เดอะบีเทิลส์
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เดอะบีเทิลส์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | ค.ศ. 1960–1970 |
ค่ายเพลง | |
อดีตสมาชิก | สำหรับสมาชิกคนอื่น ๆ ดูที่ หัวข้อสมาชิก |
เว็บไซต์ | thebeatles |
เดอะบีเทิลส์ (อังกฤษ: The Beatles) เป็นวงร็อกแอนด์โรลจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ในปี 1960 ประกอบด้วยสมาชิก ร้องนำและมือกีตาร์ จอห์น เลนนอน ร้องนำและมือเบสพอล แม็กคาร์ตนีย์ มือกีตาร์ จอร์จ แฮร์ริสัน และมือกลอง ริงโก สตาร์ บีเทิลส์ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางให้เป็นวงร็อกที่มีอิทธิพลที่สุดแห่งยุคและเป็นหนึ่งในวงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด[1] ในตอนเริ่มต้นแนวดนตรีของพวกเขาจะเป็นแบบสกิฟเฟิลและร็อกแอนด์โรล แต่ในเวลาต่อมาบีเทิลส์ก็ได้สรรค์สร้างแนวเพลงอีกหลากหลาย นับแต่ไปจนถึงไซเคเดลิก บางครั้งก็ผสมแนวดนตรีคลาสสิกหรือเครื่องดนตรีแบบอื่นๆ ด้วยกระแสนิยมของบีเทิลส์อย่างสูง จนถึงกลับเรียกกระแสเหล่านี้ว่า "บีเทิลมาเนีย" (Beatlemania) โดยเฉพาะในช่วงยุค 60 - 70
เดอะบีเทิลส์เริ่มสร้างชื่อเสียงจากเล่นคอนเสิร์ตในคลับที่ลิวเวอร์พูลและฮัมบวร์คในช่วง 3 ปีของ 1960 โดยมีเพลงฮิตที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกอย่าง "เลิฟมีดู" (Love Me Do) ในช่วงปลายปี 1962 พวกเขาได้ฉายา "เดอะแฟปโฟร์" (the Fab Four) ในขณะที่กระแสบีเทิลมาเนียก็เริ่มเกิดขึ้นมาและในช่วงก่อนปี 1964 ชื่อเสียงของพวกเขาก็กระจายไปไกลจนถึงตลาดเพลงป๊อปของสหรัฐอเมริกา ในปี 1965 เดอะบีเทิลส์ได้สร้างงานดนตรีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานชิ้นเอกของนวัตกรรมดนตรีและอิทธิพลทางดนตรีสมัยใหม่ เช่น Rubber Soul (1965), Revolver (1966), Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band (1967), The Beatles (หรือที่รู้กันในชื่อ White Album, ปี 1968) และ Abbey Road (1969)
ภายหลังบีเทิลส์ได้แตกลงในปี 1970 สมาชิกที่ยังคงมีชีวิตและใช้ชีวิตที่เหลือกับงานเดี่ยวทางดนตรีอย่างต่อเนื่องคือ พอล แม็กคาร์ตนีย์และริงโก สตาร์ ส่วนเลนนอนได้ถูกยิงในเดือนธันวาคม 1980 และแฮร์ริสันซึ่งเสียชีวิตจากมะเร็งปอดในเดือนพฤศจิกายน ปี 2001
อ้างจากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (RIAA) เดอะบีเทิลส์ได้รับการยืนยันว่าเป็นศิลปินที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในสหรัฐอเมริกา ด้วยยอดจำหน่ายราว 178 ล้านก็อปปี้ บีเทิลส์ยังมีซิงเกิลฮิตอันดับ 1 บนบิลบอร์ดชาร์ทอังกฤษและทำยอดจำหน่ายซิงเกิลที่สูงสุดตลอดกาล ในปี 2008 เดอะบีเทิลส์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารบิลบอร์ดให้เป็นวงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาล ต่อเนื่องกันในปี 2015 บีเทิลส์ได้รับการบันทึกสถิติซิงเกิลฮิตอันดับ 1 บนบิลบอร์ดฮอต 100 กว่า 20 ซิงเกิล พวกเขาได้รับรางวัลแกรมมีถึง 10 รางวัล รางวัลออสการ์สาขา "คะแนนเพลงดั้งเดิมที่ดีที่สุด" (Best Original Song Score) รางวัลอิวอร์โนเวลโลกว่า 15 รางวัล นิตยสารไทม์ ยังได้ทำการใส่ชื่อพวกเขาในหัวข้อ "100 บุคคลที่มีอิทธิพลแห่งศตวรรษที่ 20" ปัจจุบันเดอะบีเทิลส์ถือเป็น "วงที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์" ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 600 ล้านก็อปปี้ทั่วโลก[2][3] พวกเขายังได้ถูกบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี 1988 ร่วมกับสมาชิกทั้ง 4 คน ซึ่งได้รับต่างหาก จากช่วงปี 1994 ถึง 2015
ในปี 1968 พวกเขาได้ก่อตั้งบริษัทแผ่นเสียงของตนเองโดยใช้ชื่อว่า Apple Records
ประวัติ[แก้]
