ประเภทของกาแฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เกี่ยวกับประเภทของกาแฟที่มีชื่อเสียง

เอสเปรสโซ[แก้]

กาแฟนม[แก้]

  • กาเฟโอแล (ฝรั่งเศส: café au lait) คล้ายลาตเท ยกเว้นใช้การชงด้วยการหยดแทนเอสเปรสโซ พร้อมด้วยนมในปริมาณที่เท่า ๆ กัน อาจเติมน้ำตาลตามชอบ เป็นกาแฟในแบบของฝรั่งเศส
  • กาเฟกอนเลเช เป็นกาแฟลาตเทในแบบของชาวสเปน
  • ลาตเท เป็นเอสเปรสโซผสมนมร้อน ความเข้มข้นไม่มากเท่าคัปปุชชีโนเนื่องจากใส่นมเยอะกว่า (ลัตเต เป็นภาษาอิตาลีแปลว่านม ในอิตาลีเรียกลัตเตว่า "คัฟเฟลลัตเต" หรือ "คัฟแฟะลัตเต")
  • กาแฟนม เป็นเครื่องดื่มที่คล้ายกับนมช็อกโกแลต แต่ใช้น้ำเชื่อมกาแฟแทนการใช้น้ำเชื่อมช็อกโกแล

โมคา[แก้]

โมคา เป็นการดัดแปลงของลาตเท มีอัตราส่วนของเอสเปรสโซและนมเป็นอัตรา 1:3 เหมือนกับลาตเท แต่มีการใส่ช็อกโกแลตเพิ่มลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้น้ำเชื่อมช็อกโกแลตแทนช็อกโกแลตผงในเครื่องขายอัตโนมัติ ช็อกโกแลตที่ใช้อาจจะเป็นช็อกโกแลตดำหรือช็อกโกแลตนมก็ได้

คำว่า มอกคาชีโน (อังกฤษ: moccaccino) เป็นคำที่ใช้ในบางภูมิภาคของยุโรปและตะวันออกกลาง หมายถึงกาแฟลาตเท กับโคคาหรือช็อกโกแลต ส่วนในอเมริกา โดยทั่วไปหมายถึงคาปูชิโนใส่ช็อกโกแลต

คัปปุชชีโน[แก้]

แฟรปปูชิโน[แก้]

แฟรปปูชิโน เป็นกาแฟที่ถูกตั้งชื่อและจดทะเบียนการค้าโดยสตาร์บัคส์ เป็นกาแฟผสมเครื่องดื่มชนิดเย็นกับกาแฟขวด

กอร์ตาโด[แก้]

กอร์ตาโด คือเอสเปรสโซที่ผสมนมอุ่นลงไปเล็กน้อยเพื่อลดความเป็นกรด อัตราส่วนของนมต่อกาแฟอยู่ที่ 1:1-1:2 และนมจะถูกใส่หลังเอสเปรสโซ ถึงแม้นมที่ถูกอุ่นด้วยไอน้ำจะไม่มีฟองมากนัก แต่คนชงกาแฟ (barista) หลายคนก็ทำฟองขนาดเล็ก ๆ เพื่อทำศิลปะกาแฟนม กาแฟชนิดนี้เป็นที่นิยมในสเปน โปรตุเกส และลาตินอเมริกา โดยมากแล้วพวกเขาจะดื่มกาแฟชนิดนี้ในเวลาบ่าย

มัคคียาโต[แก้]

มัคคียาโต มาจากภาษาอิตาลีหมายถึง "ถูกทำสัญลักษณ์" หรือ "ถูกกรอง" มักจะหมายถึง

อัฟโฟกาโต[แก้]

อัฟโฟกาโต ในภาษาอิตาลีแปลว่า "ถูกทำให้จม" คือของหวานที่ใช้กาแฟเป็นฐานการปรุง สำหรับ "แบบอย่างอัฟโฟกาโต" (Affogato style) หมายถึงการราดหน้าเครื่องดื่มหรือของหวานด้วยเอสเปรสโซ และอาจราดตามด้วยซอสน้ำตาลเคี่ยวหรือซอสช็อกโกแลต

คัฟแฟะอาเมรีคาโน[แก้]

คัฟแฟะอาเมรีคาโน คือรูปแบบของกาแฟที่มาจากการเติมเอสเปรสโซลงในน้ำร้อน ทำให้มีรสเข้มเหมือนกาแฟจุ่มแต่มีรสชาติที่ต่างออกไป ความเข้มของคัฟแฟะอาเมรีคาโนมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับจำนวนช็อตที่ใส่ลงไป ลองแบล็ก ก็เป็นคัฟแฟะอาเมรีคาโนจำพวกหนึ่ง

แฟลตไวต์[แก้]

แฟลตไวต์ (อังกฤษ: flat white) คือกาแฟที่ได้จากการเทนมที่ผ่านการอุ่นด้วยไอน้ำและมีลักษณะเป็นครีม จากก้นเหยือกลงบนเอสเปรสโซหนึ่งช็อต

แฟลตไวต์นิยมเสริฟในถ้วยเซรามิกดอกทิวลิป

กาแฟกรองอินเดีย[แก้]

