อับบาสที่ 2 แห่งอียิปต์
อับบาส ฮิลมีที่ 2 | |
---|---|
อับบาส ฮิลมีที่ 2 ใน ค.ศ. 1909 | |
เคดีฟแห่งอียิปต์และซูดาน | |
ครองราชย์ | 8 มกราคม ค.ศ. 1892 – 19(20)(21) ธันวาคม ค.ศ. 1914 |
ก่อนหน้า | เตาฟีกที่ 1 |
ถัดไป | ฮุซัยน์ กามิล (ในฐานะ สุลต่านแห่งอียิปต์) |
ประสูติ | 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1874 อะเล็กซานเดรีย รัฐเคดีฟอียิปต์[1] |
สวรรคต | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1944 เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ | (70 ปี)
ฝังพระศพ | กุบบะฮ์ อะฟันดีนา ไคโร ประเทศอียิปต์ |
คู่อภิเษก |
|
พระราชบุตร | เจ้าหญิง Emine Hilmi เจ้าหญิง Atiye Hilmi เจ้าหญิง Fethiye Hilmi เจ้าชายมุฮัมมัด อับดุล มุนอิม เจ้าหญิง Lutfiya Shavkat เจ้าชายมุฮัมมัด อับดุลกอดิร |
ราชวงศ์ | อะละวียะฮ์ |
พระราชบิดา | เตาฟีกที่ 1 แห่งอียิปต์ |
พระราชมารดา | อะมีนะฮ์ อิลฮามี |
อับบาส ฮิลมีที่ 2 (รู้จักกันในพระนาม อับบาส ฮิลมี พาชา, อาหรับ: عباس حلمي باشا; 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1874 – 19 ธันวาคม ค.ศ. 1944) เป็นเคดีฟองค์สุดท้ายแห่งอียิปต์และซูดาน ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1892 ถึง 19 ธันวาคม ค.ศ. 1914[2][nb 1] ใน ค.ศ. 1914 หลังจักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เคดีฟฝ่ายชาตินิยมถูกทางอังกฤษที่ปกครองอียิปต์ในตอนนั้นถอดถอน เพื่อให้ฮุซัยน์ กามิล พระปิตุลาที่ฝักใฝ่อังกฤษกว่า ขึ้นปกครอง ทำให้อียิปต์ในฐานะมณฑลของจักรวรรดิออตโตมันที่เริ่มต้นใน ค.ศ. 1517 ตลอดถึง 4 ศตวรรษ สิ้นสุดลงโดยนิตินัย
พระราชประวัติช่วงต้น
[แก้]อับบาสที่ 2 (พระนามเต็ม: อับบาส ฮิลมี) เป็นลื่อ (พระราชโอรสในพระราชปนัดดา) ของมุฮัมมัด อะลี เสด็จพระราชสมภพที่อะเล็กซานเดรีย อียิปต์ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1874[4] ใน ค.ศ. 1887 พระองค์ได้รับการขลิบปลายอวัยวะเพศร่วมกับมุฮัมมัด อะลี เตาฟีก พระอนุชา โดยมีการจัดเทศกาลถึงสามสัปดาห์และจัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่อลังการ เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์เสด็จไปยังสหราชอาณาจักร และให้ครูสอนชาวอังกฤษหลายคนในไคโร รวมทั้งพี่เลี้ยง สอนภาษาอังกฤษให้แก่พระองค์[5] ในพระราชประวัติอับบาสที่ 2 จาก "Chums" หนังสือประจำปีสำหรับเด็กหนุ่ม ได้เล่าถึงการศึกษาของพระองค์อย่างละเอียด[6] พระราชบิดาทรงจัดตั้งโรงเรียนขนาดเล็กใกล้พระราชวังอาบดีนที่ไคโร ซึ่งครูชาวยุโรป อาหรับ และออตโตมันเข้าสอนอับบาสและมุฮัมมัด อะลี เตาฟีก พระอนุชาของพระองค์ เจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันในกองทัพอียิปต์รับหน้าที่ฝึกทหารให้ พระองค์เข้าเรียนที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[7] จากนั้นตอนพระชนมพรรษา 12 พรรษาจึงถูกส่งไปยังโรงเรียน Haxius ในเจนีวา[ต้องการอ้างอิง] เพื่อเตรียมเข้าเรียน Theresianum ที่เวียนนา นอกจากภาษาอาหรับและภาษาตุรกีออตโตมันแล้ว พระองค์ยังมีความรู้ด้านพระราชปฏิสันถารในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันได้ดีด้วย[5][7]
ครองราชย์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อภิเษกสมรสและพระราชโอรสธิดา