การตั้งวงและช่วงยุคแรก[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จอห์น เลนนอน นักร้องและนักกีตาร์วัย 16 ได้ก่อตั้งกลุ่มดนตรีสกิฟเฟิล ชื่อ เดอะควอร์รีเมน (The Quarrymen) ร่วมกับเพื่อนนักเรียนในเมืองลิเวอร์พูลเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957[4] พอล แม็คคาร์ตนีย์ในวัย 15 ได้เข้าร่วมกลุ่มด้วยในตำแหน่งมือกีตาร์ หลังจากที่เขาได้พบกับเลนนอนเมื่อเดือนกรกฎาคม[5] แม็คคาร์ตนีย์ชวนจอร์จ แฮร์ริสัน วัย 14 มาดูการแสดงของกลุ่มในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา แล้วจอร์จก็เข้าร่วมกลุ่มในตำแหน่งกีตาร์นำ[6][7] ปี ค.ศ. 1960 เพื่อนนักเรียนของเลนนอนลาออกจากกลุ่ม ส่วนตัวเขาก็เริ่มเข้าเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูล นักกีตาร์ทั้งสามยังคงเล่นดนตรีร็อกแอนด์โรลกันเรื่อยๆ ถ้าหามือกลองได้[8] เดือนมกราคม สจ๊วต ซุตคลิฟ มือเบส เพื่อนนักเรียนของเลนนอน เสนอให้เปลี่ยนชื่อวงเป็น The Beetles เพื่อเป็นเกียรติแก่ บัดดี ฮอลลี และวงเดอะคริกเกตส์ ต่อมาพวกเขาเปลี่ยนชื่อวงเป็น The Beatals ในช่วงไม่กี่เดือนต้นปี[9] วงดนตรีเปลี่ยนชื่อไปอีกหลายชื่อ เช่น Johnny and the Moondogs, Long John and the Beetles และ The Silver Beatles ในที่สุดวงก็เปลี่ยนชื่อเป็น The Beatles ในเดือนสิงหาคม[8] การที่วงไม่มีมือกลองประจำเริ่มเป็นปัญหาขึ้นเมื่อ อัลลัน วิลเลียมส์ ผู้จัดการวงอย่างไม่เป็นทางการ ไปรับงานวงดนตรีประจำได้ในเมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี[10] ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม พวกเขาจัดการทดสอบและว่าจ้าง พีท เบสต์ มาเป็นมือกลองประจำวงได้[8] นักดนตรีทั้งห้าเดินทางไปยังฮัมบวร์คในอีก 4 วันถัดไป โดยได้รับสัญญาจ้างจากนักแสดงงานแฟร์กราวน์ ชื่อ บรูโน คอชไมเดอร์ เป็นเวลา 48 คืนๆละ 8 ชั่วโมง
แนวดนตรีและวิวัฒนาการ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อนุสรณ์[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงาน[แก้]
อัลบั้มที่จำหน่ายในอังกฤษ[แก้]
- Please Please Me - วันวางจำหน่าย: 1963-03-22
- With the Beatles - วันวางจำหน่าย: 1963-11-22
- A Hard Day's Night - วันวางจำหน่าย: 1964-07-10
- Beatles for Sale - วันวางจำหน่าย: 1964-12-04
- Help! - วันวางจำหน่าย: 1965-08-06
- Rubber Soul - วันวางจำหน่าย: 1965-12-03
- Revolver - วันวางจำหน่าย: 1966-08-05
- Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band - วันวางจำหน่าย: 1967-06-01
- The Beatles (หรือ "The White Album") - วันวางจำหน่าย: 1968-11-22
- Yellow Submarine - วันวางจำหน่าย: 1969-01-17
- Abbey Road - วันวางจำหน่าย: 1969-09-26
- Let It Be - วันวางจำหน่าย: 1970-05-08 (Box Set) 1970-11-06 (Regular LP)
อัลบั้มที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา[แก้]
- Introducing... The Beatles - วันวางจำหน่าย: 1964-01-06
- Meet the Beatles! - วันวางจำหน่าย: 1964-01-20
- The Beatles' Second Album - วันวางจำหน่าย: 1964-04-10
- A Hard Day's Night {เพลงประกอบภาพยนตร์} - วันวางจำหน่าย: 1964-06-26
- Something New - วันวางจำหน่าย: 1964-07-20
- Beatles '65 - วันวางจำหน่าย: 1964-12-15
- The Early Beatles - วันวางจำหน่าย: 1965-03-22
- Beatles VI - วันวางจำหน่าย: 1965-06-14
- Help! {เพลงประกอบภาพยนตร์} - วันวางจำหน่าย: 1965-08-13
- Rubber Soul - วันวางจำหน่าย: 1965-12-06
- Yesterday… and Today {อัลบั้มรวมฮิต} - วันวางจำหน่าย: 1966-06-20
- Revolver - วันวางจำหน่าย: 1966-08-08
- Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band - วันวางจำหน่าย: 1967-06-02
- Magical Mystery Tour {เพลงประกอบภาพยนตร์} - วันวางจำหน่าย: 1967-11-27
- The Beatles - วันวางจำหน่าย: 1968-11-25
