ข้ามไปเนื้อหา

วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์พาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์พาร์ก
ชื่อเดิม ดิสนีย์-เอ็มจีเอ็มสตูดิโอส์ยุโรป
ที่ตั้งดิสนีย์แลนด์ปารีส, มาร์น-ลา-วัลเล, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
พิกัด48°52′2″N 2°46′45″E / 48.86722°N 2.77917°E / 48.86722; 2.77917
สถานะเปิดบริการ
เปิดกิจการ16 มีนาคม 2002; 22 ปีก่อน (2002-03-16)
เจ้าของเดอะวอลต์ดิสนีย์
ผู้ดำเนินการยูโรดิสนีย์แลนด์พาร์ติซิชันส์ เอส.เอ.เอส.
(ดิสนีย์เอ็กซ์พีเรียนส์)
รูปแบบธุรกิจการแสดงและความบันเทิงของดิสนีย์
เว็บไซต์Official website

วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์พาร์ก (อังกฤษ: Walt Disney Studios Park) เป็นสวนสนุกแห่งที่สองที่สร้างขึ้นในดิสนีย์แลนด์ปารีส ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปิดบริการเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2002 มีรูปแบบแสดงธุรกิจอุตสาหกรรมภาพยนตร์ การผลิต และเบื้องหลัง ในปี ค.ศ. 2017 สวนสนุกแห่งนี้มีผู้เข้าชมประมาณ 5.2 ล้านคน[1] ทำให้เป็นสวนสนุกที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับสามของยุโรป โดยมีลักษณะถอดแบบมาจากสวนสนุกดิสนีย์ฮอลลีวูดสตูดิโอส์ ที่วอลต์ดิสนีย์เวิลด์ในฟลอริดา สหรัฐ

โดยมีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ หออาร์ฟเฟล เป็นหออ่างเก็บน้ำที่คล้าย ๆ กับที่ติดตั้งในวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ที่เบอร์แบงก์ แคลิฟอร์เนีย

พื้นที่

[แก้]

วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์พาร์กแบ่งออกเป็น "พื้นที่สตูดิโอ" ห้าแห่ง เดิมทีสิ่งเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแง่มุมต่าง ๆ ของการผลิตภาพยนตร์ที่นำเสนอในสตูดิโอภาพยนตร์ฮอลลีวูด แม้ว่าความเชื่อมโยงนี้จะอ่อนลงเมื่อเวลาผ่านไปด้วยการเพิ่มดินแดนที่มีรูปแบบสำหรับแฟรนไชส์ภาพยนตร์ต่าง ๆ ที่โดดเด่น

ฟรอนต์ล็อต

[แก้]

ฟรอนต์ล็อต (Front Lot) ทำหน้าที่เป็นทางเข้าหลักของสวนสนุก และเป็นที่ตั้งของร้านค้าและบริการส่วนใหญ่ของสวนสนุก ซึ่งหอเอิร์ฟเฟลตั้งอยู่ที่นี่ ลานทางเข้าลาปลาซเดเฟรเรส ลูมิแยร์ (La Place des Frères Lumière) ได้รับการออกแบบในสไตล์การฟื้นฟูอาณานิคมของสเปน (Spanish Colonial Revival) ซึ่งเป็นสไตล์ที่พบได้ทั่วไปในฮอลลีวูดในช่วงทศวรรษที่ 1930 มีพื้นฐานมาจากการออกแบบของดิสนีย์บราเธอร์สสตูดิโอส์ดั้งเดิมในไฮเปอเรียนอเวนิว จุดเด่นของลานภายในคือน้ำพุ แฟนเทเชีย ขนาดใหญ่ ชื่อของลานแห่งนี้เป็นเกียรติแก่นักประดิษฐ์ภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส

ฟรอนต์ล็อตมีดิสนีย์สตูดิโอ 1 ซึ่งเป็นทางเดินในร่มที่มีร้านค้าและร้านอาหารตกแต่งตามเวทีเสียงโดยมีการจำลองถนนฮอลลีวูดอยู่ข้างใน

ตูนสตูดิโอ

[แก้]

