้าย" ดังกล่าว[41]
ต่างประเทศ
[แก้]ผู้นำต่างประเทศจำนวนมากกล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว อาทิ ออสเตรเลีย[42] เบลเยียม[43] ฝรั่งเศส[44] กรีซ[45] อิหร่าน[46] เนเธอร์แลนด์[47][48] นอร์เวย์[49] ปาเลสไตน์[50] รัสเซีย[51] สวีเดน[52] สหรัฐ[53]
อื่น ๆ
[แก้]อารีอานา กรานเด แสดงความคิดเห็นลงบนทวิตเตอร์ส่วนตัวว่าเธอรู้สึก "ใจสลาย" และกล่าวว่า "จากก้นบึ้งของหัวใจ ฉันรู้สึกเสียใจอย่างมาก ฉันพูดไม่ออก"[54][55] ขณะที่ศิลปินนักร้องอีกจำนวนมากก็ได้แสดงความเห็นในลักษณะเดียวกันลงบนสื่อสังคม อาทิ เทย์เลอร์ สวิฟต์, บรูโน มาร์ส, แฮร์รี สไตล์, เคที เพร์รี, นิกกี มินาจ, ลอร์ด[54] แต่ในทางกลับกัน กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ได้เฉลิมฉลองเหตุโจมตีดังกล่าวลงบนสื่อสังคมด้วยเช่นกัน[56]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Terror attack in Manchester 'intended to kill little girls,' experts say". CTVNews (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
- ↑ http://www.dailyrecord.co.uk/news/uk-world-news/manchester-arena-explosions-live-updates-10478943
- ↑ Dodd, Vikram; Pidd, Helen; Rawlinson, Kevin; Siddique, Haroon; MacAskill, Ewen (23 May 2017). "At least 22 killed, 59 injured in suicide attack at Manchester Arena". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
- ↑ "Greater Manchester Police". www.gmp.police.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24.
- ↑ "22 dead, 120 injured in suicide bomber attack at Manchester Arena and three victims named - live updates". Manchester Evening News. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Eden, Tom (23 May 2017). "Manchester bombing attack: Suspected suicide bomber named as Salman Ramadan Abedi, 22 dead and 120 injured in atrocity". chronicle.live.com. Evening Chronicle. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Manchester Arena attacker named by police as Salman Ramadan Abedi". The Guardian. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Salman Abedi, 22, Is Identified as Manchester Arena Bomber". The New York Times. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Phipps, Claire (24 May 2017). "Soldiers on British streets as threat level raised to critical – as it happened". Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
- ↑ 10.0 10.1 "Deaths confirmed after Manchester Arena blast reports". BBC News. 22 May 2017. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
- ↑ "Deaths confirmed after Manchester Arena blast reports". BBC News. 22 May 2017. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
- ↑ CBS/AP 22 May 2017, 6:46 PM. "Police: "Confirmed fatalities" after reports of explosion at Manchester Arena". CBS News. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
- ↑ "Manchester Arena explosion: What we know so far". Sky News. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ 14.0 14.1 Malkin, Bonnie (22 May 2017). "Manchester attack: city mobilises to help concert-goers with offers of rooms and free rides". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ "British prime minister raises nation's threat level, saying another attack 'may be imminent'". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Manchester Arena attack: 22 dead and 59 hurt". BBC News. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Danny Boyle, Barney Henderson, Leon Watson - Live Manchester Arena attack: 22 killed at Ariana Grande concert as bomber named as Salman Abedi - The Daily Telegraph (London). 23 May 2017. Retrieved 23 May 2017.
