เสฺวียนอู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสฺวียนเทียนช่างตี้
เทวรูปเฮี้ยนเที้ยนซ่งเต่ ศิลปะแบบประเพณีจีนในปัจจุบัน
โดย เจินหยงไถ่ (เผิงหู)
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษรอันธการคุหยเทพบดี
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษรคุหยโยธินเสนาบดี
เสฺวียนตี้
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษรคุหยเทวอธิราช
เจินอู่
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษรวีรยุทธเทวบดี
เจินอู่ต้าตี้
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษรวีระเทพยอธิราชบดี
ตั่วเหล่าเอี๊ย
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ความหมายตามตัวอักษรเทพบดี
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามTrấn Vũ
จื๋อโนม
ชื่อภาษาไทย
อักษรไทยเจ้าพ่อเสือ
อักษรโรมันChao Pho Suea
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
현천상제
ฮันจา
ชื่ออินโดนีเซีย
อินโดนีเซียXuan Tian Shang Di
เทวรูปเฮี้ยนเที้ยนซ่งเต่ขนาดมหิมา ศิลปะแบบประเพณีจีนในปัจจุบัน ณ ทะเลสาบปทุมมา เขตซู่หยิง เกาสฺยง ประเทศไต้หวัน

เสฺวียนอู่ (玄武) หรือ เสฺวียนตี้ (จีน: 玄帝; พินอิน: Xuándì), หรือเป็นที่รู้จักในนาม เจินอู่ (真武 "วีระสัจจะบดี" หรือ "ไกรสุระสัตยะบดี") หรือ เจินอู่ต้าตี้ (真武大帝 "วีระเทพยอธิราชบดี" หรือ "สัตยะเทวอธิราชบดี") เป็นเทวดาในศาสนาพื้นเมืองเดิมของจีนและได้รับการยกย่องเป็นเทพบดีชั้นผู้ใหญ่ในลัทธิเต๋า และได้รับการนับถือว่าเป็นเทวบดีผู้ทรงอานุภาพ อันสามารถควบคุมธาตุและพลังเวทมนตร์ได้ พระองค์ได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งทิศเหนือเหอตี้ (黑帝 "นิกกาฬอธิราช") และเป็นที่เคารพนับถือในฐานะบรรพจารย์ของศิลปะการยุทธ์รณรงค์[1] พระองค์ได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างยิ่งในหมู่ชาวมณฑลเหอเป่ย์ มณฑลเหอหนาน, แมนจูเรีย และ มองโกเลีย [2][3]

ในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนมักออกนามทับศัพท์พระองค์ว่า เจ้าพ่อเสือ ซึ่งเป็นนามของเทพเสือในศาสนาชาวบ้านจีนซึ่งมีหลายองค์ตามพื้นที่ท้องถิ่นต่าง ๆ และอีกหนึ่งเป็นนามของเทพารักษ์ในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีมากมายหลากหลายองค์ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งเป็นการยืมนามของเทพารักษ์องค์นี้มาทับศัทพ์จากภาษาจีนอันเป็นนามเดิมของพระองค์ เช่นเดียวกับในกรณีของ เจ้าแม่ทับทิม อันเป็นเทพารักษ์นารีในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีมากมายหลากหลายองค์ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ที่หมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนทับศัทพ์ในภาษาไทยสำหรับเรียก ม่าจ้อโป๋ จุ้ยบ้วยเนี้ย และ เจ้าแม่ไท้ฮัว (ไท้วาโผ่) (泰华聖娘) ซึ่งเป็นเทพนารีคนละองค์แต่ใช้นามเดียวกันและกรณีของก่ำเทียนไต่เต่อันได้รับการขนานนามว่า เจ้าพ่อเขาตก ซึ่งเป็นนามของเทพารักษ์ในศาสนาพื้นเมืองท้องถิ่นของไทยอันมีหน้าที่รักษาพระพุทธบาทเขาสัจจพันธ์คีรีซึ่งใช้ในนามเดียวกัน เช่นกัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]