ตูนสตูดิโอ (Toon Studio) มีเครื่องเล่นและร้านค้าจากแฟรนไชส์จากพิกซาร์และวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ รวมถึงการแสดงสดมิกกี้และนักมายากล[2] สวนสนุกแห่งนี้เปิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 พื้นที่นี้เป็นที่รู้จักในชื่อ แอนิเมชันคอร์ตยาร์ด ในปี ค.ศ. 2017 ส่วนหนึ่งของการครบรอบ 5 ปีของสวนสนุก ได้มีการเพิ่มเครื่องเล่นใหม่ 2 ชนิด ได้แก่ ครัชโคสเตอร์ (Crush's Coaster) และรถสี่ล้อแรลลี (Cars Quatre Roues Rallye) ในปี ค.ศ. 2009 ได้มีการขยายพื้นที่ดังกล่าวด้วยการสร้างสวนสนุกทอย สตอรี่ เพลย์แลนด์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 การก่อสร้างเครื่องเล่นและร้านอาหารรูปแบบระทะทูอี่ได้เริ่มต้นขึ้น

ในปี ค.ศ. 2021 เครื่องเล่นส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ถูกแยกออกเป็นพื้นที่เวิลดส์ออฟพิกซาร์ที่เพิ่งสร้างใหม่

เครื่องเล่น:

  • แอนิเมชันเซเลเบรชัน (Animation Celebration) จัดกิจกรรมสัมผัสประสบการณ์อินเตอร์แอกทีฟ โฟรเซน: อะมิวสิคัลอินวิเทชัน (Frozen: A Musical Invitation) โดยผู้เล่นจะได้ก้าวเข้าสู่โลกที่เต็มไปด้วยหิมะของ ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ เพื่อพบกับเอลซา, แอนนา, คริสตอฟฟ์, โอลาฟ และสเวน[3] ผู้เล่นยังสามารถเข้าร่วมใน "แอนิเมชันอคาเดมี" ซึ่งจะสอนการวาดภาพตัวละครดิสนีย์
  • พรมบินเหนือเมืองอัคราบาห์ (Flying Carpets Over Agrabah) เป็นการนั่งกระเช้าลอยฟ้า คล้ายกับเครื่องเล่นดัมโบเดอะฟลายอิงแอลเลเฟนต์ที่มีชื่อเสียงมาก

ความบันเทิง:

  • โรงละครแอนิเมจิก เป็นที่ทำการแสดงเรื่อง มิกกี้และนักมายากล (Mickey and the Magician) ซึ่งเป็นการแสดงโดยคนนักแสดง[4]

เวิลดส์ออฟพิกซาร์

[แก้]

พื้นที่เวิลดส์ออฟพิกซาร์ (Worlds of Pixar) เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของโซนตูนสตูดิโอ มีเครื่องเล่น สถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้า และร้านอาหารที่สร้างจากแฟรนไชส์ ไฟน์ดิงนีโม, คาร์ส, ทอยสตอรี และระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก จากพิกซาร์

เครื่องเล่น:

  • ครัชโคสเตอร์ (Crush's Coaster) เป็นรถไฟเหาะตีลังกาที่ผู้เล่นจะได้เข้าสู่เวทีเสียงริมชายหาดและฉากภาพยนตร์ไฟน์ดิงนีโม
  • คาร์เรซแรลลี (Cars Race Rally)
  • ระ-ทะ-ทู-อี่: ดิแอดเวนเจอร์ (Ratatouille: The Adventure)
  • คาร์สโรดทริป (Cars Road Trip) เป็นเวอร์ชันย่อของสตูดิโอเทรมทัวร์ (Studio Tram Tour) ที่ยกเลิกแล้ว ซึ่งมีรูปแบบจากภาพยนตร์พิกซาร์ปี ค.ศ. 2006 เรื่อง 4 ล้อซิ่ง...ซ่าท้าโลก