- ↑ Samantha Beech & Darran Simon. "Manchester Arena attack: 22 dead after blast at Ariana Grande concert". CNN. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Mike Bambach. "British police: 22 dead after suicide bomber attack at Ariana Grande concert". United Press International. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ (now), Claire Phipps; (earlier), Kevin Rawlinson (23 May 2017). "Manchester Arena: children among 22 dead in suicide attack at Ariana Grande concert – latest". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ 21.0 21.1 "Deaths, injuries after reports of explosion at Ariana Grande concert at Manchester Arena: Police". ABC News. 22 May 2017. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
- ↑ 22.0 22.1 "Manchester attack: Who was Salman Abedi?". bbc.com. BBC. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
- ↑ Evans, Martin; Ward, Victoria (23 May 2017). "Salman Abedi named as the Manchester suicide bomber - what we know about him". Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
his parents were Libyan refugees who came to the UK to escape the Gaddafi regime
- ↑ "Manchester attack: Who was the suspect Salman Abedi?". The BBC. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
His parents escaped to Britain as refugees from Libya.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Evans, Martin; Ward, Victoria (23 May 2017). "Salman Abedi named as the Manchester suicide bomber - what we know about him". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ 26.0 26.1 Bounds, Andy (23 May 2017). "Manchester suicide bomber moved from gangs to radical Islam". Financial Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 23 May 2017. (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ Simpson, Fiona (23 May 2017). "Manchester attack: Bombing suspect named as Salman Abedi, police confirm". Evening Standard. London. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ 28.0 28.1 Jones, Sam; Haddou, Leila; Bounds, Andrew (23 May 2017). "Manchester suicide bomber named as 22-year-old from city". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Evans, Sophie (23 May 2017). "Manchester suicide bomber named as police probe whether he was lone wolf". mirror. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
- ↑ Pesic, Alex (23 May 2017). "Manchester Arndale shopping centre evacuated - live updates". Manchester Evening News.
- ↑ Smith, Rory; Chan, Sewell (23 May 2017). "Explosion, Panic and Death at Ariana Grande Concert in England". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Rubin, Shira. "ISIS Claims Deadly Ariana Grande Concert Bombing That Killed 22". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ "Latest updates as UK terror threat level raise". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ "PM Theresa May raises UK threat level to 'critical'". ITV News. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
Raising the level to critical means that military personnel could be deployed to support armed police officers - part of a plan known as Operation Temperer.
- ↑ Alan Travis [@alantravis40] (23 May 2017). "PM says Critical Threat level's Operation Temperer will use up to 5,000 troops to take over armed police patrol duties under police command" (ทวีต). รีทวีตโดย The Guardian – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Manchester Arena attack: What we know so far". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ "Andy Burnham says spirit of Manchester will prevail after 'evil act'". 23 May 2017.
- ↑ "Manchester Arena explosion: Latest updates". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ "Manchester Arena: children among 22 dead in explosion at Ariana Grande concert". สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ "General election campaigning suspended after Manchester attack". The Guardian. London. 22 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Jenny.minard (2017-05-23). "A message from Her Majesty The Queen to the Lord-Lieutenant of Greater Manchester". The Royal Family (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ "Prime Minister Malcolm Turnbull expresses Australia's condolences over the Manchester attack (Pic: AAP/Lukas Coch)". abc.net.au. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ "Michel: "We weten door aanslagen Brussel hoe pijnlijk dit moment is voor de families"". deredactie.be (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ Le Monde, 23 May 2017
- ↑ "Greek authorities and politicians condemn Manchester attack". ekathimerini.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ "Iran condemns Manchester attack". 23 May 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ ""Verschrikkelijk nieuws uit Manchester, waar mooie avond eindigt in een drama. Gedachten bij slachtoffers. Net PM May ons medeleven betuigd"". Twitter (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ "Reaction by His Majesty King Willem-Alexander of the Netherlands to the attack in Manchester". 23 May 2017.
- ↑ "Erna Solberg on Twitter". twitter.com. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ "Video zeigt Moment des Anschlags". T-Online. 23 May 2017.
- ↑ "Terroranschlag in Manchester: So reagiert die internationale Gemeinschaft". RT. 23 May 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
- ↑ @SwedishPM (23 May 2017). "Horrible news from Manchester. Our thoughts are with the victims, their loved ones and the British people" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Donald Trump Says Manchester Bombing Carried Out By 'Evil Losers'". Huffington Post. 23 May 2017.
- ↑ 54.0 54.1 "Ariana Grande says she's 'broken' after Manchester concert attack" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ "Ariana Grande Is 'Broken' After Concert Bombing: "From the Bottom of My Heart, I Am So Sorry"". San Francisco Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-23. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Sanchez, Raf (23 May 2017). "Islamic State supporters celebrate Manchester attack online". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.