ข้ามไปเนื้อหา

โจวันนาแห่งซาวอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โจวันนาแห่งอิตาลี)
โจวันนาแห่งซาวอย
ซารินาแห่งบัลแกเรีย
ระหว่าง25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486
พระราชสมภพ13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450
โรม,ราชอาณาจักรอิตาลี
สวรรคต26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
เอสโตริล,ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 92 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
พระราชบุตรเจ้าหญิงมารียา ลูอีซาแห่งบัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย
พระนามเต็ม
โจวันนา เอลีซาเบตตา อันโตเนีย โรมานา มารีอา
ราชวงศ์ซาวอย
แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา
พระราชบิดาพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี
พระราชมารดาเจ้าหญิงเยเลนาแห่งมอนเตเนโกร

โจวันนาแห่งซาวอย ซารินาแห่งบัลแกเรีย (ภาษาบัลแกเรีย: Йоанна Савойска; ภาษาอิตาลี: Giovanna Elisabetta Antonia Romana Maria) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543) ทรงเป็นซารินาแห่งบัลแกเรีย พระองค์สุดท้าย โดยเป็นพระมเหสีในพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย เป็นพระราชวงศ์อิตาลี

เมื่อทรงพระเยาว์

[แก้]

เจ้าหญิงโจวันนาทรงประสูติในกรุงโรม เป็นพระธิดาพระองค์ที่ 3 ในพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลีกับสมเด็จพระราชินีเอเลนาแห่งอิตาลี เดิมเป็นเจ้าหญิงแห่งมอนเตเนโกร พระนางทรงเจริญพระชันษาในวิลลา ซาวอยและตั้งแต่พระชันษายังน้อยทรงได้ตระหนักถึงจุดมุ่งหมายในชีวิตของตน ที่จะสนับสนุนให้ราชวงศ์ซาวอยมีอำนาจขึ้นมาจากการอภิเษกสมรส ในโอกาสพิธีศีลจุ่มเข้ารีตคาทอลิกและมีพระนามว่า โจวันนา เอลิซาเบธตา แอนโตเนีย โรมานา มาเรีย พระนางมีพระเชษฐภคินี 2 พระองค์ได้แก่ เจ้าหญิงโยลันดาแห่งซาวอยและเจ้าหญิงมาเฟลดาแห่งซาวอย พระเชษฐา 1 พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลีและพระขนิษฐา 1 พระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานเชสกาแห่งซาวอย

การอภิเษกสมรสและพระโอรสธิดา

[แก้]

เจ้าหญิงโจวันนาทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย พิธีจัดตามแบบคาทอลิกที่อาซิซิ ประเทศอิตาลีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2473 โดยผู้นำเผด็จการแห่งอิตาลี เบนิโต มุสโสลินีได้เข้าร่วมพิธีด้วย ชาวบัลแกเรียเห็นว่าเป็นการอภิเษกสมรสที่ดีเพราะพระมารดาของพระนางทรงเป็นชนพื้นเมืองชาวสลาฟ พระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นครั้งที่ 2 ที่กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย เจ้าหญิงโจวันนาทรงอภิเษกสมรสแบบนิกายออร์ทอด็อกซ์ ซึ่งเดิมทีพระนางเป็นพระธิดาในกษัตริย์ผู้เป็นคาทอลิกและราชินีซึ่งนับถืออร์ทอด็อกซ์ แตเพราะพระนางนั้นนับถือนิกายคาทอลิกอยู่แล้วทำให้ขัดแย้งกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก พระนางทรงใช้พระนามแบบบัลแกเรียว่า ลอนนา พระนางทรงดำรงเป็น "ซารินาแห่งบัลแกเรีย" หรือ "สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย" เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัลแกเรียได้เขียนไว้ว่า รัชทายาททุกพระองค์ต้องเป็นนิกายออร์ทอด็อกซ์ แต่สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงต้องการให้พระโอรสธิดาที่ประสูติเข้ารีตโรมันคาทอลิก พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 ทรงไม่ยินยอม พระสันตปาปาได้เตรียมบัพพชนียกรรมพระเจ้าซาร์บอริส แต่พระคาร์ดินัลด์ อันเจโล จิอูเซปเป รอนกัลลีซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ได้ช่วยเหลือและห้ามปรามพระสันตปาปาไว้ พระเจ้าซาร์บอริสจึงทำข้อตกลงกับพระสันตปาปาเป็นไปด้วยดี ซารินาโจวันนาและพระเจ้าซาร์บอริสมีพระโอรส-ธิดาร่วมกัน 2 พระองค์ ได้แก่