ทอย สตอรี่ เพลย์แลนด์

  • ของเล่นทหารปล่อยร่มชูชีพ (Toy Soldiers Parachute Drop) คือการกระโดดร่มในรูปแบบกองทัพเขียวจากภาพยนตร์โดยดิสนีย์และพิกซาร์เรื่อง ทอย สตอรี่ มีเครื่องเล่นอีกเวอร์ชันหนึ่งที่ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ด้วย
  • สลิงกีด็อซิกแซกสพิน (Slinky Dog Zigzag Spin) เป็นเครื่องเล่นสไตล์แคตเตอร์พิลลาร์ที่ผู้เล่นจะได้นั่งในกลไกเครื่องเล่นขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายสลิงกีด็อกจากภาพยนตร์โดยดิสนีย์และพิกซาร์เรื่อง ทอย สตอรี่ นอกจากนี้ยังมีเครื่องเล่นอีกเวอร์ชันหนึ่งที่ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์และเซี่ยงไฮ้ดิสนีย์แลนด์อีกด้วย
  • อาร์ซีเรเซอร์ (RC Racer) เป็นรถไฟเหาะตีลังกาเหล็กที่มีรูปแบบอาร์ซีจากภาพยนตร์โดยดิสนีย์และพิกซาร์เรื่อง ทอย สตอรี่ ผู้เล่นจะนั่งอาร์ซีบนรางครึ่งวงกลมสีส้ม นอกจากนี้ยังมีเครื่องเล่นอีกเวอร์ชันหนึ่งที่ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ดิสนีย์แลนด์อีกด้วย
  • ทอยสตอรีเพลย์แลนด์บูติก

โปรดิวชันคอร์ตยาร์ด

[แก้]

รูปแบบของโปรดิวชันคอร์ตยาร์ด (Production Courtyard) เกี่ยวข้องกับแง่มุมการผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูดและตำนานฮอลลีวูด รวมถึงตำนานภาพยนตร์ต่าง ๆ พื้นที่ประกอบด้วยสองส่วนที่แตกต่างกัน: ฮอลลีวูดบูเลอวาร์ด (Hollywood Boulevard) เป็นฉากถนนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากฮอลลีวูด และเครื่องเล่น หอคอยแดนสนธยาแห่งความหวาดกลัว - มิติใหม่แห่งความหนาวเย็น (The Twilight Zone Tower of Terror - A New Dimension of Chills) และสตาร์สแควร์ (Place des Stars) เป็นธีมรอบ ๆ สตูดิโอผลิตล็อตภาพยนตร์ ซึ่งจะมีสติทช์ไลฟ์ (Stitch Live!)

เครื่องเล่น:

  • สตูดิโอดีซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของวอลต์ดิสนีย์เทเลวิชันสตูดิโอส์:
  • หอคอยแดนสนธยาแห่งความหวาดกลัว - มิติใหม่แห่งความหนาวเย็น (The Twilight Zone Tower of Terror - A New Dimension of Chills) เป็นเครื่องเล่นหวาดเสียวขนาดใหญ่ 13 ชั้นที่ผู้เล่นจะได้เข้าไปในโรงแรมฮอลลีวูดทาวเวอร์ในนิยาย และติดตามเรื่องราวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากละครทางโทรทัศน์ ตอนจบของเครื่องเล่นดรอปที่มีความยาวต่างกัน เครื่องเล่นนี้มีต้นกำเนิดที่ดิสนีย์ฮอลลีวูดสตูดิโอส์ และที่ดิสนีย์แคลิฟอร์เนียแอดเวนเจอร์

มาร์เวลอเวนเจอร์สแคมปัส

[แก้]

มาร์เวลอเวนเจอร์สแคมปัส (Marvel Avengers Campus) เป็นดินแดนรูปแบบจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยชีลด์ ซึ่งเป็นหน่วยความลับในปารีสที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่ เครื่องเล่นและร้านอาหารในพื้นที่ ได้แก่ อเวนเจอร์สแอสเซมเบิล: ไฟลต์ฟอร์ซ (Avengers Assemble: Flight Force) (ไอรอนแมนนำธีมใหม่ของ Rock 'n' Roller Coaster Avec Aerosmith)[5] และสไปเดอร์แมนเว็บแอดเวนเจอร์ (Spider-Man W.E.B. Adventure) บริเวณนี้มาแทนที่พื้นที่ "แบล็กล็อต" ของสวนสนุกก่อนหน้านี้

เครื่องเล่น:

  • อเวนเจอร์สแอสเซมเบิล: ไฟลต์ฟอร์ซ (Avengers Assemble: Flight Force)
  • สไปเดอร์แมนเว็บแอดเวนเจอร์ (Spider-Man W.E.B. Adventure)

