เครื่องชงกาแฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างเครื่องชงกาแฟ

เครื่องชงกาแฟ เครื่องชงกาแฟแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้ เครื่องชงกาแฟแบบหยดร้อน (drip coffee maker), เครื่องชงกาแฟแบบเป็นกาหยดหรือแบบนาโปลี (Neopolitan drip pot), เครื่องชงกดกาแฟแบบฝรั่งเศส (French press), เครื่องชงกาแฟแบบเอสเปรสโซ (espresso), เครื่องชงกาแฟแบบหม้อชงกาแฟโมคา (moka pot), เครื่องชงกาแฟแบบชะสกัด (Percolator), เครื่องชงกาแฟแบบสุญญากาศ (vacuum)

เครื่องชงกาแฟแบบหยดร้อน[แก้]

เครื่องชงกาแฟประเภทนี้เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป เนื่องจากใช้ง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก

หลักการทำงาน ใส่น้ำลงในส่วนที่ใช้ขังน้ำ เมื่อน้ำเดือดจะถูกจ่ายไปยังด้านบนของผงกาแฟ ตัวกรอง และหยดเป็นน้ำกาแฟลงบนกากาแฟที่รองรับอยู่

ข้อดี ระยะเวลาในการชงค่อนข้างสั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้กาแฟที่ได้ไม่เข้มข้นเท่าใดนัก เนื่องจากไอน้ำจะผ่านเมล็ดกาแฟเพียงบางส่วน

เครื่องชงกาแฟแบบเป็นกาหยดหรือแบบนาโปลี[แก้]

หลักการทำงาน มีลักษณะการทำคล้ายกับเครื่องชงกาแฟแบบหยด ต่างกันตรงที่เครื่องชงแบบนี้จะไม่มีพวยกา กาแฟบดจะถูกใส่ลงในถ้วยกรองซึ่งอยู่ภายในตะกร้าของหม้อ

เครื่องชงชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง

เครื่องชงกดกาแฟแบบฝรั่งเศส[แก้]

หลักการทำงาน ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นและปรับปรุงขั้นมา มีลักษณะเป็นแบบลูกสูบ ตัวเครื่องประกอบด้วย กระบอกแก้วและก้านโลหะตรงกลาง มีด้ามจับอยู่ตรงด้านนอกของกระบอก มีปากของกาไว้สำหรับริน ส่วนล่างของตัวเครื่องเป็นแบบตัวกรอง เมื่อจะชงกาแฟ ให้ใส่ผงกาแฟลงในกระบอก รินน้ำร้อนใส่ให้ท่วมผงกาแฟ รอจนชุ่มน้ำจึงกดลูกสูบลงจึงได้น้ำกาแฟออกมา

เครื่องชงกาแฟแบบเอสเปรสโซ[แก้]

เป็นเครื่องชงกาแฟที่นิยมใช้กันมากในร้านกาแฟที่มีขนาดกลาง หลักการทำงาน ใช้หลักการจากความดันไอน้ำ เพื่อกลั่นเอารสชาติของกาแฟออกมาโดยใช้น้ำน้อยที่สุด รสชาติที่ได้จะมีความหอมอย่างเต็มที่

เครื่องชงกาแฟประเภทนี้มีการผลิตออกมาหลายแบบและหลายขนาด ถ้าขนาดใหญ่ราคาก็จะสูงตามไปด้วย

เครื่องชงกาแฟแบบหม้อชงกาแฟโมคา[แก้]

เครื่องชงประเภทนี้มีหลักการเกี่ยวกับความดันไอน้ำคล้ายกับแบบเอสเปรสโซ โดยตัวเครื่องจะแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างเป็นส่วนใส่น้ำ ส่วนบนมีตัวกรองสำหรับใส่ผงกาแฟ เมื่อต่อสองส่วนเข้าด้วยกันจะมี หลักการทำงาน คือ เครื่องจะทำงานโดยต้มน้ำกลั่นไอผ่านผงกาแฟ เมื่อเครื่องหยุดเดือด จะได้น้ำกาแฟที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับการชงโดยใช้เครื่องเอสเปรสโซ