[แก้]พระองค์อภิเษกสมรสครั้งแรกกับอิกบาล ฮานิม (อิสตันบูล จักรวรรดิออตโตมัน, 22 ตุลาคม ค.ศ. 1876 – อิสตันบูล, 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941) ที่ไคโรในวันที่ 19 ดุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 จากนั้นจึงหย่าใน ค.ศ. 1910 โดยมีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 4 พระองค์:
- เจ้าหญิง Emina (พระราชวังมุนตะซะฮ์ อะเล็กซานเดรีย, 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 – ค.ศ. 1954)[8] ไม่ได้อภิเษกสมรสและไม่มีพระโอรสธิดา[9] ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งการกุศล ชั้น 1, 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1895;[10]
- เจ้าหญิง Atiyatullah (ไคโร, 9 มิถุนายน ค.ศ. 1896 – ค.ศ. 1971)[8] อธิเษกสมรส 2 ครั้ง และให้กำเนิดพระโอรส 3 พระองค์[9] ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งการกุศล ชั้น 1, 1 ตุลาคม ค.ศ. 1904;[10]
- เจ้าหญิง Fathiya (27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1897 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923)[8] อภิเษกสมรสโดยไม่มีพระโอรสธิดา ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งการกุศล ชั้น 1, 1 ตุลาคม ค.ศ. 1904;[10]
- เจ้าชายมุฮัมมัด อับดุล มุนอิม ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงและอุปราชแห่งอียิปต์และซูดาน (20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1899 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1979)[8] อภิเษกสมรสและมีพระราชโอรสและพระราชธิดา;[9]
- เจ้าหญิง Lutfiya Shavkat (ไคโร, 29 กันยายน ค.ศ. 1900 – ค.ศ. 1975)[8] อภิเษกสมรสและให้กำเนิดพระธิดา 2 พระองค์[9] ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งการกุศล ชั้น 1, 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1907;[10]
- เจ้าชาย มุฮัมมัด อับดุลกอดิร (4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1902 – มงเทรอ, 21 เมษายน ค.ศ. 1919);[8]
พระองค์อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับญาวีดาน ฮานิม (ชื่อเกิด เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร, ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ, 8 มกราคม ค.ศ. 1874 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1968) ขุนนางชาวฮังการี ที่ชูบุกลู (Çubuklu) ประเทศตุรกี ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910 แล้วหย่ากันใน ค.ศ 1913 โดยไม่มีพระโอรสธิดา[11]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rockwood 2007, p. 2
- ↑ Thorne 1984, p. 1
- ↑ Hoiberg 2010, pp. 8–9
- ↑ Schemmel 2014
- ↑ 5.0 5.1 Chisholm 1911, p. 10
- ↑ Pemberton 1897, Abbas II.
- ↑ 7.0 7.1 Vucinich 1997, p. 7
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Soszynski, Henry. "Ikbal Hanim". Ancestry.com, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Tanman, M (2011). Nil kıyısından Boğaziçi'ne : Kavalalı Mehmed Ali Paşa Hanedanı'nın İstanbul'daki izleri = From the shores of the Nile to the Bosphorus : traces of Kavalalı Mehmed Ali Pasha Dynasty in İstanbul (ภาษาตุรกี). İstanbul: İstanbul Araştırmaları Enstitüsu. pp. 375–376. ISBN 978-975-9123-95-6. OCLC 811064965.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Öztürk, D. (2020). "Remembering" Egypt's Ottoman Past: Ottoman Consciousness in Egypt, 1841-1914. Ohio State University. p. 74.