  • เจ้าหญิงมารียา ลูอีซาแห่งบัลแกเรีย ประสูติ 13 มกราคม พ.ศ. 2476 ทรงอภิเษกสมรสกับ
    • ในปีพ.ศ. 2500 เจ้าชายคาร์ลแห่งเลนนินเกน มีพระโอรสรวมกัน 2 พระองค์
    • ในปีพ.ศ. 2512 บรอนิสลอว์ โครว์บอก มีพระโอรสธิดารวมกัน 2 พระองค์
  • พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ประสูติ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2480 เป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียตั้งแต่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 – 15 กันยายน พ.ศ. 2489 ได้ลี้ภัยไปยังสเปน และได้กลับมายังบัลแกเรียในปีพ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรีย

สงครามโลกครั้งที่ 2 และการเสด็จสวรรคตของพระสวามี

[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระนางทรงกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลและทรงบริจากทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อการกุศล รวมถึงการอุปถัมภ์โรงพยาบาลแก่เด็ก ระหว่างสงครามพระสวามีของพระนางต้องลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีกับฝ่ายอักษะ พระนางและพระสวามีทรงเปิดช่องทางให้ชาวยิวได้หลบหนีไปยังอาร์เจนตินา พระเจ้าซาร์บอริสทรงไม่อ่อนข้อยอมทำตามคำสั่งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในการประชุมที่เบอร์ลิน พ.ศ. 2486 ฮิตเลอร์พยายามชักจูงพระองค์เพื่อช่วยรบกับโซเวียตและจะให้ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นทางภาคใต้และตะวันตกเพื่อต่อต้านการขยายตัวของสหภาพโซเวียต พระองค์ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับ พระองค์ทรงกลับในวันถัดไปไปที่กรุงโซเฟียกับเครื่องบินของเยอรมัน 9 วันหลังจากเสด็จกลับ พระเจ้าซาร์บอริสทรงอาเจียนอย่างรุนแรงและเสด็จสวรรคตในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 สิริพระชนมายุ 49 พรรษา การเสด็จสวรรคตของพระองค์ยังเป็นที่โต้แย้งกันมาก บางคนกล่าวโทษฮิตเลอร์ แม้พระอนุชาของพระองค์เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรียทรงประกาศถึงการสวรรคตของพระองค์ในปีพ.ศ. 2488 ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษระหว่างเสด็จกลับทางเครื่องบิน แต่การชันสูตรพระศพแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าซาร์บอริสทรงหัวใจวายจากอาการที่ทรงเครียด เจ้าชายซิเมออน พระโอรสได้ขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็น พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย เนื่องจากมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษา จึงจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ซึ่งก็คือ เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรีย พระอนุชาของพระเจ้าซาร์บอริส ทรงพยายามประนีประนอมกับเยอรมนี

การลี้ภัย

[แก้]
พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีเอเลนาแห่งอิตาลี และครอบครัว

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บัลแกเรียถูกโจมตีโดยสหภาพโซเวียต เจ้าชายคิริลและคณะผู้สำเร็จราชการ, อดีตรัฐมนตรี 22 คน, ผู้แทนราษฎร 67 คน, ที่ปรึกษาพระราชวงศ์ 8 คนและเจ้าหน้าที่ระดับสูง 47 คน รวมถึงผู้ต่อต้านโซเวียตกว่าพันคนถูกสั่งประหารชีวิตทั้งหมด พระราชวงศ์ที่เหลือได้แก่ สมเด็จพระราชินีโจวันนา, พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2, เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งบัลแกเรีย พระธิดาและเจ้าหญิงยูโดเซียแห่งบัลแกเรีย พระขนิษฐาของพระเจ้าซาร์บอริส ได้รับการอนุญาตให้พำนักที่พระราชวังวรานาใกล้กรุงโซเฟียในขณะที่ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการคอมมิวนิสต์ชุดใหม่ ในบันทึกของพระนางทรงได้เล่าว่า "ทหารโซเวียตในครั้งนั้นได้มีความสนุกจากไล่ยิงพสกนิกรในทุก ๆ ที่ที่นอกเหนือจากได้รับคำสั่งจากคณะรัฐบาลซึ่งตอนนั้นฉันกำลังเดินกับลูก ๆ อยู่ที่ที่นั้น"

