สุนา
สุนา (ต่งถูน่า) 董荼那 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขุนพลของเบ้งเฮ็ก | |||||||||||||
ถึงแก่กรรม | ค.ศ. 225 | ||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 董荼那 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 董荼那 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ยุคในประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก |
สุนา[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ต่งถูน่า (จีน: 董荼那; พินอิน: Dǒngtúnà) เป็นตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 14 เป็นขุนพล (元帥 ยฺเหวียนชฺว่าย) ชนเผ่าลำมัน (南蠻 หนานหมาน) ใต้การบังคับบัญชาของเบ้งเฮ็กผู้เป็นมันอ๋อง (蠻王 หมานหวาง) หรือราชาแห่งชนเผ่าลำมันในภูมิภาคหนานจงทางตอนใต้ของมณฑลเอ๊กจิ๋ว
สุนาเป็นตัวละครสมมติในนวนิยายสามก๊ก ไม่ปรากฏชื่อในบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]สุนาปรากฏเป็นตัวละครในนวนิยายสามก๊กตอนที่ 87 และ 88[b] ตามความในนวนิยายสามก๊ก เมื่อจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กนำทัพจ๊กก๊กลงใต้เพื่อปราบกบฏในภูมิภาคหนานจง เบ้งเฮ็กมอบหมายให้สุนาพร้อมด้วยกิมห้วนและห้วยหลำนำทหารสามสาย สายละห้าหมื่นนายยกไปต้านทัพข้าศึก แต่ถูกทัพจ๊กก๊กลอบเข้าโจมตีค่ายในเวลากลางคืน กิมห้วนถูกสังหาร ส่วนสุนาและห้วยหลำถูกจับเป็นแต่ได้รับการปล่อยตัวในภายหลัง สุนาและห้วยหลำหนีลงใต้ข้ามแม่น้ำลกซุย (瀘水 หลูฉุ่ย)[3][1]
ต่อมาม้าต้ายขุนพลจ๊กก๊กลอบข้ามแม่น้ำลกซุยเข้ายึดเส้นทางลำเลียงเสบียงที่หุบเขาเจี่ยชาน (夾山峪 เจี่ยชานยฺวี่) เบ้งเฮ็กจึงสั่งให้สุนายกกองกำลังสามพันไปรบกับม้าต้ายเพื่อชิงเส้นทางลำเลียงเสบียงคืน แต่สุนาถูกม้าต้ายด่าว่าไม่รู้คุณคนที่จูกัดเหลียงเคยไว้ชีวิต สุนารู้สึกละอายจึงถอนกำลังกลับไปพบเบ้งเฮ็ก เบ้งเฮ็กสั่งโบยสุนาร้อยทีข้อหาขัดคำสั่ง สุนาไม่พอใจจึงนำคนไปจับตัวเบ้งเฮ็กขณะกำลังเมาสุราและนำมาส่งให้ทัพจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงจึงให้รางวัลแก่สุนาตอบแทน ภายหลังจูกัดเหลียงให้ปล่อยตัวเบ้งเฮ็กเป็นครั้งที่สอง เบ้งเฮ็กกลับไปและสั่งให้จับตัวสุนาและห้วยหลำมาสังหารและทิ้งศพลงน้ำ[4][2]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) บรรยายความเมื่อกล่าวถึงสุนาเป็นครั้งแรกว่า "ฝ่ายเบ้งเฮ็กครั้นรู้ว่าขงเบ้งยกทัพล่วงเข้ามาในแดน จึงให้หากิมห้วนเจ้าเมืองสำกิก สุนาเจ้าเมืองมิตอง ห้วยหลำเจ้าเมืองไหอำ สามคนนี้เข้ามาแล้วจึงว่า บัดนี้ขงเบ้งยกทัพล่วงเข้ามาถึงแดนเมืองเรา เราจะให้ท่านทั้งสามคนยกทัพออกไปรบเปนสามทาง กิมห้วนคุมทหารห้าหมื่นยกออกไปรับทางกลาง สุนาคุมทหารห้าหมื่นยกทัพออกไปรับทางข้างซ้าย ห้วยหลำคุมทหารห้าหมื่นยกออกไปตั้งรับทางข้างขวา ถ้าผู้ใดมีชัยชนะมาเราจะตั้งผู้นั้นให้เปนนายใหญ่"[1] ชื่อเมืองมิตองและตำแหน่งเจ้าเมืองมิตองไม่ปรากฏในนวนิยายสามก๊กต้นฉบับภาษาจีน คำว่ามิตองนั้นตรงกับคำในภาษาจีนกลางว่าต่ง (董) ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนหนึ่งในชื่อเต็มของสุนาว่าต่งถูน่า
- ↑ ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 67[1] และตอนที่ 68[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "สามก๊ก ตอนที่ ๖๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 26, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 "สามก๊ก ตอนที่ ๖๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 26, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 87.
- ↑ สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 88.