พื้นที่ในอนาคต

[แก้]

คิงดอมออฟเอเรนเดล

[แก้]

ระยะที่สองของการขยายพื้นที่จะเป็นคิงดอมออฟเอเรนเดล (Kingdom of Arendelle) ซึ่งเดิมมีกำหนดเปิดในปี ค.ศ. 2023 จนกระทั่งเลื่อนไปเป็นปี ค.ศ. 2025 เนื่องจากวันเปิดถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดภายหลังการปิดสวนสนุกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นักท่องเที่ยวจะได้ดำดิ่งลงไปในอาณาจักรเอเรนเดล (เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ และก่อนผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ) ซึ่งราชินีเอลซาได้ประกาศวันหิมะตกในฤดูร้อนสำหรับพลเมืองของตน โฟรเซนเอฟเวอร์อาฟเตอร์ (Frozen Ever After) เวอร์ชันใหม่และขยายจะเปิดตัวพร้อมกับพื้นที่ ร้านอาหาร และร้านค้า[6]

ดินแดนธีมที่สาม

[แก้]

ขั้นตอนที่สามซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการขยายจะเป็นดินแดนที่มีธีมเป็น สตาร์ วอร์ส เดิมทีพื้นที่นี้มีกำหนดจะแล้วเสร็จระหว่างปี ค.ศ. 2024 ถึง ค.ศ. 2025 แหล่งข่าวหลายแห่งอ้างว่าส่วนเสริมนี้จะเป็นเวอร์ชันหนึ่งของ สตาร์ วอร์ส: กาแล็กซีส์เอดจ์ ที่พบในดิสนีย์แลนด์และดิสนีย์ฮอลลีวูดสตูดิโอ[7][8] อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการสันนิษฐานว่าดินแดนในธีมสตาร์ วอร์สได้ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยมีการสำรวจธีมใหม่สำหรับพื้นที่นี้อยู่[9][10]

ผู้เข้าชม

[แก้]
2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 อันดับโลก
4,710,000[11] 4,800,000[12] 4,470,000[12] 4,260,000[13] 4,440,000[14] 4,970,000[15] 5,200,000[16] 5,298,000[17] 5,245,000[18] 1,410,000[19] 1,884,000[20] 23

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Disneyland Paris facts and information". Paris Digest. 2019. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  2. "Show Mickey and the Magician". Disneyland Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-14. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
  3. Smith, Thomas (19 November 2019). "Discover the Magic of 'Frozen: A Musical Invitation' at Disneyland Paris". Disney Parks Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-22. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  4. "The Making of Mickey and the Magician". DLP Town Square - Disneyland Paris News, Guides and Discussion (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  5. Fickley-Baker, Jennifer. "Rock 'n' Roller Coaster Starring Aerosmith at Walt Disney Studios Park to Receive Marvel Transformation". Disney Parks Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-12. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
  6. Sposato, Sean (10 September 2019). "Disneyland Paris offers breathtaking first look at Frozen Land". Inside the Magic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  7. "Bob Chapek on Star Wars: Galaxy's Edge, Disney's IP Advantage, and More". LaughingPlace.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  8. Newbold, Mark (25 May 2019). "New details on Disneyland Paris Star Wars expansion". Fantha Tracks (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  9. Mihu, Florian (2022-07-18). "Le land Star Wars de Disneyland Paris est-il compromis ?". Disneyphile (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
  10. Lloyd, Spencer (2022-07-18). "Star Wars: Galaxy's Edge Likely Cancelled at Disneyland Paris, Third Expansion at Walt Disney Studios Park Still Undecided - WDW News Today". wdwnt.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
  11. "TEA/AECOM 2011 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 October 2015. สืบค้นเมื่อ 20 November 2012.
  12. 12.0 12.1 "TEA/AECOM 2013 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 June 2014. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  13. "TEA/AECOM 2014 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 4 June 2015.
  14. "TEA/AECOM 2015 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
  15. "TEA/AECOM 2016 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-28. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
  16. "TEA/AECOM 2017 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 18 May 2018.
  17. "TEA/AECOM 2018 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-23. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
  18. "TEA/AECOM 2019 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 10 February 2021.
  19. "TEA/AECOM 2020 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association.
  20. "TEA/AECOM 2021 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]