- Yellow Submarine - วันวางจำหน่าย: 1969-01-13
- Abbey Road - วันวางจำหน่าย: 1969-10-01
- "Hey Jude" - วันวางจำหน่าย: 1970-02-26
- Let It Be - วันวางจำหน่าย: 1970-05-18
รางวัลและการตอบรับ[แก้]
- สมาชิกในวงเดอะบีเทิลส์ (จอห์น,พอล,ริงโก้,จอร์จ)ได้รับพระราชทานเกียรติจากควีนเอลิซาเบธที่ 2ให้เป็น MBE ( Members of the Order of the British Empire)
- ภาพยนตร์เรื่อง เลตอิตบี ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขาเพลง ที่ดีที่สุดโดยวัดจากคะแนน
- ได้รับ รางวัลแกรมมีมาทั้งหมด 7 รางวัลด้วยกัน
- ได้รับ รางวัลอิวอร์ โนเวล ถึง 15 รางวัลด้วยกัน
- ได้ถูกบรรจุในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ปี 1988
- มีอัลบั้มจำนวน 15 อัลบั้มที่ขึ้นอยู่อันดับหนึ่งใน บริติชชาร์ท
- ได้รับการยกย่องให้อยู่อันดับ 1 ศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก จากทั้งหมด 100 ของนิตยสารบิลบอร์ด
- ได้รับการยกย่องจาก นิตยสารไทม์ให้เป็นหนึ่งใน 100 สิ่งสำคัญที่สุดของผู้คนแห่งศตวรรษที่ 20
ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้มในอังกฤษกับสหรัฐ[แก้]
- ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "เพชร" 6 ใบ
- ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "มัลติ-แพลทินัม" 28 ใบ
- ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "แพลทินัม" 43 ใบ
- ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "ทอง" 53 ใบ [11]
- ได้ใบรับรองยอดการจำหน่ายอัลบั้ม ระดับ "เงิน" 1 ใบ [12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Unterberger, Richie. เดอะบีเทิลส์ ที่ออลมิวสิก. สืบค้นเมื่อ 5 July 2013.
- ↑ Staff Writers, CNNMoney.com (9 September 2009). "Beatles' remastered box set, video game out". CNNMoney.com. สืบค้นเมื่อ 1 December 2011.
- ↑ Hotten, Russell (4 October 2012). "The Beatles at 50: From Fab Four to fabulously wealthy". BBC News. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
- ↑ Unterberger, Richie (2009a). "Biography of The Beatles". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 15 September 2009.
{{cite web}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ Spitz, Bob (2005). The Beatles: The Biography. New York: Little, Brown. ISBN 978-0-316-80352-6.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ O'Brien, Ray (2001). The Beatles' Early Venues in and around Merseyside. There Are Places I'll Remember. Vol. 1. Wallasey, Merseyside: Ray O'Brien. ISBN 978-0-9544473-0-4.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ Miles, Barry (1997). Paul McCartney: Many Years from Now. New York: Henry Holt and Company. ISBN 0-8050-5249-6.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ 8.0 8.1 8.2 Harry, Bill (2000a). The Beatles Encyclopedia: Revised and Updated. London: Virgin. ISBN 978-0-7535-0481-9.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ Harry, Bill (2000b). The John Lennon Encyclopedia. London: Virgin. ISBN 0-7355-0404-9.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่า|isbn=
: checksum (help) - ↑ Lewisohn, Mark (1996). The Complete Beatles Chronicle. London: Bounty Books. ISBN 978-1-85152-975-9.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ http://www.riaa.com/goldandplatinumdata.php?table=tblDiamond
- ↑ http://www.riaa.com/goldandplatinumdata.php?table=tblArtTal
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