มีข้อดี

  1. ความสะดวกในการใช้งาน: หม้อชงกาแฟโมคาใช้งานง่ายและไม่ต้องใช้เครื่องชงกาแฟซับซ้อน ในกระบวนการชงกาแฟทำได้เร็วและไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือพิเศษเพิ่มเติม
  2. ความสามารถในการชงกาแฟเป็นเอสเปรสโซ: กาแฟที่ได้จากหม้อชงกาแฟโมคามีความเข้มข้นที่คล้ายกับกาแฟเอสเปรสโซ ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ชื่นชอบกาแฟเข้มข้น
  3. ความคงทนและทนทาน: ส่วนประกอบของหม้อชงกาแฟโมคามักทำจากวัสดุที่ทนทาน เช่น อลูมิเนียมหรือเหล็ก ทำให้ใช้งานได้นาน ๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนบ่อยครั้ง

เครื่องชงกาแฟแบบชะสกัด[แก้]

เครื่องชงกาแฟแบบชะสกัด

เครื่องชงกาแฟประเภทนี้ จะมีลักษณะคล้ายกาต้ม รูปล่างคล้ายคูลเลอร์ โดยมากจะเห็นเครื่องชงประเภทนี้ตามสถานที่จัดเลี้ยงหรือตามโรงแรมต่าง ๆ หลักการทำงาน ตัวเครื่องจะต้มน้ำพอเดือด และจะไหลไปตามท่อปั๊มผ่านตะกร้าที่ใส่ผงกาแฟไว้ น้ำกาแฟที่ได้ จะหยดลงสู่ส่วนล่างสุดของเหยือก ซึ่งจะมีตัวเปิด ปิด อยู่ด้านนอก

เครื่องชงกาแฟประเภทนี้มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจาก มีปุ่มควบคุมความร้อนและอุณหภูมิของน้ำสม่ำเสมอ

เครื่องชงกาแฟแบบสุญญากาศ[แก้]

เครื่องชงประเภทนี้ตัวเครื่องจะเป็นแก้วใส หลักการทำงาน จะอาศัยหลักความดันไอน้ำ โดยผงกาแฟจะถูกบดใส่ไว้ในตัวกรองซึ่งอยู่ส่วนบนของตัวเครื่อง และมีกาน้ำซึ่งเป็นแก้วทรงกลมอยู่ด้านล่างของตัวตัวกรอง น้ำจะถูกต้มด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์ด้านนอก เมื่อน้ำเดือดไอน้ำจะลอยขึ้นสู่ด้านบน ผ่านผงกาแฟและขังอยู่บนนั้น จนเมื่อมีการดับไฟน้ำกาแฟถึงจะไหลออกมาผ่านกรองลงมายังการองรับด้านล่าง

โดยเครื่องกรองประเภทนี้จะทำให้ได้กาแฟที่มีกลิ่นและรสชาติดี แต่การชงจะได้ปริมาณกาแฟในปริมาณที่ไม่มาก[1]

เครื่องชงกาแฟแคปซูล[แก้]

วิธีใช้เครื่องชงกาแฟ จริง ๆ มีเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ เท่านั้น คือ เตรียมแคปซูลกาแฟในรสชาติที่ต้องการ แล้วเปิดฝาเครื่อง หยิบแคปซูลใส่ลงไปช่อง และปรับระดับน้ำตามที่ระบุของแต่ละแคปซูล เลือกน้ำร้อนหรือน้ำเย็น (ตามชนิดของแคปซูล) นำถ้วยออก เปิดและปิดฝาครอปเพื่อดีดแคปซูลใช้แล้วออกจากภาชนะบรรจุ Home Barista, Bio Life, Cafe Molinari, Home & Professional, Coffee Solutions.

อ้างอิง[แก้]

เครื่องชงกาแฟสด เครื่องชงกาแฟ

  1. ยอดยิ่ง ถาวรไทย,2549,หน้า31-35

บรรณานุกรม[แก้]

  • ยอดยิ่ง ถาวรไทย,ข้าพเจ้าได้อ่านมา,สำนักพิมพ์ไพลิน,2549