สุพิศาล ภักดีนฤนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ
รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 48 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 361 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–ปัจจุบัน)
บุพการี
  • ขุนสุเมธมัชชกรรม (บิดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
อาชีพตำรวจ
นักการเมือง
ชื่อเล่นแมว
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการพ.ศ. 2521–2557
ยศ พลตำรวจตรี

พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น แมว เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง(นาย ปดิพัทธ์ สันติภาดา) เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ เมื่อปี 2562 และเป็นรองหัวหน้าพรรคก้าวไกลในปัจจุบัน อดีตผู้บังคับการกองปราบปราม อดีตประธานกรรมการ บมจ.CSS อดีตอาจารย์ประจำหลักสูตรปรัญญาดุษฎีบัณฑิต(การจัดการ)NBU

ประวัติ[แก้]

พล.ต.ต.สุพิศาล เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาประยุกต์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ[1] เป็นนรต.31 ร่วมรุ่นกับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง

การทำงาน[แก้]

พล.ต.ต.สุพิศาล เคยรับราชการในสังกัดกรมตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2521 เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ผู้กำกับการกองแผนงาน กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลเตาปูน, ปทุมวัน, ลุมพินี เป็นรองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 รองผู้บังคับการกองปราบปราม และเป็นผู้บังคับการกองปราบปราม ก่อนจะลาออกจากราชการในปี 2557[2]

ในขณะรับราชการตำรวจ พล.ต.ต.สุพิศาล เป็นหนึ่งในตำรวจที่มีส่วนร่วมในการจับกุมอำพล ตั้งนพกุล หรือ อากง ในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ในปี 2553 ต่อมาเขาได้แถลงขอน้อมรับความผิดในการให้สัมภาษณ์ในขณะที่มีหน้าที่ในภาครัฐ ปี 2554 และขออภัยต่อดวงวิญญาณของนายอำพล และครอบครัว รวมถึงขอโทษผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ทุกคนที่อาจจะเกิดจากการทำงานในหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมา[3]

ใน การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 พล.ต.ต.สุพิศาลได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ซึ่งเขาได้หมายเลข 1 ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น เขาได้ 267,974 คะแนน ซึ่งเป็นลำดับสอง โดยแพ้ให้กับ คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา ซึ่งได้ไป 552,651 คะแนน

พล.ต.ต.สุพิศาล ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาได้รับตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2563 ก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563

ในปี 2566 เขาประกาศไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในปีนี้ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 (ปดิพัทธ์ สันติภาดา)[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  2. “สุพิศาล” ทิ้งเก้าอี้ “ผบก.ป.” “โกวิทย์” เบียด “ชัยทัต” รักษาการ
  3. โอละพ่อ!'บิ๊กแมวก้าวไกล'ขอโทษมีส่วนร่วมจับ'อากง'สมัยเป็นผู้บังคับการกองปราบฯ
  4. ผู้นำก้าวไกลต้องทำงานเชิงรุก “สุพิศาล” มอง “หมออ๋อง” แม้ย้ายพรรคไม่เสียจุดยืน
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