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2489 ได้มีการลงคะแนนเสียงภายในกองทัพโซเวียต ผลออกมาร้อยละ 97 เห็นด้วยในการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรียและล้มล้างพระราชวงศ์และระบอบกษัตริย์ โดยให้พระราชวงศ์เตรียมตัว 1 เดือนเพื่อออกจากประเทศแต่เพียงวันเดียวคือในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2489 พระราชวงศ์ได้ถูกบังคับให้ออกจากบัลแกเรีย อย่างไรก็ตามพระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงไม่เคยลงพระนามในเอกสารสละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ พระราชวงศ์ทั้งหมดจึงต้องลี้ภัยไปที่อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ที่ซึ่งพระบิดาของพระนางคือ สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีพำนักอยู่หลังจากทรงลี้ภัยจากอิตาลี พระองค์และพระราชวงศ์ทรงมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบากโดยทรงมีทรัพย์เพียงพระองค์ละ 200 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ต่อมาพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอลผู้เป็นพระราชบิดาได้เสด็จสวรรคตลง ทรงมอบมรดกให้แก่พระธิดาซึ่งก็คือ สมเด็จพระราชินีโจวันนา ทำให้ราชวงศ์ทรงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2494 รัฐบาลสเปนนำโดยจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโกได้เชิญพระราชวงศ์ลี้ภัยที่สเปน

ปลายพระชนม์ชีพ

[แก้]

หลังจากการอภิเษกสมรสของพระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 กับธิดาตระกูลขุนนางสเปนมาร์การิตา โกเมซ-อเชโบ ยี เซจูลา ในปี พ.ศ. 2505 พระราชินีโจวันนาทรงย้ายไปพำนักที่ เอสโตริล, ประเทศโปรตุเกส ที่ซึ่งพระนางทรงพำนักในช่วงท้ายของพระชนม์ชีพ ในปี พ.ศ. 2536 พระนางเสด็จกลับบัลแกเรียเพื่อคารวะพระศพของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 ในระหว่างการเสด็จเยือนบัลแกเรียครั้งนั้นซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายตลอดพระชนม์ชีพพระนาง พระนางทรงได้รับการต้อนรับจากพสกนิกรชาวบัลแกเรียหลายพันคนบนถนน ทุกคนมาเพื่อถวายการต้อนรับพระนาง

สมเด็จพระราชินีโจวันนาเสด็จสวรรคตในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 สิริพระชนมายุ 92 พรรษา พระศพได้ถูกฝังที่อาซิชิ ประเทศอิตาลี ที่ซึ่งพระนางทรงอภิเษกสมรสกับพระสวามีครั้งแรก

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าชาร์ลส์ อัลเบิร์ตแห่งซาร์ดิเนีย
 
 
 
 
 
 
 
8. สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 แห่งอิตาลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งทัสคานี
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. อาร์คดยุคไรเนอ โจเซฟแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงมาเรีย อเดเลดแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าชาร์ลส์ อัลเบิร์ตแห่งซาร์ดิเนีย(= 16)
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ ดยุคแห่งเจนัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งทัสคานี(=17)
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงมาร์เกริตาแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. พระเจ้าจอห์นแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงอเมเลีย ออกุสต์แห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
1. โจวันนาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. ซาวา เปโทรวิช-นีเยกอซ
 
 
 
 
 
 
 
12. เมอโก เปโทรวิช-นีเยกอซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. แองเจลิกา ราดามอวิช
 
 
 
 
 
 
 
6. สมเด็จพระราชาธิบดีนิโคลัสที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ไม่ทราบชื่อ
 
 
 
 
 
 
 
13. อนาสตาซียา มาร์ตินอวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. ไม่ทราบชื่อ
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงเอเลนาแห่งมอนเตเนโกร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. ไม่ทราบชื่อ
 
 
 
 
 
 
 
14. ปีเตอร์ วูคอวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ไม่ทราบชื่อ
 
 
 
 
 
 
 
7. มิเลนา วูคอวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ไม่ทราบชื่อ
 
 
 
 
 
 
 
15. เยเลนา วูคอวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. ไม่ทราบชื่อ
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]