- ↑ Van Lierop, Kathleen. "History- On this day- Abbas II of Egypt". All About Royal Families. สืบค้นเมื่อ 17 July 2017.
ข้อมูล
[แก้]- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 1 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 9–10.
- Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abbas II (Egypt)". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-Ak - Bayes (15th ed.). Chicago, IL: Encyclopædia Britannica, Inc. ISBN 978-1-59339-837-8.
- Lagassé, Paul, บ.ก. (2000). "Abbas II". The Columbia Encyclopedia (6th ed.). New York, NY: Columbia University Press. ISBN 0-7876-5015-3. LCCN 00-027927.
- Magnusson, Magnus; Goring, Rosemary, บ.ก. (1990). "Abbas Hilmi". Cambridge Biographical Dictionary. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-39518-6.
- Morris, James (1968). Pax Britannica: The Climax of an Empire. Harcourt Inc. p. 207. ISBN 9780156714662. LCCN 68024395.
- Pemberton, Max, บ.ก. (February 1897). "none". Chums. Vol. 17 no. 232. Cassell and Company.
- Rockwood, Camilla, บ.ก. (2007). "Abbas Hilmi Pasha". Chambers Biographical Dictionary (8th ed.). Edinburgh, UK: Chambers Harrap Publishers Ltd. ISBN 978-0550-10200-3.
- Schemmel, B., บ.ก. (2014). "Index Aa–Ag". Rulers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2014. สืบค้นเมื่อ 10 September 2014.
- Stearns, Peter N., บ.ก. (2001). "The Middle East and North Africa, 1792–1914: e. Egypt". The Encyclopedia of World History: Ancient, Medieval, and Modern Chronologically Arranged (6th ed.). Boston, MA: Houghton Mifflin Company. ISBN 0-395-65237-5. LCCN 2001024479.
- Thorne, John, บ.ก. (1984). "Abbas II". Chambers Biographical Dictionary. Chambers, Inc. ISBN 0-550-18022-2.
- Vucinich, Wayne S. (1997). "Abbas II". ใน Johnston, Bernard (บ.ก.). Collier's Encyclopedia. Vol. I: A to Ameland (1st ed.). New York, NY: P. F. Collier. LCCN 96084127.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Cromer, Evelyn Baring (1915). Abbas II. London: Macmillan and Co. OCLC 413286.
- Goldschmidt, Arthur (2000). Biographical Dictionary of Modern Egypt. Boulder, CO: Lynne Rienner. pp. 2–3. ISBN 1-5558-7229-8. LCCN 99033550.
- Pollock, John Charles (2001). Kitchener: Architect of Victory, Artisan of Peace. New York, NY: Carroll & Graf Publishers. ISBN 0-7867-0829-8. LCCN 2001035119.
- Sayyid-Marsot, Afaf Lutfi (1968). Egypt and Cromer: A Study in Anglo-Egyptian Relations. London: John Murray. ISBN 0-7195-1810-5. LCCN 75382933.
- Abbas II, Khedive of Egypt (1998). Sonbol, Amira (บ.ก.). The Last Khedive of Egypt: Memoirs of Abbas Halmi II. Reading, UK: Ithaca Press. ISBN 0-8637-2208-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่June 2012
- บทความวิกิพีเดียรวมการอ้างอิงจากสารานุกรมคอลลิเออร์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2417
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2487
- เจ้าแผ่นดินที่ถูกปลดจากราชบัลลังก์
- พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชสมบัติ
- พระมหากษัตริย์อียิปต์
- ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี
- ชาวอียิปต์เชื้อสายแอลเบเนีย
- ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- พระราชโอรส