กาแฟกรองมัทราสตีฟอง
  • กาแฟกรองอินเดีย (มัทราส) (Indian (Madras) filter coffee) นิยมทั่วไปทางภาคใต้ของอินเดีย ทำจากกากกาแฟหยาบๆ ที่ได้จากเมล็ดที่ถูกอบจนไหม้ (อาราบิกา, พีเบอร์รี) ชงด้วยวิธีหยดประมาณสองถึงสามชั่วโมง ในตัวกรองโลหะแบบของอินเดียโดยเฉพาะ ก่อนที่จะนำไปเสิร์ฟกับนมและน้ำตาล โดยปกติมักมีสัดส่วนกาแฟหนึ่งนมสาม

กาแฟนมเย็นเวียดนาม[แก้]

  • ก่าเฟเสือด๊า (เวียดนาม: cà phê sữa đá) เป็นกาแฟเวียดนามรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการชงแบบหยด ชงโดยการหยดน้ำผ่านตะแกรงโลหะลงไปในถ้วย ซึ่งมีผลให้ได้น้ำกาแฟเข้มข้น จากนั้นนำไปเทผ่านน้ำแข็งลงไปในแก้วที่เติมนมข้นหวานไว้ก่อนแล้ว เนื่องจากการชงกาแฟประเภทนี้ใช้กากกาแฟปริมาณมาก จึงทำให้การชงกินระยะเวลานาน

กาแฟกรีก[แก้]

  • กาแฟกรีก หรือ กาแฟตุรกี ชงด้วยการต้มกากกาแฟละเอียดกับน้ำพร้อมกันใน "ไอบริก" ซึ่งเป็นหม้อทำจากทองเหลืองหรือทองแดงมีด้ามยาวและเปิดด้านบน เมื่อชงเสร็จ ก็จะนำไปรินลงในถ้วยเล็กๆ โดยไม่กรองกากกาแฟออก ตั้งกาแฟทิ้งไว้สักพักก่อนดื่ม มักเติมเครื่องเทศและน้ำตาลด้วย
  • โกปีตุบรุก (Kopi tubruk) เป็นกาแฟแบบอย่างอินโดนีเซียลักษณะเหมือนกับกาแฟกรีก แต่ชงจากเมล็ดกาแฟหยาบ และต้มพร้อมกับน้ำตาลปอนด์ปึกใหญ่ ๆ นิยมดื่มในชวา, บาหลี, และบริเวณใกล้เคียง

เหล้ากาแฟ[แก้]

กาแฟผงพร้อมชง[แก้]

  • กาแฟผงพร้อมชง เป็นกาแฟที่ถูกตากจนแห้งกลายเป็นผงหรือเม็ดเล็กๆ ซึ่งละลายน้ำได้ มันมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกาแฟสดและวิธีการชงก็แตกต่างกันด้วย ความเห็นต่อกาแฟประเภทนี้มีตั้งแต่ "ของเลียนแบบที่สุดจะทนดื่มได้" ไปจนถึง "ทางเลือกที่ดี" และ "ดีกว่าของแท้" ในประเทศที่มันได้รับความนิยม มักจะเรียกมันว่า "กาแฟปูโร (Café Puro) " ในฐานะที่มันเป็นที่ขยาดของพวกเซียนกาแฟ

อื่น ๆ[แก้]

  • กาแฟเย็น มักเสิร์ฟพร้อมนมกับน้ำตาล
  • กาแฟแต่งกลิ่นและรส (Flavoured coffee) บางสังคมมักนิยมแต่งกลิ่นและรสกาแฟ ช็อกโกแลตเป็นสิ่งหนึ่งที่นิยมเติมกัน อาจโดยการโรยข้างบน หรือผสมเข้ากับกาแฟ เพื่อเลียนแบบรสชาติของมอคค่า รสอื่นๆ ที่นิยมเติมได้แก่เครื่องเทศต่าง ๆ เช่น อบเชย, ลูกจันทน์เทศ (nutmeg) , กระวาน, และน้ำเชื่อมอิตาเลียน (Italian syrups)
  • กาแฟดำ ชงด้วยวิธีการหยดน้ำ อาจเป็นแบบให้น้ำซึมหรือแบบเฟรนช์เพรส เสิร์ฟโดยไม่ใส่นม อาจเติมน้ำตาลได้ ผู้คนมักเข้าใจผิดว่ากาแฟดำกับเอสเปรสโซเป็นอย่างเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วกาแฟทั้งสองชนิดมีข้อแตกต่างกันหลายข้อ ข้อที่สำคัญคือ
    • ถ้วยเสิร์ฟของเอสเปรสโซมีขนาดเล็กกว่า เพราะนิยมดื่มให้หมดในอึกเดียว
    • ปกติแล้วเอสเปรสโซจะไม่ใส่น้ำตาลหรือนม เพราะคนไม่นิยม
    • เอสเปรสโซที่ชงถูกวิธีจะต้องมีฟองสีทองลอยอยู่ด้านบน
    • รสชาติของเอสเปรสโซจะติดปากหลังจากดื่มนานกว่า (15-30 นาที)
  • กาแฟขาว (White coffee) เป็นกาแฟที่เติมนมเข้าไปหลังจากทำเสร็จ อาจเติมน้ำตาลด้วยก็ได้
  • หม้อกาแฟ มีหลายรูปลักษณ์และขนาด หม้อแบบดั้งเดิมที่ใช้ต้มกาแฟมีคาเฟอีนจะมีสีน้ำตาลหรือดำ ส่วนหม้อสีส้มใช้สำหรับต้มกาแฟไร้คาเฟอีน

ดูเพิ่ม[แก้]